🇹🇭💗มาลาริน💗🇹🇭ไทยพบ1 คน "โอมิครอน" สายพันธุ์ย่อย “BQ.1/นักวิจัยสหรัฐฯ พัฒนา ‘โควิดสายพันธุ์ใหม่’ อัตราการตายสูง 80%



https://www.thaipbs.or.th/news/content/320539

วิจารณ์สนั่น! นักวิจัยสหรัฐฯ พัฒนา ‘โควิดสายพันธุ์ใหม่’ อัตราการตายสูง 80%

เผยแพร่: 18 ต.ค. 2565 12:07   ปรับปรุง: 18 ต.ค. 2565 12:07   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

 
 
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอสตันจุดกระแสวิจารณ์อื้ออึง หลังทดลองผสมสายพันธุ์โควิด-19 จนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 80% ในหนูทดลอง

ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่แห่งชาติ (National Emerging Infection Disease Laboratories) ซึ่งเป็นสถาบันชีววิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบอสตัน โดยนำเอาโปรตีนหนามจากไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน BA.1 มาผสมเข้ากับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในเมืองอู่ฮั่น
ผลการศึกษาพบว่า ไวรัสโอมิครอนทำให้เกิดการติดเชื้อที่ "ไม่รุนแรง" ในหนูทดลอง ทว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ซึ่งถูกตัดต่อโปรตีนหนามของโอมิครอนเข้าไป ทำให้อัตราตายของหนูทดลองสูงถึง 80%

สำหรับหนูทดลองที่ได้รับเฉพาะเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมมีอัตราการเสียชีวิต 100%

ทีมนักวิจัยยังพบว่า ไวรัสสายพันธุ์ไฮบริดมีอนุภาคก่อโรค (infectious virus particles) มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนถึง 5 เท่าตัว

จากผลการศึกษานี้ทำให้นักวิจัยได้ข้อสันนิษฐานว่า โปรตีนหนามคือส่วนที่บ่งบอกถึงศักยภาพในการแพร่เชื้อ (infectivity) ของไวรัส ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอื่นๆ เป็นตัวกำหนดว่าไวรัสจะมีความรุนแรง (deadliness) มากน้อยเพียงใด
 
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ได้เสียงเรียกตำหนิจากนักวิทยาศาสตร์บางคน ซึ่งเกรงว่าไวรัสที่มีความร้ายกาจนี้อาจหลุดรอดออกมาจนเกิดการแพร่ระบาดใหญ่อีกรอบ

ศาสตราจารย์ชมูเอล ชาปิรา นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของรัฐบาลอิสราเอล ชี้ว่า “งานวิจัยลักษณะนี้สมควรถูกห้าม มันคือการเล่นกับไฟชัดๆ”
 
การสร้าง “ซูเปอร์ไวรัส” ขึ้นมาเพื่อศึกษาวิจัยว่ามันจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง หรือที่เรียกว่า “gain of function research” นั้น ถูกเชื่อกันว่าเป็นต้นตอการระบาดของโควิด-19 และการศึกษาวิจัยในลักษณะนี้ได้ถูกจำกัดอย่างยิ่งในสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2017
ดร.ริชาร์ด อีไบรท์ นักเคมีจากมหาวิทยาลัยรัตเจอร์ส รัฐนิวเจอร์ซีย์ บอกกับสื่อเดลีเมลของอังกฤษว่า “งานวิจัยชิ้นนี้คือตัวอย่างของ gain of function research อย่างชัดเจน” พร้อมเตือนว่าหากมนุษยชาติต้องการหลีกเลี่ยงโรคระบาดใหญ่อันเกิดจากเชื้อโรคที่หลุดออกมาจากห้องแล็บ ก็จำเป็นจะต้องควบคุมดูแลไม่ให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างไวรัสร้ายแรงขึ้นมาอีก

ทางมหาวิทยาลัยบอสตันได้ออกมาโต้แย้งว่า งานวิจัยนี้ไม่จัดเป็น gain of function research เนื่องจาก "ไม่ได้ทำให้ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่นมีความรุนแรงกว่าเดิม" แต่กลับช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การคิดค้นวิธีรักษาใหม่ๆ ได้

