ขอสักนิดนะครับ เพราะรำคาญ

กระทู้คำถาม
ถีบขาคู่

รำคาญสลิ่มที่ไม่รู้เรื่องกฎหมาย  ไร้ภูมิรู้พื้นฐานด้านกฎหมาย  แต่ชอบตั้งกระทู้เรื่องกฎหมาย
เอานั่นเอานี่มาแปะ  อ้างมั่วตะบันไป  ไม่รู้ทำได้ไง  ทั้งที่ตัวสลิ่มเองไม่รู้เรื่องกฎหมายเลย

เช่น

อ้างถึงความเห็นของฝ่ายกฎหมายรัฐสภา  ที่เคยแสดงความเห็นไว้ว่า

การนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2562 ที่เป็นวันโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นต้นไป เพราะการกำหนดเงื่อนไขให้นายกฯ ดำรงตำแหน่งรวมแล้วเกิน 8 ปีไม่ได้นั้น เป็นเงื่อนไขการจำกัดสิทธิบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการบัญญัติกฎหมายในทางเป็นโทษ จะนำมาบังคับใช้ย้อนหลังในทางที่เป็นโทษไม่ได้ การกำหนดเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญให้ผลย้อนหลังใช้บังคับกับการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนวันที่รัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ ย่อมขัดหลักกฎหมาย

(จากทู้  https://ppantip.com/topic/41596224 )

.

ความเห็นนี้  เป็นความเห็นที่  "ใช้ไม่ได้"  ผิดหลักทางกฎหมายอย่างสิ้นเชิง
ตอนที่ฝ่ายกฎหมายรัฐสภาให้ความเห็นนั้น  โดนด่าเปิงไปทั้งเมืองมาแล้ว

เพราะกฎหมายที่ใช้ย้อนหลังไม่ได้นั้น  ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ (เช่น เรื่องอาญา  ฯลฯ)
ไม่ใช่ย้อนหลังไม่ได้ในทุกกรณี     

ฝ่ายกฎหมายรัฐสภา  ไม่รู้คิดได้ไง  เอาหลักกฎหมายไหนมาคิด  ว่าเรื่องนี้เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ

เรื่องตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  ไม่ใช่เรื่องสิทธิเสรีภาพ  แต่เป็นเรื่องการควบคุมอำนาจ
เจตจำนงของกฎหมาย  เพื่อไม่ให้อยู่ในอำนาจนานเกินไปจนเกิดปัญหา

ยกตัวอย่าง  อยู่ดี ๆ จะออกกฎหมายย้อนหลังเอาผิดในทางสิทธิเสรีภาพไม่ได้
เช่น  ใครเคยสูบบุหรี่ต้องติดคุกสองปี   ใครกินเหล้าติดคุกสามปี  ฯลฯ   กฎหมายแบบนี้จะย้อนหลังไม่ได้ 
(ยกเว้นกฎหมายนั้นเป็นคุณ อย่างการนิรโทษกรรม  ฯลฯ)

หลักนี้  เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้ง    ไม่งั้นคงออกกฎหมายเอาผิดกันย้อนหลังจนบ้านเมืองเละเทะ

.

ประเด็นเทียบเคียง   ก็คือเรื่องการยุบพรรคไทยรักไทย  เมื่อปี 2550
พรรคไทยรักไทยโดนยุบ  เพราะ คมช. ออกประกาศหลังรัฐประหาร 2549   เป็นกฎหมายที่เกิดทีหลัง ประกาศใช้ทีหลัง
แต่ฝ่ายตุลาการก็อ้างว่า  ไม่ใช่เรื่องทางอาญา  ย้อนหลังได้   ยุบไทยรักไทยไป  ตัดสิทธิทางการเมืองไป  แต่ไม่มีใครติดคุก

กรณี 8 ปี ก็เช่นเดียวกัน  ไมใช่เรื่องทางอาญา  
เป็นเรื่องคุณสมบัติการอยู่ในอำนาจบริหารสูงสุด   กฎหมายจึงมีผลไปถึงได้

ดูสิระ  เจนจาคะ  เป็นตัวอย่าง   เกิดเหตุตั้งแต่ปี 2538   ยังขาดคุณสมบัติไปแล้ว  แต่ไม่มีโทษทางอาญา
(หากจะมีเรื่องทางอาญา  ก็เพราะรู้ว่าตัวเองไม่มีคุณสมบัติแต่ดันมาสมัคร ส.ส.  ซึ่งไม่ใช่การย้อนหลัง)

.

นักกฎหมายระดับครูบาอาจารย์  สอนกฎหมายมาหลายสิบปี   ทนายความมีชื่อ  นับสิบนับร้อยคน  อธิบายแจกแจงไม่รู้กี่วันมาแล้ว
ไม่เคยรับฟัง  ไม่เคยศึกษาทำความเข้าใจ  เอาแต่วิ่งตามเฟซสลิ่มด้วยกัน  ควานหาข้อมูลผิด ๆ มาแปะมั่วไป

.

จขกท. นี้    ณ ตอนนี้  ไม่คิดอะไรแล้ว  เพราะมีความเชื่อว่า  ได้ไปต่อแน่
รอแต่ว่า  ผู้วินิจฉัยชี้ขาด  จะใช้หลักวิชาอะไรในการให้อยู่ต่อเท่านั้น

อภินิหารมีแน่   
แค่รอว่าจะอภินิหารแบบเหยียบหิมมะไร้รอย  หรือเปรอะกระฉ่อนไปทั้งโลก

.

อีกไม่นานได้รู้
ถีบขาคู่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่