คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02HfrYL4eahKUJDmvtj5eYTj5TUcUK4infzpyXmX5bn5FdRGi3rC6Xck7zzom6Dyysl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 21 ก.ย. 2565)
รวม 143,195,138 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 21 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 19,190 โดส
เข็มที่ 1 : 2,929 ราย
เข็มที่ 2 : 3,996 ราย
เข็มที่ 3 : 12,265 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,309,604 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,809,052 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 32,076,482 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0eyZwfi1kU3Vm2rznPif2sGdRStNS4byczkPjvubyz4qo12RKMaS6x2ZfZm8MDdj2l
คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ แผนและมาตรการรองรับ “โควิด” เป็นโรคเฝ้าระวัง
เริ่ม 1 ต.ค.นี้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2565 กล่าวต่อว่า ที่ประชุมวันนี้ได้มีมติเห็นชอบ 2 เรื่องสำคัญ เรื่องที่ 1 คือ เห็นชอบแผนปฏิบัติการควบคุมโรคโควิด 19 รองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ต.ค. 65 - ก.ย. 66) ซึ่งได้ลงนามยกเลิกโรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย และปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ลำดับที่ 57 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป โดยมียุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรค 2) ด้านการแพทย์และรักษาพยาบาล 3) ด้านการสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ และข้อมูลสารสนเทศ และ 4) ด้านบริหารจัดการ กฎหมาย สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป และให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าวเพื่อให้เกิดความพร้อมทุกด้าน โดยจะยังคงติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง หากมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจประกาศพื้นที่โรคระบาดตามความจำเป็น เรื่องที่ 2 ได้เห็นชอบมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 รองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยก่อนเข้าประเทศ ยกเลิกแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเอกสารวัคซีนหรือผลการตรวจ ATK โรคโควิด 19 ยกเลิกการสุ่มตรวจสอบบันทึกการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยยังคงการเฝ้าระวังผู้เดินทางที่มีอาการป่วยของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่, ปรับมาตรการแยกกักสำหรับผู้ป่วยอาการน้อย/ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ไม่แสดงอาการให้ปฏิบัติตาม DMHT อย่างเคร่งครัด 5 วัน และให้คำแนะนำแก่ประชาชนให้มีพฤติกรรมป้องกันตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น การสวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจ ATK เมื่อมีอาการ
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02zEgGuaJFL2fQwPBR7qYqp9Wu87FPCSzup1GVALD82ZQmrAAtux1138KTnKebt2Xfl
อาการแบบไหนแสดงว่า เสี่ยงเป็น “ลองโควิด” และควรไปพบแพทย์
ที่มา หมอพร้อม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0fQU8wv6N8tffNtwuf2qrkrXkxiYxNjVe96rj619Xw65X9ZFNdt2ZGbnM4wMucWHUl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 จำนวน 15 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0NGL4iGP32RmrbuF6XQuTJLD9XGuUsrqbHXdH4HURt1xptFaymkXMEwH48L75y7Etl
ยกเลิก ‘โควิด’ เป็นโรคต้องห้าม สำหรับ “ชาวต่างด้าว” เข้ามา-ตั้งถิ่นฐานในไทย
** มีผลบังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคน ต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวฯ พ.ศ. 2563 ยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากการเป็นโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร ส่วนโรคต้องห้ามอื่นๆ ยังคงกำหนดไว้ตามเดิม ดังนี้
-โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร : โรคเรื้อน , วัณโรคในระยะอันตราย , โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม , โรคยาเสพติดให้โทษ , โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
-โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร : โรคเรื้อน , วัณโรคในระยะอันตราย , โรคเท้าช้าง , โรคยาเสพติดให้โทษ , โรคพิษสุราเรื้อรัง , โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ที่มา สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02RUkSFmB4V2q6aWyUmfKcM3KvgeoJAgsmXXyfZzejYQWgowAGcesFZEoS4f81DrE3l