ที่มา : Daily Mail, Boston Herald

https://mgronline.com/around/detail/9650000099621

ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ...
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9

WHO ประเมินระบบสาธารณสุขไทย “แรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัย”
เข้าถึงบริการรักษาและได้รับวัคซีนอย่างเท่าเทียม พื้นที่เป้าหมาย กทม.-สมุทรสาคร-ตาก

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่องค์การอนามัยโลกดำเนินการโครงการ Joint Assessment Mission to Assess Health System Capacity and Essential Public Health Functions to Address the Health Needs of Refugees and Migrants in Thailand โดยส่งคณะผู้เชี่ยวชาญขององค์กรระหว่างประเทศมาปฏิบัติภารกิจประเมินประเทศไทยร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญไทย ระหว่าง 17-21 ต.ค. 65 ในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องระบบสุขภาพ หน้าที่ ศักยภาพ และกระบวนการด้านสาธารณสุขที่จำเป็น ความพร้อมของสถานบริการสุขภาพที่ให้บริการแก่ผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นฐาน รวมถึงชุมชนที่รับกลุ่มบุคคลดังกล่าว โดยจะมีการลงพื้นที่จังหวัดเป้าหมาย คือ กทม.- สมุทรสาคร-ตาก สำหรับการประเมินนั้น องค์การอนามัยโลกร่วมกับเครือข่าย ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration:IOM ) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees:UNHCR) พัฒนาเครื่องมือ “การประเมินสภาวะสุขภาพของประชากรข้ามชาติ และผู้ลี้ภัยระดับประเทศ” เพื่อประเมินระบบสุขภาพ กระบวนการดำเนินงาน และศักยภาพความพร้อมของสถานบริการสาธารณสุขในการให้บริการสุขภาพที่จำเป็นแก่ประชากรข้ามชาติและผู้ลี้ภัยในระดับประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้รับโอกาสให้เป็นประเทศแรกที่ใช้เครื่องมือนี้

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02P22XA789VDgqh2WCmjWqv2V1uFLZERqifc8VGMEDLY1VSvhvdi78nbbxjrJQoyk7l


สภากาชาดไทย แนะแนวทางปฏิบัติการรับบริจาคโลหิต
หลังกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้โควิด19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ต.ค. 65

ที่มา : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid026uqsDFUtNp4MFz7iCz1TyKCBpDAe312sAwmdRbnc9mw1KPx3jfhdncYqEzDnvYzfl


พบผู้ป่วยฝีดาษวานร รายที่ 11 ชายไทย เดินทางกลับจากประเทศกาตาร์ ย้ำ ป้องกันตนเองได้ หากมีอาการสงสัย โทร. 1422

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า พบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรรายใหม่ เป็นชายชาวไทย อายุ 40 ปี ไปประกอบอาชีพให้บริการนวดที่ประเทศกาตาร์ โดยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ด้วยอาการไข้ และมีผื่นที่บริเวณสะโพกมือแขน มีอาการป่วยตั้งแต่ก่อนเดินทางกลับไทย และในวันที่ 15 ต.ค. 65 เดินทางมาถึงประเทศไทย ได้เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งจังหวัดปทุมธานี แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นเข้าข่ายผู้ป่วยฝีดาษวานร จึงประสานส่งตัวมารักษาที่สถาบันบำราศนาดูร ผลทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบเชื้อไวรัสฝีดาษวานร ถือเป็นผู้ป่วยยืนยันรายที่ 11 ของไทย ทั้งนี้ เน้นย้ำว่า ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากโรคฝีดาษวานรได้ โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ที่มีอาการไข้ มีผื่น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองบริเวณร่างกาย งดการมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสใกล้ชิดคนแปลกหน้าหรือไม่รู้ประวัติมาก่อน สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้อื่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รับประทานอาหารปรุงสุกสะอาด เลี่ยงการไปสถานที่แออัดหรือเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดโรคฝีดาษวานร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid027HFPgD3pB6UxbV8daceFcZDKQRv5sfWbu6AbP1e8P7oKXzJBtt9Y1dMYNDCCkpRil
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่