ระบบTagถูกต้องตามกฏ
https://www.thairath.co.th/news/politic/2470267
ไทยรัฐออนไลน์
ข่าว
การเมือง
12 ส.ค. 2565 09:47 น.
ความไม่เด็ดขาดของ "กองทัพเรือ" ต่อการจัดซื้อโครงการเรือดำน้ำ S26T หลังครบกำหนด 60 วัน เมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา หลังไทยขีดเส้นให้ ของจีน เมื่อ 9 มิ.ย. 65 จะต้องจัดหาเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมัน มาติดตั้งเรือดำน้ำลำแรกของราชนาวีไทย
แต่เมื่อถึงเส้นตาย "กองทัพเรือไทย" ไม่ได้รับคำตอบใดๆ จากบริษัท CSOC ของจีน แต่กลับส่งสเปกเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนผลิตเอง พร้อมข้อความ ระบุจะติดตั้งทดแทน เครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมันให้ จึงส่อเค้าไม่เป็นไปตามสัญญา แม้ทางฝ่ายไทยจะทวงไป และขอให้ยึดตามสัญญาเดิม
การดึงเวลาของจีน ทั้งๆ ที่รู้ว่า "เยอรมัน" ไม่มีทางขายเครื่องยนต์ MTU 396 ให้ แม้จะพยายามติดต่อเพื่อขอจัดซื้อด้วยวิธีการใดก็ตามก็ไม่เป็นผล เพราะทางเยอรมันยืนกรานไม่ขายให้เด็ดขาด
จึงดูเหมือนโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำของ ทร.ไทย จะส่อไม่ตรงปก ได้เครื่องไม่ตรงสเปก เหมือนไทยกำลังถูกสับขาหลอก ที่ฝ่ายจีนหาเครื่องยนต์มาไม่ได้
แถมตีขุมใช้กลลวง เพื่อเตะถ่วง และกล่อมให้กองทัพเรือไทย ยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนผลิตเองใส่ทดแทนเครื่องเยอรมัน แต่เมื่อหันดูกำลังรบทาง ทร.จีน กลับพบว่าเครื่องรุ่นนี้ไม่มีการใช้งานในเรือดำน้ำของจีน ทำให้การจัดซื้อครั้งนี้อาจจะบานปลายถึงขั้นต้องยกเลิกสัญญา
และหาย้อนกลับไปพบว่า เรือดำน้ำ S26T กว่าที่ "กองทัพเรือ" จะได้รับการอนุมัติจัดซื้อ ต้องฝ่าฝันอุปสรรคมามากหลายรัฐบาล กระทั่งรัฐบาลทหารในยุค คสช. จึงอนุมัติการการจัดซื้อเมื่อ 18 เม.ย. 2560 ด้วยงบประมาณ 13,500 ล้านบาท โดยแบ่งชำระเงินเป็น 7 ปี รวม 17 งวด ประเดิมงวดแรกปี 2560 จำนวน 700 ล้านบาท ส่วนปีที่ 2561-2566 จะชำระเฉลี่ยปีละ 2,100 ล้านบาท
ขณะที่ พล.ร.อ.เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการเรือดำน้ำ ยืนยันว่า กองทัพเรือไม่ได้ยกเลิกโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ เพราะเป็นยุทธศาสตร์ชาติของกองทัพเรือ ส่วนจะมีการแก้ไขสัญญาหรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้ ซึ่งเรายังยืนยันตามสัญญาเดิม และเชื่อว่าเรื่องนี้คงจะมีทางออก สุดท้ายทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีนคงต้องมาพูดกันว่าจะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร ถ้าถามว่ากองทัพเรืออยากได้เรือดำน้ำหรือไม่ เราอยากได้เรือดำน้ำแน่นอน 100% ส่วนจะอยากได้แบบไหนก็คงต้องตอบว่า อยากได้ตามสัญญาที่ลงนามเอาไว้ทั้ง 2 ฝ่าย
