สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ขอบคุณโอกาสที่ได้อธิบายแผนงานต่อ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย คณะกรรมการเตรียมนักกีฬาทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ และการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เรื่องการเตรียมทีมสำหรับรายการแข่งขันฟุตบอลในปีหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการของบประมาณเตรียมทีม เช่น ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ และ เอเอฟซี U23 คัดโอลิมปิก
ตามที่ นายพาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมกันประชุมพิจารณาแผนงานและงบประมาณการเตรียมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งกำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ร่วมกับ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย, คณะกรรมการเตรียมนักกีฬาทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ และการกีฬาแห่งประเทศไทย
พาทิศ ศุภะพงษ์ กล่าวว่า “เป็นเรื่องของความเป็นห่วงกังวล และคาดหวังที่อยากเห็นความสำเร็จให้คนไทยมีความสุขกับการเชียร์กีฬา ซึ่งสมาคมฯ ได้เข้ารับฟังและเข้าใจมุมมองจากทั้งรองผู้ว่าฯ และผู้บริหารของโอลิมปิคไทยเป็นอย่างดี”
“ขณะเดียวกันถือเป็นเรื่องดีที่สมาคมฯ ได้รับโอกาสในการอธิบายถึงแผนงานที่เตรียมไว้ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี ผมถือว่าเป็นบรรยากาศที่ดีมากๆ ที่ได้แลกเปลี่ยนกัน”
สมาคมฯ แจ้งต่อที่ประชุมว่าจะใช้นักกีฬาในรุ่นอายุ ที่สามารถลงแข่งขันได้ในทุกรายการในปี 2023 ตั้งแต่ชิงแชมป์อาเซียน U23 ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ และเอเอฟซี U23 ที่จะใช้เป็นรายการในการคัดโอลิมปิค ปารีส 2024 ต่อไป แม้อายุอาจจะยังไม่เต็มรุ่นในช่วงที่เข้าสู่รายการซีเกมส์ที่กัมพูชาก็ตาม แต่จะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการเล่น และระบบทีม มากกว่าการใช้เต็มรุ่นอายุและต้องเปลี่ยนนักกีฬาเมื่อจบรายการนั้นๆ ไป และพวกเขาจะอยู่ในช่วงอายุเต็มรุ่นพอดีสำหรับรายการเอเอฟซี U23 คัดโอลิมปิก
โดยเฉพาะนโยบายไม่ใช้ผู้เล่นโควต้าอายุเกิน ที่แม้จะสามารถใช้ได้ในรายการซีเกมส์ กลับกันไม่สามารถใช้โควต้าเหล่านี้ได้ในรายการเอเอฟซี U23 คัดโอลิมปิค ในช่วงปลายปี และถ้าผ่านไปถึงเอเอฟซี U23 รอบสุดท้ายเพื่อคัดโอลิมปิค ตรงนี้ก็ต้องชี้แจงว่าควรให้ผู้เล่นได้ลงอย่างต่อเนื่องในตำแหน่งสำคัญๆ ทุกรายการ
การที่นักกีฬาได้เล่นด้วยกันได้ในหลายๆ ทัวร์นาเมนต์นั้น ก็จะเรียนรู้ แก้ไข พัฒนาไปด้วยกัน และเมื่อจบการแข่งขันในปีหน้าเราก็จะได้นักกีฬาชุดที่ขึ้นไปเตรียมรองรับการผลัดใบของชุดใหญ่ได้ในทุกตำแหน่ง วงรอบแบบนี้จะช่วยสร้างความต่อเนื่องให้กับทีมชาติเมื่ออายุเกิน 23 และก้าวสู่ชุดใหญ่ ซึ่งนี่คือวิธีการที่สากลได้ปฏิบัติกัน เพื่อให้มีนักฟุตบอลที่เล่นด้วยกันมาตลอด เติบโตขึ้นไปสนับสนุนรองรับกันรุ่นสู่รุ่นต่อไปในทุกตำแหน่ง
