รายการ
“DNA TALK บุกคนต้นแบบ” ในวันอาทิตย์นี้ (23 ต.ค.) พิธีกร
“ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ” พาผู้ชมไปบุกค้นหาดีเอ็นเอแห่งความสำเร็จ กับสองแขกรับเชิญบุคคลแถวหน้าในวงการแพทย์ประเทศไทย ได้แก่
ศ.นพ กำธร พฤกษานานนท์ 1 ใน 5 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช ผู้มีส่วนร่วมในโครงการเด็กหลอดแก้วคนแรกของประเทศไทย และ
คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ผู้ก่อตั้งและพัฒนาแอปพลิเคชั่นการช่วยเหลือในโครงการ
Digital Health ซึ่งทั้งสองศิษย์เก่าจุฬาฯ ได้ร่วมมือพัฒนาแนวคิด
“กล่องรอดตาย” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยรอเตียงที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกวัน และได้รับรางวัล Digital Health 2022 โดย ศ.นพ กำธร ได้เผยให้ฟังว่า
“คำว่าสมบูรณ์ อยากให้ทุกคนอย่ามองแค่เรื่องมีเงิน หรือมีความสุขในขณะนี้เพียงอย่างเดียว แต่การมีครอบครัวที่ดีอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในระยะยาวที่จะมีความสุขได้มากกว่า ตัวเลขที่น่าสนใจคือเมื่อก่อนอัตราการเพิ่มของประชากรอยู่ที่ 5.1% แต่ปีนี้เหลือเพียง 1.5% ธนาคารโลกและองค์การอนามัยโลกตอนนี้ได้ออกมาเตือนแล้วครับ ถ้าประเทศที่มีอัตราการเกิดประชากรน้อยกว่า 2.1% อาจจะกลายเป็นประเทศขาดเสถียรภาพ ผู้หญิงหน้าที่การงานทุกวันนี้ ผมว่าไม่แพ้ผู้ชาย แต่อยากให้คำจำกัดความคำว่าความสำเร็จนอกจากเรื่องงานเป็นเรื่องชีวิตครอบครัว หลังจากนี้ถ้าเราไม่เริ่มรณรงค์ให้มีบุตร เราก็จะลดเปอร์เซ็นต์ลงไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นมาเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะพร้อมมีบุตรดีกว่าครับ”
ด้าน คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร เผยถึงที่มาความสำคัญโครงการ Digital Health ว่า
“เป็นสิ่งที่อาจารย์และผมนำเอาดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามา เพื่อสอดประสานกับการดูแลสุขภาพของคนไทย บางทีผู้ป่วยอาจจะไม่ต้องมาโรงพยาบาล อยู่ที่บ้านเปิดโทรศัพท์เข้าแอปก็พูดคุยกับหมอได้แล้ว ซึ่งช่วยลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และขอยกเครดิตให้คุณได๋ด้วยนะครับ เพจเราต้องรอดก็ช่วยกระจายข้อมูล ไม่ใช่แค่เตียงที่เต็มแต่พื้นก็เต็มเช่นกัน มันสะท้อนปัญหาได้ดีมาก หลังจากการมาของไวรัสโควิดที่สะเทือนวงการแพทย์ โครงการนี้เลยเกิดมาเพื่อตอบโจทย์ช่วงนั้น ซึ่งเราเรียกแพลตฟอร์มนี้ว่า กล่องรอดตาย ใช้แอปพลิเคชั่นไลน์เป็นหน้าบ้าน เพื่อให้คนไข้ได้พบเจอหมอได้ทันที และพวกเราเป็นผู้พัฒนารายแรกของประเทศไทยครับ”
ติดตามสองศิษย์เก่าจุฬาฯ ผู้พลิกวิกฤตให้ตอบโจทย์ชีวิตและช่วยเหลือคนไทย ในรายการ
“DNA TALK บุกคนต้นแบบ” วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคมนี้ เวลา 17.30 น. ทางช่อง MONO29
ศิษย์เก่าจุฬาฯ ผ่าแนวคิดช่วยคนไทย ดิจิทัลแพลตฟอร์ม “กล่องรอดตาย” ใน “DNA TALK”
ด้าน คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร เผยถึงที่มาความสำคัญโครงการ Digital Health ว่า
“เป็นสิ่งที่อาจารย์และผมนำเอาดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามา เพื่อสอดประสานกับการดูแลสุขภาพของคนไทย บางทีผู้ป่วยอาจจะไม่ต้องมาโรงพยาบาล อยู่ที่บ้านเปิดโทรศัพท์เข้าแอปก็พูดคุยกับหมอได้แล้ว ซึ่งช่วยลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และขอยกเครดิตให้คุณได๋ด้วยนะครับ เพจเราต้องรอดก็ช่วยกระจายข้อมูล ไม่ใช่แค่เตียงที่เต็มแต่พื้นก็เต็มเช่นกัน มันสะท้อนปัญหาได้ดีมาก หลังจากการมาของไวรัสโควิดที่สะเทือนวงการแพทย์ โครงการนี้เลยเกิดมาเพื่อตอบโจทย์ช่วงนั้น ซึ่งเราเรียกแพลตฟอร์มนี้ว่า กล่องรอดตาย ใช้แอปพลิเคชั่นไลน์เป็นหน้าบ้าน เพื่อให้คนไข้ได้พบเจอหมอได้ทันที และพวกเราเป็นผู้พัฒนารายแรกของประเทศไทยครับ”