วันนี้ผมจะไม่ขายขำ แล้วผมจะจริงจังแล้ว เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ซีเรียสสำหรับคนไทยเป็นอย่างมาก ในฐานะผู้บริโภค และเป็นเรื่องที่ด่วนมากที่พวกท่านจะต้องไปรีบรักษาสิทธิ์ของทั่น
ก่อนจะเริ่มลงรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ ซึ่งมันจะกลายเป็น Duopoly ซึ่งผู้ให้บริการ ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันทางราคา / ให้บริการเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคอีกต่อไป ซึ่งมันอาจจะไม่ได้นำมาซึ่งแค่
ค่าบริการที่แพงขึ้นหรือ คุณภาพการบริการที่ลดลง แต่สิ่งอื่นๆที่คุณอาจจะคาดไม่ถึงก็เป็นได้!!!!!!!!
ผมอยากอธิบายถึงสิทธิของคนไทยสักนิด
เมื่อปี 2560 สถาบันได้มีการอนุมัติพรบ.ฉบับหนึ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อไพร่ฟ้าประชาชนเป็นอย่างมาก
ผมจะค่อยๆอธิบายว่าพรบ.ฉบับนี้ดีอย่างไร
พรบ.ฉบับนี้มีชื่อว่า
"พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า" ทรงโปรดเกล้าให้ไว้โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ในปีที่ 2 ของรัชกาล ทรงพระราชทานให้ไว้แก่ประชาชนชาวไทย
เราทุกคนจะสามารถที่จะคัดค้านและป้องกันการผูกขาดทางการค้า และรักษาสิทธิของตัวเอง เมื่อรู้ว่าจะเกิดการควบรวมกิจการ หรือดีลธุรกิจที่จะทำให้ตัวเองเสียสิทธิ์ในฐานะผู้บริโภคในอนาคต
ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของประชาชนชาวไทยที่จะต้องรักษาสิทธิของตัวเองในนี้
ลองดูสิ่งที่ในระบุพระราชบัญญัติ
ก่อนที่จะเกิดดีลควบรวม จะต้องเกิดการ Hearing หรือการรับฟังเสียงของประชาชน ซึ่งประชาชนทุกคนหากไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการ
และสิ่งที่สำคัญคือ สำนักงานนี้จะต้องนำเสนอข้อมูลและบริการที่มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการผูกขาด เผยแพร่ต่อสาธารณชน
สรุปสำหรับคนที่ขี้เกียจอ่านนะครับ
ดีลที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ชอบด้วยข้อมาตราที่ 50 ที่ระบุถึงลักษณะการประกอบกิจการการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ซึ่งถ้าสรุปกันแบบภาษา Business ก็คือ ธุรกิจในลักษณะนี้เป็นลักษณะ Duopoly หรือตลาดที่อยู่ในสภาวะที่เกือบจะผูกขาดโดยสมบูรณ์ ซึ่ง Duopoly นั้นเป็นอะไรที่แย่มากๆครับสำหรับผู้บริโภค
ผมจะยกตัวอย่าง ธุรกิจที่เห็นกันหลักๆเลยว่าเป็น Duopoly ในประเทศไทย
ก็คือธุรกิจท่าเรือข้ามฟากไปยังเกาะสมุย / เกาะพงัน ซึ่งมีแค่ 2 เจ้าก็คือ ราชาเฟอร์รี่และซีทรานเฟอร์รี่
ซึ่งเจ้าแรกก็คือราชาที่ได้ทำสัมปทานเรือข้ามฝากจากท่าเรือสุราษฎ์ไปยังเกาะสมุย ซึ่งสมัย 20+ ปีก่อนที่ยังไม่มีซีทราน ราชาเฟอร์รี่แทบไม่สนใจลูกค้าครับ
อารมณ์ประมานว่า แม้จะเป็นเวลาเที่ยงคืนกว่า ก็ยังคงมีคนไปเข้าคิวเพื่อซื้อตั๋วรอข้ามเรือ
เพราะผู้บริโภคไม่มีทางเลือกจริงๆ
จนกระทั่งซีทรานเฟอร์รี่ได้มาเปิดท่าเรือที่ดอนสักสุราษฎ์ ในเวลานั้นเอง ซีทรานเฟอร์รี่เป็นเจ้าใหม่ที่เรือใหม่กว่า และท่าเรือที่ทันสมัยมากกว่า
