ทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ ไม่สามารถทำได้ตลอดช่วงของการตั้งครรภ์ เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องของความไม่สุขสบายจากขนาดหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้น การถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ หรือภาวะเครียด, ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะรับบริการทางทันตกรรม เป็นต้น ซึ่งควรให้การรักษาทางทันตกรรมในรายที่มี ความจำเป็นจริงๆเท่านั้น ซึ่งมีหลักในการปฏิบัติ ดังนี้
1.
ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) ควรให้การรักษาทางทันตกรรมเฉพาะกรณีฉุกเฉิน หรือที่สามารถทำได้ง่าย อย่างเช่น อุดฟัน ขูดหินปูน แต่ถ้าจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์ จะต้องได้รับการปกป้องร่างกายและครรภ์จากเสื้อตะกั่ว และควรทำเฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น
2.
ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ (ระยะการตั้งครรภ์ 4 ถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่เหมาะสมในการให้การรักษาทางทันตกรรม สามารถให้การรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน และใช้เวลานานๆ ได้ อย่างเช่น การอุดฟัน การใส่ฟันปลอม การรักษารากฟัน หรือการรักษาโรคเหงือกที่มีความรุนแรงได้
3.
ในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ (ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์) เป็นช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงการรักษาทางทันตกรรม เพราะหญิงตั้งครรภ์จะมีขนาดหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นมาก ทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบาย การให้นอนราบนานๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆ สามารถกระทำได้ในช่วงเวลาสั้นๆ และควรให้หญิงตั้งครรภ์พลิกตัวบ่อยๆ เพื่อให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
การให้การรักษาทางทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ ในส่วนของการให้ยาในทางทันตกรรมมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นยาชาเฉพาะที่ ยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้ปวดจำพวก Paracetamol สามารถให้ได้
แต่ต้องอยู่ในความดูแลของทันตแพทย์และสูติแพทย์ โดยต้องกำชับหญิงตั้งครรภ์และญาติในเรื่องของการห้ามซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้
ทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ กับข้อจำกัดต่างๆ
เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ หรือภาวะเครียด, ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะรับบริการทางทันตกรรม เป็นต้น ซึ่งควรให้การรักษาทางทันตกรรมในรายที่มี ความจำเป็นจริงๆเท่านั้น ซึ่งมีหลักในการปฏิบัติ ดังนี้
1. ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) ควรให้การรักษาทางทันตกรรมเฉพาะกรณีฉุกเฉิน หรือที่สามารถทำได้ง่าย อย่างเช่น อุดฟัน ขูดหินปูน แต่ถ้าจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์ จะต้องได้รับการปกป้องร่างกายและครรภ์จากเสื้อตะกั่ว และควรทำเฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น
2. ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ (ระยะการตั้งครรภ์ 4 ถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่เหมาะสมในการให้การรักษาทางทันตกรรม สามารถให้การรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน และใช้เวลานานๆ ได้ อย่างเช่น การอุดฟัน การใส่ฟันปลอม การรักษารากฟัน หรือการรักษาโรคเหงือกที่มีความรุนแรงได้
3. ในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ (ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์) เป็นช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงการรักษาทางทันตกรรม เพราะหญิงตั้งครรภ์จะมีขนาดหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นมาก ทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบาย การให้นอนราบนานๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆ สามารถกระทำได้ในช่วงเวลาสั้นๆ และควรให้หญิงตั้งครรภ์พลิกตัวบ่อยๆ เพื่อให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
การให้การรักษาทางทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ ในส่วนของการให้ยาในทางทันตกรรมมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นยาชาเฉพาะที่ ยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้ปวดจำพวก Paracetamol สามารถให้ได้
แต่ต้องอยู่ในความดูแลของทันตแพทย์และสูติแพทย์ โดยต้องกำชับหญิงตั้งครรภ์และญาติในเรื่องของการห้ามซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้