สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
ส่วนตัวแล้วผมไม่เชื่อว่าอังกฤษ จะมาจาก anglais ในภาษาฝรั่งเศสอย่างที่มีหลายแห่งอ้างกันครับ
สยามมีการติดต่อกับชาวอังกฤษมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนกลาง โดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1612 (พ.ศ. 2155) รัชกาลพระเจ้าทรงธรรม แม้จะไม่ได้แน่นแฟ้นมากแต่มีหลักฐานว่าพ่อค้าอังกฤษได้มีการทำการค้าอยู่เนืองๆ ในขณะที่ฝรั่งเศสเพิ่งเริ่มเข้ามาในสยามในช่วงต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ แม้จะมีหลักฐานว่าเริ่มติดต่อกันบ้างแต่กว่าจะมีการเจริญสัมพันธไมตรีอย่างเป็นทางการจริงๆ และฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากก็เป็นช่วงท้ายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มากแล้ว และก็ถูกพระเพทราชาขับไล่ออกไปในเวลาอันสั้น ชาวฝรั่งเศสที่เหลืออยู่ในสยามมีไม่มาก พิจารณาแล้วดูเป็นไปได้ยากที่ภาษาฝรั่งเศสจะขึ้นมามีอิทธิพลในการเรียกนามชาติต่างประเทศอื่นในสยามเวลานั้นครับ
นอกจากนี้ ภาษากลาง (lingual franca) ที่สยามรวมถึงอาณาจักรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคนั้นใช้ติดต่อกับชาติยุโรปคือภาษาโปรตุเกส เพราะโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนชาติอื่นๆ และทรงอิทธิพลในภูมิภาคมายาวนานถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17
สำหรับสยามก็ปรากฏหลักฐานว่าใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษากลางติดต่อกับชาติตะวันตกมายาวนาน ในสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1687 (พ.ศ. 2230) รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ยังต้องเขียนเป็นสามภาษาคือ ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาโปรตุเกส ในฉบับภาษาไทยมีการแปลทับศัพท์ภาษาโปรตุเกส เช่น เรียกตำแหน่งของราชทูตลา ลูแบร์ว่า "อิงวิยาโดรเอกโตรวิยารี" ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคือ enviado extraordinário ไม่ได้แปลจากฝรั่งเศสคือ envoyé extraordinaire จึงแสดงว่าในการแปลสนธิสัญญาฉบับภาษาฝรั่งเศส ได้แปลเป็นภาษาโปรตุเกสก่อนแล้วแปลเป็นภาษาไทยอีกต่อหนึ่ง เช่นเดียวกับในบันทึกของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) หรือ โกษาปาน เมื่อเดินทางไปฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1686 (พ.ศ. 2229) มีหลายคำที่เรียกทับศัพท์จากภาษาโปรตุเกส
บันทึกของพระอธิการ เดอ ชัวซีย์ (François Timoléon, abbé de Choisy) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุทธยาใน ค.ศ. 1685 (พ.ศ.2228) ระบุว่าขุนนางไทยตอนนั้นสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ทุกคน เรื่องนี้อาจฟังดูเกินจริงไปบ้าง จริงๆน่าจะพูดได้แค่ขุนนางกรมพระคลังที่มีหน้าที่ติดต่อกับชาวต่างประเทศโดยตรงมากกว่า แต่สะท้อนให้เห็นได้ดีว่าภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาหลักที่สำคัญในเวลานั้น
ด้วยเหตุนี้ คำว่า "อังกฤษ" จึงไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียกตามภาษาอังกฤษโดยตรง แต่อาจเรียกด้วยชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอื่นได้ครับ โดยอาจจะได้รับอิทธิพลจากสำเนียงภาษาอื่นที่สยามเคยติดต่อมาก่อนหน้าอังกฤษก็ได้
