คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ข้อที่1.ข้อยกเว้นแบบนี้เกิดมาจากอะไรคะ?
----------คดี อุทลุม คำว่าอุทลุม ตามความหมายของสำนักงานราชบัณฑิยสภาระบุเอาไว้ แปลว่า ผิดประเพณี ผิดธรรมะ นอกแบบ นอกทาง ซึ่งในทางกฎหมายนั้น หมายถึง บุตรที่ฟ้องคดีต่อบุพการีผู้มีพระคุณของตน ซึ่งในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นกฎหมายโบราณของไทย มีกล่าวถึงกรณีดังกล่าวเอาไว้ว่า เช่น "ผู้ใดเปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกัน"
ซึ่งกฎหมายปัจจุบันของประเทศไทย มีการนำเอากฎหมายตราสามดวง มาปรับใช้ด้วยอันเป็นจากบ่อเกิดตามประเพณีของไทย ตามมาตรา1562 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้”
คำว่าบุพการีนั้น หมายความถึง บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด โดยทางสายโลหิตเท่านั้น บุตรบุญธรรมสามารถฟ้องบิดามารดา บุญธรรมได้ โดย ฎีกาที่ 547/2548 ท่านว่า ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงต้องถือว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นการห้ามเฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น
ซึ่งตามฎีกานี้บิดาที่มิได้จดทะเบียนรับรองบุตร และบุตรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายสามารถฟ้องได้
กรณีที่น่าสนใจและเกิดขึ้นได้บ่อยคือ การที่จะฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรนั้น การฟ้องโดยฐานะที่เป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์ ไม่เป็นคดีอุทลุม สามารถนำคดีมาฟ้องได้ ซึ่งกรณีนี้ผู้ฟ้องต้องพิจารณาให้ดีก่อนตั้งคำฟ้องสู่ศาล
อย่างไรก็ดี มาตรา1562 ได้เปิดช่องให้คดีที่บุตรเป็นผู้เสียหาย สามารถฟ้องได้โดย ญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ ซึ่งโจทก์ในคดีลักษณะนี้จะเป็นอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี
ถ้าเราอยากแก้กฏหมายต้องไปดูขั้นตอนในสภาว่า กว่าจะแก้กกหมายได้ แต่ละมาตรา ต้องทำอย่างไรบ้าง 1 2 3 4 .....n
ข้อที่ 2.ดูเป็นเหตุของการยกเว้นที่แปลกมากทั้งที่ความผิดที่คนกระทำต่อกันควรต้องฟ้องร้องกันได้อย่างเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ด้วยกัน
------- ถ้าจะแปลกก็ต้องไปดูที่ กฏหมายตราสามดวง นั้นแหละ มีอะไรแปลกๆอีกเยอะ ยกตัวอย่างเช่น " จารีตนครบาล" บอกเลยหนังสยองยังยอมแพ้แต่เขาเคยใช้กันจริง มันจะดูแปลกในสมัยเรา แต่มันไม่แปลกในสมัยนั้น
ส่วนเรื่องความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ด้วยกัน อันนี้ ใหญ่มากก กว้างมาก และมากที่สุด เพราะทุกวันนี้ ยังไม่มีอะไรเป็นบรรทัดฐานที่ชัดเจน เด่นชัด ให้คนในโลกยอมรับและปฏิบัติต่อกันแบบปฏิเสธไม่ได้ เคารพกันได้เลยว่า อะไรคือความเป็นมนุษย์ในทางกฏหมาย แม้จะพยายามนิยามได้ว่า อันนี้เท่ากับมนุษย์ แต่นั้นก็ใช่ว่าจะยอมรับกันทั้งโลก
ข้อที่ 3.เคสในต่างประเทศก็มีลูกฟ้องร้องพ่อแม่เยอะมากมายหลายเคส
-------ก็เพราะนั้นคือต่างประเทศ ทุกประเทศมีกฏหมายของตัวเอง แต่ละประเทศก็ใช่ว่าจะยอมรับกฏหมายของประเทศอื่นทุกอย่างซะที่ไหน และที่สำคัญ เราไม่มีกฏหมายโลก+ศาลโลก+ไม่มีตำรวจโลก+ไม่มีกองกำลังของโลก=อำนาจปกครองโลก ที่จะสามารถแทรกแซงได้ทุกประเทศ
ข้อที่4.หรือในทางกฏหมายไทยแล้ว พ่อแม่ไม่มีวันคิดร้ายหรือทำร้ายลูก หรือ
------- โดยจารีตประเพณีและศีลธรรมอันดีของประเทศไทย เป็นเช่นนั้น จารีตประเพณี คือสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ยาวนาน แต่ก็ใช่ว่า จะการันตรีได้ว่าไม่มีใครคิดทำร้ายลูกของตัวเอง มันก็มีอยู่ในสังคม แต่แค่เราจะไม่ยอมรับความคิดเช่นนั้น
ข้อที่5. คนเป็นพ่อแม่สามารถปฏิบัติยังไงกับลูกก็ได้โดยชอบธรรม?
