'สุทิน' ชี้ 8 ปี 'ประยุทธ์' เริ่มนับ'57 หากตีความเป็นอื่นย่อมทำลายหลัก รธน.-ละเมิดพระราชอำนาจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3546466
‘สุทิน’ ชี้ 8 ปี ‘บิ๊กตู่’ เริ่มนับปี’57 หากตีความเป็นอื่นย่อมทำลายหลัก รธน.-ละเมิดพระราชอำนาจ
เมื่อวันที่ 6 กันยายน นาย
สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารตามและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีการวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า
ศาลรัฐธรรมนูญมิอาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น นอกจากวินิจฉัยชี้ขาดให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบกำหนด 8 ปี ตามมาตรา 170 วรรคสอง และมาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ 2560 เนื่องจากการดำรงตำแหน่งนายกฯเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นไปตามประกาศพระบรมราชโองการเพื่อให้มีหน้าที่ และอำนาจในการบริหารประเทศ
นาย
สุทินระบุต่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.
ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตามพระบรมราชโองการลงวันที่ 24 สิงหาคม 2557 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และพระบรมราชโองการลงวันที่ 9 มิถุนายน 2562 อันเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 ที่บัญญัติให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ตามมาตรา 2 และพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 ซึ่งสืบเนื่องจากมาตรา 3 ที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชอำนาจในการใช้อำนาจบริหาร ผ่านคณะรัฐมนตรี และแต่งตั้งนายกฯ อันเป็นพระราชอำนาจโดยแท้ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ ตามมาตรา 6
“เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นนายกฯแล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญ และบุคคลดังกล่าวมิอาจดำรงตำแหน่งเกินกว่าที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งภายใต้เงื่อนไขตามกำหนดระยะเวลาในมาตรา 158 ที่มิให้ดำรงตำแหน่งรวมกันเกินกว่า 8 ปีได้” นาย
สุทินระบุ
นาย
สุทินระบุอีกว่า ประกอบกับบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264 ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ และให้นําความในมาตรา 263 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่การดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม อันเป็นการบัญญัติในลักษณะให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นนายกฯและรัฐมนตรีต่อเนื่องตลอดไม่ขาดช่วง
นอกจากนี้ นาย
สุทินยังได้หยิบยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2561 และ 7/2562 ขึ้นมาด้วย ว่าวางหลักไว้ว่าการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2557 ให้ถือเป็นรัฐธรรมนูญ 2560 ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 264 และเทียบกับคำวินิจฉัยที่ 24/2564 แล้ว จะเห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญใช้บังคับเมื่อใด แม้ลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของ นายสิระ เจนจาคะ กรณีถูกพิพากษาอันถึงที่สุดว่า กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตจะเกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ แต่ก็ยังอยู่ในบังคับที่ต้องสิ้นสุดความเป็น ส.ส.ทันที และมิใช่เรื่องโทษทางอาญาที่จะบังคับย้อนหลังไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวกับเรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ
นาย
สุทินยกตัวอย่างกรณีกรรมการในองค์กรอิสระที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ได้มีบทเฉพาะกาลตามมาตรา 273 ที่บัญญัติให้การอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงใดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เช่น กรณีของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดเดิมที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2560 ให้พ้นจากตำแหน่ง ส่วนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดเดิมที่ยังไม่ครบวาระก็ยังคงดำรงตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และยังได้สิทธิดำรงตำแหน่งเท่าเดิมคือ 9 ปี มิใช่ 7 ปีตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 ที่อาศัยอำนาจตามบทเฉพาะกาลมาตรา 273 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตามระยะเวลาดำรงตำแหน่งเดิม เป็นต้น
