พ.ศ.2565 ทำไมการติดต่อกับการไฟฟ้า, การประปา, อบต., เขต, ธนาคาร, ราชการ เรายังต้องถ่ายเอกสารมากมายเป็นปึกๆ

ต้องถ่ายเอกสารต่อไปนี้

หนังสือรับรองนิติบุคคล อายุไม่เกิน 1 เดือน, 3 เดือน นับตั้งแต่วันออก (เมิงก็ไปตรวจสอบข้อมูลบน Data Wareshouse กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สิ ใช่ไม่เป็นเหรอ   รู้จัก photoshop หรือเปล่า? แก้วันที่แค่นี้ ประหยัดเงินค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับใหม่ได้ถึง 350 บาท)

บัตรประชาชน (ทั้งๆที่มันมีชิพฝังในบัตรแล้ว ต้องมาถ่ายเอกสารอีกเหรอ?)

ทะเบียนบ้านที่ซุกหัวนอนของเจ้าของสถานที่(จะเอาไปทำ....อะไร?)

ไม่พอ ต้องมีการขีดคร่อมแล้วเขียนว่า "ใช้เพื่อ.....เท่านั้น" (ซึ่งถ้าใช้มี adobe acrobat จะประหยัดเวลาด้วยการใส่ watermark ใครจะมีเวลาไปเขียนอะไรยาวๆ ซ้ำๆกัน 3-4 ชุด  แต่ถ้าใครใช้ไม่เป็นก็เชิญเขียนแล้วขีดคร่อมไปดิ  เอกสาร 1 ชุดมี 4 หน้า แล้วเขาบอกอยากได้ 4 ชุด ก็เท่ากับต้องขีดคร่อม เขียนข้อความยาวๆซ้ำๆ 16 ครั้ง)

ไม่พอ ต้องมีการเซ็นรับรองอีก (แล้วจะพิสูจน์ได้ไงว่าลายเซ็นนั้น เจ้าของได้เซ็นจริงๆ??)

ผมก็พยายามจะถาม การไฟฟ้า การประปา กรมนู่นนี่ อบต. สรรพากร  คำตอบที่ได้จากจนท. ก็มีตั้งแต่ "มันเป็นระเบียบครับ" "ก็ทำกันมางี้ตลอดครับ" "เพื่อยืนยันว่าเอกสารถูกต้องค่ะ"

นี่มันควรจะเป็นยุคที่ทุกอย่างควรจะ online และลดการใช้กระดาษได้แล้ว น่าจะมีวิธีการยืนยันหรือพิสูจน์ข้อมูล หรือลิ้งก์ข้อมูลระหว่างหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจได้แล้วหรือเปล่า???

****น่าจะมีเพียงหน่วยงานเดียวที่รวดเร็ว และใช้กระดาษน้อยที่สุดคือ สำนักงานหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ  ที่น่าจะมีประสิทธิภาพที่สุด

ใครทำงานเป็นข้าราชการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เขต หรือหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ หรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ เช่น กฟน กปน กฟภ กปภ  ถ้าผ่านมาเห็นก็ช่วยอธิบายเหตุผลหน่อยครับ  แล้วคุณได้กระดาษเป็นปึกๆพวกนี้แล้ว คุณเอาไปทำอะไรต่อ? ในที่สุดมันก็จบที่เครื่องทำลายเอกสาร (shredders) ใช่ไหม?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่