ปลอด ยก6ข้อ ปัญหาน้ำท่วมทั่วไทย แนะ6ทางแก้ ซัดรัฐละเลย ปชช.เดือดร้อนหนัก
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7260876
“ปลอดประสพ” ยก 6 ข้อ ปัญหาน้ำท่วมทั่วไทย แนะ 6 ทางออก แก้น้ำท่วมกรุงฯ ซัดรัฐละเลย เกิดความผิดพลาด ทำปชช.เดือดร้อนหนัก
12 ก.ย. 65 – ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นาย
ปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานด้านนโยบายปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ พรรคพท.กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ว่า เป็นเพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองละเลยในเรื่องหลักการสำคัญ 6 ข้อ
คือ 1. เรื่องน้ำเป็นงานระดับยุทธศาสตร์ หากผู้บริหารบ้านเมืองควบคุมน้ำได้ จะเป็นผู้นำที่มีความสามารถ สามารถดูแลความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนได้ แต่ผู้บริหารยุคนี้ไม่คิดว่าเรื่องน้ำเป็นงานในระดับยุทธศาสตร์
2. ดำเนินยุทธวิธีที่ผิดพลาด ไม่มีความสามารถบริหารจัดการน้ำให้มีที่อยู่ที่ไป น้ำจึงท่วมหมด เช่น การควบคุมการเปิดปิดประตูระบายน้ำ บางแห่งไม่ควรปิด บางแห่งไม่ควรปิด เป็นต้น
3. การบริการจัดการน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้องทำทุกลุ่มน้ำ และต้องทำทุกจุด
4. การบริหารจัดการน้ำเป็นเรื่องในทางวิชาการหลายแขนงที่ต้องทำงานเชื่อมโยงกัน เช่น ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา บริหารน้ำขึ้นน้ำลง ความรู้ด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม
5. หน่วยงานที่ทำงานเรื่องน้ำมีถึง 26 หน่วยงาน แต่ต่างคนต่างทำ จึงไม่เคยเห็นนโยบายที่สอดคล้องกันในการแก้ไขปัญหาน้ำ
6.ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงลานีญาที่ลมจากตะวันออกพัดมาทางภูมิภาคอินโดจีน ประกอบกับสภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูง ฝนตกปริมาณมาก แต่รัฐบาลนี้บริหารประเทศเสมือนอยู่ในภาวะปกติ
นายปลอดประสพ กล่าวต่อว่า การละเลยปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดความผิดพลาด 5 ข้อ ได้แก่
1. แผนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ได้จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างดีเยี่ยม โดยไม่ได้ใช้งบประมาณ ไม่ได้กระทำการที่สุ่มเสี่ยงต่อการขัดกับกฎหมาย นักวิชาการเข้ามาสนับสนุนแผนดังกล่าว แต่รัฐบาลไม่ทำต่อ กลับเอาเงินงบประมาณ 1 แสนล้านบาทนำไปใช้แบบไม่เกิดประโยชน์
2. รัฐบาลหลังการรัฐประหารนำงบดังกล่าวไปใช้แบบไม่เกิดประโยชน์ โดยการให้หน่วยงานด้านทหารขุดลอกคลอง แต่สุดท้ายที่ประชุม ครม.มีมติให้ยุติโครงการ เพราะเป็นการเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ เป็นการใช้เงินงบประมาณแบบละลายแม่น้ำ
3. รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้มีการสร้างเขื่อนล้ำเข้ามาในลำน้ำ ซึ่งเป็นคลองหลัก เช่น คลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว เป็นต้น น้ำจึงไม่มีที่ไป
4. แต่ละหน่วยงานไม่มีการบูรณาการทั้ง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน เช่น มีโครงการยกถนนโดยไม่ได้วางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ เครื่องสูบน้ำ 10 เครื่องถูกรื้อถอนออกจากประตูระบายน้ำคลองรังสิต ไม่มีการบริหารจัดการน้ำออกไปลงคลองประเวศ เป็นต้น