-------พ่อแม่ มีสิทธิ์ในตัวลูกในฐานนะผู้ให้กำเนิด และ จะหมดไปเมื่อลูก บรรลุนิติภาวะ ตาม ปพพ. มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตาม บทบัญญัติมาตรา 1448 มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบ ธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ ...
ใช้ว่าพ่อแม่จะมีแต่สิทธิ์อย่างเดียว พ่อแม่ยังต้องมีหน้าที่ “โดยหลักบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา โดยทั้งคู่มีอำนาจปกครองร่วมกัน ไม่สามารถสละ หรือโอนไปให้ผู้อื่นได้ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย หรือตกลงหย่าโดยความยินยอม”
ซึ่งบิดามารดาจะมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควร และยังมีสิทธิในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองกำหนดที่อยู่บุตรด้วย ดังนั้น ถ้าบิดามารดาจะมอบบุตรให้อยู่ภายใต้การดูแลของญาติพี่น้องก็ย่อมทำได้ ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้บิดามารดายังมีหน้าที่อุปการะบุตรอยู่ การที่พ่อแม่ปล่อยปละละเลย ไม่ได้มีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยตรงแต่ถ้ามีการทำร้ายทุบตี กักขังหน่วงเหนี่ยว ทอดทิ้งก็จะผิดกฎหมายอาญาตามเรื่องนั้นๆ แต่ปัจจุบันมีกฎหมายเฉพาะคือ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ซึ่งมีมาตรา 23 25 26 เป็นหัวใจสำคัญกำหนดหน้าที่ไว้
คำนิยาม “อำนาจปกครองของบิดามารดาที่มีต่อบุตร”
อำนาจปกครองบุตร เป็นสิทธิและหน้าที่ที่บิดามารดาพึงมีต่อบุตร บิดามารดาผู้มีอำนาจปกครองมีสิทธิตัดสินใจเกี่ยวกับบุตร เช่น บิดามารดามีหน้าที่ที่จะดูแล อบรมสั่งสอนบุตร อำนาจปกครองในกฎหมายแพ่งมีนิยามกว้างกว่าคำว่า “การปกครองดูแล” คุณจะทราบว่ากฎหมายแพ่งนั้น “การปกครองดูแล” นั้นจะหมายความถึงแต่เพียงบิดามารดาที่ได้ดูแลบุตรเท่านั้นแต่ะอาจจะไม่ได้มี “อำนาจปกครอง” บุตรด้วย คำนิยาม “อำนาจปกครอง” ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หลายมาตรา เช่น มาตรา 1549 1551
มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ 1.กำหนดที่อยู่ของบุตร 2.ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน 3.ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป 4.เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ข้อที่6.ปล. ขอออกตัวอีกครั้งนะคะว่าแค่สงสัยในเหตุผลและที่มา ไม่ได้จะชวนใครทะเลาะ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็มาคุยกันค่ะ
----- ไม่ได้ถือว่าชวนทะเลาะใครหรอก ดีมาก มาาาากเเลย ที่รู้จักตั้งคำถาม ทุกคำถามมันย่อมมีคำตอบของมันเสมอ ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว หากแต่ว่า ในความเป็นจริง คำตอบมันเป็นไปได้หลายอย่าง หลายทาง และ บางทีคำตอบนั้นมันอาจจะไม่เป็นที่พอใจสำหรับเราเท่านั้นเอง
----------คดี อุทลุม คำว่าอุทลุม ตามความหมายของสำนักงานราชบัณฑิยสภาระบุเอาไว้ แปลว่า ผิดประเพณี ผิดธรรมะ นอกแบบ นอกทาง ซึ่งในทางกฎหมายนั้น หมายถึง บุตรที่ฟ้องคดีต่อบุพการีผู้มีพระคุณของตน ซึ่งในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นกฎหมายโบราณของไทย มีกล่าวถึงกรณีดังกล่าวเอาไว้ว่า เช่น "ผู้ใดเปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกัน"
