คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0SAA5D32XxQrw85j9qBgnn5aVbFH7v9Hc86C1WqBnMPFnqn3zm9XEZuSiryqeJUeql
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 19 ส.ค. 2565)
รวม 142,363,254 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 19 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 38,846 โดส
เข็มที่ 1 : 3,982 ราย
เข็มที่ 2 : 9,455 ราย
เข็มที่ 3 : 25,409 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,212,520 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,637,001 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,513,733 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02jjdcnA5eoxhr5PjM8PaQzjaxPDVeHCAYPdaVRaWYUhX4SshQuFNFWw5H9iRBxXSWl
สธ. ชู นวัตกรรมการแพทย์ ในงานประชุม APEC Health Week
"เครื่องตรวจโควิดจากลมหายใจ" แม่นยำสูง รู้ผลตรวจภายใน 5 นาที
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในงานประชุม APEC Health Week ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กทม. ภายใต้หัวข้อ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์กับภาคี เชื่อมโยงกันกับโลก สู่สมดุลระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ” กรมการแพทย์ได้รับมอบหมายในการนำเสนอนิทรรศการนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ล้ำสมัย และเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้มารับบริการและบุคลากรทางการแพทย์ ตอบสนองนโยบายของชาติและความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการฟื้นฟูสุขภาพและเศรษฐกิจภายหลังการระบาดของโรคโควิด 19 เช่น นวัตกรรมตรวจคัดกรองโควิด 19 จากลมหายใจ (Volatile Exhale Breath Analysis: VEBA) ของ รศ.(พิเศษ) นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญา โรงพยาบาลราชวิถี และ ดร.เธียร์สิทธิ์ นาสัมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ไม่ต้องเจ็บตัวในการแยงจมูกหรือเจาะเลือด และไม่ต้องใช้น้ำลาย โดยเป็นการวิเคราะห์ลมหายใจเพื่อจำแนกกลิ่นที่แตกต่างกันของคนติดเชื้อกับคนไม่ติดเชื้อ พบว่า มีความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) สูง สามารถรู้ผลตรวจได้ภายใน 5 นาที ช่วยคัดแยกผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันท่วงที และลดโอกาสในการระบาดของเชื้อโควิด 19 ในวงกว้างได้ มีค่าใช้จ่ายในการตรวจไม่เกิน 10 บาท/คน
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0hfPjnF1x7JyPzUAA49ovT8axq1sTfeTgdTs7KmcDmMv48WcCqh3FPRXcpwGPnAU7l
นายกฯ สั่งเฝ้าระวัง-ติดตามเชื้อกลายพันธุ์โควิด
ย้ำ !! ศบค.จังหวัด/กทม. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ บริหารจัดการกำจัดขยะติดเชื้อให้มีประสิทธิภาพ
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ซึ่งพบการระบาดในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แม้จะมีการแพร่ระบาดได้ง่าย แต่จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และจำนวนผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนผู้เสียชีวิต มีแนวโน้มคงที่ ขณะที่จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่คาดการณ์ไว้ จึงมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังและติดตามเชื้อกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามแผนที่วางไว้ เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลเกี่ยวกับผลสำเร็จในการดำเนินการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประเทศไทยซึ่งได้รับความชื่นชมและยอมรับจากต่างประเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั้งในและต่างประเทศได้รับทราบอย่างกว้างขวาง รวมถึงการขอความร่วมมือให้ประชาชนทุกภาคส่วน และผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สถานบริการต่าง ๆ ยังต้องเข้มข้นในการปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention และมาตรการ COVID - Free Setting ต่อเนื่องเคร่งครัด เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายกรัฐมนตรี กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานความร่วมมือกับผู้ให้บริการส่งอาหารของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ส่งสินค้าและผู้รับบริการ รวมไปถึงให้ ศบค. จังหวัด/กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ บริหารจัดการและกำจัดขยะติดเชื้อและหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ และรณรงค์ให้ประชาชนมีการแยกขยะติดเชื้อและหน้ากากอนามัยออกจากขยะทั่วไป เพื่อป้องกันการเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวด้วย
ที่มา : ไทยคู่ฟ้า
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02K3T6gNVCB14kW19X4ePeD398556PjvwVac2v6r1rqe8gNkTEfsnv47ja9ShQWJo6l
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 จำนวน 29 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02dC1z9gd3oMFonWDtZc6ipYKfhXguJQ7Nkoswm8BZLUnfexYDFJZhg9jTuWwPMCmCl
อย. มีสาระความรู้ดี ๆ ที่เกี่ยวกับยา Favipiravir มาแนะนำ ปชช. ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) การทราบข้อมูลการใช้ยาที่เพียงพอ จะทำให้เกิดการใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัย
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02QjhgHEofZa9qTexLNt48ohbHfeBWQvjCQvRX1myuEAjdDboEvp2BtgKAwv7mhZ7Al
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อเปิดบริการถึง 30 ก.ย.นี้ ไปฉีดเข็มกระตุ้นได้ทุกวัน ตั้งแต่ 09.00 – 16.00 น.
