✤ แชร์ประสบการณ์ การซ่อมปั้มน้ำ การแก้ปัญหาระบบเปิดปิดอันตโนมัติทำงานถี่เกินไป

ตื่นเช้ามาวันหนึ่ง เปิดสวิทช์ปั้มน้ำปรากฏว่าเครื่องปั้มน้ำทำงานไม่หยุด
เลยไปเปิดฝาครอบ ก็เจอปัญหาคือน้ำซึมออกมาตรงฐานสวิทช์ Pressure Switch
เลยโทรหาช่าง 2-3 ที่ เพื่อจะหาอาหลั่ย บางที่บอกว่าต้องสั่งอาหลั่ย จนมาเจอเจ้าหนึ่ง
แนะนำว่า สวิทช์เดิมเลิกผลิตแล้ว แต่มีของที่ผลิตมาจากโรงงานเดียวกัน แค่ไม่มีตราแค่นั้นเอง

ปั้มน้ำ HITACHI รุ่น WM-P250XS อายุการใช้งาน 5 ปี

จากกระทู้เดิม

https://ppantip.com/topic/41568428

อาหลั่ย ที่สั่งมา



หลังจากเปลี่ยนแล้ว ผมอาจจะหมุนแน่นไป
เลยทำให้ตัวเลขค่าต่างๆ มันหมุนไปข้างใน



หลังจากติดตั้งเสร็จ ปรากฏก็ว่า สวิทช์ความดันอัตโนมัติ ยังเปิดปิดถี่อยู่ ประมาณทุกๆ 5 วินาที

จริงๆ แล้วปัญหา สวิทช์ออโต้ทำงาน มันมีมาตั้งแต่ติดตั้งเครื่องปั้มน้ำใหม่ๆ แล้วครับ
แต่เพราะเราไม่มีความรู้ เลยทนใช้มาตั้ง 5 ปี อาศัยเปิดปิดสวิทช์ Baker ภายในบ้านบ่อยๆ 
คือ จะใช้ปั้มน้ำก็เปิดจากตัวบ้าน ใช้แล้วก็ปิด เบคเกอร์ ทนใช้มาตั้ง 5 ปี 

เคยถามช่างที่มาติดตั้งแล้ว ช่างบอกว่า ภายในบ้าน ปิดน้ำสนิท หรือเปล่า
อาจจะมีรอยรั่วท่อน้ำภายในบ้านก็เป็นได้.....

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ภาค 2 การแก้ปัญหา เครื่องปั้มน้ำทำงานถี่เกินไป

หลังจากเปลี่ยน Pressure Switch แล้ว ปัญหาเครื่องเปิดปิดอัตโนมัติ ทำงานบ่อยเกิน
ซึ่งได้ทนใช้มาตั้งนาน ช่างบอก พี่เปิดกล้องไลฟว์สด ไล่ดูท่อน้ำ ปิดวาล์วหน้าบ้านเทสต์การไหลของน้ำดู 
จนกระทั่งเจอ วาล์วน้ำทางเดียว หรือ เช็ควาล์ว นี่เอง



ผมเลยไปซื้อ เช็ควาล์ว แบบสปริงมา แล้วมาศึกษาจากยูทูป ทำให้ได้ความรู้ใหม่ขึ้นมาว่า
แบบสปริง มันสามารถตั้งในแนวนอน แนวตั้งได้ ซึ่งกรณีที่เราปิดปั้ม ใช้น้ำจากท่อปะปา มันต้องอาศัยแรงดัน 
ในการดันน้ำเข้ามาในตัวบ้าน แต่อายุการใช้งานอาจจะไม่นานเพราะเป็นแบบสปริง สปริงอาจอ่อนได้

เลยต้องไปเปลี่ยนเป็นแบบดั้งเดิม คือ แบบฝาเปิดปิด ซึ่งไม่ต้องอาศัยแรงดันของน้ำมาก 
มันจะเปิดปิดน้ำตามปกติ และอายุการใช้งานจะนานกว่า เพราะกลไก น้อยกว่าแบบสปริง



การติดตั้ง ต้องให้ลูกศรชีไปตามน้ำ ครับ ต้นลูกศร คือทางที่น้ำจากวาล์วหน้าบ้าน
ปลายลูกศร คือ น้ำไหลไปสู่บ้าน

เสร็จแล้ว.... ติดตั้งวาล์กันน้ำย้อนเรียบร้อย

ปั๊มน้ำก็ไม่ทำงานหนักแล้วครับ ระบบเปิดปิดออโต้ ไม่ทำงานถี่แล้วครับ



ลองดูคลิป

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่