ซึ่งกฎหมายปัจจุบันของประเทศไทย มีการนำเอากฎหมายตราสามดวง มาปรับใช้ด้วยอันเป็นจากบ่อเกิดตามประเพณีของไทย ตามมาตรา1562 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้”
คำว่าบุพการีนั้น หมายความถึง บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด โดยทางสายโลหิตเท่านั้น บุตรบุญธรรมสามารถฟ้องบิดามารดา บุญธรรมได้ โดย ฎีกาที่ 547/2548 ท่านว่า ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงต้องถือว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นการห้ามเฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น
ซึ่งตามฎีกานี้บิดาที่มิได้จดทะเบียนรับรองบุตร และบุตรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายสามารถฟ้องได้
กรณีที่น่าสนใจและเกิดขึ้นได้บ่อยคือ การที่จะฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรนั้น การฟ้องโดยฐานะที่เป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์ ไม่เป็นคดีอุทลุม สามารถนำคดีมาฟ้องได้ ซึ่งกรณีนี้ผู้ฟ้องต้องพิจารณาให้ดีก่อนตั้งคำฟ้องสู่ศาล
อย่างไรก็ดี มาตรา1562 ได้เปิดช่องให้คดีที่บุตรเป็นผู้เสียหาย สามารถฟ้องได้โดย ญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ ซึ่งโจทก์ในคดีลักษณะนี้จะเป็นอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี
ถ้าเราอยากแก้กฏหมายต้องไปดูขั้นตอนในสภาว่า กว่าจะแก้กกหมายได้ แต่ละมาตรา ต้องทำอย่างไรบ้าง 1 2 3 4 .....n
ข้อที่ 2.ดูเป็นเหตุของการยกเว้นที่แปลกมากทั้งที่ความผิดที่คนกระทำต่อกันควรต้องฟ้องร้องกันได้อย่างเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ด้วยกัน
------- ถ้าจะแปลกก็ต้องไปดูที่ กฏหมายตราสามดวง นั้นแหละ มีอะไรแปลกๆอีกเยอะ ยกตัวอย่างเช่น " จารีตนครบาล" บอกเลยหนังสยองยังยอมแพ้แต่เขาเคยใช้กันจริง มันจะดูแปลกในสมัยเรา แต่มันไม่แปลกในสมัยนั้น
ส่วนเรื่องความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ด้วยกัน อันนี้ ใหญ่มากก กว้างมาก และมากที่สุด เพราะทุกวันนี้ ยังไม่มีอะไรเป็นบรรทัดฐานที่ชัดเจน เด่นชัด ให้คนในโลกยอมรับและปฏิบัติต่อกันแบบปฏิเสธไม่ได้ เคารพกันได้เลยว่า อะไรคือความเป็นมนุษย์ในทางกฏหมาย แม้จะพยายามนิยามได้ว่า อันนี้เท่ากับมนุษย์ แต่นั้นก็ใช่ว่าจะยอมรับกันทั้งโลก
ข้อที่ 3.เคสในต่างประเทศก็มีลูกฟ้องร้องพ่อแม่เยอะมากมายหลายเคส
-------ก็เพราะนั้นคือต่างประเทศ ทุกประเทศมีกฏหมายของตัวเอง แต่ละประเทศก็ใช่ว่าจะยอมรับกฏหมายของประเทศอื่นทุกอย่างซะที่ไหน และที่สำคัญ เราไม่มีกฏหมายโลก+ศาลโลก+ไม่มีตำรวจโลก+ไม่มีกองกำลังของโลก=อำนาจปกครองโลก ที่จะสามารถแทรกแซงได้ทุกประเทศ
ข้อที่4.หรือในทางกฏหมายไทยแล้ว พ่อแม่ไม่มีวันคิดร้ายหรือทำร้ายลูก หรือ
------- โดยจารีตประเพณีและศีลธรรมอันดีของประเทศไทย เป็นเช่นนั้น จารีตประเพณี คือสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ยาวนาน แต่ก็ใช่ว่า จะการันตรีได้ว่าไม่มีใครคิดทำร้ายลูกของตัวเอง มันก็มีอยู่ในสังคม แต่แค่เราจะไม่ยอมรับความคิดเช่นนั้น
ข้อที่5. คนเป็นพ่อแม่สามารถปฏิบัติยังไงกับลูกก็ได้โดยชอบธรรม?
