“พิชัย” ห่วง “ประยุทธ์” รอดแล้ว แต่คนไทยจะไม่รอด ชี้ สถานการณ์ศก.จะรุนแรงเกินความรู้ความสามารถ ยิ่งกู้มากยิ่งเจ๊งมาก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3598063
“พิชัย” ห่วง “ประยุทธ์” รอดแล้ว แต่คนไทยจะไม่รอด ชี้ สถานการณ์ศก.จะรุนแรงเกินความรู้ความสามารถ ยิ่งกู้มากยิ่งเจ๊งมาก แนะ เลิกการผูกขาดทุกชนิด และ วางมือก่อนชาติเสียหายหนักกว่านี้
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 4 ต.ค. คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ได้จัดแถลงข่าว วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2565 เรื่อง “
ประยุทธ์รอดแล้ว แต่คนไทยจะรอดไหม? “ โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าวคือ นาย
พิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ แถลงเรื่อ
ง“ประยุทธ์” รอดแล้ว แต่คนไทยจะไม่รอด ชี้ สถานการณ์เศรษฐกิจจะรุนแรงเกินความรู้ความสามารถ ยิ่งกู้มากยิ่งเจ๊งมาก นาย
เลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดเลย และ กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย “
ประยุทธ์” อยู่ต่อ ยิ่งรวบอำนาจ การกระจายอำนาจไม่เกิด นาย
กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดหนองคาย และ อดีตรองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย “
ประยุทธ์” อยู่ต่อ อุตสาหกรรมยิ่งเสื่อมถอย นาย
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
รองเลขาธิการ และ กรรมการคณะยุทธศาสตร์และการเมือง “
ประยุทธ์ รอด คนไทยอาจไม่รอด”
นาย
พิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พลเอก
ประยุทธ์ได้ดำรงตำแหน่งต่อ ทั้งที่อยู่ในตำแหน่งมา 8 ปีแล้ว สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจำนวนมาก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าถ้านับตั้งแต่ปี 2560 แล้ว ระหว่างปี 2557 ถึง 2560 พลเอก
ประยุทธ์เป็นอะไร นอกจากนี้ ตลอดเวลา 8 ปีมี่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยย่ำแย่มาตลอด รายได้ประชาชนลดต่ำลง เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำมาก หนี้สินเพิ่มขึ้นมาก คนจนเพิ่มขึ้นมาก ราคาพลังงานทั้ง น้ำมัน ก๊าซ และ ไฟฟ้าพุ่งขึ้นสูง ข้าวของแพง ค่าแรงงานถูก ค้าขายย่ำแย่ หนี้เสียพุ่ง คนตกงานมาก คนฆ่าตัวตายสูงสุด ความสามารถแข่งขันของประเทศลด มีทุจริตคอรัปชั่นกันมากตามดัชนีชี้วัดสากล ขนาดปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันยังไม่มีการรับมือ แก้ไขช่วยเหลือประชาชนเลย คิดได้แค่จะใช้วิทยุทรานซิสเตอร์แค่นั้น แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์กลับคิดว่าตนเองทำได้ดี ประเทศก้าวหน้าทั้งที่ประเทศเพื่อนบ้านแซงหน้าไปหมดไม่ว่ามาเลเซียที่เป็นประเทศรายได้สูงไปแล้ว หรือเวียดนามที่การส่งออกแซงไทยไป 50% แล้วเป็นต้น ดังนั้นแม้พลเอกประยุทธ์จะรอดแต่คนไทยน่าจะไม่รอดแน่ถ้าเป็นแบบนี้
นอกจากนี้การปล่อยให้มีการผูกขาดเป็นปัญหาหลักของประเทศนี้ ขนาด World Economic Forum (WEF) จัดไทยอยู่อันดับที่ 104 จาก 138 ประเทศ ในด้านการกระจายอำนาจในตลาดสินค้าและบริการ (Extent of Market Dominance) และอยู่อันดับที่ 62 ในด้านประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า (Effectiveness of Anti-Monopoly Policy) ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยปล่อยให้มีการผูกขาดของนายทุนรายใหญ่กันมาก และ การบังคับใข้ดฎหมายในเรื่องป้องกันการผูกขาดยังมีประสิทธิภาพที่ต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อยไม่สามารถพัฒนาก้าวขึ้นเป็นรายใหญ่ได้เพราะถูกปิดกั้น ปิดโอกาสการพัฒนาของประเทศ ดังนั้นการทำลายการผูกขาดจึงจำเป็นอย่างมาก หากประเทศไทยต้องพัฒนาต่อไป