5. การบริหารงานไม่โปร่งใส ล่าช้า ช่วงที่ตนเป็นรัฐบาลมีโครงการขุดแม่น้ำแห่งใหม่เพื่อระบายน้ำจากบางไทรไปบางบาลระยะทาง 20 กม. รัฐบาลนี้นำไปดำเนินการ แต่เป็นการก่อสร้างที่มีมูลค่าสูงกว่า 3 เท่า ระยะเวลาก่อสร้างจากที่ตนเคยวางแผนไว้ 3 ปี
รัฐบาลนี้วางไว้ถึง 7 ปี ซ้ำยังสร้างถนนประกบสองข้างทางแม่น้ำซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างผิดหลัก กีดขวางทางน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำจากอยุธยา บางบาล ปากเกร็ด ไม่มีที่ไปและจะทำให้น้ำท่วมมากกว่าเดิม
นาย
ปลอดประสพ กล่าวอีกว่า หาก พรรคพท. ชนะการเลือกตั้ง ตนจะเสนอให้รื้อถนนที่สร้างรอบแม่น้ำดังกล่าวออกเพื่อเปิดทางน้ำ เราพร้อมเสนอแนะ 6 วิธีการจัดการน้ำท่วมตามหลักวิชาการ ไปยังรัฐบาลและผู้ว่าฯ กทม.
เพื่อให้การแก้ไขน้ำท่วมทำได้ดีกว่าเดิม ดังนี้
1. ผู้ว่าฯ กทม.สามารถประสานขอความร่วมมือกับรัฐบาล โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ รักษาราชการแทนนายกฯ ให้สั่งการหน่วยงานราชการทั้งหมด นำเครื่องสูบน้ำที่กระจายในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยเข้ามายัง กทม.
โดย กทม.ควรสำรวจพื้นที่ในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ สูบน้ำจากคลองหลักลงแม่น้ำเจ้าพระยา ลงทะเลหรือลงไปแม่น้ำบางปะกง เครื่องสูบน้ำขนาดเล็กความดันสูงของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่จัดซื้อในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาลมีหลายร้อยตัว ความกว้างของท่อ 6 นิ้ว ยาว 300-500 เมตร นำเอาไปแจกจ่ายใช้ใน กทม.เพื่อสูบน้ำจากจุดท่วมไปลงคลองใหญ่ ส่งต่อออกแม่น้ำเจ้าพระยา
2. ผู้ว่าฯ กทม.ประกาศให้ กทม.เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยอย่างหนัก สามารถจัดซื้อเครื่องสูบน้ำจากต่างประเทศเพิ่มเติม เช่น สิงคโปร์ สามารถขนส่งผ่านเครื่องบินมาได้ทันที
นาย
ปลอดประสพ กล่าวว่า
3. ใครที่สั่งให้ปล่อยน้ำลงมาทุ่งรังสิต ขอให้หยุดทำทันที เพราะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ควรกระจายน้ำจากคลองรังสิตออกไปให้ครบทั้ง 3 ทิศทางคือ ตะวันตก ตะวันออก ผ่ากลาง กทม. เจ้าพระยาและบางปะกง ส่วนคลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร กทม.ต้องยอมให้น้ำผ่านสองคลองนี้เพื่อไปลงทะเล ซึ่งวิธีการนี้ควรทำเมื่อทำได้
4. น้ำระบายที่ไม่สามารถระบายได้นอกเหนือจากปริมาณฝนที่ควบคุมไม่ได้ เพราะมีสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก ต้องใช้เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์กลุ่มครุภัณฑ์สามารถเก็บไว้ใช้ในระยะยาวได้
5. ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมจำนวนมาก ต้องยกระดับบั๊มเปอร์ให้สูงขึ้น และทำให้ใหญ่ขึ้น รัฐบาลต้องใจใหญ่ ควรเปิดให้เอกชนปรับปรุงระบบระบายน้ำให้ดี เบิกค่าใช้จ่ายที่รัฐบาล เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน
เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต
6. ผู้ว่าฯ กทม.ควรใช้ประโยชน์จากประตูระบายน้ำพระโขนง ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำในฝั่งตะวันออกของ กทม.และใกล้กับทางออกของน้ำไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
ดาวเทียมพบ 16 จังหวัดอีสานท่วมขังกว่า 4 แสนไร่ นาข้าวเสียหายร่วม 2 แสนไร่