นอกจากนี้ พล.ร.ท.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ ระบุว่า ขณะนี้ทางจีนได้ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปกเครื่องยนต์ CHD 620 ที่ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อติดตั้งทดแทนเครื่องยนตร์ MTU 396 ของเยอรมันจากที่ได้เสนอมาเมื่อสองเดือนที่แล้ว ซึ่งเสนาธิการทหารเรือได้พิจารณาร่วมกับกรมอู่ทหารเรือแล้วว่าน่าจะมีประโยชน์ จึงได้นำไปดูรายละเอียดอีกครั้งในเรื่องสเปก และคุณสมบัติต่างว่าเทียบเท่า หรือดีกว่าเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมันหรือไม่
ซึ่งการพิจารณาจะรู้ผลในวันที่ 15 ก.ย. อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาแล้ว ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่เราต้องการก็จะไม่ขยายเวลาไปในระยะที่ 3 แล้ว
"หากพิจารณาแล้วเห็นว่าสเปกเครื่องยนต์ที่จีนส่งมาใหม่ดี กองทัพเรือก็จะให้จีนส่งตัวเครื่องยนต์มาทดสอบ และถ้าผ่านขั้นตอนนี้ ก็ไม่ต้องแก้ไขสัญญาเดิม เนื่องจากของเดิมเขียนไว้ว่า กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการหาส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ก็สามารถหาอุปกรณ์ที่ดีกว่าหรือเทียบเท่ามาทดแทนได้"
ที่ผ่านมาจีนเคยเสนอมา 2 ครั้ง แต่เครื่องยนต์มีความบกพร่อง จึงยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเครื่องยนต์นี้ดีกว่าหรือเทียบเท่า MTU พร้อมยืนยันกองทัพเรือจะได้ประโยชน์แน่นอนหากเครื่องยนต์ที่เสนอมาใหม่ดี แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบจนกว่ากรมอู่ทหารเรือได้พิจารณา
เพราะหากเครื่องยนต์ที่ส่งมาไม่ผ่านการพิจารณาก็ต้องยกเลิกสัญญา แต่ก็ไม่อยากให้ไปถึงจุดหนึ่ง เพราะต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่ เข้าสู่การเจรจาของรัฐบาลกับรัฐบาล เพราะทร.และ CSOC เป็นตัวแทนรัฐบาลของแต่ละประเทศ ในการเซ็นสัญญาสร้างเรือดำน้ำ ไม่ว่ากรณีใดที่ไม่สามารถสร้างเรือดำน้ำ คู่สัญญาก็ทำหน้าที่ยกเลิกสัญญา ก็เป็นเรื่องรัฐบาลก็ต้องคุยกันในเรื่องเงินงวดที่ได้จ่ายไปแล้วว่าจะมีการชดเชยอย่างไร
"ยืนยันกองทัพเรือไม่ประมาท เพราะเครื่องยนต์มีความสำคัญในความปลอดภัย และชีวิตกำลังพลทร.จะไม่เสี่ยงเพราะอันตราย ต้องพิจารณาให้ดีที่สุด รอบคอบ พร้อมยืนยันไม่มีใบสั่ง แต่จะทำด้วยความรอบคอบ"
ล่าสุดดูเหมือน "กองทัพเรือ" จะยอมรับ การไม่ได้รับเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมันแน่ จึงมอบหมายให้คณะทำงานด้านเทคนิคของกองทัพเรือไปพิจารณาในรายละเอียดด้านเทคนิค โดยกำหนดให้ส่งข้อมูลการพิจารณาให้ทราบภายในวันที่ 15 กันยายน 2565 เพื่อนำผลการพิจารณามาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจ
กระทั่งมีสิ่งบอกเหตุเหมือน "กองทัพเรือไทย" ยอมรับสภาพแล้ว ทำให้เข้าทาง "จีน" ที่ยืนยันเสนอเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 พร้อมส่งข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ทั้งด้านเทคนิค ให้ทางกองทัพเรือ
