โรคปริทันต์จำแนกตามลักษณะได้ 2 ชนิดคือ โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบ
#โรคเหงือกอักเสบ
โรคที่แสดงภาวะการอักเสบเฉพาะบริเวณเหงือกเท่านั้น สามารถพบได้ในประชากรทุกกลุ่มทุกอายุ ลักษณะการอักเสบ และระดับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สาเหตุเกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่ในช่องปาก ผู้ป่วยที่ดูแลสุขภาพไม่ดีจะมีคราบจุลินทรีย์สะสมบนตัวฟัน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดเหงือกอักเสบขึ้นในที่สุด
#โรคปริทันต์อักเสบ
หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "รำมะนาด" เป็นโรคที่การอักเสบไม่ได้เกิดเฉพาะที่เหงือก แต่ลุกลามถึงอวัยวะปริทันต์อื่นๆ ที่อยู่ใต้เหงือก ซึ่งได้แก่ กระดูกเบ้ารากฟัน เอ็ดยึดปริทันต์ รวมถึงการตายของเคลือบรากฟัน
โรคนี้จะเกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และหินน้ำลาย สารพิษจากจุลินทรีย์จะทำให้เหงือกและอวัยวะปริทันต์อื่นๆ อักเสบค่ะ
เรื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีการดำเนินไปอย่างช้าๆ ไม่มีความเจ็บปวดที่บริเวณเหงือกและฟัน ผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรค จนกว่าจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นหรืออยู่ในระยะมีการอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งพบมีเหงือกบวมหรือมีหนองคั่งอยู่ภายในเหงือก ทำให้เหงือกโตเป็นกระเปาะมีสีแดงคล้ำ จะพบเลือดหรือหนองไหลออกมาทางร่องเหงือก และมีกลิ่นปากรุนแรง
นอกจากนั้นแล้วอาการที่พบได้มากในผู้ป่วยปริทันต์อักเสบ คือ เหงือกร่น รากฟันโผล่ออกมานอกเหงือกดูคล้ายฟันยาวออกมากขึ้น อาจมีอาการเสียวฟัน หรือเกิดรากฟันผุร่วมด้วย ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาจะมีการทำลายกระดูกเบ้าฟันมากขึ้น ฟันโยกมากขึ้น จนอาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไปในที่สุด
#วิธีการรักษา
โรคปริทันต์อักเสบรักษาได้ โดยการควบคุมอนามัยในช่องปาก การขูดหินน้ำลาย เกลารากฟันการแก้ไขความผิดปกติของอวัยวะปริทันต์
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกคนที่เป็นโรคปริทันต์ และมีการสูญเสียอวัยวะปริทันต์จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขความผิดปกติของอวัยวะปริทันต์
ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินสภาพเหงือกหลังจากการขูดหินน้ำลาย เหลารากฟัน การผ่าตัดแก้ไขความพิการนั้น จะทำในรายการที่การอักเสบของเหงือกลดลงจนเป็นปกติ และผู้ป่วยสามารถควบคุมอนามัยในช่องปากได้เป็นอย่างดี
สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ต้องได้รับการควบคุมโรค และหยุดการใช้ยาบางตัวเหล่านี้ก่อน จึงรับการรักษาโรคปริทันต์ได้โดยไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายส่วนอื่นๆ ค่ะ
ชนิดของโรคปริทันต์
#โรคเหงือกอักเสบ
โรคที่แสดงภาวะการอักเสบเฉพาะบริเวณเหงือกเท่านั้น สามารถพบได้ในประชากรทุกกลุ่มทุกอายุ ลักษณะการอักเสบ และระดับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สาเหตุเกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่ในช่องปาก ผู้ป่วยที่ดูแลสุขภาพไม่ดีจะมีคราบจุลินทรีย์สะสมบนตัวฟัน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดเหงือกอักเสบขึ้นในที่สุด
#โรคปริทันต์อักเสบ
หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "รำมะนาด" เป็นโรคที่การอักเสบไม่ได้เกิดเฉพาะที่เหงือก แต่ลุกลามถึงอวัยวะปริทันต์อื่นๆ ที่อยู่ใต้เหงือก ซึ่งได้แก่ กระดูกเบ้ารากฟัน เอ็ดยึดปริทันต์ รวมถึงการตายของเคลือบรากฟัน
โรคนี้จะเกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และหินน้ำลาย สารพิษจากจุลินทรีย์จะทำให้เหงือกและอวัยวะปริทันต์อื่นๆ อักเสบค่ะ
เรื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีการดำเนินไปอย่างช้าๆ ไม่มีความเจ็บปวดที่บริเวณเหงือกและฟัน ผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรค จนกว่าจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นหรืออยู่ในระยะมีการอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งพบมีเหงือกบวมหรือมีหนองคั่งอยู่ภายในเหงือก ทำให้เหงือกโตเป็นกระเปาะมีสีแดงคล้ำ จะพบเลือดหรือหนองไหลออกมาทางร่องเหงือก และมีกลิ่นปากรุนแรง
นอกจากนั้นแล้วอาการที่พบได้มากในผู้ป่วยปริทันต์อักเสบ คือ เหงือกร่น รากฟันโผล่ออกมานอกเหงือกดูคล้ายฟันยาวออกมากขึ้น อาจมีอาการเสียวฟัน หรือเกิดรากฟันผุร่วมด้วย ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาจะมีการทำลายกระดูกเบ้าฟันมากขึ้น ฟันโยกมากขึ้น จนอาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไปในที่สุด
#วิธีการรักษา
โรคปริทันต์อักเสบรักษาได้ โดยการควบคุมอนามัยในช่องปาก การขูดหินน้ำลาย เกลารากฟันการแก้ไขความผิดปกติของอวัยวะปริทันต์
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกคนที่เป็นโรคปริทันต์ และมีการสูญเสียอวัยวะปริทันต์จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขความผิดปกติของอวัยวะปริทันต์
ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินสภาพเหงือกหลังจากการขูดหินน้ำลาย เหลารากฟัน การผ่าตัดแก้ไขความพิการนั้น จะทำในรายการที่การอักเสบของเหงือกลดลงจนเป็นปกติ และผู้ป่วยสามารถควบคุมอนามัยในช่องปากได้เป็นอย่างดี
สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ต้องได้รับการควบคุมโรค และหยุดการใช้ยาบางตัวเหล่านี้ก่อน จึงรับการรักษาโรคปริทันต์ได้โดยไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายส่วนอื่นๆ ค่ะ