Photo : AFP
ผู้นำทั่วโลกพร้อมใจกันประณามคนร้ายที่ก่อเหตุลอบวางระเบิดอาคารสถานที่ราชการของรัฐบาลนอร์เวย์ในกรุงออสโลในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย และหลังจากนั้นเพียง 2 ชั่วโมงก็ได้เกิดเหตุคนร้ายใช้ปืนกราดยิงผู้บริสุทธิ์ในค่ายยุวชนที่เกาะอูโทยา ซึ่งตั้งอยู่ชานกรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากทั้ง 2 เหตุการณ์เพิ่มขึ้นเป็น 87 คนแล้ว
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งไว้ได้ ชื่อนายอันเดส เบริง เบรวิค อายุ 32 ปี ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่านายอังเดรเป็นพวกหัวรุนแรงฝ่ายขวาและคาดว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โจมตีทั้ง 2 เหตุการณ์ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า การก่อวินาศกรรมในระยะเวลาไล่เรี่ยกันนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในนอร์เวย์นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
นายบัน คีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ส่งสาส์นแสดงความเสียใจต่อนายกรัฐมนตรีเจนส์ สโตลเทนเบิร์ก ของนอร์เวย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในคณะรัฐบาลและประชาชนของนอร์เวย์ พร้อมกับประณามการกระทำอันเหี้ยมโหดในครั้งนี้ ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐ ก็ส่งสาส์สแสดงความเสียใจต่อนอร์เวย์เช่นกัน พร้อมกับเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมกันยับยั้งเหตุการณ์ก่อการร้าย
ด้านนายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถอดทนกับเหตุการณ์รุนแรงได้อีกต่อไป และกล่าวว่าผู้ที่ก่อเหตุวินาศกรรมในนอร์เวย์ครั้งนี้ไม่สมควรได้รับการอภัย พร้อมกับกล่าวแสดงความเสียใจต่อผู้เคราะห์ร้ายในนอร์เวย์
ส่วนนายหม่า จ้าวซู โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน, นางจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และรัฐบาลสหรัฐเอมิเรตส์ ได้ออกมาประมาณเหตุการณ์โจมตีที่นอร์เวย์เช่นกัน โดยนางกิลลาร์กล่าวว่า เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ควรที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริสุทธิ์ และยังได้ร่วมแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับนอร์เวย์อย่างเต็มที่ เพื่อสืบหาตัวผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้
https://www.ryt9.com/s/iq01/1197514
สยองยิ้มมือปืนนอร์เวย์ – วันที่ 12 ส.ค. เอพี รายงานความคืบหน้าคดีก่อการร้ายเขย่าขวัญชาวนอร์เวย์ครั้งใหม่ โดย นายฟิลิป แมนเชาส์ วัย 21 ปี ผู้บุกกราดยิงในมัสยิดอัลนูร์ในกรุงออสโลเมื่อ 10 ส.ค. และต่อมาหนุ่มรายนี้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยสังหารน้องสาวบุญธรรม อายุ 17 ปีของตนเอง
นายแมนเชาส์ถูกนำตัวมาขึ้นศาลที่กรุงออสโล เพื่อรับฟังข้อกล่าวหาฆาตกรรมและก่อการร้าย ชายหนุ่มแสดงสีหน้าและอาการยิ้มเยาะขณะพร้อมปฏิเสธข้อกล่าวหา ใบหน้าของผู้ต้องหารายนี้ เห็นชัดเจนว่า ขอบตาดำและใบหน้าฟกช้ำ คาดว่ามาจากการต่อสู้กับคนในมัสยิดที่พยายามขัดขวางการกราดยิง
อัยการยื่นขอให้ศาลมีคำสั่งจำคุกนายแมนเฮาส์ไว้ก่อน 4 สัปดาห์ และให้ควบคุมตัวแบบขังเดี่ยวเต็มรูปแบบ
เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของนอร์เวย์ เชื่อว่า นายแมนเชาส์เป็นตัวอย่างล่าสุดของผู้มีแนวคิดขวาสุดขั้ว จากการรับทฤษฎีที่แพร่ในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะทฤษฎีว่าด้วยการแทนที่ ปลุกเร้าด้วยคำเตือนให้หลงผิดว่าชาวมุสลิมและผู้อพยพจะเข้ามาแทนที่คนผิวขาวราวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นายแมนเชาส์ตั้งใจก่อเหตุตามผู้คลั่งลัทธิคนผิวขาวสูงส่งที่เคยก่อเหตุสังหารหมู่ชาวมุสลิมและผู้อพยพมาแล้วในอเมริกาและนิวซีแลนด์ การกราดยิงในมัสยิดของนายแมนเชาส์ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย แต่คนในมัสยิด รวมถึงพลเมืองดีชาย อายุ 65 ปีเข้าสกัดกั้นนายแมนเชส์ไว้ได้ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสีย
จากนั้น เมื่อตำรวจบุกค้นบ้านนายแมนเชาส์ จึงพบศพน้องสาวบุญธรรมของนายแมนเชาส์ ที่ครอบครัวรับเลี้ยงมาจากจีนตั้งแต่อายุ 2 ขวบ ถูกสังหารอยู่ในบ้าน
การก่อเหตุของหนุ่มนอร์เวย์รายนี้ชวนให้ผู้คนคิดถึงผู้ก่อเหตุสังหารหมู่เมื่อปี 2554 ชื่อนายแอนเดอร์ส เบห์นิง เบรวิก ที่นิยมลัทธิขวาจัด สังหารเหยื่อไปถึง 77 ราย ด้วยความเกลียดชังผู้อพยพชาวมุสลิม และแนวร่วมฝ่ายซ้ายที่นิยมความหลากหลายทางเชื้อชาติ นายเบรวิกถูกศาลตัดสินจำคุก 21 ปี
สำหรับนอร์เวย์ มีผู้ลี้ภัยคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อย 4 ของประชากรทั้งหมด 5.3 ล้านคน และราวร้อยละ 12 ประกอบด้วยผู้อพยพ หรือลูกหลานของผู้อพยพ
https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_2795621
รวมสถิติเหตุกราดยิงครั้งรุนแรงที่สุดในสหรัฐฯ เกิดที่ไหน มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเท่าไหร่บ้าง
เวลาผ่านไปไม่ถึง 2 สัปดาห์หลังเกิดเหตุกราดยิงที่ซูเปอร์มาเก็ตใจกลางย่านคนผิวดำที่สหรัฐฯ เมื่อวานนี้ (24 พฤษภาคม 2565) ได้เกิดเหตุกราดยิงอีกครั้งที่โรงเรียนประถมศึกษาและมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 21 ราย นี่ไม่ใช่ครั้งแรกๆ ที่เกิดเหตุการณ์กราดยิงสังหารหมู่ในสหรัฐฯ The MATTER ขอสรุปสถิติเหตุกราดยิงครั้งรุนแรงที่สุดในสหรัฐฯ มาให้อ่าน ดังนี้
– กราดยิงกลางเทศกาลดนตรี รัฐเนวาดา : เสียชีวิต 60 ราย บาดเจ็บ 867 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 และถือเป็นเหตุการณ์กราดยิงที่รุนแรงที่สุด เริ่มต้นจากผู้ก่อเหตุวัย 64 ปีตัดสินใจลั่นไกจากห้องพักชั้น 32 ของตัวเองโดยมีเป้าหมายเป็นผู้คนกว่า 22,000 คนที่กำลังสนุกสนานท่ามการเทศกาลดนตรี Route 91 Harvest ส่งผลให้ผู้เสียชีวิตจากการกราดยิงครั้งนี้ 60 ราย (รวมผู้ก่อเหตุ) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 867 ราย โดยผู้ก่อนเหตุได้ฆ่าตัวตายก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าจับกุม
– กราดยิงที่ Pulse night club รัฐฟลอริดา : เสียชีวิต 49 ราย บาดเจ็บ 58 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2559 โดยสถานที่เกิดเหตุคือ Pulse night club ซึ่งเป็นผับของชาว LGBTQ+ ในกลางดึกของคืนวันเกิดเหตุ ผู้ก่อเหตุวัย 29 ปีตัดสินใจกราดยิงในผับที่เต็มไปด้วยคนกว่า 300 คนด้านใน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 49 ราย และได้รับบาดเจ็บ 58 ราย (ซึ่งสำนักข่าวบีบีซีรายงานตามคำบอกเล่าของพ่อผู้ก่อเหตุว่า ชายผู้ก่อเหตุเป็นคนที่ต่อต้านกลุ่ม LGBTQ+
– กราดยิงที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค รัฐเวอร์จิเนีย : เสียชีวิต 32 ราย บาดเจ็บ 27 ราย
เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 16 เมษายน 2550 โดยนักศึกษาวัย 23 ปีตัดสินใจกราดยิงภายในมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคที่เต็มไปด้วยนักศึกษา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 32 ราย และได้รับบาดเจ็บ 27 ราย โดยผู้เสียชีวิตจำนวนมากเป็นนักศึกษาและคณาจารย์
