สาเหตุของกลิ่นปากสามารถเกิดได้จากทั้งภายในและภายนอกช่องปาก ดังนี้
สาเหตุจากภายในช่องปาก ได้แก่
• #แผลในช่องปาก เช่น เนื้องอก แผลร้อนใน หรือแผลที่เกิดจากการผ่าตัดในช่องปาก
• #ฟันผุ เกิดจากเศษอาหารตกค้างและสะสมอยู่ในรูผุของฟันหรือฟันที่ผุทะลุโพรงประสาทฟัน
• #โรคปริทันต์ (รำมะนาด) หรือโรคเหงือกอักเสบ เกิดจากมีคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลายสะสมเป็นจำนวนมาก
• #ผู้ที่ใส่ฟันเทียมหรือเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในช่องปาก เช่น ใส่เครื่องมือจัดฟัน หรือใส่เครื่องมือกันฟันล้ม และรักษาความสะอาดไม่ดีมีคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารตกค้าง
• #น้ำลาย โดยปกติน้ำลายจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกออก และช่วยลดการหมักมหมมบูดเน่าของอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นได้ ในบางภาวะที่มีการหลั่งน้ำลายออกมาน้อย เช่น ขณะนอนหลับ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ความร้อน ความเครียด หรือมีโรคประจำตัวและการใช้ยาก็จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำลายน้อยและมีกลิ่นปากได้
• #ลิ้น (บริเวณโคนลิ้นด้านในสุด) เนื่องจากบริเวณนี้จะมีน้ำเมือกในช่องจมูกไหลลงสู่คอ ซึ่งแบคทีเรียในช่องปากจะย่อยน้ำเมือกทำให้เกิดกลิ่นได้
สาเหตุจากภายนอกช่องปาก ได้แก่
• #การสูบบุหรี่ นอกจากกลิ่นบุหรี่ตกค้างอยู่ในช่องปากผสมกับกลิ่นอื่น ๆ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเฉพาะตัวขึ้นแล้ว และยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้สูบเป็นโรคปริทันต์รุนแรงมากขึ้น เกิดกลิ่นปากมากยิ่งขึ้นด้วย
• #การรับประทานอาหารบางชนิดที่มีกลิ่นแรง เช่น หัวหอม กระเทียม เครื่องเทศ สะตอ และแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกลิ่นปากได้แต่โดยธรรมชาติ อาหารพวกนี้เมื่อถูกย่อยหรือดูดซึม และขับถ่ายออกแล้วกลิ่นก็จะหายไปได้เองถ้ามีการแปรงฟันที่ถูกวิธี
• #การเจ็บป่วย โรคบางโรคก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ เช่น ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ โรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอด โรคกรดไหลย้อน (GERD) หรือโรคของระบบขับถ่าย
#กลิ่นปาก...เกิดขึ้นได้อย่างไร?
สาเหตุจากภายในช่องปาก ได้แก่
• #แผลในช่องปาก เช่น เนื้องอก แผลร้อนใน หรือแผลที่เกิดจากการผ่าตัดในช่องปาก
• #ฟันผุ เกิดจากเศษอาหารตกค้างและสะสมอยู่ในรูผุของฟันหรือฟันที่ผุทะลุโพรงประสาทฟัน
• #โรคปริทันต์ (รำมะนาด) หรือโรคเหงือกอักเสบ เกิดจากมีคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลายสะสมเป็นจำนวนมาก
• #ผู้ที่ใส่ฟันเทียมหรือเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในช่องปาก เช่น ใส่เครื่องมือจัดฟัน หรือใส่เครื่องมือกันฟันล้ม และรักษาความสะอาดไม่ดีมีคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารตกค้าง
• #น้ำลาย โดยปกติน้ำลายจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกออก และช่วยลดการหมักมหมมบูดเน่าของอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นได้ ในบางภาวะที่มีการหลั่งน้ำลายออกมาน้อย เช่น ขณะนอนหลับ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ความร้อน ความเครียด หรือมีโรคประจำตัวและการใช้ยาก็จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำลายน้อยและมีกลิ่นปากได้
• #ลิ้น (บริเวณโคนลิ้นด้านในสุด) เนื่องจากบริเวณนี้จะมีน้ำเมือกในช่องจมูกไหลลงสู่คอ ซึ่งแบคทีเรียในช่องปากจะย่อยน้ำเมือกทำให้เกิดกลิ่นได้
สาเหตุจากภายนอกช่องปาก ได้แก่
• #การสูบบุหรี่ นอกจากกลิ่นบุหรี่ตกค้างอยู่ในช่องปากผสมกับกลิ่นอื่น ๆ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเฉพาะตัวขึ้นแล้ว และยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้สูบเป็นโรคปริทันต์รุนแรงมากขึ้น เกิดกลิ่นปากมากยิ่งขึ้นด้วย
• #การรับประทานอาหารบางชนิดที่มีกลิ่นแรง เช่น หัวหอม กระเทียม เครื่องเทศ สะตอ และแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกลิ่นปากได้แต่โดยธรรมชาติ อาหารพวกนี้เมื่อถูกย่อยหรือดูดซึม และขับถ่ายออกแล้วกลิ่นก็จะหายไปได้เองถ้ามีการแปรงฟันที่ถูกวิธี
• #การเจ็บป่วย โรคบางโรคก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ เช่น ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ โรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอด โรคกรดไหลย้อน (GERD) หรือโรคของระบบขับถ่าย