กรณีที่มีการพูดถึงการปรับโปรแกรมลีกเพื่อให้มีเวลาฝึกซ้อมให้ซีเกมส์มากขึ้นนั้น ขอแจ้งว่าเป็นความคิดเห็นที่กล่าวขึ้นจากผู้ที่เข้าร่วมประชุม แต่เมื่อสมาคมฯ ได้ชี้แจงว่าไม่ควรไปกระทบการแข่งขันของสโมสรอาชีพ ยิ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ สโมสรต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพิ่มมาจากเดิมวางไว้ 9 เดือน เป็น 10 หรือ 11 เดือน โดยไม่ได้มีอะไรที่จะการันตีว่าจะได้นักฟุตบอลจากสโมสร จากที่เราทราบดีว่าระเบียบและโปรแกรมการแข่งขันซีเกมส์นั้น ใช้นักกีฬาตลอดทัวร์นาเมนต์เพียง 20 คน และไม่ได้เว้นวันพักฟื้นเหมือนกับกีฬาอาชีพ มีโอกาสบาดเจ็บ ก็เป็นเรื่องที่ต้องนำมาแลกเปลี่ยนให้ทราบในที่ประชุมได้ทราบ
ในขณะนี้มีการเก็บข้อมูล และพร้อมที่จะทำการฝึกซ้อมในช่วงปลายปี ซึ่งจะดีกว่าหากว่าเข้าหารือ แจ้งสโมสรเพื่อขอความร่วมมือในการสนับสนุนนักกีฬาแต่ละคนที่ต้องการ เข้าซ้อมในช่วงที่ลีกหยุดพัก และเข้าร่วมทัวร์นาเมนต์อุ่นเครื่องในต่างประเทศหากได้มีการเทียบเชิญมา ก่อนมหกรรมกีฬาซีเกมส์ต่อไป ซึ่งที่ประชุมก็เห็นด้วยและยินดีให้การสนับสนุน
ส่วนเรื่องงบประมาณ ทาง กกท. ขอให้ปรับเปลี่ยนเอกสารให้เข้ากับหมวดที่เกี่ยวข้องและอัตราค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามระเบียบที่ กกท. สามารถให้เบิกจ่ายได้ ซึ่งในตอนแรกสมาคมฯ นั้นต้องการ นำเสนอค่าใช้จ่ายจริงที่สามารถอ้างอิงได้จากปีก่อน ทั้งค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ สนามซ้อม เบี้ยเลี้ยง การเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมทัวร์นาเมนต์อุ่นเครื่อง (ถ้ามี) เพื่อให้ กกท. เห็นว่าค่าใช้จ่ายก็ยังมีมากพอสมควรที่ยังไม่ครอบคลุมอยู่ในระเบียบปัจจุบัน ก็ได้รับการแนะนำเป็นอย่างดี ซึ่งได้ปรับแก้และส่งกลับไปให้ กกท.พิจารณาแล้ว
ในผังนี้ปี 2022 มี International Friedlies โค้ชยังไม่มีแล้วจะอุ่นเครื่องยังไงครับ แล้วคิดว่าจะทำตามได้มั้ยครับ จะไม่ใช้นักเตะอายุเกินในซีเกมส์และเอเชียนเกมส์จริงมั้ย เดี๋ยวใกล้ๆก็มาบอกว่าต้องเรียกศรัทธาให้นักเตะอายุเกินไปช่วย
U23 ปีนี้เรามีอุ่นเครื่องด้วยหรอครับ + ไทยตั้งเป้าไม่ใช้นักเตะอายุเกินในซีเกมส์และเอเชียนเกมส์
ตามที่ นายพาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมกันประชุมพิจารณาแผนงานและงบประมาณการเตรียมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งกำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ร่วมกับ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย, คณะกรรมการเตรียมนักกีฬาทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ และการกีฬาแห่งประเทศไทย
พาทิศ ศุภะพงษ์ กล่าวว่า “เป็นเรื่องของความเป็นห่วงกังวล และคาดหวังที่อยากเห็นความสำเร็จให้คนไทยมีความสุขกับการเชียร์กีฬา ซึ่งสมาคมฯ ได้เข้ารับฟังและเข้าใจมุมมองจากทั้งรองผู้ว่าฯ และผู้บริหารของโอลิมปิคไทยเป็นอย่างดี”
“ขณะเดียวกันถือเป็นเรื่องดีที่สมาคมฯ ได้รับโอกาสในการอธิบายถึงแผนงานที่เตรียมไว้ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี ผมถือว่าเป็นบรรยากาศที่ดีมากๆ ที่ได้แลกเปลี่ยนกัน”
สมาคมฯ แจ้งต่อที่ประชุมว่าจะใช้นักกีฬาในรุ่นอายุ ที่สามารถลงแข่งขันได้ในทุกรายการในปี 2023 ตั้งแต่ชิงแชมป์อาเซียน U23 ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ และเอเอฟซี U23 ที่จะใช้เป็นรายการในการคัดโอลิมปิค ปารีส 2024 ต่อไป แม้อายุอาจจะยังไม่เต็มรุ่นในช่วงที่เข้าสู่รายการซีเกมส์ที่กัมพูชาก็ตาม แต่จะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการเล่น และระบบทีม มากกว่าการใช้เต็มรุ่นอายุและต้องเปลี่ยนนักกีฬาเมื่อจบรายการนั้นๆ ไป และพวกเขาจะอยู่ในช่วงอายุเต็มรุ่นพอดีสำหรับรายการเอเอฟซี U23 คัดโอลิมปิก