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3557525
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า(GISTDA) เผยข้อมูลจากดาวเทียม Radarsat-2 ของวันที่ 11 กันยายน 2565 พบพื้นที่น้ำท่วมขังทั้งสิ้น 412,462 ไร่ ใน 16 จังหวัดแถบลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล
ประกอบด้วย ร้อยเอ็ด 94,655 ไร่ สุรินทร์ 72,755 ไร่ มหาสารคาม 53,984 ไร่ ศรีสะเกษ 35,738 ไร่ บุรีรัมย์ 30,557 ไร่ อุบลราชธานี 27,531 ไร่ ยโสธร 17,643 ไร่ ขอนแก่น 15,586 ไร่ กาฬสินธุ์ 13,961 ไร่ อุดรธานี 10,370 ไร่ นครราชสีมา 9,994 ไร่ หนองคาย 9,063 ไร่ สกลนคร 7,828 ไร่ นครพนม 6,452 ไร่ บึงกาฬ 5,871 ไร่ และอำนาจเจริญ 474 ไร่ ในขณะที่พื้นที่นาข้าวได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 263,057 ไร่
ราคาน้ำมันดิบพุ่งกว่า 4% ‘เชลล์’ ปั๊มเดียว ไม่รอแล้ว ปรับขึ้น 20 สต.
https://www.matichon.co.th/economy/news_3557781
ราคาน้ำมันดิบพุ่งกว่า 4% ‘เชลล์’ ปั๊มเดียว ไม่รอแล้ว ปรับขึ้น 20 สต.
จากกรณีราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มกว่า 4% หลังตลาดกังวลอุปทานตึงตัว หากรัสเซียปรับลดการส่งออกลง ‘มติชนออนไลน์’ พาอัพเดตราคาน้ำมันดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ประจำวันที่ 12 กันยายน จากปั๊มน้ำมัน 4 แห่ง ได้แก่ PTT Station บางจาก เชลล์ และเอสโซ่ ดังนี้
ราคาน้ำมัน PTT Station
• เบนซิน = 42.76 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 95 = 35.35 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 = 35.08 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E20 = 34.24 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E85 = 32.24 บาท/ลิตร
• ดีเซล B7 = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซลหมุนเร็ว B20 = 34.94 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ ซูเปอร์พาวเวอร์ 95 = 44.66 บาท/ลิตร
ราคาน้ำมัน บางจาก
• แก๊สโซฮอล์ 95 = 35.35 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 = 35.08 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E20 = 34.24 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E85 = 32.24 บาท/ลิตร
• ดีเซล B7 = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซลหมุนเร็ว B20 = 34.94 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ ซูเปอร์พาวเวอร์ 95 = 44.66 บาท/ลิตร
ราคาน้ำมัน เชลล์
• แก๊สโซฮอล์ 95 = 35.55 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 = 35.28 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E20 = 34.44 บาท/ลิตร
• ดีเซล B7 = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซลหมุนเร็ว B20 = 34.94 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ ซูเปอร์พาวเวอร์ 95 = 45.66 บาท/ลิตร
ราคาน้ำมัน เอสโซ่
• แก๊สโซฮอล์ 95 = 35.35 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 = 35.08 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E20 = 34.24 บาท/ลิตร
• ดีเซล B7 = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล = 34.94 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ ซูเปอร์พาวเวอร์ 95 = 45.66 บาท/ลิตร
