ก่อนซ่อมแซมบ้าน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนโดยไม่ถูกกาลเวลาทำลาย เช่นเดียวกันกับ ‘บ้าน’ ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย จนเกิดการทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เจ้าของบ้านแบบเราจึงอยากซ่อมแซมและปรับปรุงบ้านให้กลับมาใหม่และน่าอยู่อีกครั้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน หรือต้องวางแผนอย่างไร วันนี้เราจึงมีแนวทางมาฝาก!
1. สำรวจบ้าน ลิสต์จุดที่ต้องการซ่อม
การ วางแผนซ่อมบ้าน ต้องเริ่มจากการเช็คจุดที่เราอยากซ่อมแซมปรับปรุง พร้อมจดลิสต์ให้ละเอียดว่าจุดไหนเกิดปัญหาอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนซ่อมแซมและปรับปรุงในขั้นต่อไป และสามารถบอกช่างได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การเช็คว่าบ้านมีปัญหาจากจุดไหนบ้างนั้น มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อคือ
สังเกตปัญหาด้วยตัวเองก่อน โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ปัญหาหลังคารั่ว มีน้ำซึม ซึ่งเราสามารถเห็นและสัมผัสได้ ยิ่งช่วงหน้าฝนยิ่งเห็นได้ง่าย หรือผนังร้าว เป็นต้น
จ้างช่างมืออาชีพมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อวางแผนการซ่อมแบบจริงจัง โดยเฉพาะการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างบ้านที่ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน เพราะหากโครงสร้างบ้านทรุดโทรมจนอยากจะซ่อมแซม การรื้อสร้างใหม่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
วางแผนซ่อมบ้าน
2. เรียงลำดับความเสียหาย ประเมินความเร่งด่วน
หลังจากทราบจุดที่ต้องการซ่อมแซมอย่างแน่นอนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเรียงลำดับความเสียหายและความสำคัญ ว่าจุดไหนคือจุดเร่งด่วนต้องรับซ่อมแซม จุดไหนยังพอพลัดผ่อนไปได้ พร้อมทั้งอย่างลืมจัดตารางว่ามีรายการใดที่พอจะทำไปพร้อมๆ กันได้ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้อย่าลืมประเมินตัวเองว่า นอกจากการซ่อมจุดที่เกิดความเสียหายของบ้านแล้ว เจ้าของบ้านอย่างเราต้องการต่อเติมส่วนไหนหรือเปลี่ยนแปลงส่วนใดหรือไม่ เพราะหากคุณอยากต่อเติมบ้าน การ วางแผนซ่อมบ้าน พร้อมต่อเติมในคราวเดียวกันจะทำให้คุณประหยัดเงินและเวลาได้มากขึ้น เช่น ต้องซ่อมพื้น เราอยากจะแค่ซ่อมส่วนที่เสียหาย หรือเปลี่ยนพื้นไปเลย หรือซ่อมผนังร้าว เมื่อต้องอุดผนังใหม่ ลองทาสีบ้านใหม่ไปเลยดีไหม เป็นต้น
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการซ่อมแซมบ้านคือ งบประมาณที่มีอย่างจำกัด ดังนั้นการซ่อมแซมแต่ละจุดจึงต้องจัดสรรอย่างรอบคอบ ทั้งในแง่ค่าแรงของช่างและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งหากเราไม่มีเงินก้อนโตพอที่จะทุ่มซ่อมบ้านแบบครั้งเดียว การแบ่งซ่อมทีละจุดๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดี
อีกหนึ่งข้อแนะนำคือ เรื่องวัสดุที่ใช้ในการซ่อม แน่นอนว่าเราย่อมอยากเลือกใช้วัสดุคุณภาพ เพื่อให้บ้านของเราคงอยู่กับเราไปอีกนาน ซึ่งนั่นเป็นข้อคิดที่เราแนะนำ แต่วิธีที่ช่วยประหยัดและไม่ทำให้งบฯ บานปลายคือ การคำนวณวัสดุที่ต้องใช้ให้พอดี เพราะการซื้อวัสดุมาเหลือทิ้ง นั่นหมายถึงเงินที่หายไปอย่างเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ควรเลือกแหล่งจำหน่ายวัสุดที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของวัสดุก่อสร้าง ความหลากหลายของแบรนด์ให้เราเปรียบเทียบและเลือก รวมทั้งมีวัสดุอุปกรณ์ครบครัน ไม่ต้องวิ่งวุ่นซื้อหาจากหลายๆ ร้าน ก็เป็นอีกหนึ่งคำแนะนำที่ช่วยให้การซ่อมแซมบ้านของคุณมีคุณภาพและเป็นไปอย่างราบลื่น
วางแผนซ่อมบ้านอถึงเวลาเลือกช่าง
หลังจากประเมินความเสียหายและงบประมาณในกระเป๋าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกช่างเข้ามาซ่อมแซมและตีราคาค่าซ่อมอย่างจริงจัง แนะนำว่าให้เรียกช่างมาตีราคาสัก 2 รายขึ้นไป เพื่อเปรียบเทียบราคา แม้ช่างที่เลือกมาจะมีคนรู้จักแนะนำมาอีกที แต่ก็ควรนัดช่าง 2 รายมาตีราคาเทียบกัน หากราคาที่ช่างตีมาใกล้เคียงกัน ก็ให้เลือกจากผลงานที่ผ่านมา โดยการจ้างช่างนั้นมี 2 แบบคือ แบบเหมาจ่ายกับจ่ายเฉพาะค่าแรง
