ผมไม่เคยได้สนใจ Helper Spring มาก่อนเลย จนรู้จักกับพี่ท่านหนึ่งเป็นร้านรับเซ็ตช่วงล่าง บอกไว้ว่าใส่ Helper แล้วทำให้รถมีช่วงล่างสมรรถนะที่ดีขึ้น และวิ่งเนียนขึ้นครับ ผมกลับไปสอบถามเพื่อนคนอื่นๆซึ่งมีคนเคยใช้หรือรู้จัก Helper น้อยมาก แต่เท่าที่รู้จักบอกว่าไม่ได้ช่วยเรื่องสมรรถนะเลย ช่วยแค่เรื่องไม่ให้สปริงตก ในกรณีที่ใช้สตรัทที่สไลด์กระบอกไม่ได้ครับ (ได้ข้อมูลมาขัดแย้งกันละ)
Helper Spring หน้าตาเป็นแบบนี้นะครับ เป็นขดสปริงเส้นแบนๆเล็กๆ ยาวประมาณ 2.5 นิ้ว ใส่ไว้ด้านบนหรือด้านล่างของสปริงหลัก ส่วนใหญ่จะความแข็งหรือค่า K น้อยประมาณเกือบๆ 1K ไปจนถึงประมาณ 2K พอใส่แล้วเอารถวางลง Helper Sping ก็จะยุบสุดเลยครับ
รูป - Helper Spring เมื่อใส่อยู่ในสตรัทปรับเกลียว (ฝรั่งเรียกสตรัทปรับเกลียวว่า Coilover)
Ref:
https://www.pacificcustoms.com/eibachspringhelper300.html
ไปลอง Search หาข้อมูลในเวบฝรั่ง ส่วนใหญ่ก็ยังมีการแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเหมือนกันครับ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าใช้เพื่อกันสปริงตกอย่างเดียว อีกฝ่ายบอกว่านอกจากกันสปริงตกแล้ว ก็มีส่วนช่วยในเรื่องการเกาะถนน เวลาเข้าโค้ง และเวลาจั๊มเนินด้วย แต่ถ้าไปเสิร์ชในเวบที่ขาย Helper โดยตรงอย่าง SWIFT เขาก็จะเขียนเซฟๆว่าใช้กันสปริงตกอย่างเดียวครับ
Ref:
https://www.swiftsprings.com/products/assist-helper-springs/
ซึ่งก็ยังมีสปริงอีกแบบที่หน้าตาคล้ายกันและน่าสับสนเป็นอย่างมาก ของยี่ห้อ SWIFT เรียกว่า Assist Spring แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมเรียกว่า Tender Spring ครับ
ซึ่งสปริง 2 แบบมีคุณสมบัติต่างกันนิดหน่อยคือ Helper Spring เขียนไว้ว่าใส่เพื่อกันสปริงตก แต่ Assist/Tender Spring บอกว่ามีส่วนช่วยเรื่องการเกาะถนนในกรณีที่เข้าโค้งแรงๆแล้วล้อด้านที่อยู่ในโค้งลอยครับ ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นการขับขี่ที่รุนแรงแบบในสนามถึงจะได้ใช้คุณสมบัตินี้แบบจริงจัง อีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างระหว่าง Helper และ Assist/Tender คือค่า K ครับ Assist จะมีค่า K ที่สูงกว่า Helper เป็นเท่าตัว ประมาณ 4-6 K
สนนราคาของ Helper Spring ผมลองแชทไปถาม Tein ทราบว่าของใหม่ตัว 1.9K ราคาประมาณ 3200 บาท แต่ถ้าจะเอามาใส่รถ จะต้องมีสเปเซอร์เพิ่มอีกนะครับยังไม่จบแค่ราคานั้น..