คำว่า "อังกฤษ" ในภาษาไทย ปรากฏหลักฐานนประมวลกฎหมายสมัยอยุทธยาที่ถูกชำระเรียบเรียงไว้ในกฎหมายตราสามดวงหลายฉบับ เช่น ประกาศพระราชบัญญัติของกฎหมายอาชญาหลวง ระบุศักราช 1976 ปีกุน ในรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเดจ์พระเจ้าเอกาทธรฐอิศรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว" กล่าวถึงชาติต่างประเทศคือ "ฝารังอังกริดกระปิตันวิลันดาคุลาฉะวามลายูแขกกวยแกว"
(ศักราชน่าจะผิด เพราะพระนามกษัตริย์แบบนี้นิยมใช้แพร่หลายหลังรัชกาลสมเด็จพระนเรศลงมา และกล่าวถึงวิลันดา (ดัตช์) ที่เพิ่งเข้ามาติดต่อกับสยามปลายรัชกาลพระนเรศ ที่ถูกควรจะเป็นจุลศักราช 976 หรือ พ.ศ. 2157 สมัยพระเจ้าทรงธรรม ปีนักษัตรควรจะเป็นปีขาล แต่อาจเป็นการชำระเรียบเรียงในสมัยพระเจ้าปราสาททองที่ลบปีนักษัตรย้อนไปสามปี ปีขาลจึงเป็นปีกุน)
กฎหมายอาชญาหลวง มาตรา 37 กล่าวถึง "แขกพราหมณยวนประเทศฝารังอังกฤษจีนจามวิลันดาฉวามลายูกวยขอมพม่ารามัญ"
พระราชกำหนดเก่าฉบับที่ 36 จุลศักราช 1025 (พ.ศ. 2206) ต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ กล่าวว่า "ทุกวันนี้แขกฝรังอังกฤษคุลามะลายูนา ๆ ประเทศเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารเปนอันมาก แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ห้ามอย่าให้ไทมอญลาวลอบลักไปซ่องเสพเมถุนณกรรมด้วยแขกฝรังอังกฤษคุลามะลายูซึ่งถือฝ่ายมิดฉาทิฐิ"
ชาวฝรั่งเศส เพิ่งปรากฏหลักฐานว่ามีบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศกรุงปารีสเดินทางมาถึงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1662 (พ.ศ. 2205) เพียงหนึ่งปีก่อนหน้าพระราชกำหนดฉบับนี้จะออก และเพียงแต่เข้ามาพำนักยังไม่ได้ติดต่อกับสยามอย่างเป็นทางการเลย แต่จากพระราชกำหนดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะเห็นว่ามีการใช้คำว่า "อังกฤษ" อย่างชัดเจน และยังระบุว่าเป็นหนึ่งในชาวต่างประเทศที่เข้ามาจำนวนมากแล้วในเวลานั้น
จึงอนุมานได้ว่าคำว่า "อังกฤษ" ในภาษาไทยควรมีใช้ก่อนที่ชาวฝรั่งเศสเข้ามานานพอสมควรแล้ว และไม่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากภาษาฝรั่งเศสครับ
คำว่า "อังกฤษ" ในภาษาไทย ส่วนตัวแล้วผมไม่คิดว่าจะรับมาจาก Inglês ในภาษาโปรตุเกสโดยตรง เพราะออกเสียงไม่เหมือนเสียทีเดียว และอย่างที่กล่าวคือไม่น่าเชื่อว่าจะมาจาก anglais ในภาษาฝรั่งเศส ความเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือไทยน่าจะรับมาจากชาวอินเดียที่รับมาจากโปรตุเกสอีกต่อหนึ่ง เพราะในภาษาฮินดีเรียกชาวอังกฤษว่า aṅgrez (अंग्रेज़) หรือ aṅgrezī (अंग्रेज़ी)
นอกจากนี้มีผู้เสนอว่าอาจจะมาจากคำว่า Anglish ในภาษาอังกฤษโดยตรง หมายถึง "ชาวอังกฤษ" ซึ่งเป็นหนึ่งในคำที่ใช้เรียกชาวอังกฤษในภาษาพูด โดยคำนี้มีความหมายถึงภาษาอังกฤษดั้งเดิมที่ไม่มีภาษาต่างประเทศเจือปน
ญี่ปุ่น สันนิษฐานว่ามาจาก 日本 คือชื่อประเทศญี่ปุ่น แต่น่าจะรับมาจากภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนที่ออกเสียงว่า ยิดปุ้น Ji̍t-pún หรือถ้าจะรับจากจีนกลางควรจะเป็นสำเนียงจีนกลางสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งมีความแตกต่างกับสำเนียงจีนกลางในปัจจุบันที่ออกเสียงว่า รฺยื่อเปิ่น rìběn