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในตอนนี้เวลาได้ผ่านล่วงเลยไปกว่า 20 ปีแล้ว แต่ทั้ง 2 เจ้าก็ยังคงขายราคาเท่ากันอยู่ดีสำหรับเรือที่รวมเซอร์วิสค่าบริการไว้ในอัตราเท่ากัน คือรับส่งสนามบิน + ข้ามฟากในราคา 470 บาท
ซึ่งแม้ราชาเฟอร์รี่จะมีสภาพเรือข้ามฟากเหมือนสมัย 20 ปีที่แล้ว
และจากท่าจะขึ้นไปนั่งบนเรือ นักท่องเที่ยวจะต้องเดินขึ้นลงบันไดไปยังชั้น 2 ด้วยบันไดที่สูงชัน และมันไม่สะดวกเอามากๆสำหรับนักท่องเที่ยวที่มี Luggage แต่บริษัทก็ไม่ได้สนใจ และยังคงมีคนใช้บริการราชาเฟอร์รี่อยู่ดี
ในขณะที่ซีทรานเฟอร์รี่อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวมากกว่า จากท่าเรือสามารถลากกระเป๋าเข้าไปในห้องโดยสารได้ทันที
ซึ่งสำหรับราชาเฟอร์รี่แม้คู่แข่งจะใหม่กว่าและถูกกว่า แต่ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแข่งราคา เพราะมันก็มีชาวบ้านและยานพาหนะที่ขนของข้ามฟากใช้บริการเขาอยู่ดี
ซึ่งถ้าหากวันดีคืนดี อีกบริษัทไม่พัฒนาปรับปรุงคุณภาพของเรือหรือการให้บริการ ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้ทั้งสองธุรกิจเดือดร้อน เพราะคนก็ต้องใช้บริการเพื่อข้ามฟากครับ
เช่นเดียวกับกับธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคมทั่วโลก ซึ่งแรกเริ่มเดิมที มันเป็นธุรกิจในลักษณะ Oligopoly อยู่แล้วที่ผู้ให้บริการจะมีการเก็บอัตราค่าบริการในระดับราคาที่ใกล้เคียงกัน
เพราะว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการได้มาซึ่งสัมปทานมันต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลครับ ในยุคนี้ยิ่งมหาศาลกว่ายุค 20-30 ปีก่อนมากมาย
ในยุค 3G รัฐบาลไทยได้เงินจากการประมูลไปราวๆ 41,xxx ล้านบาท
แต่ในยุค 4G รัฐบาลไทยได้เงินไปจากการประมูลเกือบ 1.5 แสนล้านเลยทีเดียว เนื่องจากมีผู้เข้าประมูลเพิ่มเป็น 4 ราย
ซึ่งถ้าหากผู้ให้บริการเครือข่ายลดลงเหลือ 2 เจ้าล่ะครับ จะเกิดอะไรขึ้น?
1.เงินไม่เข้ารัฐ ประชาชนอาจจะต้องแบกรับภาษีในส่วนดังกล่าวที่หายไปหนักขึ้น(?)
2 ผู้ให้บริการ อาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดันราคาประมูลให้สูงขนาดนั้นก็ได้ครับ เพราะไม่ว่ายังไงก็ตาม ก็ไม่มีผู้ต่อสู้ในการแข่งขันอยู่แล้วครับ
ซึ่งถ้าหากรัฐให้ผู้ชนะเพียงรายเดียว ก็จะเป็นการสร้างกลไกตลาดแบบ Monopoly ทางอ้อม ก็จะมีเพียงรายเดียวที่ได้เปรียบทางการตลาด ส่วนอีกรายก็เหมือนย่อยยับเลยล่ะครับ
มาดูการค้าในลักษณะ Duopoly ที่เหลือ 2 เจ้ากัน
2.แม้จะมีต้นทุนที่ถูก แต่พวกเขาไม่จำเป็นจะต้องแข่งขันกันด้านราคาก็ได้ เพราะไม่ว่าอย่างไรก็มีผู้มาใช้บริการอยู่ดี การตัดราคาก็เหมือนการฟาดฟันกันเองไปมา
เพราะฉะนั้นสำหรับผู้บริโภค คุณจะใช้มุกย้ายค่ายแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไปนะครับ ไม่ว่าคุณจะเอะอะขู่ว่าของไม่ดีและจะย้ายค่าย หรือเน็ตแพงแล้วคุณจะย้ายค่าย เพราะมันใช้ไม่ได้ผลครับ เน็ตบ้านก็เช่นกัน ไม่มี 3BB อีกแล้ว และเน็ตบ้านก็เหลือแค่ ทรู AIS Fibre และ TOT ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคุณอยากจะตีกับโอเปอเรเตอร์ TOT ที่ให้คุณรอสายนานๆ และไม่สามารถให้การบริการนอกเวลาราชการได้หรือเปล่า?