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ แจ้งเปิดให้บริการประชาชนถึงวันที่ 30 ก.ย.2565 นี้ (จากเดิม 31 ส.ค.65) สอดคล้องกับแผนการประกาศให้โรคโควิด19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2565 เป็นต้นไป
ปัจจุบันศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เน้นให้บริการฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นตั้งแต่เข็มที่ 3 ขึ้นไป โดยตั้งเป้าหมายฉีดเข็มกระตุ้นไว้ที่ 60-70% ของประชากร ซึ่งขณะนี้ ดำเนินการฉีดไปแล้วประมาณกว่า 50% ที่ผ่านมา ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด19 กับประชาชนไปแล้วกว่า 6.3 ล้านโดส
ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นตั้งแต่เข็ม 3 ขึ้นไป สามารถ Walk in หรือจองคิวล่วงหน้าเพื่อรับบริการได้ทุกวัน ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เวลา 09.00-16.00 น. ติดต่อประตู 2 จนถึง 30 ก.ย.นี้
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid0JmwhnpDMmqT8gDHJDx4X6Rw8UiHsZtP5PQ1gxSVdHcMqM8p5UB7F5tiP29gdme4Sl
1 ก.ย.65 นี้ ร้ายยาจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ตามใบสั่งแพทย์ รพ.เอกชนสั่งซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิดเองได้
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ศบค แถลงตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2565 เป็นต้นไป ร้านยาสามารถจ่ายยาต้านไวรัสรักษาโควิด19 เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ ได้ตามใบสั่งแพทย์ และหน่วยบริการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิดได้เองเช่นกัน ส่วนหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิดได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 เป็นต้นไป เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการรักษาผู้ป่วยโควิดได้มากขึ้น
ปัจจุบันสถานการณ์ยายังถือว่าเพียงพอ โดยมียาฟาวิพิราเวียร์ คงเหลือ 4.93 ล้านเม็ด ยาโมลนูพิราเวียร์ คงเหลือ 6.76 ล้านเม็ด ส่วนยาเรมเดซิเวียร์ คงเหลือ 3.84 หมื่นเม็ด
สำหรับข้อมูลการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ และ โมลนูพิราเวียร์ ของผู้ป่วยเฉลี่ยต่อวัน (ข้อมูล ณ 15 ส.ค.2565) พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยใช้ยาวันละ 13,957 คน แบ่งเป็นยาฟาวิพิราเวียร์เฉลี่ยวันละ 402,309 เม็ด ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์เฉลี่ยวันละ 236,446 เม็ด ซึ่งแนวโน้มการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ลดลงจากสัปดาห์แรกเดือน ก.ค.65 ที่เคยใช้สูงสุดวันละ 825,000 เม็ด ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์มีแนวโน้มการใช้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์แรกของเดือน ส.ค.65 ที่ใช้เฉลี่ยวันละ 166,413 เม็ด เป็น 236,446 เม็ด
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid0MuT9TD5emQRTnFEErbVJFRS7c4JkC2Se3nVdd2WnComgYfQQPpRJu8DaRKHzaKiDl
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0SAA5D32XxQrw85j9qBgnn5aVbFH7v9Hc86C1WqBnMPFnqn3zm9XEZuSiryqeJUeql
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 19 ส.ค. 2565)
รวม 142,363,254 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 19 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 38,846 โดส
เข็มที่ 1 : 3,982 ราย
เข็มที่ 2 : 9,455 ราย
เข็มที่ 3 : 25,409 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,212,520 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,637,001 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,513,733 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02jjdcnA5eoxhr5PjM8PaQzjaxPDVeHCAYPdaVRaWYUhX4SshQuFNFWw5H9iRBxXSWl
สธ. ชู นวัตกรรมการแพทย์ ในงานประชุม APEC Health Week
"เครื่องตรวจโควิดจากลมหายใจ" แม่นยำสูง รู้ผลตรวจภายใน 5 นาที