แถมมีข้อเสนอเพื่อเป็นการปลอบใจให้ ทร.ไทย โดยจะยก เรือดำน้ำชั้นซ่ง (Song) มือสอง 2 ลำ ให้ทหารเรือได้ฝึก ศึกษา โดยเป็นการเสนอแบบให้เปล่า ในฐานะมิตรประเทศ ซึ่งโครงสร้างภายในเรือใกล้เคียงกับ เรือดำน้ำ S26T ชั้นหยวน เพื่อให้กำลังพลประจำการในเรือดำน้ำ S26T ระหว่างต่อเรือ และรอจัดหาติดตั้งเครื่องยนต์ MTU จากเยอรมนี ก่อนครบกำหนดส่งมอบได้เรียนรู้
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ ทร. ยอมถอยเพื่อฉีกสัญญาตามข้อเสนอจีน มาใช้เครื่องยนต์ CHD620 กับเรือดำน้ำ S26T แทนเครื่อง MTU 396 จากเยอรมัน หลังจีนกล่อมไทยสำเร็จ ยกเครื่อง CHD620 ดีเท่า หรือดีกว่า MTU 396 และจะติดตั้งให้เรือดำน้ำไทย และเรือดำน้ำปากีสถาน เป็น 2 ชาติแรก
กระทั่ง ทร. มอบหมายให้ "กรมอู่ทหารเรือ" ตั้งคณะทำงานเทคนิค ศึกษาเครื่องยนต์ และขอเครื่องจริงมาพิสูจน์ด้านสมรรถนะ พร้อมแบะท่าหากผ่าน พร้อมเปลี่ยนเครื่องยนต์ทันที
ก่อนที่ "กองทัพเรือ" จะออกมาชี้แจง ยืนยันงบประมาณที่ได้รับจะถูกใช้อย่างคุ้มค่า เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ แม้โครงการจัดหาเรือดำน้ำอาจจะมีอุปสรรคบ้าง แต่ก็จะพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด และย้ำทุกโครงการเป็นไปด้วยความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
ผู้เขียน : ยุทธจักรเขียว
กราฟิก : Anon Chantanant
......ทร. ยอมถอย "เรือดำน้ำ" ไม่ตรงปก ขายเรือ-ไร้เครื่อง ส่อพ่ายกลลวง "จีน"......
https://www.thairath.co.th/news/politic/2470267
ไทยรัฐออนไลน์
ข่าว
การเมือง
12 ส.ค. 2565 09:47 น.
ความไม่เด็ดขาดของ "กองทัพเรือ" ต่อการจัดซื้อโครงการเรือดำน้ำ S26T หลังครบกำหนด 60 วัน เมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา หลังไทยขีดเส้นให้ ของจีน เมื่อ 9 มิ.ย. 65 จะต้องจัดหาเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมัน มาติดตั้งเรือดำน้ำลำแรกของราชนาวีไทย
แต่เมื่อถึงเส้นตาย "กองทัพเรือไทย" ไม่ได้รับคำตอบใดๆ จากบริษัท CSOC ของจีน แต่กลับส่งสเปกเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนผลิตเอง พร้อมข้อความ ระบุจะติดตั้งทดแทน เครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมันให้ จึงส่อเค้าไม่เป็นไปตามสัญญา แม้ทางฝ่ายไทยจะทวงไป และขอให้ยึดตามสัญญาเดิม
การดึงเวลาของจีน ทั้งๆ ที่รู้ว่า "เยอรมัน" ไม่มีทางขายเครื่องยนต์ MTU 396 ให้ แม้จะพยายามติดต่อเพื่อขอจัดซื้อด้วยวิธีการใดก็ตามก็ไม่เป็นผล เพราะทางเยอรมันยืนกรานไม่ขายให้เด็ดขาด
จึงดูเหมือนโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำของ ทร.ไทย จะส่อไม่ตรงปก ได้เครื่องไม่ตรงสเปก เหมือนไทยกำลังถูกสับขาหลอก ที่ฝ่ายจีนหาเครื่องยนต์มาไม่ได้
