ฟันผุถึงโพรงประสาทฟัน จะมีอาการปวด โดยเฉพาะเมื่อได้รับประทานของเย็น ของร้อน หรือเมื่อมีเศษอาหารมาอุดในรูฟัน ซึ่งอาการปวดอาจจะไม่รุนแรงนัก เมื่อรับประทานยาแก้ปวดก็จะทุเลาลงและหายปวดไปได้
แต่ถ้าปล่อยให้ฟันผุต่อไปจนถึงเนื้อเยอะในโพรงฟันติดเชื้อเกิดการอักเสบ เน่า ตายไป ในที่สุดจะลุกลามไปถึงปลายรากฟันและกระจายผ่านรูเปิดปลายรากฟันออกไปที่เนื้อเยื่อและกระดูกขากรรไกรบริเวณรอบปลายราก เกิดเป็นฝีหรือหนอง ระยะนี้จะปวดฟันมากเมื่อเคี้ยวอาหารหรือฟันกระทบกัน
หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้บริเวณเหงือก แก้ม หรือใบหน้าบวมขึ้นมา การมีฝีหนองที่ปลายรากฟันจะมีผลต่ออวัยวะข้างเคียงด้วย เช่น โพรงจมูกอักเสบ ตาอักเสบ เป็นต้น
วิธีการรักษา ฟันผุถึงโพรงประสาทฟัน
การรักษาโรคฟันผุที่เกิดในส่วนเคลือบฟันและเนื้อฟันนั้น ทันตแพทย์จะทำโดยใช้เครื่องมือกรอเอาส่วนฟันผุนั่นออก แล้วอุดฟันโดยวัสดุอุดฟัน ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ทั้งวัสดุอมัลกัมที่มีสีเงิน หรือชนิดที่สีเหมือนฟัน
ส่วนฟันที่ผุถึงโพรงประสาทฟันแล้ว จะไม่สามารถอุดได้ทันที เนื่องจากมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ถ้าอุดไปจะไปทำให้ยิ่งปวดฟันมากขึ้น
การรักษาขึ้นอยู่กับว่าเชื้อโรคกระจายไปถึงเนื้อเยื่อโพรงประสาทส่วนใด ทันตแพทย์อาจใช้วิธีตัดเอาเฉพาะเนื้อเยื่อโพรงประสาทบางส่วนที่มีการติดเชื้อออก
ใส่ยารักษาเอาไว้แล้วจึงอุดฟัน
แต่ถ้าโพรงประสาทฟันนั้นติดเชื้อเข้าไปถึงรากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะทำการรักษาโดยการกรอฟันเอาส่วนที่ผุออกให้หมดก่อน แล้วใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นตะไบขนาดเล็ก มีด้ามจับแยงผ่านเข้าไปตามคลองรากฟัน เพื่อขูดเอาเส้นประสาทฟันที่มีการติดเชื้อและอักเสบนั้นออกทั้งหมด ร่วมกับการใช้น้ำยาล้างคลองรากฟันให้สะอาด จนแน่ใจว่าไม่มีเชื้อตกค้างอยู่อีก หลังจากนั้นจึงอุดในคลองรากฟันก่อนที่จะอุดตัวฟัน
ระยะเวลาในการรักษา ฟันผุถึงโพรงประสาทฟัน
โดยปกติการรักษาที่คลองรากเดียว เช่น ฟันหน้า ฟันเขี้ยว หรือฟันกรามน้อย จะใช้เวลาทำการรักษา ประมาณ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยใช้เวลาครั้งละครึ่งนึงถึงหนึ่งชั่วโมง
ในบางกรณีทันตแพทย์อาจรักษาให้เสร็จได้ในครั้งเดียว ถ้าเชื้อโรคไม่รุนแรงนัก ส่วนฟันที่มีหลากหลาย เช่น ฟันหลัง หรือฟันกรามน้อยบางซี่ก็จะต้องใช้เวลาในการรักษานานขึ้นค่ะ
ฟันผุถึงโพรงประสาทฟัน มีจริงหรือ ?
แต่ถ้าปล่อยให้ฟันผุต่อไปจนถึงเนื้อเยอะในโพรงฟันติดเชื้อเกิดการอักเสบ เน่า ตายไป ในที่สุดจะลุกลามไปถึงปลายรากฟันและกระจายผ่านรูเปิดปลายรากฟันออกไปที่เนื้อเยื่อและกระดูกขากรรไกรบริเวณรอบปลายราก เกิดเป็นฝีหรือหนอง ระยะนี้จะปวดฟันมากเมื่อเคี้ยวอาหารหรือฟันกระทบกัน
หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้บริเวณเหงือก แก้ม หรือใบหน้าบวมขึ้นมา การมีฝีหนองที่ปลายรากฟันจะมีผลต่ออวัยวะข้างเคียงด้วย เช่น โพรงจมูกอักเสบ ตาอักเสบ เป็นต้น
วิธีการรักษา ฟันผุถึงโพรงประสาทฟัน
การรักษาโรคฟันผุที่เกิดในส่วนเคลือบฟันและเนื้อฟันนั้น ทันตแพทย์จะทำโดยใช้เครื่องมือกรอเอาส่วนฟันผุนั่นออก แล้วอุดฟันโดยวัสดุอุดฟัน ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ทั้งวัสดุอมัลกัมที่มีสีเงิน หรือชนิดที่สีเหมือนฟัน
ส่วนฟันที่ผุถึงโพรงประสาทฟันแล้ว จะไม่สามารถอุดได้ทันที เนื่องจากมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ถ้าอุดไปจะไปทำให้ยิ่งปวดฟันมากขึ้น
การรักษาขึ้นอยู่กับว่าเชื้อโรคกระจายไปถึงเนื้อเยื่อโพรงประสาทส่วนใด ทันตแพทย์อาจใช้วิธีตัดเอาเฉพาะเนื้อเยื่อโพรงประสาทบางส่วนที่มีการติดเชื้อออก
ใส่ยารักษาเอาไว้แล้วจึงอุดฟัน
แต่ถ้าโพรงประสาทฟันนั้นติดเชื้อเข้าไปถึงรากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะทำการรักษาโดยการกรอฟันเอาส่วนที่ผุออกให้หมดก่อน แล้วใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นตะไบขนาดเล็ก มีด้ามจับแยงผ่านเข้าไปตามคลองรากฟัน เพื่อขูดเอาเส้นประสาทฟันที่มีการติดเชื้อและอักเสบนั้นออกทั้งหมด ร่วมกับการใช้น้ำยาล้างคลองรากฟันให้สะอาด จนแน่ใจว่าไม่มีเชื้อตกค้างอยู่อีก หลังจากนั้นจึงอุดในคลองรากฟันก่อนที่จะอุดตัวฟัน
ระยะเวลาในการรักษา ฟันผุถึงโพรงประสาทฟัน
โดยปกติการรักษาที่คลองรากเดียว เช่น ฟันหน้า ฟันเขี้ยว หรือฟันกรามน้อย จะใช้เวลาทำการรักษา ประมาณ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยใช้เวลาครั้งละครึ่งนึงถึงหนึ่งชั่วโมง
ในบางกรณีทันตแพทย์อาจรักษาให้เสร็จได้ในครั้งเดียว ถ้าเชื้อโรคไม่รุนแรงนัก ส่วนฟันที่มีหลากหลาย เช่น ฟันหลัง หรือฟันกรามน้อยบางซี่ก็จะต้องใช้เวลาในการรักษานานขึ้นค่ะ