– กราดยิงที่โรงเรียนประถม Sandy Hook รัฐคอนเนทิคัต : เสียชีวิต 27 ราย บาดเจ็บ 2 ราย
เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 14 ธันวาคม 2555 โดยผู้ก่อเหตุวัย 20 ปี ได้กราดยิงกลางโรงเรียนประถม ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 27 คน (ในนั้นเป็นเด็กหมด 20 คน พนักงานในโรงเรียนอีก 6 คน และรวมตัวเขาเองที่ฆ่าตัวตายหลังก่อเหตุ) ซึ่งก่อนหน้าที่จะบุกเข้ามาในโรงเรียนประถม เขาได้ฆาตรกรรมแม่วัย 52 ปีของตัวเองก่อนด้วย
– กราดยิงที่โบสถ์ First Baptist Church รัฐเท็กซัส : เสียชีวิต 26 ราย บาดเจ็บ 20 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ตอนเช้าที่ผู้คนเข้ามาประกอบพิธีทางศาสนาในโบสถ์ ผู้ก่อเหตุวัย 26 ปีตัดสินใจยิงบริเวณนอกโบสถ์ก่อนจะเข้าไปภายใน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 26 ราย และบาดเจ็บ 20 ราย
– กราดยิงที่ร้านอาหาร Luby’s รัฐเท็กซัส : เสียชีวิต 23 ราย บาดเจ็บ 20 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2534 ที่ร้านอาหารชื่อ Luby’s ในรัฐเท็กซัส โดยเหตุเกิดขึ้นในช่วงกลางวัน ระหว่างที่ผู้คนกำลังทานอาหารเที่ยง ผู้ก่อเหตุวัย 35 ปีตัดสินใจกราดยิงใส่ผู้คนกว่า 100 ราย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 20 ราย ตามมาด้วยการตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อจบชีวิตตัวเอง ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ ร้านอาหารแห่งนี้ยังคงเปิดให้บริการต่อถึง 9 ปี ก่อนจะปิดตัวลงในปี 2543
– กราดยิงที่ห้างสรรพสินค้าวอลมาร์ท รัฐเท็กซัส : เสียชีวิต 23 ราย บาดเจ็บ 26 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2562 ที่ โดยชายวัย 21 ปีตัดสินใจขับรถมาที่เมืองเอลปาโซกว่า 10 ชั่วโมง และบุกเข้าไปใช้ไรเฟิลกราดยิงในห้างสรรพสินค้าที่เต็มไปด้วยชาวฮิสแปนิก (Hispanic) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้ภาษาสเปนในสหรัฐฯ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย และได้รับบาดเจ็บ 26 ราย เหตุการณ์ครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง
– กราดยิงที่โรงเรียนประถมศึกษา Robb Elementary School รัฐเท็กซัส : เสียชีวิต 21 ราย บาดเจ็บ 51 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงกลางวันของเมื่อวาน (24 พฤษภาคม 2565) โดยผู้ก่อเหตุวัย 18 ปีตัดสินใจใช้ไรเฟิลกราดยิงในโรงเรียนประถมแห่งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 21 ราย (เป็นเด็กนักเรียนช่วงป.2-4 19 ราย ครูอีก 2 ราย) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 2 ราย ซึ่งต่อมาเขาถูกตำรวจวิสามัญจนเสียชีวิต
เหตุการณ์กราดยิงครั้งนี้ยังเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่มีการกราดยิงในซูเปอร์มาร์เก็ตเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค. และมีผู้เสียชีวิต 10 ราย เหตุการณ์กราดยิงเมื่อวานนี้นำมาสู่การตั้งคำถามในสังคมอเมริกา (อีกครั้ง) ถึงกฎหมายการครอบครองอาวุธปืน
https://thematter.co/brief/176157/176157
บางคนอยากส่งประเทศตัวเองเข้าประกวดความรุนแรง ทั้งๆที่ความจริงแล้วประเทศไทย ยากจะเกิดเรื่องอย่างนี้ได้บ่อยๆและความสูญเสียก็ไม่ได้มากที่สุดในโลกอย่างที่กล่าวเท็จกันไป
ยกให้ต่างประเทศประชาธิปไตยเขาไปเถอะ
อย่าชังชาตินักเลยค่า....