จีน โดยทั่วไปสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์มาจาก ฉิน (秦) ซึ่งเป็นชื่อรัฐทางตะวันตกของจีนในสมัยโบราณตั้งแต่ 900 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนที่ขยายอำนาจรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวแล้วสถาปนาจักรวรรดิฉินขึ้นเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ในสำเนียงจีนเก่า (Old Chinese) มีการวิเคราะห์ว่าออกเสียง [dz]i[n] ในภาษาบาลี-ลันสกฤตเขียนว่า จีน (อ่านว่า จีนะ) เหมือนภาษาไทยปัจจุบัน ปรากฏในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมโบราณของอินเดียก่อนคริสตกาลหลายชิ้น เช่น คัมภีร์อรรถศาสตร์ คัมภีร์มนูศาสตร์ มหาภารตะ จึงอนุมานได้ว่าชื่อนี้ใช้งานมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาลแล้ว และน่าจะก่อนที่ฉินสื่อหวงสถาปนาจักรวรรดิฉินด้วย
ภาษาเปอร์เซียเรียกจีนว่า จีนี (Chīnī چین) หรือ จีน (Chīn) ซึ่งเชื่อว่าถูกส่งต่อให้ภาษาบาลีสันสกฤตอีกต่อหนึ่ง คำนี้ถูกส่งต่อให้ชาติตะวันตกโดยคำว่า China ปรากฏครั้งแรกว่าใช้งานโดยนักเดินเรือชาวโปรตุเกสในต้นคริสตศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้ก็ยังมีการแผลงเรียกแตกต่างกันไปในหลายประเทศ https://en.wikipedia.org/wiki/Names_of_China
สำหรับไทย เข้าใจว่ารับคำว่า จีน มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต เพราะภูมิภาคอุษาคเนย์มีการติดต่อกับอินเดียมาตั้งแต่โบราณครับ
สยามมีการติดต่อกับชาวอังกฤษมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนกลาง โดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1612 (พ.ศ. 2155) รัชกาลพระเจ้าทรงธรรม แม้จะไม่ได้แน่นแฟ้นมากแต่มีหลักฐานว่าพ่อค้าอังกฤษได้มีการทำการค้าอยู่เนืองๆ ในขณะที่ฝรั่งเศสเพิ่งเริ่มเข้ามาในสยามในช่วงต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ แม้จะมีหลักฐานว่าเริ่มติดต่อกันบ้างแต่กว่าจะมีการเจริญสัมพันธไมตรีอย่างเป็นทางการจริงๆ และฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากก็เป็นช่วงท้ายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มากแล้ว และก็ถูกพระเพทราชาขับไล่ออกไปในเวลาอันสั้น ชาวฝรั่งเศสที่เหลืออยู่ในสยามมีไม่มาก พิจารณาแล้วดูเป็นไปได้ยากที่ภาษาฝรั่งเศสจะขึ้นมามีอิทธิพลในการเรียกนามชาติต่างประเทศอื่นในสยามเวลานั้นครับ
นอกจากนี้ ภาษากลาง (lingual franca) ที่สยามรวมถึงอาณาจักรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคนั้นใช้ติดต่อกับชาติยุโรปคือภาษาโปรตุเกส เพราะโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนชาติอื่นๆ และทรงอิทธิพลในภูมิภาคมายาวนานถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17