การที่นาย
สุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกฯ และ รมว. พลังงาน พยายามบอกว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 จะเป็นขาขึ้นนั้น น่าจะเป็นการขายฝันมากกว่า เพราะปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจอีกมาก เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย การส่งออกของไทยคงไม่เพิ่มมากนักและอาจจะลดลงด้วย อัตราดอกเบี้ยของไทยที่น่าจะต้องเพิ่มขึ้น เงินเฟ้อที่อาจจะยังไม่ลดลง ค่าไฟฟ้าที่ยังจะเพิ่มขึ้นอีก และราคาสินค้าและบริการที่จะปรับขึ้น หนี้สาธารณะ และ หนี้ครัวเรือนที่จะยิ่งพุ่งสูงขึ้นและหนี้เสียจะมากขึ้นจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและจ่ายไม่ไหว อีกทั้ง รมว ท่องเที่ยวที่อ้างว่าไทยฟื้นเร็วสุด น่าจะเข้าใจผิดเพราะเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในแดนลบมา 3 ปีแล่ว จากปี 63 ที่ติดลบ 6.2% และยังไม่ฟื้นที่เดิมเลย แถมการท่องเที่ยวของประเทศอื่นฟื้นแล้ว ห้องพักจองกันเต็ม แต่ของไทยกลับว่าง แถมยังจะไปเก็บค่าเหยียบแผ่นดินให้เป็นที่กวนใจนักท่องเที่ยวต่างชาติอีก นอกจากนี้พอโดนโจมตีว่าแจกบัตรคนจนมากแสดงว่าล้มเหลว พลเอกประยุทธ์เลยจะเปลี่ยนชื่อเป็นบัตรความสุข คิดได้เท่านี้จริงๆ
อีกทั้งการที่รัฐบาลจะจัดงบประมาณปี 2566 โดยจะกู้ถึง 1.05 ล้านล้านบาทนั้น น่าเป็นห่วงว่าจะทำให้หนี้สาธารณะยิ่งพุ่งสูง และเพราะกู้มากแต่ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ ยิ่งกู้มากยิ่งเจ๊งมาก ยิ่งกู้มากหนี้ยิ่งทะลุ ทำให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพียิ่งเพิ่มขึ้นและอาจจะต้องไปขยายเพดานที่ 70% กันอีก ซึ่งรัฐบาลในอนาคตจะต้องใช้หนี้แทนพลเอกประยุทธ์เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 40 ปีถึงจะใช้หนี้หมด ลูกหลานจะยิ่งลำบากกันมาก
ดังนั้น หากมองตัวเองย้อนหลัง พลเอกประยุทธ์น่าจะทราบดีว่าการบริหารเศรษฐกิจของพลเอกประยุทธ์ล้มเหลวมาตลอด และ หากยังดื้อรั้นเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะพบกับอุปสรรคจำนวนมากโดยที่พลเอกประยุทธ์จะไม่สามารถรับมือได้เลย คนไทยจะยิ่งลำบากและประเทศไทยจะยิ่งเสื่อมถอยลงอีก ดังนั้นถึงเวลาที่ต้องได้สำนึกและออกไปได้แล้ว
ไหว้ขอโทษ! 'ศัลยา' นักเขียนดัง บุพเพสันนิวาส ยอมรับผิด หมิ่นประมาท 'อมรัตน์'
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7298622
ไหว้ขอโทษ! ‘ศัลยา’ นักเขียนดัง บุพเพสันนิวาส ยอมรับผิด หมิ่นประมาท ‘อมรัตน์’ ส.ส.ก้าวไกล เผยสำนึกผิดอย่างจริงใจ ยินดีลงข้อความขอโทษใน นสพ. โพสต์เฟซ
กรณี นาง
อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) เข้าแจ้งความดำเนินคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทกับ
ศัลยา สุขะนิวัตติ์ นักเขียนบทละครโทรทัศน์ชื่อดัง ซึ่งได้รับความนิยมหลายเรื่อง ทั้ง
คู่กรรม, นางทาส, สายโลหิต, ดอกส้มสีทอง รวมถึง
บุพเพสันนิวาส ซึ่งโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทด้วยถ้อยคำที่รุนแรงทำให้ได้รับความเสียหาย
ล่าสุดวันที่ 4 ต.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ต.ค.65 ที่ห้องพิจารณาคดี 901
ศัลยา สุขขะนิวัตติ์ ได้ยกมือไหว้และกล่าวคำขอโทษต่อหน้าศาล ที่โพสต์ข้อความด่าทอหมิ่นประมาท ส.ส.