นาย
สุทินสรุปในตอนท้ายว่า กรณีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่มีข้อยกเว้นในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายใดที่จะมิให้นับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกฯ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของ พล.อ.ประยุทธ์ ดังนั้น เมื่อนับถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปีแล้ว เมื่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้อย่างชัดเจน จึงมิอาจอ้างเหตุใดเพื่อใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยไปในทางอื่นได้ แต่หากองค์กรใด บุคคลใด จะตีความหรือวินิจฉัยไปในทางที่จะให้ พล.อ.ประยุทธ์ยังไม่พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ย่อมเป็นผู้ทำลายหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และล่วงละเมิดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
https://www.facebook.com/sutin427/posts/pfbid0KAzm95PnLSDXjBtRui9dLoXbhsr7PfW6Dh2Qq49bo58QjPRPYAFLpTmiCGDskX8ol
ไอลอว์ เปิดรายชื่อ 50 สว. ตั้งเครือญาติเป็นคณะทำงาน รับเงินเดือนหลักหมื่น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7250620
ไอลอว์ เปิดรายชื่อ 50 สว. ตั้งเครือญาติเป็นคณะทำงาน รับเงินเดือนหลักหมื่น มีทั้งฝากเลี้ยง กับ สว.คนอื่นอีกด้วย
วันที่ 6 ก.ย.65 iLaw เผยแพร่การตั้งคณะทำงานของ สว. ความว่า ในขณะที่รัฐสภากำลังพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี หรือมาตรา 272 ชวนย้อนดูความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่นำมาสู่ผลประโยชน์ส่วนตนของเหล่า ส.ว. อีกครั้ง
ต้นทุนของการมีวุฒิสภาแต่งตั้งไม่ได้มีเพียงการต้องจ่ายค่าตอบแทนหลักแสนต่อเดือนให้กับสมาชิกทั้ง 250 คนเท่านั้น แต่งบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายของ “คณะทำงาน” ของ ส.ว. แต่ละคนด้วย เมื่อได้รับการแต่งตั้งเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ส.ว. แต่ละคนจะมีสิทธิในการแต่งตั้งคณะทำงานของตัวเองเข้ามาช่วยงานได้สูงสุดแปดคน โดยแต่ละคนก็จะได้รับค่าตอบแทนรายเดือนหลักหมื่นบาท ยังไม่นับรวมสวัสดิการอื่น ๆ อีกมากมาย
จากข้อมูลคณะทำงาน ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 ก.ย.63 พบว่า ส.ว. มีการแต่งตั้งเครือญาติของตัวเองเข้ามาเป็นคณะทำงานมากกว่าครึ่งร้อย ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตั้งทางตรง คือแต่งตั้งให้ญาติเข้ามาเป็นคณะทำงานของตัวเอง หรือการนำญาติของตัวเองไป “ฝากเลี้ยง” กับ ส.ว. คนอื่น
รวมถึงยังพบคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจอีกกว่าครึ่งพัน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ คสช. และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลอีกหลากหลายคน เรียกได้ว่าการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมารับค่าตอบแทนรายเดือนยังคงทำเป็น “อุตสาหกรรม” ขนาดใหญ่ไม่ต่างจากในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงแต่ซ่อนรูปอยู่ใน ส.ว.แต่งตั้ง ที่เครือญาติคนรู้จักยังได้ประโยชน์อย่างมหาศาลอยู่เช่นเดิม
คณะทำงาน ส.ว. มีได้สูงสุดแปดคน รับเงินเดือนหลักหมื่น
ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ส.ว. จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง เดือนละ 71,230 บาท และได้รับเงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท ซึ่งเป็นค่าตอบแทนจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มาจากการเลือกตั้ง ค่าตอบแทนนี้ยังไม่รวมส่วนที่เป็นเบี้ยประชุมในคณะกรรมาธิการ เบี้ยเลี้ยงในกรณีที่เดินทางไปนอกสถานที่ และสวัสดิการอื่น ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล
นอกจากนี้ ส.ว. จะยังสามารถแต่งตั้งคณะทำงานที่จะเข้ามาช่วยเหลือได้อีก 3 ตำแหน่งรวมทั้งหมด8 คน
1. ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว มีได้ 1 คน รับเงินเดือน 24,000 บาทต่อคน
