อัตราดอกเบี้ยไทย ดุลการค้า การนำเข้าส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย

**********
สรุปความเห็นส่วนตัว: การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยเป็นการขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยต้องจับตาค่าเงินบาท และอัตราเงินเฟ้อ
เศรษฐกิจของไทยมีความเสี่ยงส่วนหนึ่งในด้านการขาดดุลการค้า ข้อมูลการส่งออกช่วยในการพิจารณาการลงทุน เน้นไปที่กลุ่มได้ประโยชน์คือ ข้าว น้ำตาล อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป ส่วนยางพาราหดตัว เป็นต้น ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังไปได้ดี
รายละเอียดมีมากควรศึกษาอย่างละเอียดเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
**********

อัตราดอกเบี้ยของประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญอีก 0.25% เป็น 1% ในการประชุมเดือนกันยายน 2565 ซึ่งเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่สองจากจุดพื้นฐานรายไตรมาส ผลักดันต้นทุนการกู้ยืมให้สูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2563 ด้วยความพยายามที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อและ รองรับการเติบโต การตัดสินใจดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด 
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 และ 3.8 ในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ ตามแรงส่งของภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ โดยภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ดีกว่าคาดจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 และ 2566 คาดว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 และ 2.6 ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มปรับลดลงตามราคาน้ำมันโลกและปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ทยอยคลี่คลาย
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.6 และ 2.4 ตามลำดับ โดยโน้มสูงขึ้นจากการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ด้านค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มขึ้นในบางภาคธุรกิจและบางพื้นที่ที่ขาดแคลนแรงงาน แต่ยังไม่เห็นสัญญาณการปรับเพิ่มขึ้นในวงกว้าง
https://www.thaipbs.or.th/news/content/319930

ดุลการค้าของประเทศไทย
*****การขาดดุลการค้าของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนสิงหาคม 2565 จาก 0.99 พันล้านดอลลาร์ในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า 
ขณะที่ ภาพรวม 8 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-สิงหาคม) การส่งออก มีมูลค่า 196,446.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 11.0% การนำเข้า มีมูลค่า 210,578.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 21.4% ส่งผลให้ไทยขาดดุล 14,131.7 ล้านเหรียญสหรัฐ 
https://tradingeconomics.com/thailand/balance-of-trade
https://www.prachachat.net/economy/news-1061011

การนำเข้าของไทยแบบเทียบเป็นรายปี
*****การนำเข้ามาไทยเพิ่มขึ้น 21.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนสิงหาคม 2565 โดยมีมูลค่าสูงสุดอยู่ที่ 17.9% และเพิ่มขึ้น 23.9% ในเดือนก่อนหน้า นี่เป็นเดือนที่ 19 ของการขยายตัวเป็นตัวเลขสองหลักติดต่อกัน แต่เป็นอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ท่ามกลางอุปสงค์ภายในประเทศที่ทรงตัวหลังสถานการณ์ COVID-19 ที่ปรับตัวดีขึ้น และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น
https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=TradeThImportMonthly
https://tradingeconomics.com/thailand/balance-of-trade
https://www.prachachat.net/economy/news-1061011

การส่งออกเดือน ส.ค.65
ตัวเลขการส่งออกสิงหาคม 2565 พบว่า มีมูลค่า 23,632.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 861,169 ล้านบาท *****ขยายตัว 7.5% ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18 ส่งผลให้การส่งออก 8 เดือนปี 65 ขยายตัว 11% 
แต่หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 10.1% การส่งออกที่ขยายตัวเป็นผลมาจากสินค้าในกลุ่ม อาหารแปรรูป เช่น อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยงส่งออกไปได้ดี การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายรายการที่กลับมาขยายตัว รวมไปถึงค่าเงินบาทของไทยที่อ่อนค่าส่งผลให้สินค้าบางรายการแข่งขันได้ แม้การนำเข้าจะกระทบไปบ้าง
หลายปัจจัยสนับสนุนการส่งออกขยายตัว อาทิ ศก.คู่ค้าฟื้นตัว เงินบาทอ่อนค่าส่งผลดีต่อสินค้าเกษตร แต่ยังกังวลสงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ อาจทําให้ก๊าซธรรมชาติและปุ๋ยราคาแพงขึ้น มั่นใจทั้งปีส่งออกเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 4%

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 4.6% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัว ต่อเนื่อง 21 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดีได้แก่ ข้าว ขยายตัว 15.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน ตลาดที่ส่งออกไปได้ดี เช่น ตลาดอิรัก สหรัฐ แคนาดา มาเลเซีย และเนเธอร์แลนด์

น้ำตาลทราย ขยายตัว 173.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน ตลาดที่ส่งออกไปได้ดี อินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา ลาว และไต้หวัน อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป ขยายตัว 18.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน ตลาดที่ส่งออกไปได้ดี สหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และซาอุดีอาระเบีย ไอศกรีม ขยายตัว 71.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 27 เดือน ตลาดที่ส่งออกไปได้ดี มาเลเซีย สหรัฐ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น
สินค้าส่งออกสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัว 2.8% กลับมาหดตัวในรอบ 4 เดือน หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐ และบราซิล แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ อินเดีย สเปน เยอรมนี และสโลวีเนีย ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัว 63.8% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย -สหรัฐ และฮ่องกง แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แคนาดา ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไต้หวัน ทั้งนี้ 8 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 15.2% 

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 9.2% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน สินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 22.5% กลับมาขยายตัว ในรอบ 8 เดือน ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเวียดนาม

อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 31.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน ขยายตัวในตลาดสหรัฐ อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร และเบลเยียม ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัว 11.4% หดตัวในรอบ 19 เดือน หดตัวในตลาดจีน กัมพูชา อินเดีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ สปป.ลาว

ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัว 0.2% หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน หดตัวในตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเยอรมนีแต่ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม และอินเดีย ทั้งนี้ 8 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 9.0%
https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=TradeThExportMonthly
https://www.moc.go.th/th/content/category/detail/id/45/iid/5111
https://www.prachachat.net/economy/news-1061011

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ของประเทศไทย
เดือนสิงหาคม 2565 อยู่ที่ 99.28 ขยายตัว 14.52% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนสิงหาคม 2565 และ มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 63.78
เป็นเดือนที่สองที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นติดต่อกันและเป็นการขึ้นที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 
https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/news_oiepr/Press_MPI_August2022.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่