แถมตีขุมใช้กลลวง เพื่อเตะถ่วง และกล่อมให้กองทัพเรือไทย ยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนผลิตเองใส่ทดแทนเครื่องเยอรมัน แต่เมื่อหันดูกำลังรบทาง ทร.จีน กลับพบว่าเครื่องรุ่นนี้ไม่มีการใช้งานในเรือดำน้ำของจีน ทำให้การจัดซื้อครั้งนี้อาจจะบานปลายถึงขั้นต้องยกเลิกสัญญา
และหาย้อนกลับไปพบว่า เรือดำน้ำ S26T กว่าที่ "กองทัพเรือ" จะได้รับการอนุมัติจัดซื้อ ต้องฝ่าฝันอุปสรรคมามากหลายรัฐบาล กระทั่งรัฐบาลทหารในยุค คสช. จึงอนุมัติการการจัดซื้อเมื่อ 18 เม.ย. 2560 ด้วยงบประมาณ 13,500 ล้านบาท โดยแบ่งชำระเงินเป็น 7 ปี รวม 17 งวด ประเดิมงวดแรกปี 2560 จำนวน 700 ล้านบาท ส่วนปีที่ 2561-2566 จะชำระเฉลี่ยปีละ 2,100 ล้านบาท
ขณะที่ พล.ร.อ.เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการเรือดำน้ำ ยืนยันว่า กองทัพเรือไม่ได้ยกเลิกโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ เพราะเป็นยุทธศาสตร์ชาติของกองทัพเรือ ส่วนจะมีการแก้ไขสัญญาหรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้ ซึ่งเรายังยืนยันตามสัญญาเดิม และเชื่อว่าเรื่องนี้คงจะมีทางออก สุดท้ายทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีนคงต้องมาพูดกันว่าจะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร ถ้าถามว่ากองทัพเรืออยากได้เรือดำน้ำหรือไม่ เราอยากได้เรือดำน้ำแน่นอน 100% ส่วนจะอยากได้แบบไหนก็คงต้องตอบว่า อยากได้ตามสัญญาที่ลงนามเอาไว้ทั้ง 2 ฝ่าย
นอกจากนี้ พล.ร.ท.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ ระบุว่า ขณะนี้ทางจีนได้ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปกเครื่องยนต์ CHD 620 ที่ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อติดตั้งทดแทนเครื่องยนตร์ MTU 396 ของเยอรมันจากที่ได้เสนอมาเมื่อสองเดือนที่แล้ว ซึ่งเสนาธิการทหารเรือได้พิจารณาร่วมกับกรมอู่ทหารเรือแล้วว่าน่าจะมีประโยชน์ จึงได้นำไปดูรายละเอียดอีกครั้งในเรื่องสเปก และคุณสมบัติต่างว่าเทียบเท่า หรือดีกว่าเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมันหรือไม่
ซึ่งการพิจารณาจะรู้ผลในวันที่ 15 ก.ย. อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาแล้ว ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่เราต้องการก็จะไม่ขยายเวลาไปในระยะที่ 3 แล้ว
"หากพิจารณาแล้วเห็นว่าสเปกเครื่องยนต์ที่จีนส่งมาใหม่ดี กองทัพเรือก็จะให้จีนส่งตัวเครื่องยนต์มาทดสอบ และถ้าผ่านขั้นตอนนี้ ก็ไม่ต้องแก้ไขสัญญาเดิม เนื่องจากของเดิมเขียนไว้ว่า กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการหาส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ก็สามารถหาอุปกรณ์ที่ดีกว่าหรือเทียบเท่ามาทดแทนได้"
ที่ผ่านมาจีนเคยเสนอมา 2 ครั้ง แต่เครื่องยนต์มีความบกพร่อง จึงยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเครื่องยนต์นี้ดีกว่าหรือเทียบเท่า MTU พร้อมยืนยันกองทัพเรือจะได้ประโยชน์แน่นอนหากเครื่องยนต์ที่เสนอมาใหม่ดี แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบจนกว่ากรมอู่ทหารเรือได้พิจารณา
