คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0wvYGhc2ZRvcVB67nm4CXejWdCoVDM4E5UMnR1RJx34EKfaipn1Y319zSpMyRDwz7l
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 1 ส.ค. 2565)
รวม 141,636,420 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 1 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 23,462 โดส
เข็มที่ 1 : 1,515 ราย
เข็มที่ 2 : 2,301 ราย
เข็มที่ 3 : 19,646 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,139,383 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,500,358 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 30,996,679 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0MbRQqoLfEcLek2RyuJApCpCwxzXqaTZUDDB7vo56KvDgQCnG5ABFb7PaQatBDMdGl
11 ข้อควรปฏิบัติ เมื่อผู้ป่วยโควิด-19 ต้องกักตัวอยู่บ้าน
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02JbtJfJXWnQCbMWuhVMKS5x3Xi8wtffExudDAVd16jLCZVyMr7evdshVtJqz5wgdpl
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ให้บริการวัคซีน Moderna จนถึง 15 ส.ค. 65
แต่จะยังคงให้บริการวัคซีนอื่นๆ
Pfizer ฝาสีม่วง / AstraZeneca / Sinovac / Pfizer เด็กฝาสีส้ม
จนถึงวันที่ 31 ส.ค. 65
เปิดบริการทุกวัน 09.00 – 16.00 น.
รับบริการที่ประตู 2 ทั้งรูปแบบจองคิวล่วงหน้าผ่านเครือข่ายมือถือ และ Walk in ทั้งคนไทย / ต่างชาติ
ที่มา : CVC กลางบางซื่อ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02x2SHLZXKyFYda2EemR134P9V2c28qQWTx2spafs31LKPrd6xUzDLeHd3yJjtGrCjl
สธ.คาดผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตมีแนวโน้มลดลง
ย้ำ!! ผู้ติดเชื้อไม่ต้องรับยาต้านไวรัสทุกคน หากกินยาไม่เหมาะสม อาจเสี่ยงดื้อยา
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทยเป็นไปตามคาดการณ์ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เริ่มคงตัว ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้ โดยผู้ป่วยอาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ การเสียชีวิตคงตัวและเริ่มมีแนวโน้มค่อยๆ ลดลงใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ซึ่งขณะนี้การระบาดเป็นสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ค่อนข้างดื้อต่อวัคซีน การฉีดเข็มกระตุ้นจะเป็นปัจจัยสำคัญช่วยลดการป่วยอาการหนักและเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากฉีดเข็มล่าสุดมากกว่า 3-4 เดือนขึ้นไป สามารถไปฉีดเข็มกระตุ้นได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ส่วนช่วงเดือนที่ผ่านมามีวันหยุดยาวหลายวัน มีประชาชนเดินทางกลับบ้านจำนวนมาก ต้องติดตามสถานการณ์ในต่างจังหวัดว่าจะมีการระบาดเพิ่มขึ้นหรือไม่ จึงขอให้ดำเนินการมาตรการ 2U คือ Universal prevention คือ มาตรการป้องกันตนเอง ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ Universal Vaccination โดยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิต
สำหรับผู้ติดเชื้อโควิดไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกราย ซึ่งคนทั่วไปที่แข็งแรงฉีดวัคซีนครบถ้วน ส่วนใหญ่จะอาการน้อยก็ไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส ซึ่งการจ่ายยาขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ยาต้านไวรัสเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีทั้งข้อดีข้อเสีย หากรับประทานไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม อาจเกิดผลข้างเคียงหรือการดื้อยาได้
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid024EwVSnoXx2f3A3NWswZy76n9VXKXR3wiEiz3B5aB87L4mKm8G8R6a2BdJP2nxvVUl
"นายกฯ" กำชับเร่งฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม
แม้เคยเป็นผู้ติดเชื้อโควิด ลดความรุนแรง และการเสียชีวิต
