ความน่าเชื่อถือของการตีความกฏหมาย การวัดผลในเชิงคุณภาพ วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์

คือไม่รู้จะตั้งหัวข้อกระทู้อย่างไรให้ตรงกับความรูสึกเลยเอาด้วนๆแบบนี้ไปเลย
   ผมเรียนมาสายวิทย์ ทำงานก็สายวิทย์ การมองโลกจะเป็นถูก ผิด โจทย์ข้อหนึ่งจะมีคำตอบเดียว เช่น 1 + 1 ต้องเท่ากับ 2
แต่ในด้านสายศิลป์ เขาไม่ได้มองแบบนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าเขาคิดกันอย่างไร วัดกันอย่างไร
อย่างตอนเรียน อาจารย์จะเล่าให้ฟังว่า MBA เนี่ย พวกวิดวะจะได้ A กันหมดในวิชา Finance
แต่พอมา Margeting จะไปไม่เป็นกัน แพ้พวกสายบริหารหลุดลุ่ย
แต่พออายุมากขึ้นก็พอจะเข้าใจว่าจริงๆแล้วโลกเรามันมีสีเทาๆอีกหลายระดับ 
แต่พอดูข่าว ดูหนัง อ่านหนังสือจะพบว่าการตัดสินอะไรหลายอย่างไม่สามารถฟันธงได้ว่าอะไรผิด ถูก มันทำให้ผมหงุดหงิดมากๆ
เหมือนกับคำถามที่ไม่มีคำตอบ ตอบไปก้ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด กลายเป็นว่าแล้วแต่คนตรวจข้อสอบ 
แล้วความถูกต้อง มาตรฐานมันอยู่ตรงไหน
เรื่องนี้มันกวนใจผมมาตั้งแต่เด็กๆ จนตอนนี้จะมีการตีความเรื่อง 8 ปี มันเลยต้องออกมาถาม
อะไรคือมาตรฐาน อย่างศาลมี ๓ ชั้น แต่ละชั้นก็มีโอกาสพลิกคำพิพากษาได้ตลอด
หรือแม้แต่ในศาลฏีกา ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้เห็นตรงกันทุกคน
มันกลายเป็นว่า ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร ไปเสียนั่น
ถ้าจะบอกว่าอาศัยเสียงส่วนใหญ่ ก็ถ้าเอาโจร ๓ คน กับพระ  ๑ รูปมาโหวตกันว่าจะปล้นเขากินดีไหม
แน่นอน มันก็ต้องปล้นอยู่แล้ว แล้วจะอ้างเสียงส่วนใหญ่มันก็จะถูกหรือ
   อายุปานนี้แล้วยังตอบปัญหาพวกนี้ไม่ได้เลย
เขียนไปก็งงตัวเองไป มันวกวนพิกล แต่ก็มีปัญญาเรียบเรียงได้แค่นี้
คิดว่าคงจะพอมีคนเข้าใจความคิดของผม
ถ้ามีใครช่วยอธิบายได้จะเป็นพระคุณอย่างสูงเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่