JJNY : เต้นชี้ประยุทธ์ดิ้น  อยากอยู่ต่อ│อยุธยาเร่งป้อง 1,593 โรงงาน│อุตุเตือนฝนตกหนัก│สิงคโปร์หาวิธีต้าน'กัญชาไทย'

เต้น ชี้ ประยุทธ์ดิ้นสู้ยื่นแจงศาลรธน. อยากอยู่ต่อ สะท้อนไม่รู้จักพอ-ไม่ฟังเสียงประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3542085
 
 
เต้น ชี้ ประยุทธ์ดิ้นสู้ยื่นแจงศาลรธน. อยากอยู่ต่อ สะท้อนไม่รู้จักพอ-ไม่ฟังเสียงประชาชน
 
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย โพสต์ข้อความแสดงความเห็นกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชี้แจง ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี โดย ระบุว่า

การตะเกียกตะกายยื่นคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญของพล.อ.ประยุทธ์ คือใบเสร็จยืนยันว่าไม่ยอมหยุด อยากอยู่ต่อ ไม่รู้จักพอ ไม่ฟังเสียงประชาชน
 
แม้กฎหมายให้สิทธิ์ต่อสู้คดี แต่ถ้ารู้จักพอต้องจบ ที่พูดอยู่ตลอดว่า รักชาติ เสียสละมาเหนื่อยทั้งที่ไม่อยากเป็นนายกฯ แต่เมื่อเจตนาเลี่ยงบาลี หาช่องอภินิหารทางกฎหมายนับเวลาไปต่อแบบนี้ก็ไร้ราคา
 
เนติบริกรทีมกฎหมายทั้งหลายที่สุมหัวกันอยู่ เมื่อทำคำชี้แจงและยื่นศาลรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ขอให้ตั้งโต๊ะแถลงเรื่องง่ายๆต่อประชาชนด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯมาแล้วกี่ปี
 
ถ้าตอบคำถามนี้ไม่ได้ ก็ไม่ควรทำคำชี้แจงใดๆ

https://www.facebook.com/Nattawut.UDD/posts/pfbid02gHMAZ2GZVkvduxbPnntudV8MGi4zm8NWZ4sKgquRoe5KhFgWrN31eqUonrFXjpvfl
 

  
อยุธยาเร่งป้อง 1,593 โรงงาน น้ำเหนือไหลบ่า-นิคมเสริมคันสูง 1 เมตร
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1036818

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรียกประชุมด่วนที่สุด 5 นิคมอุตสาหกรรม และโรงงานนอกนิคมฯ หลังกรมชลปล่อยน้ำ 1,800-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าจะไหลมาถึงอยุธยา 5 ก.ย. ด้านนิคมบางปะอิน-โรจนะเตรียมแผนฉุกเฉินตั้งรับวิกฤต รองผู้ว่าฯเผยเตรียมรับมือมวลน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ชี้ปี 2565 ฝนมากมาเร็วกระทบแล้ว 9 อำเภอ เร่งเกษตรกรเก็บเกี่ยวนาข้าวก่อน 15 กันยายนนี้ เพื่อใช้เป็นพื้นที่รับน้ำไม่ให้กระทบเขตอุตสาหกรรม คาดไม่ซ้ำรอยปี’54
 
น.ส.บงกช แจ่มทวี ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นายไพรรัตน์ เพชรยวน รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ทำหนังสือถึงสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้เชิญผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่ง ประกอบด้วย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) 3 แห่ง ได้แก่ 
1. นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน 
2. นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) 
3. นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง (เดิมคือ นิคมสหรัตนนคร)

ส่วนของเอกชนมี 2 แห่ง ได้แก่ 1.นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และ 2.นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์วังน้อย มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ 2,134 โรงงาน มาประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ปี 2565 ในเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัด เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทยจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม
 
โดยช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนจะเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่น ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมและนอกนิคมอุตสาหกรรม
 
นายไพรัตน์ เพชรยวน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาทแล้ว 9 อำเภอ จากทั้งหมด 15 อำเภอ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำซึ่งไม่ใช่พื้นที่รวมทั้งหมด ได้แก่ อ.ผักไห่ อ. เสนา  อ.บางบาล อ.บางปะหัน อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.พระนครศรีอยุธยา อ.ท่าเรือ และ อ.นครหลวง
 