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02HfrYL4eahKUJDmvtj5eYTj5TUcUK4infzpyXmX5bn5FdRGi3rC6Xck7zzom6Dyysl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 21 ก.ย. 2565)
รวม 143,195,138 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 21 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 19,190 โดส
เข็มที่ 1 : 2,929 ราย
เข็มที่ 2 : 3,996 ราย
เข็มที่ 3 : 12,265 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,309,604 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,809,052 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 32,076,482 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0eyZwfi1kU3Vm2rznPif2sGdRStNS4byczkPjvubyz4qo12RKMaS6x2ZfZm8MDdj2l
คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ แผนและมาตรการรองรับ “โควิด” เป็นโรคเฝ้าระวัง
เริ่ม 1 ต.ค.นี้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2565 กล่าวต่อว่า ที่ประชุมวันนี้ได้มีมติเห็นชอบ 2 เรื่องสำคัญ เรื่องที่ 1 คือ เห็นชอบแผนปฏิบัติการควบคุมโรคโควิด 19 รองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ต.ค. 65 - ก.ย. 66) ซึ่งได้ลงนามยกเลิกโรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย และปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ลำดับที่ 57 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป โดยมียุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรค 2) ด้านการแพทย์และรักษาพยาบาล 3) ด้านการสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ และข้อมูลสารสนเทศ และ 4) ด้านบริหารจัดการ กฎหมาย สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป และให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าวเพื่อให้เกิดความพร้อมทุกด้าน โดยจะยังคงติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง หากมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจประกาศพื้นที่โรคระบาดตามความจำเป็น เรื่องที่ 2 ได้เห็นชอบมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 รองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยก่อนเข้าประเทศ ยกเลิกแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเอกสารวัคซีนหรือผลการตรวจ ATK โรคโควิด 19 ยกเลิกการสุ่มตรวจสอบบันทึกการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยยังคงการเฝ้าระวังผู้เดินทางที่มีอาการป่วยของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่, ปรับมาตรการแยกกักสำหรับผู้ป่วยอาการน้อย/ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ไม่แสดงอาการให้ปฏิบัติตาม DMHT อย่างเคร่งครัด 5 วัน และให้คำแนะนำแก่ประชาชนให้มีพฤติกรรมป้องกันตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น การสวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจ ATK เมื่อมีอาการ
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02zEgGuaJFL2fQwPBR7qYqp9Wu87FPCSzup1GVALD82ZQmrAAtux1138KTnKebt2Xfl
อาการแบบไหนแสดงว่า เสี่ยงเป็น “ลองโควิด” และควรไปพบแพทย์
ที่มา หมอพร้อม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0fQU8wv6N8tffNtwuf2qrkrXkxiYxNjVe96rj619Xw65X9ZFNdt2ZGbnM4wMucWHUl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 จำนวน 15 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0NGL4iGP32RmrbuF6XQuTJLD9XGuUsrqbHXdH4HURt1xptFaymkXMEwH48L75y7Etl
ยกเลิก ‘โควิด’ เป็นโรคต้องห้าม สำหรับ “ชาวต่างด้าว” เข้ามา-ตั้งถิ่นฐานในไทย
** มีผลบังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคน ต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวฯ พ.ศ. 2563 ยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากการเป็นโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร ส่วนโรคต้องห้ามอื่นๆ ยังคงกำหนดไว้ตามเดิม ดังนี้
-โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร : โรคเรื้อน , วัณโรคในระยะอันตราย , โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม , โรคยาเสพติดให้โทษ , โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
-โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร : โรคเรื้อน , วัณโรคในระยะอันตราย , โรคเท้าช้าง , โรคยาเสพติดให้โทษ , โรคพิษสุราเรื้อรัง , โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ที่มา สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02RUkSFmB4V2q6aWyUmfKcM3KvgeoJAgsmXXyfZzejYQWgowAGcesFZEoS4f81DrE3l
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭22ก.ย.โควิดไทยลด ชงยกเลิกพ.ร.บ.ฉุกเฉิน1ต.ค./ป่วยใหม่806คน หาย876คน เสียชีวิต15คน รักษาตัวอยู่ 8,286คน