RSR Helper Spring
หลังจากที่ผมใช้สตรัท RSR Best-i และไล่เบอร์สปริงจนคิดว่าจบ คือสปริงหน้าหลังใช้ของยี่ห้อ SWIFT ความแข็ง 6K รูใน 65 มม. ความยาว 178 มม. เหมือนกันทั้งหน้าหลังแล้วนั้น โปรเจคต่อมาคืออยากลองใส่ Helper Spring ครับ ใส่แบบไม่ได้คาดหวังว่ามันจะถูกใจเรามากขึ้น แต่แค่อยากรู้ว่าใส่แล้วมันจะต่างจากเดิมยังไงบ้าง เป็นแนวคันและอยากลองเฉยๆนะครับ ลองแล้วจะได้เอาไปบอกคนอื่นต่อได้เต็มปากเพราะเราลองเอง ถ้าฟังเขามาแล้วเอามาเล่าต่ออาจจะพูดได้ไม่เต็มที่นักครับ ผมได้ Helper Spring ของ RSR มา 2 คู่ จำราคาไม่ค่อยได้ละครับเพราะเก็บไว้นานมาก คิดว่าประมาณคู่ละ 1,500 ละกันครับ
ข้อมูลเกี่ยวกับรถ
ยี่ห้อ/รุ่น : Toyota Altis หน้าหมู 1.6E AT ปี 2004
เครื่องยนต์ : เปลี่ยนเป็น 2zz-ge 1.8 6MT (ตามสเปค ประมาณ 190 แรงม้า)
ยาง : Otani KC2000 205/60/15
ช่วงล่าง : สตรัทปรับเกลียว RSR Best-i ตรงรุ่น Toyota Wish แปลงใส่รถรุ่นผม
ความเปลี่ยนแปลงหลังจากทดลองใช้
ครั้งแรกผมใส่แบบเอาแค่แตะสปริง ไม่ได้บีบสปริง (preload) เพิ่ม ความรู้สึกคือ รถหน้าดื้อน้อยลงมาก หักเลี้ยวง่ายขึ้น เหมือนยางจะเกาะถนนมากขึ้น และเบรคดีขึ้น ความน่มนวลมีทั้งดีขึ้นและลดลงครับ กล่าวคือ จังหวะแรกที่บั๊มจะแข็งขึ้น กระแทกตึ้งกว่าเดิม แต่หลังจากบั๊มแล้ว จังหวะลงพื้นจะนุ่มสมูธขึ้นกว่าเดิม การชับผ่านถนนปะผุ หรือรอยต่อคอนกรีต เนียนสมูธขึ้น เหมือนมันปรับให้ถนนเรียบขึ้นเยอะเลยครับ สรุปคือ ถ้าเป็นทางขรุขระน้อยๆคือแทบจะเรียบไม่มีสะเทือนเลย แต่พอมีขรุขระปานกลางถึงมาก แบบเป็นสันให้มันต้องกระแทก มันจะกระแทกแรงขึ้น แต่จังหวะสอง หรือจังหวะกลับลงพื้น จะนุ่มขึ้นครับ รวมถึงการจั๊มคอสะพานแรงๆ ตอนลงคือสมูธขึ้นและรถเสียอาการน้อยลงด้วย อีกอาการนึงที่พบคือความคมลดลงนิดหน่อยครับ จะไม่คมเท่าของเดิมที่ไม่ได้ใส่ Helper และพบว่าตอนขับออก ตจว ไกลๆ ต้องใช้แรงประคองพวงมาลัยมากขึ้นนิดนึง แต่พอนิดนึงนานๆมันก็กลายเป็นว่าเราขับเหนื่อยกว่าเดิมอีกนิดครับ
ต่อมาผมลองไปให้ร้านปรับเซ็ทเพิ่มเติม ร้านบีบสปริง (preload) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ฟีลลิ่งเปลี่ยนไปเป็นกระด้างขึ้นชัดเลยครับ แต่รอยต่อระหว่าง Helper กับสปริงหลักรู้สึกจะเนียนขึ้นไปอีก เลยลองเอาไปตั้งศูนย์เพิ่ม ทีนี้ขับดีขึ้นกว่าก่อนตั้งศูนย์อีก แต่เรื่องกระด้างก็ยังคงกระด้างอยู่นะครับ โดยรวมฟีลลิ่งคล้ายๆย่อหน้าแรก แต่ได้ความเนียน สมูธเพิ่มขึ้น แต่ก็กระด้างขึ้นด้วย โดยรวมถ้าพูดถึงสมรรถนะผมว่ามันดีขึ้นจากตอนที่ไม่ได้ใส่ Helper ครับ ทั้งเกาะดูดติดถนนมากขึ้น เบรคดีขึ้น เลี้ยวหน้าดื้อลดลง และการโดดคอสะพานแล้วอยู่เลยเสียอาการน้อยลง แต่มันไม่ได้เยอะแบบหน้ามือหลังมือนะครับ แค่ต่างแบบพอจับความรู้สึกได้