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในงานประชุม APEC Health Week ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กทม. ภายใต้หัวข้อ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์กับภาคี เชื่อมโยงกันกับโลก สู่สมดุลระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ” กรมการแพทย์ได้รับมอบหมายในการนำเสนอนิทรรศการนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ล้ำสมัย และเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้มารับบริการและบุคลากรทางการแพทย์ ตอบสนองนโยบายของชาติและความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการฟื้นฟูสุขภาพและเศรษฐกิจภายหลังการระบาดของโรคโควิด 19 เช่น นวัตกรรมตรวจคัดกรองโควิด 19 จากลมหายใจ (Volatile Exhale Breath Analysis: VEBA) ของ รศ.(พิเศษ) นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญา โรงพยาบาลราชวิถี และ ดร.เธียร์สิทธิ์ นาสัมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ไม่ต้องเจ็บตัวในการแยงจมูกหรือเจาะเลือด และไม่ต้องใช้น้ำลาย โดยเป็นการวิเคราะห์ลมหายใจเพื่อจำแนกกลิ่นที่แตกต่างกันของคนติดเชื้อกับคนไม่ติดเชื้อ พบว่า มีความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) สูง สามารถรู้ผลตรวจได้ภายใน 5 นาที ช่วยคัดแยกผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันท่วงที และลดโอกาสในการระบาดของเชื้อโควิด 19 ในวงกว้างได้ มีค่าใช้จ่ายในการตรวจไม่เกิน 10 บาท/คน
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0hfPjnF1x7JyPzUAA49ovT8axq1sTfeTgdTs7KmcDmMv48WcCqh3FPRXcpwGPnAU7l
นายกฯ สั่งเฝ้าระวัง-ติดตามเชื้อกลายพันธุ์โควิด
ย้ำ !! ศบค.จังหวัด/กทม. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ บริหารจัดการกำจัดขยะติดเชื้อให้มีประสิทธิภาพ
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ซึ่งพบการระบาดในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แม้จะมีการแพร่ระบาดได้ง่าย แต่จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และจำนวนผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนผู้เสียชีวิต มีแนวโน้มคงที่ ขณะที่จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่คาดการณ์ไว้ จึงมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังและติดตามเชื้อกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามแผนที่วางไว้ เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลเกี่ยวกับผลสำเร็จในการดำเนินการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประเทศไทยซึ่งได้รับความชื่นชมและยอมรับจากต่างประเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั้งในและต่างประเทศได้รับทราบอย่างกว้างขวาง รวมถึงการขอความร่วมมือให้ประชาชนทุกภาคส่วน และผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สถานบริการต่าง ๆ ยังต้องเข้มข้นในการปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention และมาตรการ COVID - Free Setting ต่อเนื่องเคร่งครัด เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายกรัฐมนตรี กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานความร่วมมือกับผู้ให้บริการส่งอาหารของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ส่งสินค้าและผู้รับบริการ รวมไปถึงให้ ศบค. จังหวัด/กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ บริหารจัดการและกำจัดขยะติดเชื้อและหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ และรณรงค์ให้ประชาชนมีการแยกขยะติดเชื้อและหน้ากากอนามัยออกจากขยะทั่วไป เพื่อป้องกันการเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวด้วย
ที่มา : ไทยคู่ฟ้า
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02K3T6gNVCB14kW19X4ePeD398556PjvwVac2v6r1rqe8gNkTEfsnv47ja9ShQWJo6l
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 จำนวน 29 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02dC1z9gd3oMFonWDtZc6ipYKfhXguJQ7Nkoswm8BZLUnfexYDFJZhg9jTuWwPMCmCl
อย. มีสาระความรู้ดี ๆ ที่เกี่ยวกับยา Favipiravir มาแนะนำ ปชช. ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) การทราบข้อมูลการใช้ยาที่เพียงพอ จะทำให้เกิดการใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัย
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02QjhgHEofZa9qTexLNt48ohbHfeBWQvjCQvRX1myuEAjdDboEvp2BtgKAwv7mhZ7Al
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อเปิดบริการถึง 30 ก.ย.นี้ ไปฉีดเข็มกระตุ้นได้ทุกวัน ตั้งแต่ 09.00 – 16.00 น.
