จากตัวเลขการตรวจจับ “หมูเถื่อน” ของกรมปศุสัตว์ในปี 2565 หรือช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา สามารถจับผู้กระทำผิดด้วยการลักลอบนำเข้าหมูได้เพียง 8 ราย กับของกลางที่ยึดได้เพียง 100 ตัน ไม่สอดคล้องกับปริมาณหมูเถื่อนที่มีขายเกลื่อนโซเชียล และกระจายสู่ท้องตลาดทั่วประเทศไทยอย่างไม่มีวี่แววจะลดลง เหตุผลใดจึงทำให้การตรวจจับไม่มีประสิทธิผล และทำให้ขบวนการนำเข้าหมูเถื่อนสามารถค้าขายเย้ยกฎหมายไทยได้อย่างมั่นใจขนาดนี้ เป็นขบวนการที่ใหญ่มากแต่จับได้นิดเดียว
จนแหล่งข่าวในวงการหมูตั้งข้อสังเกตการเข้าตรวจสอบห้องเย็นของเจ้าหน้าที่ในการกวาดล้างหมูเถื่อนอยู่หลายประการ ได้แก่
ประการแรก :
อาจได้รับสัญญาณตรวจจับ
เป็นไปได้หรือไม่ที่ผู้ลักลอบจะได้รับแจ้งล่วงหน้าจากสายของตน และทำการเคลื่อนย้ายสินค้าได้ก่อนเจ้าหน้าที่ไปถึงแทบทุกครั้ง กรณีนี้ยังอาจครอบคลุมไปถึงการจัดฉาก โดยมีการตกลงให้จับได้บางล็อตเพื่อเป็นผลงาน และแสดงให้สังคมเห็นว่าภาครัฐมีการดำนินการตรวจจับจริง ในฐานะอธิบดีกรม-กองที่เกี่ยวข้อง จำเป็นอยู่เองที่จะต้องสืบสวนบุคลากรของตนอย่างรอบด้าน อย่าให้เกลือเป็นหนอน จนทำให้ภาพรวมการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐผิดพลาดบกพร่อง ดังกระแสข่าวที่ปรากฏในสื่อว่ามีการเคลียร์ค่าตู้กันแล้ว ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อใครเลย
ประการที่สอง :
ตบตาด้วยบรรจุภัณฑ์ใหม่
นอกเหนือจากการเคลื่อนย้ายหมูเถื่อนเพื่อหลบหนีการจับกุมแล้ว ขบวนการนี้ยังใช้วิธีเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เสียใหม่ (re-pack) เพื่อไม่ให้เห็นว่าเป็นแพกเกจที่ส่งตรงจากต่างประเทศเข้ามา ตบตาเจ้าหน้าที่บางคนจนถึงขั้นออกมาให้ข่าวหมูแช่แข็งที่ตรวจพบนั้นเป็นหมูในประเทศ
ปกติหมูในประเทศไทยที่เข้าโรงชำแหละในแต่ละวัน จะมีการระบุจำนวนชัดเจนตามกำลังการผลิตของโรงชำแหละ และเป็นการชำแหละขาย “วันต่อวัน”
เนื่องจากคนไทยบริโภคเนื้อหมูสดแช่เย็น ไม่ใช่หมูแช่แข็ง การตรวจสอบว่าเป็นหมูเถื่อนหรือหมูไทยนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยาก สามารถสังเกตได้ง่ายแค่เห็นเป็นหมูแช่แข็ง บรรจุเป็นชิ้นส่วนมาในแพกเกจหรือกล่องก็ฟันธงได้ทันที ไม่ว่าจะเปลี่ยนแพกเกจใหม่ให้แตกต่างไปจากของต่างประเทศขนาดไหนก็ไม่น่าตบตาเจ้าหน้าที่ได้ เจ้าหน้าที่ที่ออกมาให้ข่าวว่าหมูแช่แข็งที่พบนั้นเป็นหมูในประเทศจึงน่าจะไม่มีความรู้เท่าที่ควร
ประการที่สาม :
ความเชี่ยวชาญของผู้ตรวจสอบ
เนื่องจากเป็นเนื้อสัตว์ที่ลักลอบนำเข้า จึงมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับภาครัฐหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น กรมปศุสัตว์ กรมศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ การผสานกำลังทุกหน่วยงานเข้าตรวจสอบน่าจะเป็นแนวทางที่ดี แต่ก็อาจทำให้เกิดความล่าช้า หลายครั้งจึงกลายเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเอกสารและตัวสินค้า ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าสิ่งที่พบคือหมูเถื่อนหรือไม่ นับเป็นอีกประเด็นที่ต้องเร่งแก้ไขการประสานความร่วมมือและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่อย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ ก็ควรเข้ามามีส่วนร่วมสืบจากโซเชียล เพื่อให้รู้แหล่งจำหน่าย แล้วผนึกกำลังเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมแอดมินเพจ จะเป็นการปิดช่องทางกระจายหมูเถื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยังคงเชื่อมั่นในการทำงานของภาครัฐ หากมีความจริงใจมุ่งมั่นแก้ไขปัญหานี้ ย่อมทำได้จริงและสำเร็จ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรไม่ถูกเบียดเบียนและมีกำลังใจเลี้ยงหมูต่อไป ช่วยผู้บริโภคปลอดภัยจากสารปนเปื้อนหมูที่ไม่ผ่านการตรวจโรค และช่วยเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติที่กำลังต้องการการฟื้นฟู โปรดทำเพื่อส่วนรวมและขจัดขบวนการที่เห็นแก่ตัวกลุ่มนี้ออกจากสารบบอุตสาหกรรมหมู ซึ่งเท่ากับเป็นการ “เคลียร์ภาพลักษณ์ข้าราชการ” เหนือกว่า “เคลียร์ค่าตู้” เป็นไหนๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
