พ่อแม่บางคนมักกังวลที่ลูกดูถนัดใช้มือซ้ายมากกว่า จนมีคำถามบ่อย ๆ ว่าต้องปรับเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของลูกหรือไม่ หรือปล่อยเลยตามเลย ตามความถนัดของเขา เพราะสมัยนี้การถนัดซ้ายก็เป็นที่ยอมรับและไม่ได้เป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน จะเห็นว่าคนมีชื่อเสียงในสังคมหลายคนก็ถนัดซ้าย
พี่หมอจะบอกว่า ทุกวันนี้การถนัดซ้ายไม่ใช่เรื่องแปลกในสังคมแล้วนะครับ แต่คนที่ถนัดขวามีมากกว่าและเครื่องมือของใช้ส่วนใหญ่พัฒนาและผลิตขึ้นมาเพื่อคนถนัดขวา ทำให้คนถนัดซ้ายมีปัญหากับการใช้งานค่อนข้างมาก เช่น นาฬิกา เครื่องดนตรี ที่เปิดฝาขวด หรือแม้การเขียนด้วยมือซ้ายจะทำให้มือไปทับตัวอักษรแล้วเลอะหมึก หรือถ้าเป็นเด็กโตขึ้นมาหน่อยก็อาจพบปัญหาจากการใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ เพราะโดยมากเมาส์จะถูกออกแบบมาเพื่อคนที่ถนัดขวา จนในบางประเทศเห็นความสำคัญของเรื่องการใช้ชีวิตจากมือซ้ายจึงมีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสมาคมและมีร้านค้าที่ผลิตสินค้าสำหรับคนถนัดซ้ายมากขึ้น เช่น ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าแรกของโลกที่ผลิตสินค้าเพื่อคนถนัดซ้าย หรือในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นร้านที่ทั้งคนถนัดซ้ายและขวาไปเลือกดูสินค้าที่ออกแบบมาให้ได้เลือกกัน ยิ่งปัจจุบันสินค้าต่าง ๆ ก็มีคำแนะนำที่บอกว่าใช้ได้ทั้งคนถนัดซ้ายและขวาอีกด้วย
การที่คนเราถนัดซ้ายถือเป็นเรื่องความถนัดตามธรรมชาติเฉพาะบุคคล ไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใดครับ จากสถิติพบว่าทั่วโลกมีคนถนัดขวาประมาณ 90% ขณะที่มีคนถนัดซ้ายประมาณ 10% ในการศึกษาที่ผ่านมาได้อธิบายถึงความถนัดของมนุษย์ว่าถูกกำหนดตามพันธุกรรม กระบวนการทำงานของสมองควบคุมกล้ามเนื้อและระบบประสาทสัมผัส คนที่ถนัดมือขวา จะมีการทำงานควบคุมทักษะกล้ามเนื้อโดยสมองซีกซ้าย ส่วนคนที่ถนัดซ้ายจะมีการทำงานควบคุมกล้ามเนื้อของสมองซีกขวา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ผิดธรรมชาติ
ในเด็กอายุ 0-1 ปี มักมีการใช้งานมือหรืออวัยวะ 2 ข้างเท่า ๆ กัน แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีการใช้มือถนัดข้างใดข้างหนึ่งในช่วงวัยดังกล่าวนี้ อาจต้องคอยเฝ้าระวังมากกว่าว่ามืออีกข้างนั้นมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือไม่ จะได้หาทางแก้ไข ฝึกหรือเพิ่มกิจกรรมให้เด็กได้ใช้มืออีกข้างเท่า ๆ กัน
ส่วนในช่วงอายุ 1-3 ปี เด็กโดยทั่วไปจะเริ่มแสดงให้เห็นว่าถนัดมือข้างไหน โดยจะสังเกตจากการใช้มือข้างนั้นในการหยิบจับของเล่น จับช้อนทานข้าว ซึ่งหากในช่วงวัยนี้ผู้ปกครองต้องการปรับเปลี่ยนความถนัดจากซ้ายให้เป็นขวาก็ควรทำในช่วงวัยนี้ เพราะการฝึกจะสามารถช่วยสร้างความเคยชินให้กับเด็กได้ โดยพ่อแม่ควรกระตุ้นให้เด็กหยิบจับของ จับดินสอ จับช้อนโดยมือขวาเป็นหลัก หรืออาจเป็นการฝึกเตะลูกฟุตบอล หรือให้ลองจับกีตาร์ที่เป็นของเล่นเด็ก หากเด็กทำได้ก็ต้องให้การชมเด็กด้วยคำพูด ลูบหรืออุ้ม ให้รางวัล ส่วนวิธีการฝึกฝนควรเป็นไปอย่างนุ่มนวล ไม่บังคับไม่กดดันเด็กจนเกินไป
เด็กช่วงอายุมากกว่า 3 ปี จะเริ่มแสดงให้เห็นถึงมือข้างที่ถนัดชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ นั่นแสดงถึงเด็กถนัดมือข้างนั้นไปแล้ว ซึ่งในช่วงอายุ 3 ขวบนี้ ไม่แนะนำการปรับเปลี่ยนความถนัดแล้ว ควรปล่อยไปตามธรรมชาติที่เด็กถนัด เพราะการไปปรับเปลี่ยนความถนัดเมื่อเด็กอายุมากแล้วอาจมีผลต่อพัฒนาการกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ มีผลกับพัฒนาการทางอารมณ์ และพฤติกรรมอื่น ๆ ของเด็กได้นะครับ