ยกตัวอย่าง
หากคุณซื้อ iPhone 15 - 16 คุณอาจจะได้รับส่วนลดราคาเครื่อง 15% และการผ่อน 0% แต่มันแลกกับการพ่วงด้วยแพ็คเกจการบริการในราคาที่แพงขึ้นและที่นานขึ้นจาก 12 เดือนเป็น 18 เดือน หรือ 24 เดือน
หรือคุณอาจจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแล้ว ไม่มีโปรผ่อน 0% ค่ายมือถือไม่จำเป็นต้องง้อคุณอีกต่อไปครับ
3.ไม่ความจำเป็นที่จะต้องให้บริการในระดับที่สูงสุด แต่บริษัทสามารถเปลี่ยน Strategy เป็นการสร้างผลตอบแทนอย่างสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น
ในถิ่นทุรกันดาน หรือจุดที่อับสัญญาน ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือลงทุนเพิ่ม หากว่ามันไม่คุ้มต่อกำไร ยกตัวอย่างเช่น ในบางทำเล สัญญานของผู้ให้บบริการบางเครือข่ายอ่อนมาก / ความแรงเน็ตไม่เท่ากัน หากมันแลกมาด้วยการลงทุนที่สิ้นเปลือง ผู้ให้บริการก็สามารถ Ignore ในข้อนี้ไปได้เลยครับ
และอีกอย่างก็คือ บริษัท TRUE และ ADVANC เป็น 2 บริษัทที่มีอัตราหนี้สินต่อทุนในระดับที่สูงมาก (ซึ่งตัวเลขนี้ยิ่งสูงยิ่งแย่ครับ บริษัทต้องยิ่งหาเงินมาจ่ายหนี้)
สำหรับ ADVANC นั้นหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับ 3.24 เท่า
ส่วน TRUE นั้นยิ่งร้ายเข้าไปใหญ่ เพราะหนี้สินต่อทุนของบริษัทนี้สูงในระดับถึง 7.01 เท่าเลยทีเดียว!!!!! ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าหลังจากควบรวมกับ DTAC แล้วมันจะพุ่งไปอยู่ที่ระดับเท่าไหร่
ด้วยมูลค่าเดิมหนี้ 5 แสนกว่าล้านบาท + กับส่วนที่เพิ่มมาแล้วถึงเวลานั้น ค่าบริการของคนไทยล่ะจะเป็นอย่างไร
ซึ่งหนี้สินของ TRUE นั้นยังมากกว่าสินทรัพย์ทั้งหมดของแบงค์ขนาดกลางที่มีธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการลงทุน Holding / ธนาคาร / บริษัทหลักทรัพย์ และวานิชธนกิจอย่าง เกียรตินาคินภัทร อีกครับ โอ้มายก้อดดดดดดดดดด
4. Cencorship การทอนสิทธิในการเข้าถึงของประชาชน / Data Privacy
อันเนื่องมาจากทั้ง 2 บริษัทก็มีชื่อเสียงที่ว่า มีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาล ซึ่ง ผมจะยกตัวอย่างประเทศที่เกิด Duopoly ในธุรกิจโทรคมนาคม ในประเทศโลกที่ 1 ก็คือ UAE นั่นเองล่ะคร้าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ
ซึ่ง UAE เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ โดยสมบูรณ์ แต่ถึงกระนั้น ประชาชนส่วนมากก็มีฐานะในระดับที่ดี - ร่ำรวย เนื่องจากประมุขของประเทศค่อนข้างมีวิสัยทัศน์ ได้สร้างสายการบินแห่งชาติที่ดีในระดับสุดยอดออกมาถึง 2 สายการบิน เนรมิตรประเทศเป็น Airlines hub ซึ่งหากคุณจะบินต่อไปที่ใดๆก็ตามบนโลกใบนี้ และขึ้นเครื่องที่ให้บริการในระดับ 5 ดาวอย่าง Emirates / Ethihad เป็นขวัญใจผู้คนทุกหมูเหล่า เพราะมันราคาถูกแสนถูกกกกกกกกกก (ถูกกว่าสายการบินแถวนี้)
สำหรับเครื่อง Full Service แลกกับการแวะพักจอดที่สนามบิน UAE เพียงไม่กี่ชั่วโมง
แม้ว่าจะประชาชนเป็นชนชั้นกลาง พวกเขาก็มีหน้าที่การงานและรายได้ที่ดีในธุรกิจสายการบินแห่งชาติ / Hospitality
อะเข้าเรื่องกันต่อกับธุรกิจโทรคมนาคมใน UAE
