https://etipitaka.com/read/thai/22/62/
๗. ฐานสูตร
[๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ
๕ ประการเป็นไฉน
คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
- เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
- เรามีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
- เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้ ๑
- เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
- เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความ มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง
หรือทำให้เบาบางลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลาย ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละ ความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้นได้โดยสิ้นเชิง
หรือทำให้เบาบางลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย
ซึ่ง เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติ ทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้น ได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต
จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความ พอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิงหรือทำให้เบาบางลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย อำนาจประโยชน์นี้แลสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรา จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
จักทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ ทั้งหลาย
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบาง ลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่
มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป
การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
เมื่ออริยสาวกนั้น พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น
เมื่อเสพอบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมาการไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะ นั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อริยสาวก นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้
โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมี ความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า
ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของ ชอบใจทั้งสิ้น
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียว เท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาท แห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรค ย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
สัตว์ทั้งหลาย
- ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา
- มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
- มีความตายเป็นธรรมดา
- สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามธรรมดา
พวกปุถุชน ย่อมเกลียด ถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา
ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบธรรม ที่หาอุปธิมิได้
เห็นการออกบวชโดยเป็นธรรมเกษมครอบงำความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีโรค
ในความเป็นหนุ่มสาว และในชีวิต
ความ อุตสาหะได้มีแล้ว แก่เราผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน
บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อ เสพกามทั้งหลายจักเป็นผู้ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติพรหม จรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๗
สรุป..
1. สัตว์..เรา ก็คือ..ผู้ที่ประสพ...
ผู้ที่ " มี "...
-
เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
-
เรามีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
-
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้ ๑
-
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
2. อันนี้.. ต้องใช้ปัญญานะ..
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " มี "...ความแก่(ชรา) - ความเจ็บ(พยาธิ) - ความตาย(มรณะ)...
ไม่ใช่...เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " เป็น "...ความแก่(ชรา) - ความเจ็บ(พยาธิ) - ความตาย(มรณะ) ...
เพราะว่า... ขันธ์๕..เท่านั้นต่างหากที่... " เป็น "...ความแก่(ชรา) - ความเจ็บ(พยาธิ) - ความตาย(มรณะ)...
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " ได้ขันธ์๕ "....เราจึง " มี "......ความแก่(ชรา) - ความเจ็บ(พยาธิ) - ความตาย(มรณะ)...
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " ไม่ใช่...ขันธ์๕ "...
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลายจึง " ไม่ใช่ "...สิ่งที่...แก่(ชรา) - เจ็บ(พยาธิ) - ตาย(มรณะ)...รวมทั้ง..เกิด(ชาติ)ด้วย
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " มี "......แต่ไม่ได้ " เป็น "...
ใครไปบอกว่า เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " เป็น "...อันนี้เป็น...มิจฉาวาทะ...
======================
เอ้า..
อสฺมีติ ----- เราเป็น..ดังนี้
ภวิสตีติ --- เราจะเป็น..ดังนี้
สติ --- มี
โหติ -- เรามี
อโหสิ -- ได้มี(เป็น)
=======================
สัตว์ " ตอนที่ 17 :..สัตว์มีชาติ-ชรามรณ..และทุกข์... สัตว์คือผู้ที่..มา-ไประหว่างโลก...ระหว่างภพ
https://etipitaka.com/read/thai/22/62/
๗. ฐานสูตร
[๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ
๕ ประการเป็นไฉน
คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
- เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
- เรามีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
- เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้ ๑
- เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
- เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความ มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง
หรือทำให้เบาบางลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลาย ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละ ความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้นได้โดยสิ้นเชิง
หรือทำให้เบาบางลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย
ซึ่ง เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติ ทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้น ได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต
จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความ พอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิงหรือทำให้เบาบางลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย อำนาจประโยชน์นี้แลสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรา จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
จักทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ ทั้งหลาย
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบาง ลงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ
ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่
มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป
การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
เมื่ออริยสาวกนั้น พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น
เมื่อเสพอบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมาการไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะ นั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อริยสาวก นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้
โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมี ความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของ ชอบใจทั้งสิ้น
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียว เท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาท แห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรค ย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
สัตว์ทั้งหลาย
- ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา
- มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
- มีความตายเป็นธรรมดา
- สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามธรรมดา
พวกปุถุชน ย่อมเกลียด ถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา
ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบธรรม ที่หาอุปธิมิได้
เห็นการออกบวชโดยเป็นธรรมเกษมครอบงำความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีโรค
ในความเป็นหนุ่มสาว และในชีวิต ความ อุตสาหะได้มีแล้ว แก่เราผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน
บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อ เสพกามทั้งหลายจักเป็นผู้ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติพรหม จรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๗
สรุป..
1. สัตว์..เรา ก็คือ..ผู้ที่ประสพ...ผู้ที่ " มี "...
- เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
- เรามีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
- เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้ ๑
- เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
2. อันนี้.. ต้องใช้ปัญญานะ..
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " มี "...ความแก่(ชรา) - ความเจ็บ(พยาธิ) - ความตาย(มรณะ)...
ไม่ใช่...เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " เป็น "...ความแก่(ชรา) - ความเจ็บ(พยาธิ) - ความตาย(มรณะ) ...
เพราะว่า... ขันธ์๕..เท่านั้นต่างหากที่... " เป็น "...ความแก่(ชรา) - ความเจ็บ(พยาธิ) - ความตาย(มรณะ)...
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " ได้ขันธ์๕ "....เราจึง " มี "......ความแก่(ชรา) - ความเจ็บ(พยาธิ) - ความตาย(มรณะ)...
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " ไม่ใช่...ขันธ์๕ "...
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลายจึง " ไม่ใช่ "...สิ่งที่...แก่(ชรา) - เจ็บ(พยาธิ) - ตาย(มรณะ)...รวมทั้ง..เกิด(ชาติ)ด้วย
เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " มี "......แต่ไม่ได้ " เป็น "...
ใครไปบอกว่า เรา...และ..สัตว์ทั้งหลาย " เป็น "...อันนี้เป็น...มิจฉาวาทะ...
======================
เอ้า..
อสฺมีติ ----- เราเป็น..ดังนี้
ภวิสตีติ --- เราจะเป็น..ดังนี้
สติ --- มี
โหติ -- เรามี
อโหสิ -- ได้มี(เป็น)
=======================