'อดีตผู้ว่าฯธปท.'ห่วง 5 ปีคอร์รัปชันไทยแย่ลง-เหลื่อมล้ำสูง-ทุนใหญ่เอาเปรียบผู้บริโภค
https://www.isranews.org/article/isranews-news/111049-ex-bot-governor-Veerathai-Santiprabhob-sustainability-speech-news.html
‘อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ’ ห่วง 5 ปี ปัญหาคอร์รัปชั่นไทยแย่ลงต่อเนื่อง ความเหลื่อมล้ำ ‘ด้านทรัพย์สิน-รายได้’ กว้างขึ้น หนี้ครัวเรือนสูง
ขณะที่ ‘ทุนใหญ่’ เอาเปรียบผู้บริโภค-การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ ‘ไม่เป็นธรรม’
.................................
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นาย
วิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และประธานกรรมการบริหารและเลขานุการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ปาฐกถาพิเศษภายในงาน ThaiPublica Forum 2022 ‘ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน’ โดยระบุตอนหนึ่งว่า เวลาพูดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน หัวใจสำคัญ คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ไปเบียดเบียนคนรุ่นต่อๆไป และผลของการพัฒนาต้องไม่ได้มุ่งตอบโจทย์เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น
“แนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการพูดคุยถกเถียงกัน และกลั่นกันออกมา จนเป็นสิ่งที่เรียกว่า Sustainable Development Goals (SDGs-เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน) ซึ่งผู้นำทั่วโลกต่างก็มุ่งมั่นร่วมกันดำเนินการมาตรการที่จะนำไปสู่การลดปัญหาความยากจน ไปพร้อมๆกับการรักษาคุณภาพของโลกเราให้อยู่ได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพดี ประชาชนส่วนใหญ่ของโลกมีเสรีภาพ และมีความรุ่งเรืองมากขึ้น
รวมถึงมีมิติเรื่องการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ทั้งในรุ่น (generation) เดียวกัน และระหว่างรุ่น (intergeneration) ด้วย ซึ่งการจะนำไปสู่เรื่องความยั่งยืนนั้น มีหลากหลายแนวทาง และภาคธุรกิจและตลาดทุนก็ให้ความสำคัญ โดยได้มองกรอบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็น 3 องค์ประกอบหลัก นั่นก็คือเรื่อง ESG (Environmental, Social, Governance)
อย่างไรก็ดี บางครั้งเวลาพูดถึง ESG เรามักจะมองแยกส่วนกัน แต่ผมคิดว่า การพัฒนาที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน เราไม่มีทางแยก ESG ออกจากกันได้ เพราะเราไม่มีทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าคนส่วนใหญ่ยังยากจน สังคมยังมีความเหลื่อมล้ำสูง หรือสังคมขาดหลักธรรมาภิบาลที่ดี ขณะเดียวกัน เราไม่มีทางที่จะลดความเปราะบางของสังคม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ ถ้าคนในสังคมยังขาดธรรมาภิบาล ยังมีการคอร์รัปชัน และมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น เรื่อง ESG จึงต้องเดินหน้าไปร่วมกัน ไม่แยกส่วนกัน” นายวิรไท ระบุ
นายวิรไท กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาวิกฤติโควิด-19 และความขัดแย้งในหลายประเทศ ได้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ สุขภาพ การศึกษา สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง ขณะที่ผลกระทบเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่สำคัญวิกฤติโควิด-19 ได้ทำให้ความก้าวหน้าหลายเรื่องถูกย้อนกลับ หรือต้องถอยหลังกลับไปหลายก้าว โดยเฉพาะเป้าหมายในการลดภาวะโลกร้อน