ข้อมูลจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 ระบุมีปริมาณฝนตกชุกอยู่เหนือเขื่อนเจ้าพระยาในหลายจังหวัด ก่อนไหลมารวมกันที่จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้มีมวลน้ำไหลเชี่ยวมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาตอนนี้ 1,800-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 50 ซม. คาดว่าประมาณวันที่ 5 กันยายน 2565 จะไหลมาถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
“น้ำปริมาณนี้ยังไม่เทียบเท่าปี 2554 แต่กลับมาเร็วกว่าปกติ จากที่คาดการณ์ไว้คือช่วงปลายเดือนกันยายน ทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกร โดยทางจังหวัดได้จัดสรรงบประมาณให้เกษตรกรสูบน้ำออกจากนาข้าวเพื่อเร่งการเก็บเกี่ยวก่อน 15 กันยายนนี้ หลังจากนั้นจึงจะระบายน้ำลงทุ่งนาที่เกี่ยวข้าวแล้ว เสมือนเป็นแก้มลิง เพื่อไม่ให้กระทบกับพื้นที่อุตสาหกรรมและทำให้น้ำไหลไปสู่กรุงเทพฯน้อยลง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าถนนสายหลักหรือนิคมอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายหรือเกิดน้ำท่วม”
 
นอกจากนี้ นายไพรัตน์กล่าวว่า เมื่อวันที่ 2 กันยนยน 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางมาลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้สั่งการกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนดูแลพื้นที่อุตสาหกรรม อย่าให้ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ หากเกินความสามารถทางจังหวัดให้แจ้งไปยังส่วนกลางเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งปัจจุบันก็มีเจ้าหน้าที่ทหารประจำการอยู่ช่วยเหลือแล้วนับพันนาย เพื่อก่อกระสอบทรายและตั้งพนังกั้นน้ำ
 
นิคมบางปะอิน-โรจนะตั้งรับ
 
นายธนกฤต โพธิ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน เปิดเผยว่า ทางนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินได้มีการจัดทำเกณฑ์การเฝ้าระวังอุทกภัย โดยใช้เกณฑ์การวัดปริมาณและการระบายน้ำจากเขื่อนต่าง ๆ และศักยภาพในการระบายน้ำของแม่น้ำสายหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ทั้งนี้ปริมาณการไหลสูงสุดของน้ำไม่ควรเกิน 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งถ้าหากมีการระบายรวมเกิน 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที น้ำจะเริ่มท่วมจากจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง จะส่งผลในพื้นที่ชุมชนที่ลุ่มริมแม่น้ำและบริเวณพื้นที่โดยรอบนิคมบางปะอินมีโอกาสเกิดน้ำท่วมได้
 
ส่วนแผนงานการเฝ้าระวัง ได้แก่ 
1.เครื่องสูบน้ำชนิดไฟฟ้า/เครื่องยนต์ทั้งถาวรและเคลื่อนย้ายได้/กระสอบทราย พร้อมใช้งานตลอดเวลา ชุดลอกรางระบายน้ำ คูคลอง ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่นิคมฯ 
2.เตรียมการพร่องน้ำในพื้นที่เพื่อเตรียมรับน้ำฝน เช่น บริเวณรางระบายน้ำภายในนิคมฯ บึงรับน้ำตามสถานีสูบน้ำฝน 
3.เฝ้าระวังติดตามข้อมูลพยากรณ์อากาศ พร้อมตรวจการทั้งภายในและบริเวณโดยรอบพื้นที่นิคม 
4.ประสานซักซ้อมความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนท้องถิ่นและจังหวัด มีระบบสื่อสารผู้ประกอบการ เช่น Line SMS
 