JJNY : ปลอด ยก6ข้อ ปัญหาน้ำท่วมทั่วไทย│16 จว.อีสานท่วมขังกว่า 4 แสนไร่│ราคาน้ำมันดิบพุ่งกว่า 4%│สหรัฐรำลึก 21 ปี 9/11
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7260876
“ปลอดประสพ” ยก 6 ข้อ ปัญหาน้ำท่วมทั่วไทย แนะ 6 ทางออก แก้น้ำท่วมกรุงฯ ซัดรัฐละเลย เกิดความผิดพลาด ทำปชช.เดือดร้อนหนัก
12 ก.ย. 65 – ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานด้านนโยบายปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ พรรคพท.กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ว่า เป็นเพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองละเลยในเรื่องหลักการสำคัญ 6 ข้อ
คือ 1. เรื่องน้ำเป็นงานระดับยุทธศาสตร์ หากผู้บริหารบ้านเมืองควบคุมน้ำได้ จะเป็นผู้นำที่มีความสามารถ สามารถดูแลความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนได้ แต่ผู้บริหารยุคนี้ไม่คิดว่าเรื่องน้ำเป็นงานในระดับยุทธศาสตร์
2. ดำเนินยุทธวิธีที่ผิดพลาด ไม่มีความสามารถบริหารจัดการน้ำให้มีที่อยู่ที่ไป น้ำจึงท่วมหมด เช่น การควบคุมการเปิดปิดประตูระบายน้ำ บางแห่งไม่ควรปิด บางแห่งไม่ควรปิด เป็นต้น
3. การบริการจัดการน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้องทำทุกลุ่มน้ำ และต้องทำทุกจุด
4. การบริหารจัดการน้ำเป็นเรื่องในทางวิชาการหลายแขนงที่ต้องทำงานเชื่อมโยงกัน เช่น ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา บริหารน้ำขึ้นน้ำลง ความรู้ด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม
5. หน่วยงานที่ทำงานเรื่องน้ำมีถึง 26 หน่วยงาน แต่ต่างคนต่างทำ จึงไม่เคยเห็นนโยบายที่สอดคล้องกันในการแก้ไขปัญหาน้ำ
6.ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงลานีญาที่ลมจากตะวันออกพัดมาทางภูมิภาคอินโดจีน ประกอบกับสภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูง ฝนตกปริมาณมาก แต่รัฐบาลนี้บริหารประเทศเสมือนอยู่ในภาวะปกติ
นายปลอดประสพ กล่าวต่อว่า การละเลยปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดความผิดพลาด 5 ข้อ ได้แก่
1. แผนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ได้จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างดีเยี่ยม โดยไม่ได้ใช้งบประมาณ ไม่ได้กระทำการที่สุ่มเสี่ยงต่อการขัดกับกฎหมาย นักวิชาการเข้ามาสนับสนุนแผนดังกล่าว แต่รัฐบาลไม่ทำต่อ กลับเอาเงินงบประมาณ 1 แสนล้านบาทนำไปใช้แบบไม่เกิดประโยชน์
2. รัฐบาลหลังการรัฐประหารนำงบดังกล่าวไปใช้แบบไม่เกิดประโยชน์ โดยการให้หน่วยงานด้านทหารขุดลอกคลอง แต่สุดท้ายที่ประชุม ครม.มีมติให้ยุติโครงการ เพราะเป็นการเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ เป็นการใช้เงินงบประมาณแบบละลายแม่น้ำ
3. รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้มีการสร้างเขื่อนล้ำเข้ามาในลำน้ำ ซึ่งเป็นคลองหลัก เช่น คลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว เป็นต้น น้ำจึงไม่มีที่ไป
4. แต่ละหน่วยงานไม่มีการบูรณาการทั้ง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน เช่น มีโครงการยกถนนโดยไม่ได้วางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ เครื่องสูบน้ำ 10 เครื่องถูกรื้อถอนออกจากประตูระบายน้ำคลองรังสิต ไม่มีการบริหารจัดการน้ำออกไปลงคลองประเวศ เป็นต้น