2. ผู้ชำนาญการประจำตัว มีได้ 2 คน รับเงินเดือน 15,000 บาทต่อคน
3. ผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว มีได้ 5 คน รับเงินเดือน 15,000 บาทต่อคน
ทั้งนี้ ส.ว. อาจจะแต่งตั้งให้ครบทุกตำแหน่งหรือไม่ครบทั้ง 8 ตำแหน่งก็ได้ ส่วนประธานและรองประธานวุฒิสภานั้นจะได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจาก ส.ว. ปกติเล็กน้อย และสามารถตั้งคณะทำงานการเมืองและข้าราชการฝ่ายการเมืองเพิ่มได้
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนพฤษภาคม 2565 หรือภายในระยะเวลาสามปีที่ ส.ว.แต่งตั้งทั้ง 250 คนเข้ารับตำแหน่งในวุฒิสภา มีการจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้กับ ส.ว. และคณะทำงานไปแล้วอย่างน้อย 2,230,569,000 บาท
เป็นลูกหลานก็ต้องช่วยกัน ส.ว. ตั้ง 50 เครือญาติตัวเองเป็นคณะทำงาน
ไอลอว์ ทำการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อขอข้อมูลล่าสุดของรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวของ ส.ว. ทุกคนจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภา แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยสำนักเลขาธิการอ้างว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่ถูกเปิดเผยเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีข้อมูลล่าสุด แต่ไอลอว์ก็ได้รับเอกสารคณะทำงานของ ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 และพบสิ่งที่น่าสนใจหลายประการ
จากข้อมูลคณะทำงานของ ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีคณะทำงานของ ส.ว. ทั้งหมด 1,830 คน พบว่ามีจำนวน 50 คนที่เป็นญาติหรือมีนามสกุลเดียวกับ ส.ว. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ ณ ขณะนั้น
โดยมีทั้ง ส.ว. ที่แต่งตั้งญาติเป็นคณะทำงานของตัวเองโดยตรง และยังมีกรณีที่ “
ฝากเลี้ยง” คือ ส.ว. คนอื่นแต่งตั้งญาติของ ส.ว. อีกคนเป็นคณะทำงานด้วย รายชื่อของ ส.ว. ที่แต่งตั้งญาติของตนเองและ ส.ว. คนอื่นเป็นคณะทำงานของตัวเองมีดังนี้
1. พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา แต่งตั้ง พลเอก โอม สิทธิสาร (ญาติของ ส.ว. พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร) เป็นผู้ชำนาญการ
2. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ แต่งตั้ง พันธวัสย์ รัตนวราหะ เป็นผู้ชำนาญการ
3. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ แต่งตั้ง ลักษ์คณา รัตนวราหะ เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
4. กรรณภว์ ธนภรรคภวิน แต่งตั้ง กิตติชัย รัตนวราหะ (ญาติของ ส.ว. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
5. จเด็จ อินสว่าง แต่งตั้ง ปฤษฎี เจนครองธรรม (ญาติของ ส.ว. ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
6. จิรดา สงฆ์ประชา แต่งตั้ง ประภัสสร ศรีทอง (ญาติของ ส.ว. เพ็ญพักตร์ ศรีทอง) เป็นผู้ชำนาญการ
7. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ แต่งตั้ง กิตติภัฏ มาลากุล ณ อยุธยา (ญาติของ ส.ว. หม่อมหลวงสกุล มาลากุล) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
8. เฉลา พวงมาลัย แต่งตั้ง นิติวัฒน์ พวงมาลัย เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
9. จัตุรงค์ เสริมสุข แต่งตั้ง เอกชัย แสวงการ (ญาติของ ส.ว. สมชาย แสวงการ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
10. พลตำรวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์ แต่งตั้ง พลตำรวจตรี ไพโรจน์ เกษตรสุนทร (ญาติของ ส.ว. ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร) เป็นผู้ชำนาญการ
11. เชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ แต่งตั้ง พฤฒิพงศ์ สันติวรวุฒิ เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
12. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง ทศพร เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
13. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง ธนพล เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
14. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง กัญชัญญา เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
15. ธานี สุโชดายน แต่งตั้ง ชัยวัฒน์ สุโชดายน เป็นผู้ชำนาญการ
