🇹🇭❤️มาลาริน❤️🇹🇭18ก.ย.โควิดไทยลดลงเหลือป่วยใหม่นอนร.พ.477คน หาย1,170คน ตาย12คน รักษาอยู่9,223คน/ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป


https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1027423


กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยพบ "ผู้ป่วยโควิด-19" อายุ 105 ปี ประวัติไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน ได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) ที่ออกฤทธิ์ได้ทั้งต่อสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์กลายพันธุ์ส่วนใหญ่ สำหรับกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีน

18 กันยายน 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการที่ ประเทศไทยได้จัดหาภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ Long Acting Antibody (LAAB) ให้ประชาชนกลุ่มที่มีความจำเป็นนับเป็นการยกระดับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 เพื่อดูแล ป้องกันสุขภาพของประชาชน  โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน กลุ่มเสี่ยง 608 เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูกที่ได้รับยากดภูมิ
  
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งกลุ่มนี้หากติดเชื้ออาจเสี่ยงเกิดอาการป่วยรุนแรงหรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง ซึ่งการทำงานของภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป เมื่อฉีดเข้าไปแล้วร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิดได้สูงทันทีภายหลังฉีด ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ในการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ซึ่งในต่างประเทศมีการขึ้นทะเบียนใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ในการรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น 

ในประเทศไทย มีนำเข้าภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB และฉีดครั้งแรกให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต ที่สถาบันบำราศนราดูร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 และส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2565 กลุ่มเป้าหมายระยะแรกผู้ป่วยไตวายระยะเรื้อรังที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกไต) ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ  ผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก โดยสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับการพิจารณาในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิดด้วย LAAB หรือสามารถติดต่อเข้ารับการฉีดได้ที่สถานพยาบาล

พร้อมกันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด สำรวจจำนวนผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ ในสถานพยาบาลทุกสังกัด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันจาก LAAB อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข กำลังพิจารณาเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด และฉายแสง, ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะที่ต้องได้รับยากดภูมิขนาดสูง, ผู้ป่วยโรคข้อที่ต้องรักษาด้วยยากดภูมิ และผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำโรค อื่นๆ

นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงต้นเดือนกันยายน 2565 พบผู้ป่วยโรคโควิด 19 รายหนึ่ง อายุ 105 ปี และยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด 19 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565 โดยมีอาการไข้สูง มีเสมหะ ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ และต่อมามีปอดติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในวันแรก แต่เนื่องจากมีอายุมากเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แพทย์จึงพิจารณาให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB แก่ผู้ป่วยด้วยในวันที่ 4 กันยายน 2565 ร่วมกับยาปฏิชีวนะ

ซึ่งตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2565 อาการผู้ป่วยค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ อาการปอดติดเชื้อน้อยลง ไข้ลง ค่าออกซิเจนในเลือดกลับมาปกติ และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้วันที่ 14 กันยายน 2565 รวมระยะเวลาที่ใช้รักษาน้อยกว่า 2 สัปดาห์ โดยการให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB น่าจะมีผลดีในการรักษาผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขยังเน้นย้ำแนะนำให้ผู้สูงอายุทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดโดยเร็วก่อนจะเกิดการติดเชื้อ

ทั้งนี้ การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิด 19 สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรการป้องกันโควิด 19 ขั้นสูงสุด 2U ได้แก่ Universal Prevention ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด และ Universal Vaccination คือ การฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ และผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วย ควรมารับเข็มกระตุ้น เมื่อรับเข็มสุดท้ายแล้วอย่างน้อย 4 เดือนขึ้นไป เพราะภูมิคุ้มกันจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป หากติดเชื้อจะป่วยหนักได้ สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

https://www.hfocus.org/content/2022/09/25981

ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่