5. การบริหารงานไม่โปร่งใส ล่าช้า ช่วงที่ตนเป็นรัฐบาลมีโครงการขุดแม่น้ำแห่งใหม่เพื่อระบายน้ำจากบางไทรไปบางบาลระยะทาง 20 กม. รัฐบาลนี้นำไปดำเนินการ แต่เป็นการก่อสร้างที่มีมูลค่าสูงกว่า 3 เท่า ระยะเวลาก่อสร้างจากที่ตนเคยวางแผนไว้ 3 ปี
รัฐบาลนี้วางไว้ถึง 7 ปี ซ้ำยังสร้างถนนประกบสองข้างทางแม่น้ำซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างผิดหลัก กีดขวางทางน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำจากอยุธยา บางบาล ปากเกร็ด ไม่มีที่ไปและจะทำให้น้ำท่วมมากกว่าเดิม
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า หาก พรรคพท. ชนะการเลือกตั้ง ตนจะเสนอให้รื้อถนนที่สร้างรอบแม่น้ำดังกล่าวออกเพื่อเปิดทางน้ำ เราพร้อมเสนอแนะ 6 วิธีการจัดการน้ำท่วมตามหลักวิชาการ ไปยังรัฐบาลและผู้ว่าฯ กทม.
เพื่อให้การแก้ไขน้ำท่วมทำได้ดีกว่าเดิม ดังนี้
1. ผู้ว่าฯ กทม.สามารถประสานขอความร่วมมือกับรัฐบาล โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ รักษาราชการแทนนายกฯ ให้สั่งการหน่วยงานราชการทั้งหมด นำเครื่องสูบน้ำที่กระจายในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยเข้ามายัง กทม.
โดย กทม.ควรสำรวจพื้นที่ในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ สูบน้ำจากคลองหลักลงแม่น้ำเจ้าพระยา ลงทะเลหรือลงไปแม่น้ำบางปะกง เครื่องสูบน้ำขนาดเล็กความดันสูงของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่จัดซื้อในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาลมีหลายร้อยตัว ความกว้างของท่อ 6 นิ้ว ยาว 300-500 เมตร นำเอาไปแจกจ่ายใช้ใน กทม.เพื่อสูบน้ำจากจุดท่วมไปลงคลองใหญ่ ส่งต่อออกแม่น้ำเจ้าพระยา
2. ผู้ว่าฯ กทม.ประกาศให้ กทม.เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยอย่างหนัก สามารถจัดซื้อเครื่องสูบน้ำจากต่างประเทศเพิ่มเติม เช่น สิงคโปร์ สามารถขนส่งผ่านเครื่องบินมาได้ทันที
นายปลอดประสพ กล่าวว่า
3. ใครที่สั่งให้ปล่อยน้ำลงมาทุ่งรังสิต ขอให้หยุดทำทันที เพราะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ควรกระจายน้ำจากคลองรังสิตออกไปให้ครบทั้ง 3 ทิศทางคือ ตะวันตก ตะวันออก ผ่ากลาง กทม. เจ้าพระยาและบางปะกง ส่วนคลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร กทม.ต้องยอมให้น้ำผ่านสองคลองนี้เพื่อไปลงทะเล ซึ่งวิธีการนี้ควรทำเมื่อทำได้
4. น้ำระบายที่ไม่สามารถระบายได้นอกเหนือจากปริมาณฝนที่ควบคุมไม่ได้ เพราะมีสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก ต้องใช้เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์กลุ่มครุภัณฑ์สามารถเก็บไว้ใช้ในระยะยาวได้
5. ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมจำนวนมาก ต้องยกระดับบั๊มเปอร์ให้สูงขึ้น และทำให้ใหญ่ขึ้น รัฐบาลต้องใจใหญ่ ควรเปิดให้เอกชนปรับปรุงระบบระบายน้ำให้ดี เบิกค่าใช้จ่ายที่รัฐบาล เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน
เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต
6. ผู้ว่าฯ กทม.ควรใช้ประโยชน์จากประตูระบายน้ำพระโขนง ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำในฝั่งตะวันออกของ กทม.และใกล้กับทางออกของน้ำไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
ดาวเทียมพบ 16 จังหวัดอีสานท่วมขังกว่า 4 แสนไร่ นาข้าวเสียหายร่วม 2 แสนไร่