JJNY : ‘สุทิน’ชี้8ปีเริ่มนับ’57│เปิดชื่อ 50 สว.ตั้งเครือญาติเป็นคณะทำงาน│หวังรัฐสภารับหลักการปิดสวิตซ์ส.ว.│ของแพงไม่หยุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_3546466
‘สุทิน’ ชี้ 8 ปี ‘บิ๊กตู่’ เริ่มนับปี’57 หากตีความเป็นอื่นย่อมทำลายหลัก รธน.-ละเมิดพระราชอำนาจ
เมื่อวันที่ 6 กันยายน นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารตามและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีการวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า
ศาลรัฐธรรมนูญมิอาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น นอกจากวินิจฉัยชี้ขาดให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบกำหนด 8 ปี ตามมาตรา 170 วรรคสอง และมาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ 2560 เนื่องจากการดำรงตำแหน่งนายกฯเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นไปตามประกาศพระบรมราชโองการเพื่อให้มีหน้าที่ และอำนาจในการบริหารประเทศ
นายสุทินระบุต่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตามพระบรมราชโองการลงวันที่ 24 สิงหาคม 2557 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และพระบรมราชโองการลงวันที่ 9 มิถุนายน 2562 อันเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 ที่บัญญัติให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ตามมาตรา 2 และพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 ซึ่งสืบเนื่องจากมาตรา 3 ที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชอำนาจในการใช้อำนาจบริหาร ผ่านคณะรัฐมนตรี และแต่งตั้งนายกฯ อันเป็นพระราชอำนาจโดยแท้ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ ตามมาตรา 6
“เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นนายกฯแล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญ และบุคคลดังกล่าวมิอาจดำรงตำแหน่งเกินกว่าที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งภายใต้เงื่อนไขตามกำหนดระยะเวลาในมาตรา 158 ที่มิให้ดำรงตำแหน่งรวมกันเกินกว่า 8 ปีได้” นายสุทินระบุ
นายสุทินระบุอีกว่า ประกอบกับบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264 ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ และให้นําความในมาตรา 263 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่การดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม อันเป็นการบัญญัติในลักษณะให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นนายกฯและรัฐมนตรีต่อเนื่องตลอดไม่ขาดช่วง
นอกจากนี้ นายสุทินยังได้หยิบยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2561 และ 7/2562 ขึ้นมาด้วย ว่าวางหลักไว้ว่าการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2557 ให้ถือเป็นรัฐธรรมนูญ 2560 ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 264 และเทียบกับคำวินิจฉัยที่ 24/2564 แล้ว จะเห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญใช้บังคับเมื่อใด แม้ลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของ นายสิระ เจนจาคะ กรณีถูกพิพากษาอันถึงที่สุดว่า กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตจะเกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ แต่ก็ยังอยู่ในบังคับที่ต้องสิ้นสุดความเป็น ส.ส.ทันที และมิใช่เรื่องโทษทางอาญาที่จะบังคับย้อนหลังไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวกับเรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ
นายสุทินยกตัวอย่างกรณีกรรมการในองค์กรอิสระที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ได้มีบทเฉพาะกาลตามมาตรา 273 ที่บัญญัติให้การอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงใดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เช่น กรณีของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดเดิมที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2560 ให้พ้นจากตำแหน่ง ส่วนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดเดิมที่ยังไม่ครบวาระก็ยังคงดำรงตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และยังได้สิทธิดำรงตำแหน่งเท่าเดิมคือ 9 ปี มิใช่ 7 ปีตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 ที่อาศัยอำนาจตามบทเฉพาะกาลมาตรา 273 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตามระยะเวลาดำรงตำแหน่งเดิม เป็นต้น