เด็กถนัดซ้ายบางคน มีจุดเด่น หลายอย่าง พ่อคุณแม่ควรส่งเสริมนะครับ เด็กถนัดซ้ายบางคนที่สมองซีกขวาทำงานได้ดี จะมาพร้อมความสามารถพิเศษบางอย่างในตัว อาทิ ความสามารถทางด้านศิลปะ เป็นเด็กช่างคิด ช่างจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าสังคมได้ดี มีความสามารถทางด้านภาษาเป็นพิเศษ เล่นกีฬาเก่ง เรียนเก่ง ความจำดี คิดเร็ว ทำอะไรที่ยากซับซ้อน หรือทำไปพร้อมกันหลาย ๆ อย่างได้ดี
อย่างไรก็ตามไม่ว่าลูกจะถนัดซ้ายหรือขวาก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เด็ก ๆ ต่างก็สามารถดำเนินชีวิต มีพัฒนาการที่ดีตามวัย มีความสุขและประสบความสำเร็จได้ เห็นจากคนสำคัญระดับโลก นักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายคนที่ถนัดซ้ายก็ไม่ได้มีปัญหาในการใช้ชีวิตแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, สตีฟ จ็อบส์, เลดี้ กาก้า ล้วนแต่ถนัดมือซ้ายทั้งสิ้นครับ
ส่วนอุปกรณ์หรือสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ ก็มีสำหรับบุคคลที่ถนัดซ้ายอยู่ทั่วไป เพียงแต่ตอนเลือกซื้อก็อาจต้องหาข้อมูลหรือสอบถามทางผู้จำหน่ายหรือพนักงานที่ร้านว่ามีสำหรับคนถนัดซ้ายหรือไม่ หาอุปกรณ์ที่เหมาะกับลูกถนัดซ้าย เพราะของบางชิ้นทำมาเพื่อคนถนัดขวา คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องสังเกตในการซื้อของเล่นหรือของใช้ให้ลูก ว่าเหมาะกับความถนัดซ้ายของลูกไหม
สิ่งสำคัญกว่าคือการที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ รู้ทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก หาทักษะความถนัดของลูกในด้านอื่นๆ เพื่อสร้างเวลาแห่งความรักและความสุขที่ดีร่วมกันในครอบครัวนะครับ😃
ผิดมั้ยถ้าลูกถนัดมือซ้าย
ในเด็กอายุ 0-1 ปี มักมีการใช้งานมือหรืออวัยวะ 2 ข้างเท่า ๆ กัน แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีการใช้มือถนัดข้างใดข้างหนึ่งในช่วงวัยดังกล่าวนี้ อาจต้องคอยเฝ้าระวังมากกว่าว่ามืออีกข้างนั้นมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือไม่ จะได้หาทางแก้ไข ฝึกหรือเพิ่มกิจกรรมให้เด็กได้ใช้มืออีกข้างเท่า ๆ กัน
ส่วนในช่วงอายุ 1-3 ปี เด็กโดยทั่วไปจะเริ่มแสดงให้เห็นว่าถนัดมือข้างไหน โดยจะสังเกตจากการใช้มือข้างนั้นในการหยิบจับของเล่น จับช้อนทานข้าว ซึ่งหากในช่วงวัยนี้ผู้ปกครองต้องการปรับเปลี่ยนความถนัดจากซ้ายให้เป็นขวาก็ควรทำในช่วงวัยนี้ เพราะการฝึกจะสามารถช่วยสร้างความเคยชินให้กับเด็กได้ โดยพ่อแม่ควรกระตุ้นให้เด็กหยิบจับของ จับดินสอ จับช้อนโดยมือขวาเป็นหลัก หรืออาจเป็นการฝึกเตะลูกฟุตบอล หรือให้ลองจับกีตาร์ที่เป็นของเล่นเด็ก หากเด็กทำได้ก็ต้องให้การชมเด็กด้วยคำพูด ลูบหรืออุ้ม ให้รางวัล ส่วนวิธีการฝึกฝนควรเป็นไปอย่างนุ่มนวล ไม่บังคับไม่กดดันเด็กจนเกินไป
อย่างไรก็ตามไม่ว่าลูกจะถนัดซ้ายหรือขวาก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เด็ก ๆ ต่างก็สามารถดำเนินชีวิต มีพัฒนาการที่ดีตามวัย มีความสุขและประสบความสำเร็จได้ เห็นจากคนสำคัญระดับโลก นักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายคนที่ถนัดซ้ายก็ไม่ได้มีปัญหาในการใช้ชีวิตแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, สตีฟ จ็อบส์, เลดี้ กาก้า ล้วนแต่ถนัดมือซ้ายทั้งสิ้นครับ
ส่วนอุปกรณ์หรือสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ ก็มีสำหรับบุคคลที่ถนัดซ้ายอยู่ทั่วไป เพียงแต่ตอนเลือกซื้อก็อาจต้องหาข้อมูลหรือสอบถามทางผู้จำหน่ายหรือพนักงานที่ร้านว่ามีสำหรับคนถนัดซ้ายหรือไม่ หาอุปกรณ์ที่เหมาะกับลูกถนัดซ้าย เพราะของบางชิ้นทำมาเพื่อคนถนัดขวา คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องสังเกตในการซื้อของเล่นหรือของใช้ให้ลูก ว่าเหมาะกับความถนัดซ้ายของลูกไหม
สิ่งสำคัญกว่าคือการที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ รู้ทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก หาทักษะความถนัดของลูกในด้านอื่นๆ เพื่อสร้างเวลาแห่งความรักและความสุขที่ดีร่วมกันในครอบครัวนะครับ😃