สำหรับสยามก็ปรากฏหลักฐานว่าใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษากลางติดต่อกับชาติตะวันตกมายาวนาน ในสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1687 (พ.ศ. 2230) รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ยังต้องเขียนเป็นสามภาษาคือ ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาโปรตุเกส ในฉบับภาษาไทยมีการแปลทับศัพท์ภาษาโปรตุเกส เช่น เรียกตำแหน่งของราชทูตลา ลูแบร์ว่า "อิงวิยาโดรเอกโตรวิยารี" ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคือ enviado extraordinário ไม่ได้แปลจากฝรั่งเศสคือ envoyé extraordinaire จึงแสดงว่าในการแปลสนธิสัญญาฉบับภาษาฝรั่งเศส ได้แปลเป็นภาษาโปรตุเกสก่อนแล้วแปลเป็นภาษาไทยอีกต่อหนึ่ง เช่นเดียวกับในบันทึกของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) หรือ โกษาปาน เมื่อเดินทางไปฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1686 (พ.ศ. 2229) มีหลายคำที่เรียกทับศัพท์จากภาษาโปรตุเกส
บันทึกของพระอธิการ เดอ ชัวซีย์ (François Timoléon, abbé de Choisy) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุทธยาใน ค.ศ. 1685 (พ.ศ.2228) ระบุว่าขุนนางไทยตอนนั้นสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ทุกคน เรื่องนี้อาจฟังดูเกินจริงไปบ้าง จริงๆน่าจะพูดได้แค่ขุนนางกรมพระคลังที่มีหน้าที่ติดต่อกับชาวต่างประเทศโดยตรงมากกว่า แต่สะท้อนให้เห็นได้ดีว่าภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาหลักที่สำคัญในเวลานั้น
ด้วยเหตุนี้ คำว่า "อังกฤษ" จึงไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียกตามภาษาอังกฤษโดยตรง แต่อาจเรียกด้วยชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอื่นได้ครับ โดยอาจจะได้รับอิทธิพลจากสำเนียงภาษาอื่นที่สยามเคยติดต่อมาก่อนหน้าอังกฤษก็ได้
คำว่า "อังกฤษ" ในภาษาไทย ปรากฏหลักฐานนประมวลกฎหมายสมัยอยุทธยาที่ถูกชำระเรียบเรียงไว้ในกฎหมายตราสามดวงหลายฉบับ เช่น ประกาศพระราชบัญญัติของกฎหมายอาชญาหลวง ระบุศักราช 1976 ปีกุน ในรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเดจ์พระเจ้าเอกาทธรฐอิศรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว" กล่าวถึงชาติต่างประเทศคือ "ฝารังอังกริดกระปิตันวิลันดาคุลาฉะวามลายูแขกกวยแกว"
(ศักราชน่าจะผิด เพราะพระนามกษัตริย์แบบนี้นิยมใช้แพร่หลายหลังรัชกาลสมเด็จพระนเรศลงมา และกล่าวถึงวิลันดา (ดัตช์) ที่เพิ่งเข้ามาติดต่อกับสยามปลายรัชกาลพระนเรศ ที่ถูกควรจะเป็นจุลศักราช 976 หรือ พ.ศ. 2157 สมัยพระเจ้าทรงธรรม ปีนักษัตรควรจะเป็นปีขาล แต่อาจเป็นการชำระเรียบเรียงในสมัยพระเจ้าปราสาททองที่ลบปีนักษัตรย้อนไปสามปี ปีขาลจึงเป็นปีกุน)
กฎหมายอาชญาหลวง มาตรา 37 กล่าวถึง "แขกพราหมณยวนประเทศฝารังอังกฤษจีนจามวิลันดาฉวามลายูกวยขอมพม่ารามัญ"
พระราชกำหนดเก่าฉบับที่ 36 จุลศักราช 1025 (พ.ศ. 2206) ต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ กล่าวว่า "ทุกวันนี้แขกฝรังอังกฤษคุลามะลายูนา ๆ ประเทศเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารเปนอันมาก แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ห้ามอย่าให้ไทมอญลาวลอบลักไปซ่องเสพเมถุนณกรรมด้วยแขกฝรังอังกฤษคุลามะลายูซึ่งถือฝ่ายมิดฉาทิฐิ"