ก่อนซ่อมแซมบ้าน ต้องเตรียมตัวอย่างไร
1. สำรวจบ้าน ลิสต์จุดที่ต้องการซ่อม
การ วางแผนซ่อมบ้าน ต้องเริ่มจากการเช็คจุดที่เราอยากซ่อมแซมปรับปรุง พร้อมจดลิสต์ให้ละเอียดว่าจุดไหนเกิดปัญหาอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนซ่อมแซมและปรับปรุงในขั้นต่อไป และสามารถบอกช่างได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การเช็คว่าบ้านมีปัญหาจากจุดไหนบ้างนั้น มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อคือ
สังเกตปัญหาด้วยตัวเองก่อน โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ปัญหาหลังคารั่ว มีน้ำซึม ซึ่งเราสามารถเห็นและสัมผัสได้ ยิ่งช่วงหน้าฝนยิ่งเห็นได้ง่าย หรือผนังร้าว เป็นต้น
จ้างช่างมืออาชีพมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อวางแผนการซ่อมแบบจริงจัง โดยเฉพาะการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างบ้านที่ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน เพราะหากโครงสร้างบ้านทรุดโทรมจนอยากจะซ่อมแซม การรื้อสร้างใหม่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
วางแผนซ่อมบ้าน
2. เรียงลำดับความเสียหาย ประเมินความเร่งด่วน
หลังจากทราบจุดที่ต้องการซ่อมแซมอย่างแน่นอนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเรียงลำดับความเสียหายและความสำคัญ ว่าจุดไหนคือจุดเร่งด่วนต้องรับซ่อมแซม จุดไหนยังพอพลัดผ่อนไปได้ พร้อมทั้งอย่างลืมจัดตารางว่ามีรายการใดที่พอจะทำไปพร้อมๆ กันได้ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้อย่าลืมประเมินตัวเองว่า นอกจากการซ่อมจุดที่เกิดความเสียหายของบ้านแล้ว เจ้าของบ้านอย่างเราต้องการต่อเติมส่วนไหนหรือเปลี่ยนแปลงส่วนใดหรือไม่ เพราะหากคุณอยากต่อเติมบ้าน การ วางแผนซ่อมบ้าน พร้อมต่อเติมในคราวเดียวกันจะทำให้คุณประหยัดเงินและเวลาได้มากขึ้น เช่น ต้องซ่อมพื้น เราอยากจะแค่ซ่อมส่วนที่เสียหาย หรือเปลี่ยนพื้นไปเลย หรือซ่อมผนังร้าว เมื่อต้องอุดผนังใหม่ ลองทาสีบ้านใหม่ไปเลยดีไหม เป็นต้น
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการซ่อมแซมบ้านคือ งบประมาณที่มีอย่างจำกัด ดังนั้นการซ่อมแซมแต่ละจุดจึงต้องจัดสรรอย่างรอบคอบ ทั้งในแง่ค่าแรงของช่างและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งหากเราไม่มีเงินก้อนโตพอที่จะทุ่มซ่อมบ้านแบบครั้งเดียว การแบ่งซ่อมทีละจุดๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดี
อีกหนึ่งข้อแนะนำคือ เรื่องวัสดุที่ใช้ในการซ่อม แน่นอนว่าเราย่อมอยากเลือกใช้วัสดุคุณภาพ เพื่อให้บ้านของเราคงอยู่กับเราไปอีกนาน ซึ่งนั่นเป็นข้อคิดที่เราแนะนำ แต่วิธีที่ช่วยประหยัดและไม่ทำให้งบฯ บานปลายคือ การคำนวณวัสดุที่ต้องใช้ให้พอดี เพราะการซื้อวัสดุมาเหลือทิ้ง นั่นหมายถึงเงินที่หายไปอย่างเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ควรเลือกแหล่งจำหน่ายวัสุดที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของวัสดุก่อสร้าง ความหลากหลายของแบรนด์ให้เราเปรียบเทียบและเลือก รวมทั้งมีวัสดุอุปกรณ์ครบครัน ไม่ต้องวิ่งวุ่นซื้อหาจากหลายๆ ร้าน ก็เป็นอีกหนึ่งคำแนะนำที่ช่วยให้การซ่อมแซมบ้านของคุณมีคุณภาพและเป็นไปอย่างราบลื่น
วางแผนซ่อมบ้านอถึงเวลาเลือกช่าง
หลังจากประเมินความเสียหายและงบประมาณในกระเป๋าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกช่างเข้ามาซ่อมแซมและตีราคาค่าซ่อมอย่างจริงจัง แนะนำว่าให้เรียกช่างมาตีราคาสัก 2 รายขึ้นไป เพื่อเปรียบเทียบราคา แม้ช่างที่เลือกมาจะมีคนรู้จักแนะนำมาอีกที แต่ก็ควรนัดช่าง 2 รายมาตีราคาเทียบกัน หากราคาที่ช่างตีมาใกล้เคียงกัน ก็ให้เลือกจากผลงานที่ผ่านมา โดยการจ้างช่างนั้นมี 2 แบบคือ แบบเหมาจ่ายกับจ่ายเฉพาะค่าแรง