โดยเฉพาะนโยบายไม่ใช้ผู้เล่นโควต้าอายุเกิน ที่แม้จะสามารถใช้ได้ในรายการซีเกมส์ กลับกันไม่สามารถใช้โควต้าเหล่านี้ได้ในรายการเอเอฟซี U23 คัดโอลิมปิค ในช่วงปลายปี และถ้าผ่านไปถึงเอเอฟซี U23 รอบสุดท้ายเพื่อคัดโอลิมปิค ตรงนี้ก็ต้องชี้แจงว่าควรให้ผู้เล่นได้ลงอย่างต่อเนื่องในตำแหน่งสำคัญๆ ทุกรายการ
การที่นักกีฬาได้เล่นด้วยกันได้ในหลายๆ ทัวร์นาเมนต์นั้น ก็จะเรียนรู้ แก้ไข พัฒนาไปด้วยกัน และเมื่อจบการแข่งขันในปีหน้าเราก็จะได้นักกีฬาชุดที่ขึ้นไปเตรียมรองรับการผลัดใบของชุดใหญ่ได้ในทุกตำแหน่ง วงรอบแบบนี้จะช่วยสร้างความต่อเนื่องให้กับทีมชาติเมื่ออายุเกิน 23 และก้าวสู่ชุดใหญ่ ซึ่งนี่คือวิธีการที่สากลได้ปฏิบัติกัน เพื่อให้มีนักฟุตบอลที่เล่นด้วยกันมาตลอด เติบโตขึ้นไปสนับสนุนรองรับกันรุ่นสู่รุ่นต่อไปในทุกตำแหน่ง
กรณีที่มีการพูดถึงการปรับโปรแกรมลีกเพื่อให้มีเวลาฝึกซ้อมให้ซีเกมส์มากขึ้นนั้น ขอแจ้งว่าเป็นความคิดเห็นที่กล่าวขึ้นจากผู้ที่เข้าร่วมประชุม แต่เมื่อสมาคมฯ ได้ชี้แจงว่าไม่ควรไปกระทบการแข่งขันของสโมสรอาชีพ ยิ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ สโมสรต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพิ่มมาจากเดิมวางไว้ 9 เดือน เป็น 10 หรือ 11 เดือน โดยไม่ได้มีอะไรที่จะการันตีว่าจะได้นักฟุตบอลจากสโมสร จากที่เราทราบดีว่าระเบียบและโปรแกรมการแข่งขันซีเกมส์นั้น ใช้นักกีฬาตลอดทัวร์นาเมนต์เพียง 20 คน และไม่ได้เว้นวันพักฟื้นเหมือนกับกีฬาอาชีพ มีโอกาสบาดเจ็บ ก็เป็นเรื่องที่ต้องนำมาแลกเปลี่ยนให้ทราบในที่ประชุมได้ทราบ
ในขณะนี้มีการเก็บข้อมูล และพร้อมที่จะทำการฝึกซ้อมในช่วงปลายปี ซึ่งจะดีกว่าหากว่าเข้าหารือ แจ้งสโมสรเพื่อขอความร่วมมือในการสนับสนุนนักกีฬาแต่ละคนที่ต้องการ เข้าซ้อมในช่วงที่ลีกหยุดพัก และเข้าร่วมทัวร์นาเมนต์อุ่นเครื่องในต่างประเทศหากได้มีการเทียบเชิญมา ก่อนมหกรรมกีฬาซีเกมส์ต่อไป ซึ่งที่ประชุมก็เห็นด้วยและยินดีให้การสนับสนุน
ส่วนเรื่องงบประมาณ ทาง กกท. ขอให้ปรับเปลี่ยนเอกสารให้เข้ากับหมวดที่เกี่ยวข้องและอัตราค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามระเบียบที่ กกท. สามารถให้เบิกจ่ายได้ ซึ่งในตอนแรกสมาคมฯ นั้นต้องการ นำเสนอค่าใช้จ่ายจริงที่สามารถอ้างอิงได้จากปีก่อน ทั้งค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ สนามซ้อม เบี้ยเลี้ยง การเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมทัวร์นาเมนต์อุ่นเครื่อง (ถ้ามี) เพื่อให้ กกท. เห็นว่าค่าใช้จ่ายก็ยังมีมากพอสมควรที่ยังไม่ครอบคลุมอยู่ในระเบียบปัจจุบัน ก็ได้รับการแนะนำเป็นอย่างดี ซึ่งได้ปรับแก้และส่งกลับไปให้ กกท.พิจารณาแล้ว
ในผังนี้ปี 2022 มี International Friedlies โค้ชยังไม่มีแล้วจะอุ่นเครื่องยังไงครับ แล้วคิดว่าจะทำตามได้มั้ยครับ จะไม่ใช้นักเตะอายุเกินในซีเกมส์และเอเชียนเกมส์จริงมั้ย เดี๋ยวใกล้ๆก็มาบอกว่าต้องเรียกศรัทธาให้นักเตะอายุเกินไปช่วย