นายสุทินสรุปในตอนท้ายว่า กรณีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่มีข้อยกเว้นในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายใดที่จะมิให้นับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกฯ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของ พล.อ.ประยุทธ์ ดังนั้น เมื่อนับถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปีแล้ว เมื่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้อย่างชัดเจน จึงมิอาจอ้างเหตุใดเพื่อใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยไปในทางอื่นได้ แต่หากองค์กรใด บุคคลใด จะตีความหรือวินิจฉัยไปในทางที่จะให้ พล.อ.ประยุทธ์ยังไม่พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ย่อมเป็นผู้ทำลายหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และล่วงละเมิดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
https://www.facebook.com/sutin427/posts/pfbid0KAzm95PnLSDXjBtRui9dLoXbhsr7PfW6Dh2Qq49bo58QjPRPYAFLpTmiCGDskX8ol
ไอลอว์ เปิดรายชื่อ 50 สว. ตั้งเครือญาติเป็นคณะทำงาน รับเงินเดือนหลักหมื่น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7250620
ไอลอว์ เปิดรายชื่อ 50 สว. ตั้งเครือญาติเป็นคณะทำงาน รับเงินเดือนหลักหมื่น มีทั้งฝากเลี้ยง กับ สว.คนอื่นอีกด้วย
วันที่ 6 ก.ย.65 iLaw เผยแพร่การตั้งคณะทำงานของ สว. ความว่า ในขณะที่รัฐสภากำลังพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี หรือมาตรา 272 ชวนย้อนดูความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่นำมาสู่ผลประโยชน์ส่วนตนของเหล่า ส.ว. อีกครั้ง
ต้นทุนของการมีวุฒิสภาแต่งตั้งไม่ได้มีเพียงการต้องจ่ายค่าตอบแทนหลักแสนต่อเดือนให้กับสมาชิกทั้ง 250 คนเท่านั้น แต่งบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายของ “คณะทำงาน” ของ ส.ว. แต่ละคนด้วย เมื่อได้รับการแต่งตั้งเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ส.ว. แต่ละคนจะมีสิทธิในการแต่งตั้งคณะทำงานของตัวเองเข้ามาช่วยงานได้สูงสุดแปดคน โดยแต่ละคนก็จะได้รับค่าตอบแทนรายเดือนหลักหมื่นบาท ยังไม่นับรวมสวัสดิการอื่น ๆ อีกมากมาย
จากข้อมูลคณะทำงาน ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 ก.ย.63 พบว่า ส.ว. มีการแต่งตั้งเครือญาติของตัวเองเข้ามาเป็นคณะทำงานมากกว่าครึ่งร้อย ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตั้งทางตรง คือแต่งตั้งให้ญาติเข้ามาเป็นคณะทำงานของตัวเอง หรือการนำญาติของตัวเองไป “ฝากเลี้ยง” กับ ส.ว. คนอื่น
รวมถึงยังพบคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจอีกกว่าครึ่งพัน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ คสช. และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลอีกหลากหลายคน เรียกได้ว่าการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมารับค่าตอบแทนรายเดือนยังคงทำเป็น “อุตสาหกรรม” ขนาดใหญ่ไม่ต่างจากในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงแต่ซ่อนรูปอยู่ใน ส.ว.แต่งตั้ง ที่เครือญาติคนรู้จักยังได้ประโยชน์อย่างมหาศาลอยู่เช่นเดิม
คณะทำงาน ส.ว. มีได้สูงสุดแปดคน รับเงินเดือนหลักหมื่น
ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ส.ว. จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง เดือนละ 71,230 บาท และได้รับเงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท ซึ่งเป็นค่าตอบแทนจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มาจากการเลือกตั้ง ค่าตอบแทนนี้ยังไม่รวมส่วนที่เป็นเบี้ยประชุมในคณะกรรมาธิการ เบี้ยเลี้ยงในกรณีที่เดินทางไปนอกสถานที่ และสวัสดิการอื่น ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล
นอกจากนี้ ส.ว. จะยังสามารถแต่งตั้งคณะทำงานที่จะเข้ามาช่วยเหลือได้อีก 3 ตำแหน่งรวมทั้งหมด8 คน
1. ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว มีได้ 1 คน รับเงินเดือน 24,000 บาทต่อคน