“ในปีนี้และปีหน้า เราจะเผชิญกับวิกฤติการขาดแคลนอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจาก 3C คือ Climate change (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) Conflict (ความขัดแย้ง) และ Covid-19 (โควิด-19) ซึ่งทั้ง 3C กำลังทำให้เกิดวิกฤติ 3F คือ Food วิกฤติทางอาหาร , Fuel วิกฤติพลังงาน และ Fertilizer วิกฤติการขาดแคลนปุ๋ย โดยปัญหาที่เราเจอปีนี้ อาจเป็นปัญหาของราคาสินค้าเกษตรและราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น หรือ Food Price inflation
แต่ปีหน้าจะเป็นวิกฤติ Access to Food (การเข้าถึงอาหาร) ที่ไม่ใช่แค่ราคาขึ้นเท่านั้น แต่อาหารจะไม่เพียงพอกับคนในโลก ซึ่งเป็นผลจากผลิตภาพที่ลดลงมาก เนื่องจากการขาดแคลนปุ๋ย โดยสิ้นปี 2022 (พ.ศ.2565) โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ (UN World Food Programme) คาดว่าจะมีคน 345 ล้านคน ใน 80 ประเทศ ขาดความมั่นคงทางอาหาร และเวลาที่เกิดการขาดแคลนอาหาร จะนำไปสู่ปัญหาเสถียรภาพการเมืองในหลายประเทศ” นาย
วิรไท ระบุ
นาย
วิรไท กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศไทย แม้ว่าเราจะไม่เจอกับสภาวะขาดแคลนอาหาร แต่เมื่อพิจารณาจากวิกฤติสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือหายนะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่มีพรมแดนแล้ว ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นประเทศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะคนไทยเกินครึ่งหนึ่งวิถีชีวิตพึ่งพิงภาคการเกษตร ขณะที่อุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสำคัญๆตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่ง
“สำหรับอุตสาหกรรมหนักของเรา แหล่งการผลิตจำนวนไม่น้อยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งหรือบนพื้นที่ราบต่ำ เช่นเดียวกันอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเราอยู่ในพื้นที่ตามชายฝั่ง แม้แต่กรุงเทพฯเองก็มีโอกาสที่จะจมน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ และวันนี้คนกรุงเทพฯก็มักเจอปัญหาน้ำประปาเค็มจนเราถือว่าเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่ปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น” นาย
วิรไท กล่าว
นาย
วิรไท กล่าวว่า ในส่วนของวิกฤติด้านสังคมและวิกฤติเรื่องธรรมาภิบาลนั้น เรื่องสังคมเราได้ก้าวข้ามจุดที่เป็น tipping point (จุดเปลี่ยนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้) ไปแล้ว โดยตอนนี้สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ และกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (super aged society) แต่เรื่องที่ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้ก้าวข้าม tipping point อีก นั่นก็คือปัญหาคอร์รัปชัน เพราะหากเราปล่อยให้การคอร์รัปชันเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับได้ในสังคม ก็จะแก้ปัญหาได้ยากและส่งผลกระทบอย่างกว้างไกลมาก
“ถ้าเราปล่อยให้การคอร์รัปชันกลายเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับได้ในสังคม ก็จะแก้ปัญหาได้ยากและมีผลกระทบที่กว้างไกลมาก ซึ่งถ้าดูแนวโน้มที่ผ่านมา ก็ต้องบอกว่า ไม่ดีเลย ดัชนี Corruption Perception Index (CPI-ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน) ของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ลดลงต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2561 เราอยู่อันดับที่ 96 ส่วนปีที่แล้วเราอยู่อันดับที่ 110 แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น
ส่วนปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นสิ่งที่เราต้องระมัดระวังเช่นกัน และต้องไม่ปล่อยให้ก้าวข้าม tipping point ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำของคนระหว่างรุ่นหรือข้ามรุ่น และความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส อย่างไรก็ดี เวลาเราพูดถึงความเหลื่อมล้ำ เราอาจจะพูดถึงความเหลื่อมล้ำในเรื่องสินทรัพย์หรือความเหลื่อมล้ำของรายได้ ซึ่งก็ชัดเจนว่ามีขนาดที่กว้างขึ้น