แต่ถึงแม้ว่าประเทศจะเจริญขนาดไหน การที่มี ธุรกิจโทรคมนาคมเพียงแค่ 2 เจ้าและ 2 เจ้านี้ก็ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ (ชีค) และมีการเซ็นเซอร์ Data ที่เข้มข้นรุนแรงมาก โซเชียลเน็ตเวิร์คจำนวนมากถูกบลอค ไม่ว่าจะเป็น Skype Yahoo รวมไปถึงเว็บเดท หรือเดทอย่าง Tinder / Dating.com อีกด้วย
ส่วนในเรื่อง Data Privacy ก็เป็นอีกหนึ่ง Concern ของประชาชนชาว UAE เช่นกัน
พวกเขาได้อ้างว่า ข้อมูลของเขาถูกส่งไปคัดกรองที่หน่วยงานรัฐบาล และความจริง ที่จีนก็มีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นครับ เพราะค่ายมือถือ / ค่ายเน็ตให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเป็นอย่างดี เพื่อนชาวจีนของผม จะพูดถึงรัฐบาลในเชิงลบที ก็ต้องแหก VPN มาเข้า Whatsapp มาคุยกับผม เขากล่าวว่า การใช้แอพอย่าง เว่ยซิน(Wechat ของ Tencent) 微信 โดยปราศจาก VPN จะถูกรัฐบาลจับตามองทุกฝีก้าว และรัฐบาลจะต้องให้คะแนนลบกับเขา
ซึ่งเรื่องนี้มันทอนสิทธิเสรีภาพของชาวจีนอย่างไร? ชาวจีนถูก Monitor ด้วยกล้อง Surveillance แทบจะทุกจุดบนแผ่นดินเพียงแค่เขาก้าวออกจากบ้าน หากเขาเพียงแค่เดินไปซื้อเบียร์ เขาก็จะถูกหักคะแนน หรือหากเขาพิมพ์ด่ารัฐบาลใน Social Network พวกเขาก็จะต้องได้รับคะแนนลบเช่นกันครับ
ซึ่งคนที่คะแนนติดลบมากๆ ก็จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในจีนไม่ว่าจะเป็นการสมัครงาน การใช้ชีวิต หรือคุณอาจจะไม่อาจไปต่างเหมือน / ออกนอกประเทศได้
แม้จะไม่ฆ่าให้ตาย แต่ก็เหมือนตายทั้งเป็นเลยทีเดียว เคยมีกรณีชาวจีนที่เขาต้องตีตั๋วยืนรถไฟชั้นมาราทอนไปขึ้นศาลเป็นเวลา 18 ชั่วโมงจากมณฑลหนึ่งไปถึงปักกิ่ง เพียงแค่เขาเปิดโปงว่า มวยเส้าหลิน / กังฟูเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนสร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดขายให้แก่ชาวโลกเท่านั้น
เห็นมั้ยล่ะครับ การควบรวมดีลนี้ มันอาจจะไม่ได้นำมาซึ่งเพียงแค่อัตราค่าบริการอันแพงแสนแพง หรือบริการที่ด้อยคุณภาพลง แต่มันอาจจะแลกมาซึ่งด้วยการลดทอนซึ่งเสรีภาพของท่านในอนาคต
ท่านสามารถร่วมลงชื่อเพื่อคัดค้านดีลนี้ได้ที่ ก่อนวันที่ 20 ต.ค. อันเป็นวันประกาศผลตัดสินในการควบรวมบริษัทโทรคมนาคมทั้ง 2
https://www.tcc.or.th/policies/oppose-true-dtac-merging/
ขอบคุณพื้นที่ดีๆครับ และขอความกรุณาทุกคนช่วยโหวตแนะนำกระทู้นี้เพื่อส่งข่าวไปยังพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าด้วย
[ด่วนที่สุดดดดด!! รรรรรร]โปรดรักษาสิทธิของคนไทยในการร่วมกันคัดค้านดีลควบรวม DTAC-TRUE ค่าเน็ตอาจพุ่งบริการลดลงและเสรีภาพ
ก่อนจะเริ่มลงรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ ซึ่งมันจะกลายเป็น Duopoly ซึ่งผู้ให้บริการ ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันทางราคา / ให้บริการเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคอีกต่อไป ซึ่งมันอาจจะไม่ได้นำมาซึ่งแค่ ค่าบริการที่แพงขึ้นหรือ คุณภาพการบริการที่ลดลง แต่สิ่งอื่นๆที่คุณอาจจะคาดไม่ถึงก็เป็นได้!!!!!!!!