2. ผู้ชำนาญการประจำตัว มีได้ 2 คน รับเงินเดือน 15,000 บาทต่อคน
3. ผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว มีได้ 5 คน รับเงินเดือน 15,000 บาทต่อคน
ทั้งนี้ ส.ว. อาจจะแต่งตั้งให้ครบทุกตำแหน่งหรือไม่ครบทั้ง 8 ตำแหน่งก็ได้ ส่วนประธานและรองประธานวุฒิสภานั้นจะได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจาก ส.ว. ปกติเล็กน้อย และสามารถตั้งคณะทำงานการเมืองและข้าราชการฝ่ายการเมืองเพิ่มได้
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนพฤษภาคม 2565 หรือภายในระยะเวลาสามปีที่ ส.ว.แต่งตั้งทั้ง 250 คนเข้ารับตำแหน่งในวุฒิสภา มีการจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้กับ ส.ว. และคณะทำงานไปแล้วอย่างน้อย 2,230,569,000 บาท
เป็นลูกหลานก็ต้องช่วยกัน ส.ว. ตั้ง 50 เครือญาติตัวเองเป็นคณะทำงาน
ไอลอว์ ทำการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อขอข้อมูลล่าสุดของรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวของ ส.ว. ทุกคนจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภา แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยสำนักเลขาธิการอ้างว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่ถูกเปิดเผยเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีข้อมูลล่าสุด แต่ไอลอว์ก็ได้รับเอกสารคณะทำงานของ ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 และพบสิ่งที่น่าสนใจหลายประการ
จากข้อมูลคณะทำงานของ ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีคณะทำงานของ ส.ว. ทั้งหมด 1,830 คน พบว่ามีจำนวน 50 คนที่เป็นญาติหรือมีนามสกุลเดียวกับ ส.ว. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ ณ ขณะนั้น
โดยมีทั้ง ส.ว. ที่แต่งตั้งญาติเป็นคณะทำงานของตัวเองโดยตรง และยังมีกรณีที่ “ฝากเลี้ยง” คือ ส.ว. คนอื่นแต่งตั้งญาติของ ส.ว. อีกคนเป็นคณะทำงานด้วย รายชื่อของ ส.ว. ที่แต่งตั้งญาติของตนเองและ ส.ว. คนอื่นเป็นคณะทำงานของตัวเองมีดังนี้
1. พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา แต่งตั้ง พลเอก โอม สิทธิสาร (ญาติของ ส.ว. พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร) เป็นผู้ชำนาญการ
2. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ แต่งตั้ง พันธวัสย์ รัตนวราหะ เป็นผู้ชำนาญการ
3. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ แต่งตั้ง ลักษ์คณา รัตนวราหะ เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
4. กรรณภว์ ธนภรรคภวิน แต่งตั้ง กิตติชัย รัตนวราหะ (ญาติของ ส.ว. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
5. จเด็จ อินสว่าง แต่งตั้ง ปฤษฎี เจนครองธรรม (ญาติของ ส.ว. ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
6. จิรดา สงฆ์ประชา แต่งตั้ง ประภัสสร ศรีทอง (ญาติของ ส.ว. เพ็ญพักตร์ ศรีทอง) เป็นผู้ชำนาญการ
7. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ แต่งตั้ง กิตติภัฏ มาลากุล ณ อยุธยา (ญาติของ ส.ว. หม่อมหลวงสกุล มาลากุล) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
8. เฉลา พวงมาลัย แต่งตั้ง นิติวัฒน์ พวงมาลัย เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
9. จัตุรงค์ เสริมสุข แต่งตั้ง เอกชัย แสวงการ (ญาติของ ส.ว. สมชาย แสวงการ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
10. พลตำรวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์ แต่งตั้ง พลตำรวจตรี ไพโรจน์ เกษตรสุนทร (ญาติของ ส.ว. ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร) เป็นผู้ชำนาญการ
11. เชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ แต่งตั้ง พฤฒิพงศ์ สันติวรวุฒิ เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
12. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง ทศพร เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
13. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง ธนพล เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
14. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง กัญชัญญา เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน
15. ธานี สุโชดายน แต่งตั้ง ชัยวัฒน์ สุโชดายน เป็นผู้ชำนาญการ