ทำไม AM ถึงสะท้อนบรรยากาศได้ แต่FMทำไม่ได้ทั้งๆที่มีความถี่มากกว่า?

พอทราบจากที่เรียนมาว่า ถ้าความยาวคลื่นน้อยกว่าสิ่งกีดขวางจะถูกสะท้อน แสดงว่ายิ่งความถี่มากยิ่งสะท้อนง่าย เลยไม่เข้าใจว่าทำไมAMที่ความยาวคลื่นมาก ถึงสะท้อนได้แต่ FM ทะลุบรรยากาศครับ และขออีกคำถาม ทำไมคลื่น X-ray ที่สามารถผ่านสิ่งกีดขวางได้ทั้งๆที่มันมีความถี่มาก เพราะอะไรครับ? กรณีเดียวกับAM FM หรือเปล่า?
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศของโลกที่แก๊สเปลี่ยนสถานะกลายเป็นพลาสม่า(โมเลกุลแก๊สแตกตัวเป็นไอออนบวกและไอออนลบ) เนื่องจากการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์  
   ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ดีในย่านความถี่ 1-25 MHz  ซึ่งอยู่ในช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุระบบ AM ย่านความถี่ HF ช่วง 3 - 30 MHz  นิยมใช้กับวิทยุ AM คลื่นสั้น (short wave radio : SW)

   หลักการคือการส่งคลื่นวิทยุไปกระตุ้นพลังงานของกลุ่มไอออนในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์จนเกิดการสั่น  แล้วกลุ่มไอออนเหล่านั้นในสถานะถูกกระตุ้นจะคายพลังงานส่วนเกินออกมาในรูปคลื่นวิทยุความถี่เดิมสะท้อนกลับไปยังพื้นโลก

   ส่วนคลื่นรังสี X-ray ทะลุสิ่งกีดขวางได้ดี  เพราะคลื่นมีความถี่สูงและพลังงานสูง  สิ่งกีดขวางดูดซับพลังงานคลื่นได้ไม่หมด  ยกเว้นแผ่นตะกั่วหนา

ปล.ถ้าอยากรู้เชิงลึกกว่านี้  คงต้องไปศึกษาเรื่องฟิสิกส์อะตอม

   การผสมสัญญาณคลื่นวิทยุแบบ AM กับ FM
(สัญญาณคลื่นวิทยุแบบ AM จะถูกรบกวนได้ง่ายกว่า FM )
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่