สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ในหลายบริษัทมีเรื่องอย่างนี้บ่อยค่ะ โดยหลักการเลยคือ แต่ละตำแหน่งจะมีกระบอกเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น คนเข้ามาใหม่เพื่อบรรจุในตำแหน่งนั้น (ถ้าไม่ใช่จบใหม่) จะมีประสบการณ์ตรงและมีวุฒิที่เหมาะสมของตำแหน่งนั้นที่บริษัทวางไว้ เงินเดือนจะเป็นการตกลงเจรจา อาจจะอยู่กลางหรือล่างหรือบนของกระบอกเงินเดือนนั้น ยิ่งถ้าในช่วงบริษัทขาดแคลนคนหรือตลาดงานมีการแข่งขันสูง บริษัทต้องให้แพ็คเกจที่ดีเพื่อดึงดูดพนักงานใหม่คนนั้น
ส่วนคนเก่า อาจเข้ามาที่เงินเดือนที่ต่ำกว่า เช่น 1. มาด้วยวุฒิและประสบการณ์ที่ต่ำกว่าคนใหม่ 2. ช่วงต่อรองเราทำไม่ได้ดีเท่า หรือฐานเงินเดือนจากที่เก่ามันต่ำกว่ามาก เขาให้เท่านี้ก็ดึงดูดคุณได้แล้ว หรือ 3. เข้ามาด้วยตำแหน่งต่ำกว่าและค่อยๆ เติบโตในองค์กร ซึ่งจะเจอเหตุการณ์ที่ว่าการปรับขึ้นเงินเดือนในแต่ละปีไม่ก้าวกระโดด และมีหลายคนในแผนกที่ต้องเกลี่ยงบประมาณเพื่อปรับขึ้นเงินเดือน โดยทฤษฏี เมื่อพนักงานทำงานได้ดีก็ปรับเงินเดือนมากสุดและปรับเลื่อนตำแหน่งไปอยู่ในกระบอกเงินเดือนที่สูงกว่า แต่โดยทั่วไปมักจะติดปัญหาเรื่องงบประมาณในแผนกและการที่หัวหน้าต้องพยายามดูแลให้ลูกน้องหลายๆ คน เข้าทำนอง แบ่งๆ กันไป เรื่องนี้เป็นวัฒนธรรมในหลายองค์กรไทยค่ะ
จึงเป็นที่มาว่า หลายๆ คนจะรู้สึกว่าการเปลี่ยนงานทุกๆ 3-5 ปีจะทำให้สามารถเพิ่มเงินเดือนได้ดีกว่าอยู่ที่เดิมไปเป็น 10 ปี
ถ้าคุณยังรักสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อนร่วมงานและเนื้องานจนไม่อยากย้ายไปนั้น นั่นคือคุณติดอยู่ใน comfort zone... ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่คุณจะติดอยู่ในระบบอย่างนี้ อีกห้าปีสิบปีให้หลังคุณจะรู้สึกว่าเงินเดือนไม่ได้เพิ่มมากจากปัจจุบันเท่าที่คุณอยากให้เป็น ถ้าอยากหลุดออกจากวงจรปัจจุบันก็ต้องหางานใหม่ เรียกเงินเดือนจากที่ใหม่ให้สมน้ำสมเนื้อที่คุณพอใจ แต่ก็จะเสี่ยงกับการที่สภาพแวดล้อมใหม่อาจไม่น่าอยู่เท่าที่เก่า ก็ต้องทำใจ หรือหากคุณคิดว่าสภาพปัจจุบันเป็นเพราะวุฒิการศึกษา ลองคุยกับหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลดูว่า หากคุณไปเรียนภาคค่ำเพิ่มวุฒิได้ จะมีการปรับเงินเดือนหรือไม่ แล้วค่อยมาคิดค่ะว่าจะเอายังไงกับชีวิต