ผมอยากอธิบายถึงสิทธิของคนไทยสักนิด
เมื่อปี 2560 สถาบันได้มีการอนุมัติพรบ.ฉบับหนึ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อไพร่ฟ้าประชาชนเป็นอย่างมาก
ผมจะค่อยๆอธิบายว่าพรบ.ฉบับนี้ดีอย่างไร
พรบ.ฉบับนี้มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า" ทรงโปรดเกล้าให้ไว้โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ในปีที่ 2 ของรัชกาล ทรงพระราชทานให้ไว้แก่ประชาชนชาวไทย เราทุกคนจะสามารถที่จะคัดค้านและป้องกันการผูกขาดทางการค้า และรักษาสิทธิของตัวเอง เมื่อรู้ว่าจะเกิดการควบรวมกิจการ หรือดีลธุรกิจที่จะทำให้ตัวเองเสียสิทธิ์ในฐานะผู้บริโภคในอนาคต
ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของประชาชนชาวไทยที่จะต้องรักษาสิทธิของตัวเองในนี้
ลองดูสิ่งที่ในระบุพระราชบัญญัติ
ก่อนที่จะเกิดดีลควบรวม จะต้องเกิดการ Hearing หรือการรับฟังเสียงของประชาชน ซึ่งประชาชนทุกคนหากไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการ
และสิ่งที่สำคัญคือ สำนักงานนี้จะต้องนำเสนอข้อมูลและบริการที่มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการผูกขาด เผยแพร่ต่อสาธารณชน
สรุปสำหรับคนที่ขี้เกียจอ่านนะครับ
ดีลที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ชอบด้วยข้อมาตราที่ 50 ที่ระบุถึงลักษณะการประกอบกิจการการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ซึ่งถ้าสรุปกันแบบภาษา Business ก็คือ ธุรกิจในลักษณะนี้เป็นลักษณะ Duopoly หรือตลาดที่อยู่ในสภาวะที่เกือบจะผูกขาดโดยสมบูรณ์ ซึ่ง Duopoly นั้นเป็นอะไรที่แย่มากๆครับสำหรับผู้บริโภค
ผมจะยกตัวอย่าง ธุรกิจที่เห็นกันหลักๆเลยว่าเป็น Duopoly ในประเทศไทย
ก็คือธุรกิจท่าเรือข้ามฟากไปยังเกาะสมุย / เกาะพงัน ซึ่งมีแค่ 2 เจ้าก็คือ ราชาเฟอร์รี่และซีทรานเฟอร์รี่
ซึ่งเจ้าแรกก็คือราชาที่ได้ทำสัมปทานเรือข้ามฝากจากท่าเรือสุราษฎ์ไปยังเกาะสมุย ซึ่งสมัย 20+ ปีก่อนที่ยังไม่มีซีทราน ราชาเฟอร์รี่แทบไม่สนใจลูกค้าครับ
อารมณ์ประมานว่า แม้จะเป็นเวลาเที่ยงคืนกว่า ก็ยังคงมีคนไปเข้าคิวเพื่อซื้อตั๋วรอข้ามเรือ
เพราะผู้บริโภคไม่มีทางเลือกจริงๆ
จนกระทั่งซีทรานเฟอร์รี่ได้มาเปิดท่าเรือที่ดอนสักสุราษฎ์ ในเวลานั้นเอง ซีทรานเฟอร์รี่เป็นเจ้าใหม่ที่เรือใหม่กว่า และท่าเรือที่ทันสมัยมากกว่า
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในตอนนี้เวลาได้ผ่านล่วงเลยไปกว่า 20 ปีแล้ว แต่ทั้ง 2 เจ้าก็ยังคงขายราคาเท่ากันอยู่ดีสำหรับเรือที่รวมเซอร์วิสค่าบริการไว้ในอัตราเท่ากัน คือรับส่งสนามบิน + ข้ามฟากในราคา 470 บาท
ซึ่งแม้ราชาเฟอร์รี่จะมีสภาพเรือข้ามฟากเหมือนสมัย 20 ปีที่แล้ว