ขออธิบายการทำงานของ Helper ในระหว่างการขับขี่ แบบนั่งเทียนทึกทักเดาเอาเองนะครับ น่าจะประมาณว่า ในช่วงเวลาปกติ Helper ค่าเคน้อย แบกน้ำหนักรถไม่ไหวจึงยุบสุดอยู่ เมื่อยุบสุดมันก็จะมีแรงถีบที่รอการคืนตัวค้างอยู่ เมื่อขับรถผ่านสันหรือใดๆก็ตามที่ทำให้โช๊คและสปริงหลักยุบลง เช่นขับผ่านสันแล้วกระแทกตึ้ง โช๊คและสปริงจะยุบไป 1 นิ้ว (สมมติ) สปริง Helper จะยืดตัวทันทีทันใดในขณะที่โช๊คและสปริงหลักยุบ ซึ่งปกติแล้วจังหวะแบบนี้ล้ออาจจะลอยจากพื้นแป๊ปนึง แต่เมื่อมี Helper ที่ยืดคืนตัวออกมามันก็เหมือนยังถีบให้ล้อติดพื้นอยู่ มีผลทำให้ล้อลอยจากพื้นในระยะเวลาสั้นลง หรืออาจจะไม่ลอยจากพื้นเลย เป็นผลให้การยึดเกาะถนนดีขึ้นนั่นเองครับ อันนี้เดาล้วนๆนะครับ และหลังจากการกระแทก ล้อลอยแล้วกลับลงพื้น ก็จะนุ่มนวลสมูธกว่าเดิม เนื่องจากมี Helper ก็เหมือนมีอะไรนุ่มๆมารองรับก่อน 1 ชั้น ก่อนที่จะถึงสปริงหลักที่ค่าเคสูงจะซับแรงไปเต็มๆครับ
ในกรณีขับผ่านทางลาดยางปะผุก็เช่นกัน ที่มันปรับทางให้เรียบเนียนขึ้นก็น่าจะเพราะเหตุผลเดียวกับข้างบนครับ จังหวะขึ้นทางปะผุแรกโช๊คและสปริงหลักจะยุบ พร้อมๆกับน้ำหนักจะถ่ายเทขึ้นไปด้านบน เมื่อน้ำหนักรถที่กดลงบน Helper ลดลงจากเต็มๆ 100% เหลือแค่ สมมติ 25% ทำให้ Helper ที่มีแรงอันน้อยนิดสามารถยืดตัวออกมาได้บ้าง แม้ไม่ได้ยืดจนสุด ระยะที่ยืดออกมาแม้แค่ 1 ซม. ก็มีผลต่อความนุ่มนวลครับ เพราะหลังจากที่รถทิ้งน้ำหนักกลับลงมาที่ถนนเต็ม 100% มันมี Helper ที่ช่วยซับแรงกระแทกให้ซอฟลง การเด้งขึ้นเด้งลงเบาๆแบบทางลาดยางปะผุ จึงเรียบเนียนขึ้นชัดเจนมากครับ อันนี้ต้องขอย้ำอีกทีว่าผมเดาล้วนๆนะครับ อาการที่จับได้มันเรียบเนียนจริงๆ แต่การอธิบายการทำงานคือผมจินตนาการขึ้นมามั่วๆเองครับ แต่คิดว่ามันน่าจะไกล้เคียงการทำงานจริงๆบ้างไม่มากก็น้อย
สรุปผลการทดลอง
หลังใส่ Helper แล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นคือ รู้สึกยางเกาะติดถนนมากขึ้น รู้สึกได้ทั้งขับไปตรงๆแล้วผ่านทางขรุขระหรือเป้นคลื่น รวมถึงเมื่อโยกเปลี่ยนเลนและเข้าโค้งก็รู้สึกได้ว่าเกาะถนนขึ้น มีความเนียนและราบเรียบขึ้นชัดเจนเมื่อผ่านทางแบบลาดยางปะผุหรือรอยต่อถนนซีเมนต์ แต่ถ้าเป็นทางขรุขระระดับกลางหรือมาก จังหวะบั๊มแรกจะกระแทกกว่าเดิม แต่ขจังหวะกลับลงพื้นจะสมูธกว่าเดิมครับ รวมถึงเวลาจั๊มและกลับลงพื้นจะสมูธและเสียอาการน้อย ใช้เวลาแต่งตัวน้อยลงครับ สรุปสุดท้ายก็คือผมชอบ แต่ภรรยาไม่ชอบ ก็เลยต้องถอดออกเพราะถือคติ happy wife happy life นั่นเองครับ