แต่ถ้าเราปล่อยให้ความเหลื่อมล้ำกลายเป็นความเหลื่อมล้ำข้ามรุ่น และมีความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส ก็จะยิ่งน่ากลัวมาก ที่เห็นได้ชัด คือ ความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษา แต่เดิมการศึกษาจะเป็นบันไดให้คนยกระดับฐานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ แต่วันนี้บันไดอันนั้นให้โอกาสน้อยลงสำหรับคนที่ไม่เกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะดี และอีกด้านหนึ่งที่เราควรกังวล คือ เรื่องเส้นแบ่งทางด้านดิจิทัล หรือความรู้ ความเข้าใจ และการเข้าถึงบริการเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาสสูงขึ้น
อีกทั้งปัญหาที่เราต้องระวังไม่ให้เกิด tipping point คือ เรื่องหนี้ครัวเรือน เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือนของเราเปราะบางมาก และเป็นความเปราะบางที่เกิดกับหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด คือ ครัวเรือน ที่อาจทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำข้ามรุ่น และปัญหาความเหลื่อมล้ำเหล่านี้จะนำไปสู่ความแตกต่างทางความคิดของคนหลายกลุ่ม หลายรุ่น ซึ่งจะนำไปสู่ความแตกแยกทางความคิด จนทำให้สังคมไทยเปราะบาง ไม่สามารถสร้างพลังร่วมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้” นาย
วิรไท กล่าว
นอกจากนี้ ในแวดวงธุรกิจเอง เราเห็นการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม เรื่องปลาใหญ่กินปลาเล็ก และบางช่วงเราจะเห็นปลายักษ์กินปลาเล็กด้วยซ้ำไป เราเห็นการเอาเปรียบผู้บริโภคที่มาจากอำนาจทุนใหญ่ในสังคม ซึ่งเรื่องเหล่านี้ เราต้องระวังและต้องไม่ทำให้เกิดความเปราะบางของสังคมไทยเพิ่มขึ้นไปอีก และถ้าคิดถึงกรอบ ESG ในโลกตะวันตก เขาจะเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ผมคิดว่าปัญหาที่ไทยควรให้ความสนใจ คือ เรื่องสังคมและธรรมาภิบาล” นายวิรไท กล่าว
นาย
วิรไท ระบุว่า การแก้ปัญหาเรื่องความยั่งยืน (sustainability) เป็นหน้าที่ของทุกคน และหากไม่แก้ปัญหา ก็จะส่งผลเสียต่อทุกคน เพราะทำให้ต้นทุนการใช้ชีวิต การปรับตัว การทำธุรกิจในอนาคตสูงขึ้น และจะสูงขึ้นมากหากปล่อยให้หลายเรื่องก้าวข้ามจุด tipping point โดยเฉพาะภาคธุรกิจจะมีบทบาทอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาเรื่องความยั่งยืน เพราะวิถีการทำธุรกิจที่ผ่านมา ได้สร้างผลเสียในมิติต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำ คอร์รัปชัน และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
“ภาคธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง sustainability เพราะสังคมและคนรุ่นใหม่ มีความคาดหวังที่สูงขึ้นมากต่อบทบาทของภาคธุรกิจในเรื่อง sustainability ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้บริโภค หรือคนรุ่นใหม่ที่จะมาเป็นพนักงานของภาคธุรกิจในอนาคต แม้ว่าวันนี้เขายังไม่ใช่ลูกค้าของเรา แต่คนรุ่นใหม่ คือ ลูกค้าของเราในอนาคต และพนักงานของเราในอนาคต ขณะที่กฎเกณฑ์ต่างๆที่จะออกมาในอนาคต ก็จะให้ความสำคัญกับเรื่อง sustainability อย่างมาก” นาย
วิรไท กล่าว
พณ.เผยสินค้าวันนี้หมู,ผักชีราคาแพงขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_388329/
พาณิชย์ เผย ราคาสินค้าขายปลีกใน กทม.ล่าสุด พบว่าเปลี่ยนแปลงหลายรายการเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า โดยเนื้อหมูเพิ่มขึ้นเป็น 190-195 บ./กก. ผักชี 190-200 บ./กก.