“ขณะเดียวกันเราได้มีเกณฑ์การเตือนภัยโดยจะมีระดับคันป้องกันน้ำท่วมนิคม 4 ระดับ คือ ระดับ 1 (ปกติ) ธงสีเขียว ปริมาณน้ำ 2,500-3,000 ลบ.ม/วินาที เตรียมความพร้อม/ติดตามข่าวสาร/แจ้งเตือน ระดับ 2 (เฝ้าระวัง) ธงสีเหลือง ปริมาณน้ำ 2,500-3,000 ลบ.ม/วินาที ตั้งศูนย์จำนวยการ EOC/เตรียมอุปกรณ์/ตรวจวัดระดับน้ำ ระดับ 3 (เสี่ยง) ธงสีส้ม ระดับน้ำหน้านิคม 3,300-4,200 ลบ.ม/วินาที แจ้งเตือนรถออกนอกนิคม ตั้งจุดรับส่งคนและสิ่งของ ระดับ 4 (วิกฤต) ธงสีแดงระดับน้ำหน้านิคม 3,300-4,200 ลบ.ม/วินาที หรือเกิดเหตุฉุกเฉินสั่งหยุดประกอบกิจการและอพยพออกจากพื้นที่
นายเสรี กิ้มจ้อง ผู้จัดการบริษัทสวนอุตสาหกรรมโรจนะ กล่าวว่า ทางนิคมได้มีการเตรียมการสำหรับการป้องกันน้ำท่วม คือ 1.การติดตามสถานการณ์น้ำ 2.ตรวจสอบพนังป้องกันน้ำท่วม 3.ตรวจสอบและเตรียมอุปกรณ์ 4.แผนฉุกเฉิน
 
นอกจากนี้ทางนิคมได้มีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเรื่องสถานการณ์น้ำ และได้มีการตรวจสอบพนังกั้นน้ำในนิคมทุก 4 เดือน และมีการซ่อมบำรุงทุกปี ทั้งนี้ ในพื้นที่นิคมได้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 72 เครื่อง โดยติดตั้งที่โรจนะ 1 จำนวน 37 เครื่อง, โรจนะ 2 จำนวน 17 เครื่อง โรจนะ 3 จำนวน 18 เครื่อง
ขณะเดียวกันแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ระดับที่ 1 ขั้นเตรียมการเมื่อคาคว่าน่าจะเกิดอุทกภัย ระดับที่ 2 เมื่อน้ำท่วมในเขตจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง ระดับที่ 3 น้ำท่วมพื้นที่รอบนอกโครงการถึงแนวคันกั้นน้ำของโครงการ ระดับที่ 4 น้ำท่วมสันแนวคันกั้นน้ำของโครงการ หรือแนวคันกั้นน้ำไม่สามารถป้องกันได้
 
นายสิทธา ธงไชย วิศวกรชำนาญการสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า หากเกิดสถานการณ์น้ำจะส่งผลกระทบน้ำท่วมประมาณ 1,593 โรงงาน โดยแบ่งออกเป็นตามแนวแม่น้ำ 4 แห่ง ได้แก่ 1.ตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีโรงงานที่อยู่อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา จะมีโรงานที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม จำนวน 773 โรงงาน
 
2.ตามแนวแม่น้ำป่าสัก จะมีโรงานที่อยู่ในอำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน จะมีโรงานที่เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมจำนวน 362 โรงงาน 3.ตามแนวแม่น้ำลพบุรีจะมีโรงานที่อยู่ในอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน จะมีโรงานที่มีความเสี่ยงเกิดน้ำท่วม จำนวน 160 โรงาน 4.ตามแนวแม่น้ำน้อยจะมีโรงงานที่อยู่ในอำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางไทร จะมีโรงานที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมจำนวน 298 โรงงาน
ซึ่งโดยส่วนมากนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 นิคม (นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง, นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน, นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า ไฮเทค) และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำโดยรอบพื้นที่ มีระดับความสูงเพิ่มเติม จากระดับน้ำที่ท่วมปี พ.ศ. 2554 ไม่น้อยกว่า 1 เมตร และติดตั้งสถานีสูบน้ำ และเตรียมเครื่องสูบน้ำ และเครื่องปั่นไฟอย่างเพียงพอ มีการทำแผนและซ้อมแผนฉุกเฉินเป็นประจำทุกปี
 
ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่งและสวนอุตสาหกรรมโรจนะ แฟคเตอรี่แลนด์ วังน้อย ไม่ได้รับผลกระทบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่