คะแนนความถึงพอใจ: ไม่ใส่ helper > ใส่ helper
การควบคุม: 8/10 >
8.5/10
ความนุ่มนวล: 7.5/10 > 7.5/10
ความขับสนุก: 5/10 >
5.5/10
ความยืดหยุ่น: 7/10 > 7.5/10
ความคุ้มราคา: 9/10 > 9/10
ฝากติดตามผลงานที่เพจ Need For Slow ด้วยครับ:
https://www.facebook.com/Needforslow247/
[CR] รีวิวสามัญชน: ลองใส่ Helper Spring ในสตรัท RSR Best-i
Helper Spring หน้าตาเป็นแบบนี้นะครับ เป็นขดสปริงเส้นแบนๆเล็กๆ ยาวประมาณ 2.5 นิ้ว ใส่ไว้ด้านบนหรือด้านล่างของสปริงหลัก ส่วนใหญ่จะความแข็งหรือค่า K น้อยประมาณเกือบๆ 1K ไปจนถึงประมาณ 2K พอใส่แล้วเอารถวางลง Helper Sping ก็จะยุบสุดเลยครับ
รูป - Helper Spring เมื่อใส่อยู่ในสตรัทปรับเกลียว (ฝรั่งเรียกสตรัทปรับเกลียวว่า Coilover)
Ref: https://www.pacificcustoms.com/eibachspringhelper300.html
ไปลอง Search หาข้อมูลในเวบฝรั่ง ส่วนใหญ่ก็ยังมีการแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเหมือนกันครับ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าใช้เพื่อกันสปริงตกอย่างเดียว อีกฝ่ายบอกว่านอกจากกันสปริงตกแล้ว ก็มีส่วนช่วยในเรื่องการเกาะถนน เวลาเข้าโค้ง และเวลาจั๊มเนินด้วย แต่ถ้าไปเสิร์ชในเวบที่ขาย Helper โดยตรงอย่าง SWIFT เขาก็จะเขียนเซฟๆว่าใช้กันสปริงตกอย่างเดียวครับ
Ref: https://www.swiftsprings.com/products/assist-helper-springs/
ซึ่งก็ยังมีสปริงอีกแบบที่หน้าตาคล้ายกันและน่าสับสนเป็นอย่างมาก ของยี่ห้อ SWIFT เรียกว่า Assist Spring แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมเรียกว่า Tender Spring ครับ
ซึ่งสปริง 2 แบบมีคุณสมบัติต่างกันนิดหน่อยคือ Helper Spring เขียนไว้ว่าใส่เพื่อกันสปริงตก แต่ Assist/Tender Spring บอกว่ามีส่วนช่วยเรื่องการเกาะถนนในกรณีที่เข้าโค้งแรงๆแล้วล้อด้านที่อยู่ในโค้งลอยครับ ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นการขับขี่ที่รุนแรงแบบในสนามถึงจะได้ใช้คุณสมบัตินี้แบบจริงจัง อีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างระหว่าง Helper และ Assist/Tender คือค่า K ครับ Assist จะมีค่า K ที่สูงกว่า Helper เป็นเท่าตัว ประมาณ 4-6 K
สนนราคาของ Helper Spring ผมลองแชทไปถาม Tein ทราบว่าของใหม่ตัว 1.9K ราคาประมาณ 3200 บาท แต่ถ้าจะเอามาใส่รถ จะต้องมีสเปเซอร์เพิ่มอีกนะครับยังไม่จบแค่ราคานั้น..