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน รายงานภาวะราคาสินค้าจำหน่ายปลีกในพื้นที่กรุงเทพฯ ล่าสุดพบว่า ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงหลายรายการเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า
โดย เนื้อหมู (เนื้อแดงส่วนสะโพก) ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 190-195 บาท หมูสามชั้น ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 230-250 บาท ผักคะน้า ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 45-50 บาท ผักชี ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 190-200 บาท
โดยสินค้าที่ราคายังทรงตัว ได้แก่ ไข่ไก่เบอร์ 2 ราคาฟองละ 4.20-4.40 บาท ไข่ไก่ เบอร์ 3 ราคาฟองละ 3.90-4.10 บาท ไก่สดทั้งตัว (ไม่รวมเครื่องใน) ราคากิโลกรัมละ 75-85 บาท กวางตุ้ง ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท ผักกาดขาว
ผักบุ้งจีน กะหล่ำปลี กิโลกรัมละ 30-35 บาท ถั่วฝักยาว ราคากิโลกรัมละ 45-50 บาท แตงกวา ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท มะเขือเทศ ราคากิโลกรัมละ 35-40 บาท มะนาว เบอร์ 1-2 ราคาผลละ 2.00-2.50 บาท มะนาว เบอร์ 3-4 ราคาผลละ 1.00-1.50 บาท พริกขี้หนู (จินดา) ราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท ต้นหอม ราคากิโลกรัมละ 105-120 บาท ต้นหอม ราคากิโลกรัมละ 85-90 บาท
ในขณะที่ผลปาล์มทะลาย ราคาลดลงเหลือกิโลกรัมละ 6.00-6.60 บาท น้ำมันปาล์มดิบ ราคากิโลกรัมละ 33.50-34.50 บาท ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (ราคาตลาดกลางจังหวัดสงขลา) ราคาลดลงเหลือกิโลกรัมละ 54.89 บาท
ข้าวโพด (โรงงานอาหารสัตว์) 100 กก.ราคา 1,210-1,215 บาท มันสำปะหลัง (หัวมันสด เชื้อแป้ง25%) จังหวัดนครราชสีมา ราคากิโลกรัมละ 2.85-3.45 บาท มะพร้าวผลแก่ (ทับสะแก) ผลใหญ่ ปอกเปลือก ราคาผลละ 20-25 บาท ปลาป่น ราคากิโลกรัมละ 30 บาท
กากถั่วเหลือง นำเข้า โปรตีนร้อยละ 46-48 ราคากิโลกรัมละ 20.30-20.40 บาท กากถั่วเหลือง ผลิตในประเทศ (เมล็ดนำเข้า) ราคากิโลกรัมละ 20.50-20.80 บาท รำข้าวขาว 100 กก. ราคาลดลงเหลือ 1,150-1,160 บาท
JJNY : ห่วง 5ปีคอร์รัปชันไทยแย่ลง│พณ.เผยหมู,ผักชีราคาแพงขึ้น│“อนุสรณ์”ยกผลโพลเตือนควรลาออก│สื่อนอกเผย'ไทย-จีน'ฟื้นซ้อมรบ
https://www.isranews.org/article/isranews-news/111049-ex-bot-governor-Veerathai-Santiprabhob-sustainability-speech-news.html
ขณะที่ ‘ทุนใหญ่’ เอาเปรียบผู้บริโภค-การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ ‘ไม่เป็นธรรม’
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และประธานกรรมการบริหารและเลขานุการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ปาฐกถาพิเศษภายในงาน ThaiPublica Forum 2022 ‘ก้าวร่วมกัน…สู่ก้าวที่ยั่งยืน’ โดยระบุตอนหนึ่งว่า เวลาพูดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน หัวใจสำคัญ คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ไปเบียดเบียนคนรุ่นต่อๆไป และผลของการพัฒนาต้องไม่ได้มุ่งตอบโจทย์เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น
“แนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการพูดคุยถกเถียงกัน และกลั่นกันออกมา จนเป็นสิ่งที่เรียกว่า Sustainable Development Goals (SDGs-เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน) ซึ่งผู้นำทั่วโลกต่างก็มุ่งมั่นร่วมกันดำเนินการมาตรการที่จะนำไปสู่การลดปัญหาความยากจน ไปพร้อมๆกับการรักษาคุณภาพของโลกเราให้อยู่ได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพดี ประชาชนส่วนใหญ่ของโลกมีเสรีภาพ และมีความรุ่งเรืองมากขึ้น