อมรัตน์ อย่างร้ายแรง ซึ่งเจ้าตัวสำนึกผิดอย่างจริงใจ และยินดีจะลงข้อความขอโทษในหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ได้แก่
ไทยรัฐ มติชน และ
เดลินิวส์ ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน รวมทั้งเขียนขอโทษลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 วัน
ส.ส.
อมรัตน์ กล่าวว่า ตนไม่ติดใจเพราะเมื่อได้มีโอกาสพูดคุยประเด็นสังคมและการเมืองด้วยกัน เห็นว่า คุณ
ศัลยาได้ลดอคติและมีมุมมองใหม่ๆ ที่ต่างไปจากเดิมบ้างพอสมควร ตนจึงตัดสินใจลงชื่อถอนฟ้องค่าเสียหายทางแพ่ง ซึ่งเดิมตั้งใจว่าหากชนะคดีจะนำเงินนี้มอบให้กับโรงพยาบาลเพื่อซื้อเครื่องมือทางการแพทย์
กำลังซื้ออ่อนแอ-ของแพง-น้ำท่วม ฉุดดัชนีเชื่อมั่นค้าปลีก ก.ย.65 ลดลง
https://tna.mcot.net/business-1030592
กรุงเทพฯ 3 ต.ค.- ธปท. เผยดัชนีเชื่อมั่นค้าปลีก ก.ย.65 ลดลง เหตุกำลังซื้ออ่อนแอ-สินค้าแพง-อุทกภัย ฉุดธุรกิจฟื้นตัว ขณะที่โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย จ้างงานฟื้นตัว แต่ธุรกิจ 25% ยังขาดแคลนแรงงาน ภาคการผลิตกังวล Supply Chain เพิ่มขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: RSI) เดือน ก.ย. 2565 พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกในปัจจุบันปรับลดลงตามกำลังซื้อที่อ่อนแอจากราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงผลกระทบจากอุทกภัยในบางพื้นที่ ขณะที่การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยปัจจัยเหล่านี้ฉุดรั้งการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกในระยะต่อไป
ผู้บริโภคบางกลุ่มปรับลดการใช้จ่ายเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยอุทกภัยส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมนอกบ้าน ขณะที่ผู้บริโภคอีกกลุ่มใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่เลือกใช้จ่ายเพียงสินค้าจำเป็นที่มีโปรโมชัน ทั้งนี้ รายได้ที่ฟื้นตัวไม่เต็มที่ และราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นยังคงกดดันความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ขณะที่ ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย เดือน ก.ย. 2565 ซึ่ง ธปท. จัดทำร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทย โดยสำรวจผู้ประกอบการรายใหญ่และเอสเอ็มอี ระหว่างวันที่ 1- 26 กันยายน 2565 จำนวน 442 ราย พบว่าการฟื้นตัวของธุรกิจปรับดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่กำลังซื้อที่อ่อนแอยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดที่กดดันการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวม โดยภาคการผลิตมีความกังวลต่อปัญหาด้าน Supply Chain เพิ่มขึ้น ส่วนการฟื้นตัวของการจ้างงานในภาพรวมปรับดีขึ้นจากภาคที่มิใช่การผลิตเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ธุรกิจในภาพรวมสะสมสตอกใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า แต่มีธุรกิจราว 17% ที่สะสมสตอกเพิ่มขึ้น เนื่องจากกังวลว่าราคาวัตถุดิบอาจปรับเพิ่มขึ้นอีก
ขณะที่ธุรกิจราว 1 ใน 4 เผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่ส่วนใหญ่ต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 10 % ของแรงงานในปัจจุบัน โดยธุรกิจจะบริหารจัดการปัญหาขาดแคลนแรงงานด้วยการใช้นโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน
ธุรกิจมีมุมมองดีขึ้นเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน แม้ว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) จะลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปี แต่มีสัดส่วนน้อยลงเมื่อเทียบกับการสำรวจในเดือน ก.ค. 65.-สำนักข่าวไทย
