ทฤษฎีสองสูง กับ เงินเฟ้อ และกรณีตัวอย่าง : ตุรกี

กระทู้คำถาม
เวลาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มักจะมีคนแย้งว่า ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น แต่กลับกัน ค่าครองชีพและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตลอดเวลา โดยไม่สนใจว่า ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ เผลอ ค่าแรงเป็นแค่ต้นทุนส่วนน้อยจากทั้งหมด

ตัวอย่าง ก็ ตุรกี เงินเฟ้อล่อไปเกือบ 3 หลัก แต่ ศก. ก็ยังปกติดี gdp โต เยอะกว่าไทยอีก บางปีก็โดดไป 2 หลัก

https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=TR

และภาพรวมดูไม่มีปัญหาอะไร เพราะรัฐบาลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำบ่อยมาก  ปีนึงหลายรอบ ผิดกับของไทยที่ไม่ขึ้นมาเป็นปีแล้ว กำลังซื้อรากหญ้าจึงถดถอยลงเรื่อยๆ

ทีนี้ ถ้าไทยใช้โมเดล ศ.ก แบบเดียวกัน ดอกเบี้ยจากที่ 0.75 % ตอนนี้ ก็ลดเหลือสัก 0.1 % ขึ้นค่าแรง 10 % ทุกเดือน ย้ำว่าทุกเดือน รักษาระดับเงินเฟ้อสูง สัก 50-60 % เป็นอย่างน้อย พิมพ์เงินเข้าระบบ ขายพันธบัตร ทำยอดให้ได้ เดือนละ 1 ล้านล้านบาทๆ สำหรับอัดฉีดเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ให้ ศ.ก ร้อนแรงสุดๆ แม้ว่าการทำเช่นนี้ จะทำให้ค่าเงินบาทด้อยค่าลงอย่างมาก แต่ก็เป็นข้อดีไปในตัว ที่ สินค้านำเข้า หรือ การท่องเที่ยวต่างประเทศจะแพงมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศจนคนในประเทศจ่ายไม่ได้ เงินก็จะไม่รั่วไหล แถมเป็นการดึงดูดการลงทุนและการท่องเที่ยวไปในตัว

อย่าลืมว่า ตุรกีก็ผลิตสินค้าบริโภค และ อุตสาหกรรม ได้อย่างไทย โดรนที่ยูเครนแล้วหนึ่งเลยแทบไม่มีปัญหาขาดแคลนสินค้าในขณะที่เงินเฟ้อสูง

สรุป ถ้าเงินเฟ้อปีละ 100 % แต่ gdp โตปีละสองหลัก ยังไงก็ย่อมดีกว่า ต่อการพัฒนาประเทศ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่