https://mgronline.com/local/detail/9650000082104
“หมูเถื่อน VS หมูไทย” ทำไมเจ้าหน้าที่แยกแยะไม่เป็น
จนแหล่งข่าวในวงการหมูตั้งข้อสังเกตการเข้าตรวจสอบห้องเย็นของเจ้าหน้าที่ในการกวาดล้างหมูเถื่อนอยู่หลายประการ ได้แก่
ประการแรก :
อาจได้รับสัญญาณตรวจจับ
เป็นไปได้หรือไม่ที่ผู้ลักลอบจะได้รับแจ้งล่วงหน้าจากสายของตน และทำการเคลื่อนย้ายสินค้าได้ก่อนเจ้าหน้าที่ไปถึงแทบทุกครั้ง กรณีนี้ยังอาจครอบคลุมไปถึงการจัดฉาก โดยมีการตกลงให้จับได้บางล็อตเพื่อเป็นผลงาน และแสดงให้สังคมเห็นว่าภาครัฐมีการดำนินการตรวจจับจริง ในฐานะอธิบดีกรม-กองที่เกี่ยวข้อง จำเป็นอยู่เองที่จะต้องสืบสวนบุคลากรของตนอย่างรอบด้าน อย่าให้เกลือเป็นหนอน จนทำให้ภาพรวมการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐผิดพลาดบกพร่อง ดังกระแสข่าวที่ปรากฏในสื่อว่ามีการเคลียร์ค่าตู้กันแล้ว ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อใครเลย
ประการที่สอง :
ตบตาด้วยบรรจุภัณฑ์ใหม่
นอกเหนือจากการเคลื่อนย้ายหมูเถื่อนเพื่อหลบหนีการจับกุมแล้ว ขบวนการนี้ยังใช้วิธีเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เสียใหม่ (re-pack) เพื่อไม่ให้เห็นว่าเป็นแพกเกจที่ส่งตรงจากต่างประเทศเข้ามา ตบตาเจ้าหน้าที่บางคนจนถึงขั้นออกมาให้ข่าวหมูแช่แข็งที่ตรวจพบนั้นเป็นหมูในประเทศ
ปกติหมูในประเทศไทยที่เข้าโรงชำแหละในแต่ละวัน จะมีการระบุจำนวนชัดเจนตามกำลังการผลิตของโรงชำแหละ และเป็นการชำแหละขาย “วันต่อวัน”
เนื่องจากคนไทยบริโภคเนื้อหมูสดแช่เย็น ไม่ใช่หมูแช่แข็ง การตรวจสอบว่าเป็นหมูเถื่อนหรือหมูไทยนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยาก สามารถสังเกตได้ง่ายแค่เห็นเป็นหมูแช่แข็ง บรรจุเป็นชิ้นส่วนมาในแพกเกจหรือกล่องก็ฟันธงได้ทันที ไม่ว่าจะเปลี่ยนแพกเกจใหม่ให้แตกต่างไปจากของต่างประเทศขนาดไหนก็ไม่น่าตบตาเจ้าหน้าที่ได้ เจ้าหน้าที่ที่ออกมาให้ข่าวว่าหมูแช่แข็งที่พบนั้นเป็นหมูในประเทศจึงน่าจะไม่มีความรู้เท่าที่ควร
ประการที่สาม :
ความเชี่ยวชาญของผู้ตรวจสอบ
เนื่องจากเป็นเนื้อสัตว์ที่ลักลอบนำเข้า จึงมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับภาครัฐหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น กรมปศุสัตว์ กรมศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ การผสานกำลังทุกหน่วยงานเข้าตรวจสอบน่าจะเป็นแนวทางที่ดี แต่ก็อาจทำให้เกิดความล่าช้า หลายครั้งจึงกลายเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเอกสารและตัวสินค้า ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าสิ่งที่พบคือหมูเถื่อนหรือไม่ นับเป็นอีกประเด็นที่ต้องเร่งแก้ไขการประสานความร่วมมือและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่อย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ ก็ควรเข้ามามีส่วนร่วมสืบจากโซเชียล เพื่อให้รู้แหล่งจำหน่าย แล้วผนึกกำลังเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมแอดมินเพจ จะเป็นการปิดช่องทางกระจายหมูเถื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยังคงเชื่อมั่นในการทำงานของภาครัฐ หากมีความจริงใจมุ่งมั่นแก้ไขปัญหานี้ ย่อมทำได้จริงและสำเร็จ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรไม่ถูกเบียดเบียนและมีกำลังใจเลี้ยงหมูต่อไป ช่วยผู้บริโภคปลอดภัยจากสารปนเปื้อนหมูที่ไม่ผ่านการตรวจโรค และช่วยเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติที่กำลังต้องการการฟื้นฟู โปรดทำเพื่อส่วนรวมและขจัดขบวนการที่เห็นแก่ตัวกลุ่มนี้ออกจากสารบบอุตสาหกรรมหมู ซึ่งเท่ากับเป็นการ “เคลียร์ภาพลักษณ์ข้าราชการ” เหนือกว่า “เคลียร์ค่าตู้” เป็นไหนๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://mgronline.com/local/detail/9650000082104