รวมถึงมีมิติเรื่องการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ทั้งในรุ่น (generation) เดียวกัน และระหว่างรุ่น (intergeneration) ด้วย ซึ่งการจะนำไปสู่เรื่องความยั่งยืนนั้น มีหลากหลายแนวทาง และภาคธุรกิจและตลาดทุนก็ให้ความสำคัญ โดยได้มองกรอบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็น 3 องค์ประกอบหลัก นั่นก็คือเรื่อง ESG (Environmental, Social, Governance)
อย่างไรก็ดี บางครั้งเวลาพูดถึง ESG เรามักจะมองแยกส่วนกัน แต่ผมคิดว่า การพัฒนาที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน เราไม่มีทางแยก ESG ออกจากกันได้ เพราะเราไม่มีทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าคนส่วนใหญ่ยังยากจน สังคมยังมีความเหลื่อมล้ำสูง หรือสังคมขาดหลักธรรมาภิบาลที่ดี ขณะเดียวกัน เราไม่มีทางที่จะลดความเปราะบางของสังคม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ ถ้าคนในสังคมยังขาดธรรมาภิบาล ยังมีการคอร์รัปชัน และมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น เรื่อง ESG จึงต้องเดินหน้าไปร่วมกัน ไม่แยกส่วนกัน” นายวิรไท ระบุ
นายวิรไท กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาวิกฤติโควิด-19 และความขัดแย้งในหลายประเทศ ได้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ สุขภาพ การศึกษา สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง ขณะที่ผลกระทบเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่สำคัญวิกฤติโควิด-19 ได้ทำให้ความก้าวหน้าหลายเรื่องถูกย้อนกลับ หรือต้องถอยหลังกลับไปหลายก้าว โดยเฉพาะเป้าหมายในการลดภาวะโลกร้อน
“ในปีนี้และปีหน้า เราจะเผชิญกับวิกฤติการขาดแคลนอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจาก 3C คือ Climate change (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) Conflict (ความขัดแย้ง) และ Covid-19 (โควิด-19) ซึ่งทั้ง 3C กำลังทำให้เกิดวิกฤติ 3F คือ Food วิกฤติทางอาหาร , Fuel วิกฤติพลังงาน และ Fertilizer วิกฤติการขาดแคลนปุ๋ย โดยปัญหาที่เราเจอปีนี้ อาจเป็นปัญหาของราคาสินค้าเกษตรและราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น หรือ Food Price inflation
แต่ปีหน้าจะเป็นวิกฤติ Access to Food (การเข้าถึงอาหาร) ที่ไม่ใช่แค่ราคาขึ้นเท่านั้น แต่อาหารจะไม่เพียงพอกับคนในโลก ซึ่งเป็นผลจากผลิตภาพที่ลดลงมาก เนื่องจากการขาดแคลนปุ๋ย โดยสิ้นปี 2022 (พ.ศ.2565) โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ (UN World Food Programme) คาดว่าจะมีคน 345 ล้านคน ใน 80 ประเทศ ขาดความมั่นคงทางอาหาร และเวลาที่เกิดการขาดแคลนอาหาร จะนำไปสู่ปัญหาเสถียรภาพการเมืองในหลายประเทศ” นายวิรไท ระบุ
นายวิรไท กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศไทย แม้ว่าเราจะไม่เจอกับสภาวะขาดแคลนอาหาร แต่เมื่อพิจารณาจากวิกฤติสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือหายนะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่มีพรมแดนแล้ว ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นประเทศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะคนไทยเกินครึ่งหนึ่งวิถีชีวิตพึ่งพิงภาคการเกษตร ขณะที่อุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสำคัญๆตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่ง
“สำหรับอุตสาหกรรมหนักของเรา แหล่งการผลิตจำนวนไม่น้อยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งหรือบนพื้นที่ราบต่ำ เช่นเดียวกันอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเราอยู่ในพื้นที่ตามชายฝั่ง แม้แต่กรุงเทพฯเองก็มีโอกาสที่จะจมน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ และวันนี้คนกรุงเทพฯก็มักเจอปัญหาน้ำประปาเค็มจนเราถือว่าเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่ปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น” นายวิรไท กล่าว