และจากท่าจะขึ้นไปนั่งบนเรือ นักท่องเที่ยวจะต้องเดินขึ้นลงบันไดไปยังชั้น 2 ด้วยบันไดที่สูงชัน และมันไม่สะดวกเอามากๆสำหรับนักท่องเที่ยวที่มี Luggage แต่บริษัทก็ไม่ได้สนใจ และยังคงมีคนใช้บริการราชาเฟอร์รี่อยู่ดี
ในขณะที่ซีทรานเฟอร์รี่อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวมากกว่า จากท่าเรือสามารถลากกระเป๋าเข้าไปในห้องโดยสารได้ทันที
ซึ่งสำหรับราชาเฟอร์รี่แม้คู่แข่งจะใหม่กว่าและถูกกว่า แต่ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแข่งราคา เพราะมันก็มีชาวบ้านและยานพาหนะที่ขนของข้ามฟากใช้บริการเขาอยู่ดี
ซึ่งถ้าหากวันดีคืนดี อีกบริษัทไม่พัฒนาปรับปรุงคุณภาพของเรือหรือการให้บริการ ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้ทั้งสองธุรกิจเดือดร้อน เพราะคนก็ต้องใช้บริการเพื่อข้ามฟากครับ
เช่นเดียวกับกับธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคมทั่วโลก ซึ่งแรกเริ่มเดิมที มันเป็นธุรกิจในลักษณะ Oligopoly อยู่แล้วที่ผู้ให้บริการจะมีการเก็บอัตราค่าบริการในระดับราคาที่ใกล้เคียงกัน
เพราะว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการได้มาซึ่งสัมปทานมันต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลครับ ในยุคนี้ยิ่งมหาศาลกว่ายุค 20-30 ปีก่อนมากมาย
ในยุค 3G รัฐบาลไทยได้เงินจากการประมูลไปราวๆ 41,xxx ล้านบาท
แต่ในยุค 4G รัฐบาลไทยได้เงินไปจากการประมูลเกือบ 1.5 แสนล้านเลยทีเดียว เนื่องจากมีผู้เข้าประมูลเพิ่มเป็น 4 ราย
ซึ่งถ้าหากผู้ให้บริการเครือข่ายลดลงเหลือ 2 เจ้าล่ะครับ จะเกิดอะไรขึ้น?
1.เงินไม่เข้ารัฐ ประชาชนอาจจะต้องแบกรับภาษีในส่วนดังกล่าวที่หายไปหนักขึ้น(?)
2 ผู้ให้บริการ อาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดันราคาประมูลให้สูงขนาดนั้นก็ได้ครับ เพราะไม่ว่ายังไงก็ตาม ก็ไม่มีผู้ต่อสู้ในการแข่งขันอยู่แล้วครับ
ซึ่งถ้าหากรัฐให้ผู้ชนะเพียงรายเดียว ก็จะเป็นการสร้างกลไกตลาดแบบ Monopoly ทางอ้อม ก็จะมีเพียงรายเดียวที่ได้เปรียบทางการตลาด ส่วนอีกรายก็เหมือนย่อยยับเลยล่ะครับ
มาดูการค้าในลักษณะ Duopoly ที่เหลือ 2 เจ้ากัน
2.แม้จะมีต้นทุนที่ถูก แต่พวกเขาไม่จำเป็นจะต้องแข่งขันกันด้านราคาก็ได้ เพราะไม่ว่าอย่างไรก็มีผู้มาใช้บริการอยู่ดี การตัดราคาก็เหมือนการฟาดฟันกันเองไปมา
เพราะฉะนั้นสำหรับผู้บริโภค คุณจะใช้มุกย้ายค่ายแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไปนะครับ ไม่ว่าคุณจะเอะอะขู่ว่าของไม่ดีและจะย้ายค่าย หรือเน็ตแพงแล้วคุณจะย้ายค่าย เพราะมันใช้ไม่ได้ผลครับ เน็ตบ้านก็เช่นกัน ไม่มี 3BB อีกแล้ว และเน็ตบ้านก็เหลือแค่ ทรู AIS Fibre และ TOT ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคุณอยากจะตีกับโอเปอเรเตอร์ TOT ที่ให้คุณรอสายนานๆ และไม่สามารถให้การบริการนอกเวลาราชการได้หรือเปล่า?