JJNY : "พิชัย"ห่วงคนไทยจะไม่รอด│'ศัลยา'ยอมรับผิดหมิ่น'อมรัตน์'│เชื่อมั่นค้าปลีกก.ย.65ลดลง│ร้านขายทรานซิสเตอร์สุดเหงา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3598063
“พิชัย” ห่วง “ประยุทธ์” รอดแล้ว แต่คนไทยจะไม่รอด ชี้ สถานการณ์ศก.จะรุนแรงเกินความรู้ความสามารถ ยิ่งกู้มากยิ่งเจ๊งมาก แนะ เลิกการผูกขาดทุกชนิด และ วางมือก่อนชาติเสียหายหนักกว่านี้
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 4 ต.ค. คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ได้จัดแถลงข่าว วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2565 เรื่อง “ประยุทธ์รอดแล้ว แต่คนไทยจะรอดไหม? “ โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าวคือ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ แถลงเรื่อง“ประยุทธ์” รอดแล้ว แต่คนไทยจะไม่รอด ชี้ สถานการณ์เศรษฐกิจจะรุนแรงเกินความรู้ความสามารถ ยิ่งกู้มากยิ่งเจ๊งมาก นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดเลย และ กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย “ประยุทธ์” อยู่ต่อ ยิ่งรวบอำนาจ การกระจายอำนาจไม่เกิด นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดหนองคาย และ อดีตรองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย “ประยุทธ์” อยู่ต่อ อุตสาหกรรมยิ่งเสื่อมถอย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
รองเลขาธิการ และ กรรมการคณะยุทธศาสตร์และการเมือง “ประยุทธ์ รอด คนไทยอาจไม่รอด”
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พลเอกประยุทธ์ได้ดำรงตำแหน่งต่อ ทั้งที่อยู่ในตำแหน่งมา 8 ปีแล้ว สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจำนวนมาก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าถ้านับตั้งแต่ปี 2560 แล้ว ระหว่างปี 2557 ถึง 2560 พลเอกประยุทธ์เป็นอะไร นอกจากนี้ ตลอดเวลา 8 ปีมี่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยย่ำแย่มาตลอด รายได้ประชาชนลดต่ำลง เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำมาก หนี้สินเพิ่มขึ้นมาก คนจนเพิ่มขึ้นมาก ราคาพลังงานทั้ง น้ำมัน ก๊าซ และ ไฟฟ้าพุ่งขึ้นสูง ข้าวของแพง ค่าแรงงานถูก ค้าขายย่ำแย่ หนี้เสียพุ่ง คนตกงานมาก คนฆ่าตัวตายสูงสุด ความสามารถแข่งขันของประเทศลด มีทุจริตคอรัปชั่นกันมากตามดัชนีชี้วัดสากล ขนาดปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันยังไม่มีการรับมือ แก้ไขช่วยเหลือประชาชนเลย คิดได้แค่จะใช้วิทยุทรานซิสเตอร์แค่นั้น แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์กลับคิดว่าตนเองทำได้ดี ประเทศก้าวหน้าทั้งที่ประเทศเพื่อนบ้านแซงหน้าไปหมดไม่ว่ามาเลเซียที่เป็นประเทศรายได้สูงไปแล้ว หรือเวียดนามที่การส่งออกแซงไทยไป 50% แล้วเป็นต้น ดังนั้นแม้พลเอกประยุทธ์จะรอดแต่คนไทยน่าจะไม่รอดแน่ถ้าเป็นแบบนี้
นอกจากนี้การปล่อยให้มีการผูกขาดเป็นปัญหาหลักของประเทศนี้ ขนาด World Economic Forum (WEF) จัดไทยอยู่อันดับที่ 104 จาก 138 ประเทศ ในด้านการกระจายอำนาจในตลาดสินค้าและบริการ (Extent of Market Dominance) และอยู่อันดับที่ 62 ในด้านประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า (Effectiveness of Anti-Monopoly Policy) ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยปล่อยให้มีการผูกขาดของนายทุนรายใหญ่กันมาก และ การบังคับใข้ดฎหมายในเรื่องป้องกันการผูกขาดยังมีประสิทธิภาพที่ต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อยไม่สามารถพัฒนาก้าวขึ้นเป็นรายใหญ่ได้เพราะถูกปิดกั้น ปิดโอกาสการพัฒนาของประเทศ ดังนั้นการทำลายการผูกขาดจึงจำเป็นอย่างมาก หากประเทศไทยต้องพัฒนาต่อไป