RSR Helper Spring
หลังจากที่ผมใช้สตรัท RSR Best-i และไล่เบอร์สปริงจนคิดว่าจบ คือสปริงหน้าหลังใช้ของยี่ห้อ SWIFT ความแข็ง 6K รูใน 65 มม. ความยาว 178 มม. เหมือนกันทั้งหน้าหลังแล้วนั้น โปรเจคต่อมาคืออยากลองใส่ Helper Spring ครับ ใส่แบบไม่ได้คาดหวังว่ามันจะถูกใจเรามากขึ้น แต่แค่อยากรู้ว่าใส่แล้วมันจะต่างจากเดิมยังไงบ้าง เป็นแนวคันและอยากลองเฉยๆนะครับ ลองแล้วจะได้เอาไปบอกคนอื่นต่อได้เต็มปากเพราะเราลองเอง ถ้าฟังเขามาแล้วเอามาเล่าต่ออาจจะพูดได้ไม่เต็มที่นักครับ ผมได้ Helper Spring ของ RSR มา 2 คู่ จำราคาไม่ค่อยได้ละครับเพราะเก็บไว้นานมาก คิดว่าประมาณคู่ละ 1,500 ละกันครับ
ข้อมูลเกี่ยวกับรถ
ยี่ห้อ/รุ่น : Toyota Altis หน้าหมู 1.6E AT ปี 2004
เครื่องยนต์ : เปลี่ยนเป็น 2zz-ge 1.8 6MT (ตามสเปค ประมาณ 190 แรงม้า)
ยาง : Otani KC2000 205/60/15
ช่วงล่าง : สตรัทปรับเกลียว RSR Best-i ตรงรุ่น Toyota Wish แปลงใส่รถรุ่นผม
ความเปลี่ยนแปลงหลังจากทดลองใช้
ครั้งแรกผมใส่แบบเอาแค่แตะสปริง ไม่ได้บีบสปริง (preload) เพิ่ม ความรู้สึกคือ รถหน้าดื้อน้อยลงมาก หักเลี้ยวง่ายขึ้น เหมือนยางจะเกาะถนนมากขึ้น และเบรคดีขึ้น ความน่มนวลมีทั้งดีขึ้นและลดลงครับ กล่าวคือ จังหวะแรกที่บั๊มจะแข็งขึ้น กระแทกตึ้งกว่าเดิม แต่หลังจากบั๊มแล้ว จังหวะลงพื้นจะนุ่มสมูธขึ้นกว่าเดิม การชับผ่านถนนปะผุ หรือรอยต่อคอนกรีต เนียนสมูธขึ้น เหมือนมันปรับให้ถนนเรียบขึ้นเยอะเลยครับ สรุปคือ ถ้าเป็นทางขรุขระน้อยๆคือแทบจะเรียบไม่มีสะเทือนเลย แต่พอมีขรุขระปานกลางถึงมาก แบบเป็นสันให้มันต้องกระแทก มันจะกระแทกแรงขึ้น แต่จังหวะสอง หรือจังหวะกลับลงพื้น จะนุ่มขึ้นครับ รวมถึงการจั๊มคอสะพานแรงๆ ตอนลงคือสมูธขึ้นและรถเสียอาการน้อยลงด้วย อีกอาการนึงที่พบคือความคมลดลงนิดหน่อยครับ จะไม่คมเท่าของเดิมที่ไม่ได้ใส่ Helper และพบว่าตอนขับออก ตจว ไกลๆ ต้องใช้แรงประคองพวงมาลัยมากขึ้นนิดนึง แต่พอนิดนึงนานๆมันก็กลายเป็นว่าเราขับเหนื่อยกว่าเดิมอีกนิดครับ
ต่อมาผมลองไปให้ร้านปรับเซ็ทเพิ่มเติม ร้านบีบสปริง (preload) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ฟีลลิ่งเปลี่ยนไปเป็นกระด้างขึ้นชัดเลยครับ แต่รอยต่อระหว่าง Helper กับสปริงหลักรู้สึกจะเนียนขึ้นไปอีก เลยลองเอาไปตั้งศูนย์เพิ่ม ทีนี้ขับดีขึ้นกว่าก่อนตั้งศูนย์อีก แต่เรื่องกระด้างก็ยังคงกระด้างอยู่นะครับ โดยรวมฟีลลิ่งคล้ายๆย่อหน้าแรก แต่ได้ความเนียน สมูธเพิ่มขึ้น แต่ก็กระด้างขึ้นด้วย โดยรวมถ้าพูดถึงสมรรถนะผมว่ามันดีขึ้นจากตอนที่ไม่ได้ใส่ Helper ครับ ทั้งเกาะดูดติดถนนมากขึ้น เบรคดีขึ้น เลี้ยวหน้าดื้อลดลง และการโดดคอสะพานแล้วอยู่เลยเสียอาการน้อยลง แต่มันไม่ได้เยอะแบบหน้ามือหลังมือนะครับ แค่ต่างแบบพอจับความรู้สึกได้