❤️มาลาริน❤️ที่สุดในโลกไม่ใช่ไทย...UN-ผู้นำทั่วโลกประณามเหตุโจมตีในนอร์เวย์ ขณะยอดตายโดยรวมพุ่งเป็น 87 คน
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งไว้ได้ ชื่อนายอันเดส เบริง เบรวิค อายุ 32 ปี ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่านายอังเดรเป็นพวกหัวรุนแรงฝ่ายขวาและคาดว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โจมตีทั้ง 2 เหตุการณ์ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า การก่อวินาศกรรมในระยะเวลาไล่เรี่ยกันนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในนอร์เวย์นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
นายบัน คีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ส่งสาส์นแสดงความเสียใจต่อนายกรัฐมนตรีเจนส์ สโตลเทนเบิร์ก ของนอร์เวย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในคณะรัฐบาลและประชาชนของนอร์เวย์ พร้อมกับประณามการกระทำอันเหี้ยมโหดในครั้งนี้ ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐ ก็ส่งสาส์สแสดงความเสียใจต่อนอร์เวย์เช่นกัน พร้อมกับเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมกันยับยั้งเหตุการณ์ก่อการร้าย
ด้านนายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถอดทนกับเหตุการณ์รุนแรงได้อีกต่อไป และกล่าวว่าผู้ที่ก่อเหตุวินาศกรรมในนอร์เวย์ครั้งนี้ไม่สมควรได้รับการอภัย พร้อมกับกล่าวแสดงความเสียใจต่อผู้เคราะห์ร้ายในนอร์เวย์
ส่วนนายหม่า จ้าวซู โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน, นางจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และรัฐบาลสหรัฐเอมิเรตส์ ได้ออกมาประมาณเหตุการณ์โจมตีที่นอร์เวย์เช่นกัน โดยนางกิลลาร์กล่าวว่า เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ควรที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริสุทธิ์ และยังได้ร่วมแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับนอร์เวย์อย่างเต็มที่ เพื่อสืบหาตัวผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้
https://www.ryt9.com/s/iq01/1197514
สยองยิ้มมือปืนนอร์เวย์ – วันที่ 12 ส.ค. เอพี รายงานความคืบหน้าคดีก่อการร้ายเขย่าขวัญชาวนอร์เวย์ครั้งใหม่ โดย นายฟิลิป แมนเชาส์ วัย 21 ปี ผู้บุกกราดยิงในมัสยิดอัลนูร์ในกรุงออสโลเมื่อ 10 ส.ค. และต่อมาหนุ่มรายนี้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยสังหารน้องสาวบุญธรรม อายุ 17 ปีของตนเอง
นายแมนเชาส์ถูกนำตัวมาขึ้นศาลที่กรุงออสโล เพื่อรับฟังข้อกล่าวหาฆาตกรรมและก่อการร้าย ชายหนุ่มแสดงสีหน้าและอาการยิ้มเยาะขณะพร้อมปฏิเสธข้อกล่าวหา ใบหน้าของผู้ต้องหารายนี้ เห็นชัดเจนว่า ขอบตาดำและใบหน้าฟกช้ำ คาดว่ามาจากการต่อสู้กับคนในมัสยิดที่พยายามขัดขวางการกราดยิง
อัยการยื่นขอให้ศาลมีคำสั่งจำคุกนายแมนเฮาส์ไว้ก่อน 4 สัปดาห์ และให้ควบคุมตัวแบบขังเดี่ยวเต็มรูปแบบ
เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของนอร์เวย์ เชื่อว่า นายแมนเชาส์เป็นตัวอย่างล่าสุดของผู้มีแนวคิดขวาสุดขั้ว จากการรับทฤษฎีที่แพร่ในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะทฤษฎีว่าด้วยการแทนที่ ปลุกเร้าด้วยคำเตือนให้หลงผิดว่าชาวมุสลิมและผู้อพยพจะเข้ามาแทนที่คนผิวขาวราวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นายแมนเชาส์ตั้งใจก่อเหตุตามผู้คลั่งลัทธิคนผิวขาวสูงส่งที่เคยก่อเหตุสังหารหมู่ชาวมุสลิมและผู้อพยพมาแล้วในอเมริกาและนิวซีแลนด์ การกราดยิงในมัสยิดของนายแมนเชาส์ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย แต่คนในมัสยิด รวมถึงพลเมืองดีชาย อายุ 65 ปีเข้าสกัดกั้นนายแมนเชส์ไว้ได้ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสีย
จากนั้น เมื่อตำรวจบุกค้นบ้านนายแมนเชาส์ จึงพบศพน้องสาวบุญธรรมของนายแมนเชาส์ ที่ครอบครัวรับเลี้ยงมาจากจีนตั้งแต่อายุ 2 ขวบ ถูกสังหารอยู่ในบ้าน
การก่อเหตุของหนุ่มนอร์เวย์รายนี้ชวนให้ผู้คนคิดถึงผู้ก่อเหตุสังหารหมู่เมื่อปี 2554 ชื่อนายแอนเดอร์ส เบห์นิง เบรวิก ที่นิยมลัทธิขวาจัด สังหารเหยื่อไปถึง 77 ราย ด้วยความเกลียดชังผู้อพยพชาวมุสลิม และแนวร่วมฝ่ายซ้ายที่นิยมความหลากหลายทางเชื้อชาติ นายเบรวิกถูกศาลตัดสินจำคุก 21 ปี
สำหรับนอร์เวย์ มีผู้ลี้ภัยคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อย 4 ของประชากรทั้งหมด 5.3 ล้านคน และราวร้อยละ 12 ประกอบด้วยผู้อพยพ หรือลูกหลานของผู้อพยพ
https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_2795621
รวมสถิติเหตุกราดยิงครั้งรุนแรงที่สุดในสหรัฐฯ เกิดที่ไหน มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเท่าไหร่บ้าง
เวลาผ่านไปไม่ถึง 2 สัปดาห์หลังเกิดเหตุกราดยิงที่ซูเปอร์มาเก็ตใจกลางย่านคนผิวดำที่สหรัฐฯ เมื่อวานนี้ (24 พฤษภาคม 2565) ได้เกิดเหตุกราดยิงอีกครั้งที่โรงเรียนประถมศึกษาและมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 21 ราย นี่ไม่ใช่ครั้งแรกๆ ที่เกิดเหตุการณ์กราดยิงสังหารหมู่ในสหรัฐฯ The MATTER ขอสรุปสถิติเหตุกราดยิงครั้งรุนแรงที่สุดในสหรัฐฯ มาให้อ่าน ดังนี้
– กราดยิงกลางเทศกาลดนตรี รัฐเนวาดา : เสียชีวิต 60 ราย บาดเจ็บ 867 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 และถือเป็นเหตุการณ์กราดยิงที่รุนแรงที่สุด เริ่มต้นจากผู้ก่อเหตุวัย 64 ปีตัดสินใจลั่นไกจากห้องพักชั้น 32 ของตัวเองโดยมีเป้าหมายเป็นผู้คนกว่า 22,000 คนที่กำลังสนุกสนานท่ามการเทศกาลดนตรี Route 91 Harvest ส่งผลให้ผู้เสียชีวิตจากการกราดยิงครั้งนี้ 60 ราย (รวมผู้ก่อเหตุ) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 867 ราย โดยผู้ก่อนเหตุได้ฆ่าตัวตายก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าจับกุม
– กราดยิงที่ Pulse night club รัฐฟลอริดา : เสียชีวิต 49 ราย บาดเจ็บ 58 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2559 โดยสถานที่เกิดเหตุคือ Pulse night club ซึ่งเป็นผับของชาว LGBTQ+ ในกลางดึกของคืนวันเกิดเหตุ ผู้ก่อเหตุวัย 29 ปีตัดสินใจกราดยิงในผับที่เต็มไปด้วยคนกว่า 300 คนด้านใน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 49 ราย และได้รับบาดเจ็บ 58 ราย (ซึ่งสำนักข่าวบีบีซีรายงานตามคำบอกเล่าของพ่อผู้ก่อเหตุว่า ชายผู้ก่อเหตุเป็นคนที่ต่อต้านกลุ่ม LGBTQ+
– กราดยิงที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค รัฐเวอร์จิเนีย : เสียชีวิต 32 ราย บาดเจ็บ 27 ราย
เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 16 เมษายน 2550 โดยนักศึกษาวัย 23 ปีตัดสินใจกราดยิงภายในมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคที่เต็มไปด้วยนักศึกษา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 32 ราย และได้รับบาดเจ็บ 27 ราย โดยผู้เสียชีวิตจำนวนมากเป็นนักศึกษาและคณาจารย์