นายวิรไท กล่าวว่า ในส่วนของวิกฤติด้านสังคมและวิกฤติเรื่องธรรมาภิบาลนั้น เรื่องสังคมเราได้ก้าวข้ามจุดที่เป็น tipping point (จุดเปลี่ยนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้) ไปแล้ว โดยตอนนี้สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ และกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (super aged society) แต่เรื่องที่ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้ก้าวข้าม tipping point อีก นั่นก็คือปัญหาคอร์รัปชัน เพราะหากเราปล่อยให้การคอร์รัปชันเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับได้ในสังคม ก็จะแก้ปัญหาได้ยากและส่งผลกระทบอย่างกว้างไกลมาก
“ถ้าเราปล่อยให้การคอร์รัปชันกลายเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับได้ในสังคม ก็จะแก้ปัญหาได้ยากและมีผลกระทบที่กว้างไกลมาก ซึ่งถ้าดูแนวโน้มที่ผ่านมา ก็ต้องบอกว่า ไม่ดีเลย ดัชนี Corruption Perception Index (CPI-ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน) ของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ลดลงต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2561 เราอยู่อันดับที่ 96 ส่วนปีที่แล้วเราอยู่อันดับที่ 110 แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น
ส่วนปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นสิ่งที่เราต้องระมัดระวังเช่นกัน และต้องไม่ปล่อยให้ก้าวข้าม tipping point ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำของคนระหว่างรุ่นหรือข้ามรุ่น และความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส อย่างไรก็ดี เวลาเราพูดถึงความเหลื่อมล้ำ เราอาจจะพูดถึงความเหลื่อมล้ำในเรื่องสินทรัพย์หรือความเหลื่อมล้ำของรายได้ ซึ่งก็ชัดเจนว่ามีขนาดที่กว้างขึ้น
แต่ถ้าเราปล่อยให้ความเหลื่อมล้ำกลายเป็นความเหลื่อมล้ำข้ามรุ่น และมีความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส ก็จะยิ่งน่ากลัวมาก ที่เห็นได้ชัด คือ ความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษา แต่เดิมการศึกษาจะเป็นบันไดให้คนยกระดับฐานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ แต่วันนี้บันไดอันนั้นให้โอกาสน้อยลงสำหรับคนที่ไม่เกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะดี และอีกด้านหนึ่งที่เราควรกังวล คือ เรื่องเส้นแบ่งทางด้านดิจิทัล หรือความรู้ ความเข้าใจ และการเข้าถึงบริการเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาสสูงขึ้น
อีกทั้งปัญหาที่เราต้องระวังไม่ให้เกิด tipping point คือ เรื่องหนี้ครัวเรือน เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือนของเราเปราะบางมาก และเป็นความเปราะบางที่เกิดกับหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด คือ ครัวเรือน ที่อาจทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำข้ามรุ่น และปัญหาความเหลื่อมล้ำเหล่านี้จะนำไปสู่ความแตกต่างทางความคิดของคนหลายกลุ่ม หลายรุ่น ซึ่งจะนำไปสู่ความแตกแยกทางความคิด จนทำให้สังคมไทยเปราะบาง ไม่สามารถสร้างพลังร่วมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้” นายวิรไท กล่าว
นอกจากนี้ ในแวดวงธุรกิจเอง เราเห็นการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม เรื่องปลาใหญ่กินปลาเล็ก และบางช่วงเราจะเห็นปลายักษ์กินปลาเล็กด้วยซ้ำไป เราเห็นการเอาเปรียบผู้บริโภคที่มาจากอำนาจทุนใหญ่ในสังคม ซึ่งเรื่องเหล่านี้ เราต้องระวังและต้องไม่ทำให้เกิดความเปราะบางของสังคมไทยเพิ่มขึ้นไปอีก และถ้าคิดถึงกรอบ ESG ในโลกตะวันตก เขาจะเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ผมคิดว่าปัญหาที่ไทยควรให้ความสนใจ คือ เรื่องสังคมและธรรมาภิบาล” นายวิรไท กล่าว