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ แจ้งเปิดให้บริการประชาชนถึงวันที่ 30 ก.ย.2565 นี้ (จากเดิม 31 ส.ค.65) สอดคล้องกับแผนการประกาศให้โรคโควิด19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2565 เป็นต้นไป
ปัจจุบันศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เน้นให้บริการฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นตั้งแต่เข็มที่ 3 ขึ้นไป โดยตั้งเป้าหมายฉีดเข็มกระตุ้นไว้ที่ 60-70% ของประชากร ซึ่งขณะนี้ ดำเนินการฉีดไปแล้วประมาณกว่า 50% ที่ผ่านมา ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด19 กับประชาชนไปแล้วกว่า 6.3 ล้านโดส
ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นตั้งแต่เข็ม 3 ขึ้นไป สามารถ Walk in หรือจองคิวล่วงหน้าเพื่อรับบริการได้ทุกวัน ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เวลา 09.00-16.00 น. ติดต่อประตู 2 จนถึง 30 ก.ย.นี้
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid0JmwhnpDMmqT8gDHJDx4X6Rw8UiHsZtP5PQ1gxSVdHcMqM8p5UB7F5tiP29gdme4Sl
1 ก.ย.65 นี้ ร้ายยาจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ตามใบสั่งแพทย์ รพ.เอกชนสั่งซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิดเองได้
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ศบค แถลงตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2565 เป็นต้นไป ร้านยาสามารถจ่ายยาต้านไวรัสรักษาโควิด19 เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ ได้ตามใบสั่งแพทย์ และหน่วยบริการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิดได้เองเช่นกัน ส่วนหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิดได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 เป็นต้นไป เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการรักษาผู้ป่วยโควิดได้มากขึ้น
ปัจจุบันสถานการณ์ยายังถือว่าเพียงพอ โดยมียาฟาวิพิราเวียร์ คงเหลือ 4.93 ล้านเม็ด ยาโมลนูพิราเวียร์ คงเหลือ 6.76 ล้านเม็ด ส่วนยาเรมเดซิเวียร์ คงเหลือ 3.84 หมื่นเม็ด
สำหรับข้อมูลการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ และ โมลนูพิราเวียร์ ของผู้ป่วยเฉลี่ยต่อวัน (ข้อมูล ณ 15 ส.ค.2565) พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยใช้ยาวันละ 13,957 คน แบ่งเป็นยาฟาวิพิราเวียร์เฉลี่ยวันละ 402,309 เม็ด ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์เฉลี่ยวันละ 236,446 เม็ด ซึ่งแนวโน้มการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ลดลงจากสัปดาห์แรกเดือน ก.ค.65 ที่เคยใช้สูงสุดวันละ 825,000 เม็ด ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์มีแนวโน้มการใช้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์แรกของเดือน ส.ค.65 ที่ใช้เฉลี่ยวันละ 166,413 เม็ด เป็น 236,446 เม็ด
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid0MuT9TD5emQRTnFEErbVJFRS7c4JkC2Se3nVdd2WnComgYfQQPpRJu8DaRKHzaKiDl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💜มาลาริน💜🇹🇭20ส.ค.โควิดไทยอันดับ29โลก ไต้หวัน24/ป่วย1,902คน หาย1,986คน เสียชีวิต29คน/เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1021991
ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ "โควิด-19" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic
👉ประเมินความเสี่ยงด้านการป้องกัน
ขณะนี้ ทั่วโลกยังมีการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อหลังจากที่โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 ระบาด เนื่องจากการกลายพันธุ์ที่รวดเร็ว แต่จำนวนผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตไม่สูงมากเมื่อเทียบกับช่วงการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ BA.1/2 และเดลต้า
ผลการสำรวจภูมิต้านทานในประชาชนไทย เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565 พบว่า ประชาชน มากกว่าร้อยละ 90 ตรวจพบภูมิต้านทานต่อ Spike protein (anti-S) หรือ Nucleocapsid protein (anti-N) แล้ว
ข้อมูลศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนใช้จริงในไทย พบว่าการฉีด 3 เข็มขึ้นไปในทุกสูตร สามารถป้องกันการป่วยรุนแรง และการเสียชีวิตสูงมากกว่า 90% และต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ป้องกันการติดเชื้อได้ต่ำ
คาดการณ์ว่า โควิด-19 จะมีลักษณะการเกิดโรคในประชากรจะคล้ายคลึงกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ซึ่งจะพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่อาจมีการระบาดในบางช่วงเวลา โดยการป่วยที่รุนแรงเสียชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนและกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคร่วม (กลุ่ม608) ที่รับวัคซีนไม่ครบ
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1022061
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ.....