ยกตัวอย่าง
หากคุณซื้อ iPhone 15 - 16 คุณอาจจะได้รับส่วนลดราคาเครื่อง 15% และการผ่อน 0% แต่มันแลกกับการพ่วงด้วยแพ็คเกจการบริการในราคาที่แพงขึ้นและที่นานขึ้นจาก 12 เดือนเป็น 18 เดือน หรือ 24 เดือน
หรือคุณอาจจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแล้ว ไม่มีโปรผ่อน 0% ค่ายมือถือไม่จำเป็นต้องง้อคุณอีกต่อไปครับ
3.ไม่ความจำเป็นที่จะต้องให้บริการในระดับที่สูงสุด แต่บริษัทสามารถเปลี่ยน Strategy เป็นการสร้างผลตอบแทนอย่างสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น
ในถิ่นทุรกันดาน หรือจุดที่อับสัญญาน ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือลงทุนเพิ่ม หากว่ามันไม่คุ้มต่อกำไร ยกตัวอย่างเช่น ในบางทำเล สัญญานของผู้ให้บบริการบางเครือข่ายอ่อนมาก / ความแรงเน็ตไม่เท่ากัน หากมันแลกมาด้วยการลงทุนที่สิ้นเปลือง ผู้ให้บริการก็สามารถ Ignore ในข้อนี้ไปได้เลยครับ
และอีกอย่างก็คือ บริษัท TRUE และ ADVANC เป็น 2 บริษัทที่มีอัตราหนี้สินต่อทุนในระดับที่สูงมาก (ซึ่งตัวเลขนี้ยิ่งสูงยิ่งแย่ครับ บริษัทต้องยิ่งหาเงินมาจ่ายหนี้)
สำหรับ ADVANC นั้นหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับ 3.24 เท่า
ส่วน TRUE นั้นยิ่งร้ายเข้าไปใหญ่ เพราะหนี้สินต่อทุนของบริษัทนี้สูงในระดับถึง 7.01 เท่าเลยทีเดียว!!!!! ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าหลังจากควบรวมกับ DTAC แล้วมันจะพุ่งไปอยู่ที่ระดับเท่าไหร่
ด้วยมูลค่าเดิมหนี้ 5 แสนกว่าล้านบาท + กับส่วนที่เพิ่มมาแล้วถึงเวลานั้น ค่าบริการของคนไทยล่ะจะเป็นอย่างไร
ซึ่งหนี้สินของ TRUE นั้นยังมากกว่าสินทรัพย์ทั้งหมดของแบงค์ขนาดกลางที่มีธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการลงทุน Holding / ธนาคาร / บริษัทหลักทรัพย์ และวานิชธนกิจอย่าง เกียรตินาคินภัทร อีกครับ โอ้มายก้อดดดดดดดดดด
4. Cencorship การทอนสิทธิในการเข้าถึงของประชาชน / Data Privacy
อันเนื่องมาจากทั้ง 2 บริษัทก็มีชื่อเสียงที่ว่า มีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาล ซึ่ง ผมจะยกตัวอย่างประเทศที่เกิด Duopoly ในธุรกิจโทรคมนาคม ในประเทศโลกที่ 1 ก็คือ UAE นั่นเองล่ะคร้าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ
ซึ่ง UAE เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ โดยสมบูรณ์ แต่ถึงกระนั้น ประชาชนส่วนมากก็มีฐานะในระดับที่ดี - ร่ำรวย เนื่องจากประมุขของประเทศค่อนข้างมีวิสัยทัศน์ ได้สร้างสายการบินแห่งชาติที่ดีในระดับสุดยอดออกมาถึง 2 สายการบิน เนรมิตรประเทศเป็น Airlines hub ซึ่งหากคุณจะบินต่อไปที่ใดๆก็ตามบนโลกใบนี้ และขึ้นเครื่องที่ให้บริการในระดับ 5 ดาวอย่าง Emirates / Ethihad เป็นขวัญใจผู้คนทุกหมูเหล่า เพราะมันราคาถูกแสนถูกกกกกกกกกก (ถูกกว่าสายการบินแถวนี้)