https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1028184
ชงยกเลิก 'พรก.ฉุกเฉิน' ยุบ 'ศบค.' มีผล 1 ต.ค.นี้ ให้ สธ.รับไม้ต่อ
22 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด– 19 (ศปก.ศบค.) ว่า ที่ประชุมวันนี้การหารือเรื่องสำคัญ ได้แก่การรับทราบสถานการณ์ปัจจุบันที่ดีขึ้นตามลำดับ ผู้ป่วยลดลง ผู้เสียชีวิตลดลง กระทรวงสาธารณสุขจะต้องเป็นผู้ดำเนินการต่อเพื่อให้ตัวเลขน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
เรื่องที่สองคือแผนการเปลี่ยนผ่านสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังนั้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รับความเห็นชอบจากศบค.ไปแล้ว และมีการประกาศเป็นโรคติดต่อที่ไม่ร้ายแรงเมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งศปก.ศบค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาแผนรองรับ เพื่อเตรียมกลไกต่างๆให้กลับไปสู่กลไกปกติของประเทศ คือให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพฯ เป็นกลไกบริหารจัดการ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขทำแผนเพื่อใช้กลไกเหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนทราบแนวทางปฏิบัติหลังการเปลี่ยนผ่านว่าต้องทำอย่างไร รวมทั้งองค์กรต่างๆ จะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติ รวมถึงต้องมีแผนเผชิญเหตุรองรับ โดยย้ำว่ากระทรวงสาธารณสุขมีแผนรองรับช่วงการเปลี่ยนผ่านเพื่อไม่ให้กลับไปสู่ความเสียหายขนาดใหญ่
พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ที่ประชุม ศปก.ศบค. เห็นชอบเตรียมเสนอศบค. ชุดใหญ่ ที่จะมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ รักษาราชการแทนนายกฯเป็นประธาน เพื่อพิจารณายกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในวันที่ 23 ก.ย. หากที่ประชุมเห็นชอบยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ต้องยุบศบค.อย่างแน่นอน รวมทั้งยุบหน่วยงานภายใต้ศบค. และคำสั่งต่างๆที่ออกโดยศบค. ก็ต้องยกเลิกทั้งหมด และจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. แล้วจะมีกลไกรองรับคือคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งเราเตรียมการมาเป็นลำดับไว้แล้ว โดยจะให้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ตั้งศูนย์ปฏิบัติการที่เดิมมีอยู่แล้วแต่อาจต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อย่างไรก็ตามการประชุมวันนี้ถือเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของศปก.ศบค. ยกเว้นศบค.ชุดใหญ่ จะมีข้อสั่งการอะไรพิเศษที่ต้องดำเนินการต่อ
ถามว่า การเสนอให้มีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในช่วงนี้ สืบเนื่องจากประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคใช่หรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยว แต่เราดูภาพรวมของประเทศ ซึ่งหัวใจสำคัญคืออยากให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศกลับมาสู่ภาวะปกติ และอยากให้ประชาชนมีอาชีพมีรายได้ ซึ่งที่ผ่านมาตัวเลขด้านการท่องเที่ยวดีมาก ชดเชยกับภาวะวิกฤตเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศหรือสถานการณ์ของโลก
เมื่อถามว่า มีข้อกังวลในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้หรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า สิ่งที่กังวลเป็นพิเศษคือเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้ายกเลิกแล้วไม่ใช่ถอดหน้ากากหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการเลย ยังต้องมีมาตรกรป้องกันส่วนบุคคล เพราะจะเห็นว่าทุกวันนี้ยังมีคลัสเตอร์ย่อยๆ ในกลุ่มสังคมที่มีการรวมตัวกัน แต่ภาพรวมภูมิคุ้มกัน ประชาชนในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มียาเพียงพอ โรงพยาบาลและหมอเพียงพอ เมื่อถามว่าจะสามารถเปิดให้ทุกคนใช้ชีวิตปกติ ถอดหน้ากากได้ในชีวิตประจำวันเหมือนที่สหรัฐฯหรือประเทศอื่นๆที่มีการประกาศไปแล้ว ช่วงเวลาใด พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ช่วงนี้เราก็ปกติ ทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลทำมาจะเห็นว่าทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้เสียหายทีเดียว โดยเราต้องคำนึงความเสียหายของประชาชนเป็นหลัก จึงต้องค่อยๆปรับตัว
https://www.thaipost.net/covid-19-news/227092/
ติดตามข่าวโควิดวันนี้นะคะ....
สถานการณ์ผู้ป่วยใหม่กลับมาต่ำกว่าพันคนอีกครั้ง
ผู้ป่วยปอดอักเสบลดลง ผู้รักษาตัวในร.พ.เหลือแปดพันกว่าคน
1ต.ค.ค่อยพิจารณานะคะว่า กระทู้โควิดจะมีรายงานกันต่อไปไหม หรือจะมีข้อมูลอะไรให้ต้องติดตามเกี่ยวกับสุขภาพโรคภัยไข้เจ็บ
ถ้ายังมีเราก็ไปต่อค่ะ