การที่นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกฯ และ รมว. พลังงาน พยายามบอกว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 จะเป็นขาขึ้นนั้น น่าจะเป็นการขายฝันมากกว่า เพราะปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจอีกมาก เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย การส่งออกของไทยคงไม่เพิ่มมากนักและอาจจะลดลงด้วย อัตราดอกเบี้ยของไทยที่น่าจะต้องเพิ่มขึ้น เงินเฟ้อที่อาจจะยังไม่ลดลง ค่าไฟฟ้าที่ยังจะเพิ่มขึ้นอีก และราคาสินค้าและบริการที่จะปรับขึ้น หนี้สาธารณะ และ หนี้ครัวเรือนที่จะยิ่งพุ่งสูงขึ้นและหนี้เสียจะมากขึ้นจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและจ่ายไม่ไหว อีกทั้ง รมว ท่องเที่ยวที่อ้างว่าไทยฟื้นเร็วสุด น่าจะเข้าใจผิดเพราะเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในแดนลบมา 3 ปีแล่ว จากปี 63 ที่ติดลบ 6.2% และยังไม่ฟื้นที่เดิมเลย แถมการท่องเที่ยวของประเทศอื่นฟื้นแล้ว ห้องพักจองกันเต็ม แต่ของไทยกลับว่าง แถมยังจะไปเก็บค่าเหยียบแผ่นดินให้เป็นที่กวนใจนักท่องเที่ยวต่างชาติอีก นอกจากนี้พอโดนโจมตีว่าแจกบัตรคนจนมากแสดงว่าล้มเหลว พลเอกประยุทธ์เลยจะเปลี่ยนชื่อเป็นบัตรความสุข คิดได้เท่านี้จริงๆ
อีกทั้งการที่รัฐบาลจะจัดงบประมาณปี 2566 โดยจะกู้ถึง 1.05 ล้านล้านบาทนั้น น่าเป็นห่วงว่าจะทำให้หนี้สาธารณะยิ่งพุ่งสูง และเพราะกู้มากแต่ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ ยิ่งกู้มากยิ่งเจ๊งมาก ยิ่งกู้มากหนี้ยิ่งทะลุ ทำให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพียิ่งเพิ่มขึ้นและอาจจะต้องไปขยายเพดานที่ 70% กันอีก ซึ่งรัฐบาลในอนาคตจะต้องใช้หนี้แทนพลเอกประยุทธ์เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 40 ปีถึงจะใช้หนี้หมด ลูกหลานจะยิ่งลำบากกันมาก
ดังนั้น หากมองตัวเองย้อนหลัง พลเอกประยุทธ์น่าจะทราบดีว่าการบริหารเศรษฐกิจของพลเอกประยุทธ์ล้มเหลวมาตลอด และ หากยังดื้อรั้นเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะพบกับอุปสรรคจำนวนมากโดยที่พลเอกประยุทธ์จะไม่สามารถรับมือได้เลย คนไทยจะยิ่งลำบากและประเทศไทยจะยิ่งเสื่อมถอยลงอีก ดังนั้นถึงเวลาที่ต้องได้สำนึกและออกไปได้แล้ว
ไหว้ขอโทษ! 'ศัลยา' นักเขียนดัง บุพเพสันนิวาส ยอมรับผิด หมิ่นประมาท 'อมรัตน์'
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7298622
ไหว้ขอโทษ! ‘ศัลยา’ นักเขียนดัง บุพเพสันนิวาส ยอมรับผิด หมิ่นประมาท ‘อมรัตน์’ ส.ส.ก้าวไกล เผยสำนึกผิดอย่างจริงใจ ยินดีลงข้อความขอโทษใน นสพ. โพสต์เฟซ
กรณี นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) เข้าแจ้งความดำเนินคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทกับ ศัลยา สุขะนิวัตติ์ นักเขียนบทละครโทรทัศน์ชื่อดัง ซึ่งได้รับความนิยมหลายเรื่อง ทั้ง คู่กรรม, นางทาส, สายโลหิต, ดอกส้มสีทอง รวมถึง บุพเพสันนิวาส ซึ่งโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทด้วยถ้อยคำที่รุนแรงทำให้ได้รับความเสียหาย
ล่าสุดวันที่ 4 ต.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ต.ค.65 ที่ห้องพิจารณาคดี 901 ศัลยา สุขขะนิวัตติ์ ได้ยกมือไหว้และกล่าวคำขอโทษต่อหน้าศาล ที่โพสต์ข้อความด่าทอหมิ่นประมาท ส.ส.อมรัตน์ อย่างร้ายแรง ซึ่งเจ้าตัวสำนึกผิดอย่างจริงใจ และยินดีจะลงข้อความขอโทษในหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ มติชน และเดลินิวส์ ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน รวมทั้งเขียนขอโทษลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 วัน
