ประวัติความเป็นมา กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

❝การศึกษาคือพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ การพัฒนาประเทศ ❝

วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล จึงเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีมติเริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปัจจุบันเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ในขณะดำรงตำเเหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
ตั้งแต่ กยศ.เปิดให้กู้ยืมตั้งแต่ปี 2539 ได้ปล่อยกู้แก่นักเรียน นักศึกษาแล้ว 6,215,161 คน ในปัจจุบัน(2565)

การศึกษา คือพื้นฐานของการสร้างคุณภาพชีวิตซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมโดยรวมให้ดีขึ้น การถือกำเนิดในครอบครัวรายได้น้อย มีผลให้เยาวชนบางส่วนหลุดออกจากระบบการศึกษาระดับปริญญาตรี เพราะไม่มีเงินมากพอจะจ่ายค่าเล่าเรียน เด็กไทยจำนวนไม่น้อยจึงไม่สามารถเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย (ยุคนั้นเป็นยุคใช้แผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษา2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21 หรือ ยุคทองของการศึกษาไทย เรียนฟรีจริงพื้นฐาน12ปี พร้อม สวัสดิการอนุบาล พร้อมอาหารและอุปกรณ์ จัดงบประมาณเพิ่มให้จากยุคมืดการศึกษาไทย ได้รับงบประมาณคนละ160 บาท ตามรูป) การสูญเสียโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนเปรียบเหมือนการสูญเสียโอกาสของประเทศไทยคุณพ่อสุขวิช รังสิตพล เชื่อว่ากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่