– กราดยิงที่โรงเรียนประถม Sandy Hook รัฐคอนเนทิคัต : เสียชีวิต 27 ราย บาดเจ็บ 2 ราย
เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 14 ธันวาคม 2555 โดยผู้ก่อเหตุวัย 20 ปี ได้กราดยิงกลางโรงเรียนประถม ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 27 คน (ในนั้นเป็นเด็กหมด 20 คน พนักงานในโรงเรียนอีก 6 คน และรวมตัวเขาเองที่ฆ่าตัวตายหลังก่อเหตุ) ซึ่งก่อนหน้าที่จะบุกเข้ามาในโรงเรียนประถม เขาได้ฆาตรกรรมแม่วัย 52 ปีของตัวเองก่อนด้วย
– กราดยิงที่โบสถ์ First Baptist Church รัฐเท็กซัส : เสียชีวิต 26 ราย บาดเจ็บ 20 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ตอนเช้าที่ผู้คนเข้ามาประกอบพิธีทางศาสนาในโบสถ์ ผู้ก่อเหตุวัย 26 ปีตัดสินใจยิงบริเวณนอกโบสถ์ก่อนจะเข้าไปภายใน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 26 ราย และบาดเจ็บ 20 ราย
– กราดยิงที่ร้านอาหาร Luby’s รัฐเท็กซัส : เสียชีวิต 23 ราย บาดเจ็บ 20 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2534 ที่ร้านอาหารชื่อ Luby’s ในรัฐเท็กซัส โดยเหตุเกิดขึ้นในช่วงกลางวัน ระหว่างที่ผู้คนกำลังทานอาหารเที่ยง ผู้ก่อเหตุวัย 35 ปีตัดสินใจกราดยิงใส่ผู้คนกว่า 100 ราย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 20 ราย ตามมาด้วยการตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อจบชีวิตตัวเอง ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ ร้านอาหารแห่งนี้ยังคงเปิดให้บริการต่อถึง 9 ปี ก่อนจะปิดตัวลงในปี 2543
– กราดยิงที่ห้างสรรพสินค้าวอลมาร์ท รัฐเท็กซัส : เสียชีวิต 23 ราย บาดเจ็บ 26 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2562 ที่ โดยชายวัย 21 ปีตัดสินใจขับรถมาที่เมืองเอลปาโซกว่า 10 ชั่วโมง และบุกเข้าไปใช้ไรเฟิลกราดยิงในห้างสรรพสินค้าที่เต็มไปด้วยชาวฮิสแปนิก (Hispanic) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้ภาษาสเปนในสหรัฐฯ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย และได้รับบาดเจ็บ 26 ราย เหตุการณ์ครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง
– กราดยิงที่โรงเรียนประถมศึกษา Robb Elementary School รัฐเท็กซัส : เสียชีวิต 21 ราย บาดเจ็บ 51 ราย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงกลางวันของเมื่อวาน (24 พฤษภาคม 2565) โดยผู้ก่อเหตุวัย 18 ปีตัดสินใจใช้ไรเฟิลกราดยิงในโรงเรียนประถมแห่งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 21 ราย (เป็นเด็กนักเรียนช่วงป.2-4 19 ราย ครูอีก 2 ราย) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 2 ราย ซึ่งต่อมาเขาถูกตำรวจวิสามัญจนเสียชีวิต
เหตุการณ์กราดยิงครั้งนี้ยังเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่มีการกราดยิงในซูเปอร์มาร์เก็ตเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค. และมีผู้เสียชีวิต 10 ราย เหตุการณ์กราดยิงเมื่อวานนี้นำมาสู่การตั้งคำถามในสังคมอเมริกา (อีกครั้ง) ถึงกฎหมายการครอบครองอาวุธปืน
https://thematter.co/brief/176157/176157
บางคนอยากส่งประเทศตัวเองเข้าประกวดความรุนแรง ทั้งๆที่ความจริงแล้วประเทศไทย ยากจะเกิดเรื่องอย่างนี้ได้บ่อยๆและความสูญเสียก็ไม่ได้มากที่สุดในโลกอย่างที่กล่าวเท็จกันไป
ยกให้ต่างประเทศประชาธิปไตยเขาไปเถอะ
อย่าชังชาตินักเลยค่า....