อย่างในกรณีคุณ อยู่มา 6-7 ปีแล้ว ถ้ามั่นใจว่าทำงานได้ดีและรู้สึก 'ตัน' ก็ไม่แปลกที่จะหางานใหม่ และที่ใหม่ก็จะไม่แปลกใจถ้าคุณให้เหตุผลว่าอยู่ที่เก่ารู้สึกตันแล้ว อยากเพิ่มความท้าทายและโอกาสก้าวหน้าในชีวิตด้วยการหางานใหม่ค่ะ
ส่วนคนเก่า อาจเข้ามาที่เงินเดือนที่ต่ำกว่า เช่น 1. มาด้วยวุฒิและประสบการณ์ที่ต่ำกว่าคนใหม่ 2. ช่วงต่อรองเราทำไม่ได้ดีเท่า หรือฐานเงินเดือนจากที่เก่ามันต่ำกว่ามาก เขาให้เท่านี้ก็ดึงดูดคุณได้แล้ว หรือ 3. เข้ามาด้วยตำแหน่งต่ำกว่าและค่อยๆ เติบโตในองค์กร ซึ่งจะเจอเหตุการณ์ที่ว่าการปรับขึ้นเงินเดือนในแต่ละปีไม่ก้าวกระโดด และมีหลายคนในแผนกที่ต้องเกลี่ยงบประมาณเพื่อปรับขึ้นเงินเดือน โดยทฤษฏี เมื่อพนักงานทำงานได้ดีก็ปรับเงินเดือนมากสุดและปรับเลื่อนตำแหน่งไปอยู่ในกระบอกเงินเดือนที่สูงกว่า แต่โดยทั่วไปมักจะติดปัญหาเรื่องงบประมาณในแผนกและการที่หัวหน้าต้องพยายามดูแลให้ลูกน้องหลายๆ คน เข้าทำนอง แบ่งๆ กันไป เรื่องนี้เป็นวัฒนธรรมในหลายองค์กรไทยค่ะ
จึงเป็นที่มาว่า หลายๆ คนจะรู้สึกว่าการเปลี่ยนงานทุกๆ 3-5 ปีจะทำให้สามารถเพิ่มเงินเดือนได้ดีกว่าอยู่ที่เดิมไปเป็น 10 ปี
ถ้าคุณยังรักสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อนร่วมงานและเนื้องานจนไม่อยากย้ายไปนั้น นั่นคือคุณติดอยู่ใน comfort zone... ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่คุณจะติดอยู่ในระบบอย่างนี้ อีกห้าปีสิบปีให้หลังคุณจะรู้สึกว่าเงินเดือนไม่ได้เพิ่มมากจากปัจจุบันเท่าที่คุณอยากให้เป็น ถ้าอยากหลุดออกจากวงจรปัจจุบันก็ต้องหางานใหม่ เรียกเงินเดือนจากที่ใหม่ให้สมน้ำสมเนื้อที่คุณพอใจ แต่ก็จะเสี่ยงกับการที่สภาพแวดล้อมใหม่อาจไม่น่าอยู่เท่าที่เก่า ก็ต้องทำใจ หรือหากคุณคิดว่าสภาพปัจจุบันเป็นเพราะวุฒิการศึกษา ลองคุยกับหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลดูว่า หากคุณไปเรียนภาคค่ำเพิ่มวุฒิได้ จะมีการปรับเงินเดือนหรือไม่ แล้วค่อยมาคิดค่ะว่าจะเอายังไงกับชีวิต
อย่างในกรณีคุณ อยู่มา 6-7 ปีแล้ว ถ้ามั่นใจว่าทำงานได้ดีและรู้สึก 'ตัน' ก็ไม่แปลกที่จะหางานใหม่ และที่ใหม่ก็จะไม่แปลกใจถ้าคุณให้เหตุผลว่าอยู่ที่เก่ารู้สึกตันแล้ว อยากเพิ่มความท้าทายและโอกาสก้าวหน้าในชีวิตด้วยการหางานใหม่ค่ะ
แสดงความคิดเห็น
เงินเดือนน้อยกว่าพนักงานใหม่