นายวิรไท ระบุว่า การแก้ปัญหาเรื่องความยั่งยืน (sustainability) เป็นหน้าที่ของทุกคน และหากไม่แก้ปัญหา ก็จะส่งผลเสียต่อทุกคน เพราะทำให้ต้นทุนการใช้ชีวิต การปรับตัว การทำธุรกิจในอนาคตสูงขึ้น และจะสูงขึ้นมากหากปล่อยให้หลายเรื่องก้าวข้ามจุด tipping point โดยเฉพาะภาคธุรกิจจะมีบทบาทอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาเรื่องความยั่งยืน เพราะวิถีการทำธุรกิจที่ผ่านมา ได้สร้างผลเสียในมิติต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำ คอร์รัปชัน และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
“ภาคธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง sustainability เพราะสังคมและคนรุ่นใหม่ มีความคาดหวังที่สูงขึ้นมากต่อบทบาทของภาคธุรกิจในเรื่อง sustainability ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้บริโภค หรือคนรุ่นใหม่ที่จะมาเป็นพนักงานของภาคธุรกิจในอนาคต แม้ว่าวันนี้เขายังไม่ใช่ลูกค้าของเรา แต่คนรุ่นใหม่ คือ ลูกค้าของเราในอนาคต และพนักงานของเราในอนาคต ขณะที่กฎเกณฑ์ต่างๆที่จะออกมาในอนาคต ก็จะให้ความสำคัญกับเรื่อง sustainability อย่างมาก” นายวิรไท กล่าว
พณ.เผยสินค้าวันนี้หมู,ผักชีราคาแพงขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_388329/
พาณิชย์ เผย ราคาสินค้าขายปลีกใน กทม.ล่าสุด พบว่าเปลี่ยนแปลงหลายรายการเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า โดยเนื้อหมูเพิ่มขึ้นเป็น 190-195 บ./กก. ผักชี 190-200 บ./กก.
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน รายงานภาวะราคาสินค้าจำหน่ายปลีกในพื้นที่กรุงเทพฯ ล่าสุดพบว่า ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงหลายรายการเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า
โดย เนื้อหมู (เนื้อแดงส่วนสะโพก) ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 190-195 บาท หมูสามชั้น ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 230-250 บาท ผักคะน้า ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 45-50 บาท ผักชี ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 190-200 บาท
โดยสินค้าที่ราคายังทรงตัว ได้แก่ ไข่ไก่เบอร์ 2 ราคาฟองละ 4.20-4.40 บาท ไข่ไก่ เบอร์ 3 ราคาฟองละ 3.90-4.10 บาท ไก่สดทั้งตัว (ไม่รวมเครื่องใน) ราคากิโลกรัมละ 75-85 บาท กวางตุ้ง ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท ผักกาดขาว
ผักบุ้งจีน กะหล่ำปลี กิโลกรัมละ 30-35 บาท ถั่วฝักยาว ราคากิโลกรัมละ 45-50 บาท แตงกวา ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท มะเขือเทศ ราคากิโลกรัมละ 35-40 บาท มะนาว เบอร์ 1-2 ราคาผลละ 2.00-2.50 บาท มะนาว เบอร์ 3-4 ราคาผลละ 1.00-1.50 บาท พริกขี้หนู (จินดา) ราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท ต้นหอม ราคากิโลกรัมละ 105-120 บาท ต้นหอม ราคากิโลกรัมละ 85-90 บาท
ในขณะที่ผลปาล์มทะลาย ราคาลดลงเหลือกิโลกรัมละ 6.00-6.60 บาท น้ำมันปาล์มดิบ ราคากิโลกรัมละ 33.50-34.50 บาท ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (ราคาตลาดกลางจังหวัดสงขลา) ราคาลดลงเหลือกิโลกรัมละ 54.89 บาท
ข้าวโพด (โรงงานอาหารสัตว์) 100 กก.ราคา 1,210-1,215 บาท มันสำปะหลัง (หัวมันสด เชื้อแป้ง25%) จังหวัดนครราชสีมา ราคากิโลกรัมละ 2.85-3.45 บาท มะพร้าวผลแก่ (ทับสะแก) ผลใหญ่ ปอกเปลือก ราคาผลละ 20-25 บาท ปลาป่น ราคากิโลกรัมละ 30 บาท
กากถั่วเหลือง นำเข้า โปรตีนร้อยละ 46-48 ราคากิโลกรัมละ 20.30-20.40 บาท กากถั่วเหลือง ผลิตในประเทศ (เมล็ดนำเข้า) ราคากิโลกรัมละ 20.50-20.80 บาท รำข้าวขาว 100 กก. ราคาลดลงเหลือ 1,150-1,160 บาท