ส.ส.อมรัตน์ กล่าวว่า ตนไม่ติดใจเพราะเมื่อได้มีโอกาสพูดคุยประเด็นสังคมและการเมืองด้วยกัน เห็นว่า คุณศัลยาได้ลดอคติและมีมุมมองใหม่ๆ ที่ต่างไปจากเดิมบ้างพอสมควร ตนจึงตัดสินใจลงชื่อถอนฟ้องค่าเสียหายทางแพ่ง ซึ่งเดิมตั้งใจว่าหากชนะคดีจะนำเงินนี้มอบให้กับโรงพยาบาลเพื่อซื้อเครื่องมือทางการแพทย์
กำลังซื้ออ่อนแอ-ของแพง-น้ำท่วม ฉุดดัชนีเชื่อมั่นค้าปลีก ก.ย.65 ลดลง
https://tna.mcot.net/business-1030592
กรุงเทพฯ 3 ต.ค.- ธปท. เผยดัชนีเชื่อมั่นค้าปลีก ก.ย.65 ลดลง เหตุกำลังซื้ออ่อนแอ-สินค้าแพง-อุทกภัย ฉุดธุรกิจฟื้นตัว ขณะที่โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย จ้างงานฟื้นตัว แต่ธุรกิจ 25% ยังขาดแคลนแรงงาน ภาคการผลิตกังวล Supply Chain เพิ่มขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: RSI) เดือน ก.ย. 2565 พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกในปัจจุบันปรับลดลงตามกำลังซื้อที่อ่อนแอจากราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงผลกระทบจากอุทกภัยในบางพื้นที่ ขณะที่การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยปัจจัยเหล่านี้ฉุดรั้งการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกในระยะต่อไป
ผู้บริโภคบางกลุ่มปรับลดการใช้จ่ายเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยอุทกภัยส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมนอกบ้าน ขณะที่ผู้บริโภคอีกกลุ่มใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่เลือกใช้จ่ายเพียงสินค้าจำเป็นที่มีโปรโมชัน ทั้งนี้ รายได้ที่ฟื้นตัวไม่เต็มที่ และราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นยังคงกดดันความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ขณะที่ ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย เดือน ก.ย. 2565 ซึ่ง ธปท. จัดทำร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทย โดยสำรวจผู้ประกอบการรายใหญ่และเอสเอ็มอี ระหว่างวันที่ 1- 26 กันยายน 2565 จำนวน 442 ราย พบว่าการฟื้นตัวของธุรกิจปรับดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่กำลังซื้อที่อ่อนแอยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดที่กดดันการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวม โดยภาคการผลิตมีความกังวลต่อปัญหาด้าน Supply Chain เพิ่มขึ้น ส่วนการฟื้นตัวของการจ้างงานในภาพรวมปรับดีขึ้นจากภาคที่มิใช่การผลิตเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ธุรกิจในภาพรวมสะสมสตอกใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า แต่มีธุรกิจราว 17% ที่สะสมสตอกเพิ่มขึ้น เนื่องจากกังวลว่าราคาวัตถุดิบอาจปรับเพิ่มขึ้นอีก
ขณะที่ธุรกิจราว 1 ใน 4 เผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่ส่วนใหญ่ต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 10 % ของแรงงานในปัจจุบัน โดยธุรกิจจะบริหารจัดการปัญหาขาดแคลนแรงงานด้วยการใช้นโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน
ธุรกิจมีมุมมองดีขึ้นเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน แม้ว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) จะลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปี แต่มีสัดส่วนน้อยลงเมื่อเทียบกับการสำรวจในเดือน ก.ค. 65.-สำนักข่าวไทย