-------พ่อแม่ มีสิทธิ์ในตัวลูกในฐานนะผู้ให้กำเนิด และ จะหมดไปเมื่อลูก บรรลุนิติภาวะ ตาม ปพพ. มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตาม บทบัญญัติมาตรา 1448 มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบ ธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ ...
ใช้ว่าพ่อแม่จะมีแต่สิทธิ์อย่างเดียว พ่อแม่ยังต้องมีหน้าที่ “โดยหลักบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา โดยทั้งคู่มีอำนาจปกครองร่วมกัน ไม่สามารถสละ หรือโอนไปให้ผู้อื่นได้ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย หรือตกลงหย่าโดยความยินยอม”
ซึ่งบิดามารดาจะมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควร และยังมีสิทธิในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองกำหนดที่อยู่บุตรด้วย ดังนั้น ถ้าบิดามารดาจะมอบบุตรให้อยู่ภายใต้การดูแลของญาติพี่น้องก็ย่อมทำได้ ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้บิดามารดายังมีหน้าที่อุปการะบุตรอยู่ การที่พ่อแม่ปล่อยปละละเลย ไม่ได้มีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยตรงแต่ถ้ามีการทำร้ายทุบตี กักขังหน่วงเหนี่ยว ทอดทิ้งก็จะผิดกฎหมายอาญาตามเรื่องนั้นๆ แต่ปัจจุบันมีกฎหมายเฉพาะคือ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ซึ่งมีมาตรา 23 25 26 เป็นหัวใจสำคัญกำหนดหน้าที่ไว้
คำนิยาม “อำนาจปกครองของบิดามารดาที่มีต่อบุตร”
อำนาจปกครองบุตร เป็นสิทธิและหน้าที่ที่บิดามารดาพึงมีต่อบุตร บิดามารดาผู้มีอำนาจปกครองมีสิทธิตัดสินใจเกี่ยวกับบุตร เช่น บิดามารดามีหน้าที่ที่จะดูแล อบรมสั่งสอนบุตร อำนาจปกครองในกฎหมายแพ่งมีนิยามกว้างกว่าคำว่า “การปกครองดูแล” คุณจะทราบว่ากฎหมายแพ่งนั้น “การปกครองดูแล” นั้นจะหมายความถึงแต่เพียงบิดามารดาที่ได้ดูแลบุตรเท่านั้นแต่ะอาจจะไม่ได้มี “อำนาจปกครอง” บุตรด้วย คำนิยาม “อำนาจปกครอง” ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หลายมาตรา เช่น มาตรา 1549 1551
มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ 1.กำหนดที่อยู่ของบุตร 2.ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน 3.ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป 4.เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ข้อที่6.ปล. ขอออกตัวอีกครั้งนะคะว่าแค่สงสัยในเหตุผลและที่มา ไม่ได้จะชวนใครทะเลาะ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็มาคุยกันค่ะ
----- ไม่ได้ถือว่าชวนทะเลาะใครหรอก ดีมาก มาาาากเเลย ที่รู้จักตั้งคำถาม ทุกคำถามมันย่อมมีคำตอบของมันเสมอ ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว หากแต่ว่า ในความเป็นจริง คำตอบมันเป็นไปได้หลายอย่าง หลายทาง และ บางทีคำตอบนั้นมันอาจจะไม่เป็นที่พอใจสำหรับเราเท่านั้นเอง
แสดงความคิดเห็น
ทำไมกม.ไทยลูกฟ้องร้องพ่อแม่ไม่ได้คะ
แต่เนื่องจากวันนี้เป็นวันแรกที่ได้รู้ว่าลูกไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องเอาผิดกับพ่อแม่ด้วยตัวเอง
เห็นเค้าเรียกว่า “คดีอุทลุม”
ข้อยกเว้นแบบนี้เกิดมาจากอะไรคะ? ดูเป็นเหตุของการยกเว้นที่แปลกมาก
ทั้งที่ความผิดที่คนกระทำต่อกันควรต้องฟ้องร้องกันได้อย่างเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ด้วยกัน
เคสในต่างประเทศก็มีลูกฟ้องร้องพ่อแม่เยอะมากมายหลายเคส
หรือในทางกฏหมายไทยแล้ว พ่อแม่ไม่มีวันคิดร้ายหรือทำร้ายลูก หรือ คนเป็นพ่อแม่สามารถปฏิบัติยังไงกับลูกก็ได้โดยชอบธรรม?
ปล. ขอออกตัวอีกครั้งนะคะว่าแค่สงสัยในเหตุผลและที่มา ไม่ได้จะชวนใครทะเลาะ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็มาคุยกันค่ะ