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3557525
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า(GISTDA) เผยข้อมูลจากดาวเทียม Radarsat-2 ของวันที่ 11 กันยายน 2565 พบพื้นที่น้ำท่วมขังทั้งสิ้น 412,462 ไร่ ใน 16 จังหวัดแถบลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล
ประกอบด้วย ร้อยเอ็ด 94,655 ไร่ สุรินทร์ 72,755 ไร่ มหาสารคาม 53,984 ไร่ ศรีสะเกษ 35,738 ไร่ บุรีรัมย์ 30,557 ไร่ อุบลราชธานี 27,531 ไร่ ยโสธร 17,643 ไร่ ขอนแก่น 15,586 ไร่ กาฬสินธุ์ 13,961 ไร่ อุดรธานี 10,370 ไร่ นครราชสีมา 9,994 ไร่ หนองคาย 9,063 ไร่ สกลนคร 7,828 ไร่ นครพนม 6,452 ไร่ บึงกาฬ 5,871 ไร่ และอำนาจเจริญ 474 ไร่ ในขณะที่พื้นที่นาข้าวได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 263,057 ไร่
ราคาน้ำมันดิบพุ่งกว่า 4% ‘เชลล์’ ปั๊มเดียว ไม่รอแล้ว ปรับขึ้น 20 สต.
https://www.matichon.co.th/economy/news_3557781
ราคาน้ำมันดิบพุ่งกว่า 4% ‘เชลล์’ ปั๊มเดียว ไม่รอแล้ว ปรับขึ้น 20 สต.
จากกรณีราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มกว่า 4% หลังตลาดกังวลอุปทานตึงตัว หากรัสเซียปรับลดการส่งออกลง ‘มติชนออนไลน์’ พาอัพเดตราคาน้ำมันดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ประจำวันที่ 12 กันยายน จากปั๊มน้ำมัน 4 แห่ง ได้แก่ PTT Station บางจาก เชลล์ และเอสโซ่ ดังนี้
ราคาน้ำมัน PTT Station
• เบนซิน = 42.76 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 95 = 35.35 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 = 35.08 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E20 = 34.24 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E85 = 32.24 บาท/ลิตร
• ดีเซล B7 = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซลหมุนเร็ว B20 = 34.94 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ ซูเปอร์พาวเวอร์ 95 = 44.66 บาท/ลิตร
ราคาน้ำมัน บางจาก
• แก๊สโซฮอล์ 95 = 35.35 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 = 35.08 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E20 = 34.24 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E85 = 32.24 บาท/ลิตร
• ดีเซล B7 = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซลหมุนเร็ว B20 = 34.94 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ ซูเปอร์พาวเวอร์ 95 = 44.66 บาท/ลิตร
ราคาน้ำมัน เชลล์
• แก๊สโซฮอล์ 95 = 35.55 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 = 35.28 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E20 = 34.44 บาท/ลิตร
• ดีเซล B7 = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซลหมุนเร็ว B20 = 34.94 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ ซูเปอร์พาวเวอร์ 95 = 45.66 บาท/ลิตร
ราคาน้ำมัน เอสโซ่
• แก๊สโซฮอล์ 95 = 35.35 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 = 35.08 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ E20 = 34.24 บาท/ลิตร
• ดีเซล B7 = 34.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล = 34.94 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ ซูเปอร์พาวเวอร์ 95 = 45.66 บาท/ลิตร