ชาวฝรั่งเศส เพิ่งปรากฏหลักฐานว่ามีบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศกรุงปารีสเดินทางมาถึงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1662 (พ.ศ. 2205) เพียงหนึ่งปีก่อนหน้าพระราชกำหนดฉบับนี้จะออก และเพียงแต่เข้ามาพำนักยังไม่ได้ติดต่อกับสยามอย่างเป็นทางการเลย แต่จากพระราชกำหนดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะเห็นว่ามีการใช้คำว่า "อังกฤษ" อย่างชัดเจน และยังระบุว่าเป็นหนึ่งในชาวต่างประเทศที่เข้ามาจำนวนมากแล้วในเวลานั้น
จึงอนุมานได้ว่าคำว่า "อังกฤษ" ในภาษาไทยควรมีใช้ก่อนที่ชาวฝรั่งเศสเข้ามานานพอสมควรแล้ว และไม่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากภาษาฝรั่งเศสครับ
คำว่า "อังกฤษ" ในภาษาไทย ส่วนตัวแล้วผมไม่คิดว่าจะรับมาจาก Inglês ในภาษาโปรตุเกสโดยตรง เพราะออกเสียงไม่เหมือนเสียทีเดียว และอย่างที่กล่าวคือไม่น่าเชื่อว่าจะมาจาก anglais ในภาษาฝรั่งเศส ความเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือไทยน่าจะรับมาจากชาวอินเดียที่รับมาจากโปรตุเกสอีกต่อหนึ่ง เพราะในภาษาฮินดีเรียกชาวอังกฤษว่า aṅgrez (अंग्रेज़) หรือ aṅgrezī (अंग्रेज़ी)
นอกจากนี้มีผู้เสนอว่าอาจจะมาจากคำว่า Anglish ในภาษาอังกฤษโดยตรง หมายถึง "ชาวอังกฤษ" ซึ่งเป็นหนึ่งในคำที่ใช้เรียกชาวอังกฤษในภาษาพูด โดยคำนี้มีความหมายถึงภาษาอังกฤษดั้งเดิมที่ไม่มีภาษาต่างประเทศเจือปน
ญี่ปุ่น สันนิษฐานว่ามาจาก 日本 คือชื่อประเทศญี่ปุ่น แต่น่าจะรับมาจากภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนที่ออกเสียงว่า ยิดปุ้น Ji̍t-pún หรือถ้าจะรับจากจีนกลางควรจะเป็นสำเนียงจีนกลางสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งมีความแตกต่างกับสำเนียงจีนกลางในปัจจุบันที่ออกเสียงว่า รฺยื่อเปิ่น rìběn
จีน โดยทั่วไปสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์มาจาก ฉิน (秦) ซึ่งเป็นชื่อรัฐทางตะวันตกของจีนในสมัยโบราณตั้งแต่ 900 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนที่ขยายอำนาจรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวแล้วสถาปนาจักรวรรดิฉินขึ้นเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ในสำเนียงจีนเก่า (Old Chinese) มีการวิเคราะห์ว่าออกเสียง [dz]i[n] ในภาษาบาลี-ลันสกฤตเขียนว่า จีน (อ่านว่า จีนะ) เหมือนภาษาไทยปัจจุบัน ปรากฏในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมโบราณของอินเดียก่อนคริสตกาลหลายชิ้น เช่น คัมภีร์อรรถศาสตร์ คัมภีร์มนูศาสตร์ มหาภารตะ จึงอนุมานได้ว่าชื่อนี้ใช้งานมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาลแล้ว และน่าจะก่อนที่ฉินสื่อหวงสถาปนาจักรวรรดิฉินด้วย
ภาษาเปอร์เซียเรียกจีนว่า จีนี (Chīnī چین) หรือ จีน (Chīn) ซึ่งเชื่อว่าถูกส่งต่อให้ภาษาบาลีสันสกฤตอีกต่อหนึ่ง คำนี้ถูกส่งต่อให้ชาติตะวันตกโดยคำว่า China ปรากฏครั้งแรกว่าใช้งานโดยนักเดินเรือชาวโปรตุเกสในต้นคริสตศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้ก็ยังมีการแผลงเรียกแตกต่างกันไปในหลายประเทศ https://en.wikipedia.org/wiki/Names_of_China
สำหรับไทย เข้าใจว่ารับคำว่า จีน มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต เพราะภูมิภาคอุษาคเนย์มีการติดต่อกับอินเดียมาตั้งแต่โบราณครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมคนไทยเรียก england ว่า อังกฤษ
นิปปง เพี้ยน เป็นญี่ปุ่น ยังเข้าใจ
ฉิน เพื้ยน เป็น จีน ยังได้อยู่ งง ตรงอังกฤษ