เพราะหากเครื่องยนต์ที่ส่งมาไม่ผ่านการพิจารณาก็ต้องยกเลิกสัญญา แต่ก็ไม่อยากให้ไปถึงจุดหนึ่ง เพราะต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่ เข้าสู่การเจรจาของรัฐบาลกับรัฐบาล เพราะทร.และ CSOC เป็นตัวแทนรัฐบาลของแต่ละประเทศ ในการเซ็นสัญญาสร้างเรือดำน้ำ ไม่ว่ากรณีใดที่ไม่สามารถสร้างเรือดำน้ำ คู่สัญญาก็ทำหน้าที่ยกเลิกสัญญา ก็เป็นเรื่องรัฐบาลก็ต้องคุยกันในเรื่องเงินงวดที่ได้จ่ายไปแล้วว่าจะมีการชดเชยอย่างไร
"ยืนยันกองทัพเรือไม่ประมาท เพราะเครื่องยนต์มีความสำคัญในความปลอดภัย และชีวิตกำลังพลทร.จะไม่เสี่ยงเพราะอันตราย ต้องพิจารณาให้ดีที่สุด รอบคอบ พร้อมยืนยันไม่มีใบสั่ง แต่จะทำด้วยความรอบคอบ"
ล่าสุดดูเหมือน "กองทัพเรือ" จะยอมรับ การไม่ได้รับเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมันแน่ จึงมอบหมายให้คณะทำงานด้านเทคนิคของกองทัพเรือไปพิจารณาในรายละเอียดด้านเทคนิค โดยกำหนดให้ส่งข้อมูลการพิจารณาให้ทราบภายในวันที่ 15 กันยายน 2565 เพื่อนำผลการพิจารณามาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจ
กระทั่งมีสิ่งบอกเหตุเหมือน "กองทัพเรือไทย" ยอมรับสภาพแล้ว ทำให้เข้าทาง "จีน" ที่ยืนยันเสนอเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 พร้อมส่งข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ทั้งด้านเทคนิค ให้ทางกองทัพเรือ
แถมมีข้อเสนอเพื่อเป็นการปลอบใจให้ ทร.ไทย โดยจะยก เรือดำน้ำชั้นซ่ง (Song) มือสอง 2 ลำ ให้ทหารเรือได้ฝึก ศึกษา โดยเป็นการเสนอแบบให้เปล่า ในฐานะมิตรประเทศ ซึ่งโครงสร้างภายในเรือใกล้เคียงกับ เรือดำน้ำ S26T ชั้นหยวน เพื่อให้กำลังพลประจำการในเรือดำน้ำ S26T ระหว่างต่อเรือ และรอจัดหาติดตั้งเครื่องยนต์ MTU จากเยอรมนี ก่อนครบกำหนดส่งมอบได้เรียนรู้
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ ทร. ยอมถอยเพื่อฉีกสัญญาตามข้อเสนอจีน มาใช้เครื่องยนต์ CHD620 กับเรือดำน้ำ S26T แทนเครื่อง MTU 396 จากเยอรมัน หลังจีนกล่อมไทยสำเร็จ ยกเครื่อง CHD620 ดีเท่า หรือดีกว่า MTU 396 และจะติดตั้งให้เรือดำน้ำไทย และเรือดำน้ำปากีสถาน เป็น 2 ชาติแรก
กระทั่ง ทร. มอบหมายให้ "กรมอู่ทหารเรือ" ตั้งคณะทำงานเทคนิค ศึกษาเครื่องยนต์ และขอเครื่องจริงมาพิสูจน์ด้านสมรรถนะ พร้อมแบะท่าหากผ่าน พร้อมเปลี่ยนเครื่องยนต์ทันที
ก่อนที่ "กองทัพเรือ" จะออกมาชี้แจง ยืนยันงบประมาณที่ได้รับจะถูกใช้อย่างคุ้มค่า เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ แม้โครงการจัดหาเรือดำน้ำอาจจะมีอุปสรรคบ้าง แต่ก็จะพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด และย้ำทุกโครงการเป็นไปด้วยความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
ผู้เขียน : ยุทธจักรเขียว
กราฟิก : Anon Chantanant