สำหรับเครื่อง Full Service แลกกับการแวะพักจอดที่สนามบิน UAE เพียงไม่กี่ชั่วโมง
แม้ว่าจะประชาชนเป็นชนชั้นกลาง พวกเขาก็มีหน้าที่การงานและรายได้ที่ดีในธุรกิจสายการบินแห่งชาติ / Hospitality
อะเข้าเรื่องกันต่อกับธุรกิจโทรคมนาคมใน UAE
แต่ถึงแม้ว่าประเทศจะเจริญขนาดไหน การที่มี ธุรกิจโทรคมนาคมเพียงแค่ 2 เจ้าและ 2 เจ้านี้ก็ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ (ชีค) และมีการเซ็นเซอร์ Data ที่เข้มข้นรุนแรงมาก โซเชียลเน็ตเวิร์คจำนวนมากถูกบลอค ไม่ว่าจะเป็น Skype Yahoo รวมไปถึงเว็บเดท หรือเดทอย่าง Tinder / Dating.com อีกด้วย
ส่วนในเรื่อง Data Privacy ก็เป็นอีกหนึ่ง Concern ของประชาชนชาว UAE เช่นกัน พวกเขาได้อ้างว่า ข้อมูลของเขาถูกส่งไปคัดกรองที่หน่วยงานรัฐบาล และความจริง ที่จีนก็มีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นครับ เพราะค่ายมือถือ / ค่ายเน็ตให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเป็นอย่างดี เพื่อนชาวจีนของผม จะพูดถึงรัฐบาลในเชิงลบที ก็ต้องแหก VPN มาเข้า Whatsapp มาคุยกับผม เขากล่าวว่า การใช้แอพอย่าง เว่ยซิน(Wechat ของ Tencent) 微信 โดยปราศจาก VPN จะถูกรัฐบาลจับตามองทุกฝีก้าว และรัฐบาลจะต้องให้คะแนนลบกับเขา
ซึ่งเรื่องนี้มันทอนสิทธิเสรีภาพของชาวจีนอย่างไร? ชาวจีนถูก Monitor ด้วยกล้อง Surveillance แทบจะทุกจุดบนแผ่นดินเพียงแค่เขาก้าวออกจากบ้าน หากเขาเพียงแค่เดินไปซื้อเบียร์ เขาก็จะถูกหักคะแนน หรือหากเขาพิมพ์ด่ารัฐบาลใน Social Network พวกเขาก็จะต้องได้รับคะแนนลบเช่นกันครับ
ซึ่งคนที่คะแนนติดลบมากๆ ก็จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในจีนไม่ว่าจะเป็นการสมัครงาน การใช้ชีวิต หรือคุณอาจจะไม่อาจไปต่างเหมือน / ออกนอกประเทศได้
แม้จะไม่ฆ่าให้ตาย แต่ก็เหมือนตายทั้งเป็นเลยทีเดียว เคยมีกรณีชาวจีนที่เขาต้องตีตั๋วยืนรถไฟชั้นมาราทอนไปขึ้นศาลเป็นเวลา 18 ชั่วโมงจากมณฑลหนึ่งไปถึงปักกิ่ง เพียงแค่เขาเปิดโปงว่า มวยเส้าหลิน / กังฟูเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนสร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดขายให้แก่ชาวโลกเท่านั้น
เห็นมั้ยล่ะครับ การควบรวมดีลนี้ มันอาจจะไม่ได้นำมาซึ่งเพียงแค่อัตราค่าบริการอันแพงแสนแพง หรือบริการที่ด้อยคุณภาพลง แต่มันอาจจะแลกมาซึ่งด้วยการลดทอนซึ่งเสรีภาพของท่านในอนาคต
ท่านสามารถร่วมลงชื่อเพื่อคัดค้านดีลนี้ได้ที่ ก่อนวันที่ 20 ต.ค. อันเป็นวันประกาศผลตัดสินในการควบรวมบริษัทโทรคมนาคมทั้ง 2
https://www.tcc.or.th/policies/oppose-true-dtac-merging/
ขอบคุณพื้นที่ดีๆครับ และขอความกรุณาทุกคนช่วยโหวตแนะนำกระทู้นี้เพื่อส่งข่าวไปยังพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าด้วย