ขออธิบายการทำงานของ Helper ในระหว่างการขับขี่ แบบนั่งเทียนทึกทักเดาเอาเองนะครับ น่าจะประมาณว่า ในช่วงเวลาปกติ Helper ค่าเคน้อย แบกน้ำหนักรถไม่ไหวจึงยุบสุดอยู่ เมื่อยุบสุดมันก็จะมีแรงถีบที่รอการคืนตัวค้างอยู่ เมื่อขับรถผ่านสันหรือใดๆก็ตามที่ทำให้โช๊คและสปริงหลักยุบลง เช่นขับผ่านสันแล้วกระแทกตึ้ง โช๊คและสปริงจะยุบไป 1 นิ้ว (สมมติ) สปริง Helper จะยืดตัวทันทีทันใดในขณะที่โช๊คและสปริงหลักยุบ ซึ่งปกติแล้วจังหวะแบบนี้ล้ออาจจะลอยจากพื้นแป๊ปนึง แต่เมื่อมี Helper ที่ยืดคืนตัวออกมามันก็เหมือนยังถีบให้ล้อติดพื้นอยู่ มีผลทำให้ล้อลอยจากพื้นในระยะเวลาสั้นลง หรืออาจจะไม่ลอยจากพื้นเลย เป็นผลให้การยึดเกาะถนนดีขึ้นนั่นเองครับ อันนี้เดาล้วนๆนะครับ และหลังจากการกระแทก ล้อลอยแล้วกลับลงพื้น ก็จะนุ่มนวลสมูธกว่าเดิม เนื่องจากมี Helper ก็เหมือนมีอะไรนุ่มๆมารองรับก่อน 1 ชั้น ก่อนที่จะถึงสปริงหลักที่ค่าเคสูงจะซับแรงไปเต็มๆครับ
ในกรณีขับผ่านทางลาดยางปะผุก็เช่นกัน ที่มันปรับทางให้เรียบเนียนขึ้นก็น่าจะเพราะเหตุผลเดียวกับข้างบนครับ จังหวะขึ้นทางปะผุแรกโช๊คและสปริงหลักจะยุบ พร้อมๆกับน้ำหนักจะถ่ายเทขึ้นไปด้านบน เมื่อน้ำหนักรถที่กดลงบน Helper ลดลงจากเต็มๆ 100% เหลือแค่ สมมติ 25% ทำให้ Helper ที่มีแรงอันน้อยนิดสามารถยืดตัวออกมาได้บ้าง แม้ไม่ได้ยืดจนสุด ระยะที่ยืดออกมาแม้แค่ 1 ซม. ก็มีผลต่อความนุ่มนวลครับ เพราะหลังจากที่รถทิ้งน้ำหนักกลับลงมาที่ถนนเต็ม 100% มันมี Helper ที่ช่วยซับแรงกระแทกให้ซอฟลง การเด้งขึ้นเด้งลงเบาๆแบบทางลาดยางปะผุ จึงเรียบเนียนขึ้นชัดเจนมากครับ อันนี้ต้องขอย้ำอีกทีว่าผมเดาล้วนๆนะครับ อาการที่จับได้มันเรียบเนียนจริงๆ แต่การอธิบายการทำงานคือผมจินตนาการขึ้นมามั่วๆเองครับ แต่คิดว่ามันน่าจะไกล้เคียงการทำงานจริงๆบ้างไม่มากก็น้อย
สรุปผลการทดลอง
หลังใส่ Helper แล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นคือ รู้สึกยางเกาะติดถนนมากขึ้น รู้สึกได้ทั้งขับไปตรงๆแล้วผ่านทางขรุขระหรือเป้นคลื่น รวมถึงเมื่อโยกเปลี่ยนเลนและเข้าโค้งก็รู้สึกได้ว่าเกาะถนนขึ้น มีความเนียนและราบเรียบขึ้นชัดเจนเมื่อผ่านทางแบบลาดยางปะผุหรือรอยต่อถนนซีเมนต์ แต่ถ้าเป็นทางขรุขระระดับกลางหรือมาก จังหวะบั๊มแรกจะกระแทกกว่าเดิม แต่ขจังหวะกลับลงพื้นจะสมูธกว่าเดิมครับ รวมถึงเวลาจั๊มและกลับลงพื้นจะสมูธและเสียอาการน้อย ใช้เวลาแต่งตัวน้อยลงครับ สรุปสุดท้ายก็คือผมชอบ แต่ภรรยาไม่ชอบ ก็เลยต้องถอดออกเพราะถือคติ happy wife happy life นั่นเองครับ
คะแนนความถึงพอใจ: ไม่ใส่ helper > ใส่ helper
การควบคุม: 8/10 > 8.5/10
ความนุ่มนวล: 7.5/10 > 7.5/10
ความขับสนุก: 5/10 > 5.5/10
ความยืดหยุ่น: 7/10 > 7.5/10
ความคุ้มราคา: 9/10 > 9/10
ฝากติดตามผลงานที่เพจ Need For Slow ด้วยครับ:
https://www.facebook.com/Needforslow247/
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้