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำชับกระทรวงสาธารณสุขเตรียมพร้อมระบบรองรับผู้ป่วยอาการหนักและพร้อมดูแลประชาชน หลังอัตราครองเตียงยังคงทรงตัว พร้อมเน้นย้ำขอทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยลดความรุนแรงของโรค แม้เคยเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 มาก่อนก็ตาม เนื่องจากวัคซีนยังมีความสำคัญช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ ข้อมูลสาธารณสุข ยืนยัน ผู้ที่ติดเชื้อและเคยฉีดวัคซีนมาแล้ว หรือ ติดเชื้อแล้วฉีดวัคซีนจะมีภูมิต้านทานที่ค่อนข้างสูง ที่เรียกว่า “ภูมิต้านทานแบบลูกผสม” อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอาจต้องมีการฉีดทุกปีคล้ายคลึงกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนให้ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาด จะมีการฉีดในกลุ่มเสี่ยง และให้ประจำปี เนื่องจากผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วอาจมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก
ที่มา : โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02x8SdxUPqBteVsiAuLzzQoLSG4v19b2chKobbTF9FAc1miUX9hmbDuNkwbPcnAMRxl
ผู้ป่วยโควิด-19 สีเขียว “ทุกสิทธิรักษา” ลงทะเบียนรับยาออนไลน์ ได้ที่ รพ.กทม. ใกล้บ้าน โดยสแกนคิวอาร์โค้ดในภาพ
ประชาชนที่ตรวจ ATK ได้ผลเป็นบวกทุกสิทธิการรักษา ลงทะเบียนรับยาได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด กทม. ทั้ง 11 แห่ง โดยสแกนคิวอาร์โค้ดในภาพ หรือคลิก >> http://msdmec.go.th/register_covid/ แล้วเลือก รพ.สังกัด กทม.ใกล้บ้าน กรอกชื่อที่อยู่ อาการป่วย ประวัติการฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมแนบภาพถ่ายบัตรประชาชนคู่กับผลตรวจ ATK เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OP) แยกกักตัวที่บ้าน
ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนก่อนเวลา 12.00 น. รับยาได้ภายใน 16.00 น. ของวันนั้น หากลงทะเบียนหลัง 12.00 น. รับยาได้ในวันถัดไป ณ รพ. ที่เลือก โดยนำบัตรประชาชนไปเพื่อแสดงตนด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการรุนแรงให้โทร. 1669 เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้เข้ารักษาที่ รพ. โดยตรง ส่วนผู้ที่มีการลงทะเบียนรับยาที่ รพ. อื่นแล้ว จะไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้
Cr. สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02sHE7EbxAe1ArjNtK7GX9VJyAawRG1L6GM4n6qESrrvt9BXW48qr4Ca2vdWJqsNxnl
ไทยพบรีบาวด์โควิด19 ประมาณ 2-3 ราย ให้ยาโมลนูฯ ครบคอร์ส แต่เชื้อกลับมาโผล่ซ้ำ เตือนย้ำอันตรายซื้อยากินเอง
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการใช้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการน้อย แต่อยากได้รับยาต้านไวรัส ว่า การใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ขณะนี้ เป็นการจัดซื้อโดยกรมการแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ยืนยันว่า ยาไม่ขาด มีการกระจายไปให้ทุกแห่ง แพทย์จะเป็นผู้สั่งจ่ายยาให้
ทั้งนี้ กรมการแพทย์พยายามเตือนมาตลอด ทั้งยาโมลนูพิราเวียร์ และแพกซ์โลวิด เพิ่งใช้มาไม่นานไม่ถึงปี ยังไม่ได้ติดตามผลกระทบ ตามที่เกิดอาการรีบาวด์ (Rebound) แบบในต่างประเทศ ได้พูดคุยกับผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทย ที่พบรีบาวด์เช่นกัน มีประมาณ 2-3 ราย เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับยาโมลนูฯ ปรากฏว่า 2 สัปดาห์ กลับมาตรวจเชื้อมีผลบวกใหม่ ซึ่งบอกได้ยากว่าเกิดจากรีบาวด์หรือติดเชื้อซ้ำ เป็นเหตุผลว่า ไม่อยากให้ซื้อยามาใช้เอง เพราะอาจเจอ ยาปลอม, ยาบางตัวมีผลกับยารักษาโรคอื่นๆ อาจเกิดปัญหาได้
ส่วนการเข้าถึงยารักษา ยืนยันว่า หากตรวจพบเชื้อมีผลบวก สามารถติดต่อระบบสแกนแจกจบ เพื่อรับยา โดยกรมการแพทย์จะมี 3 แห่ง คือ โรงพยาบาล (รพ.) ราชวิถี รพ.นพรัตนราชธานี และ รพ.เลิดสิน ให้กรอก ชื่อ ผลตรวจ อาการ ที่อยู่ เบอร์โทรและโรคร่วม เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับใน 1 ชั่วโมง เพื่อคอนเฟิร์มจะได้รับยาหรือไม่ต้องรับ ทราบว่าทาง กทม. ก็มีระบบสแกนแจกจบเช่นกัน
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid0EDY6SyvmimkHh63k6ToFrbBeSt7XNnVEQsTmPgQBwdA5Gw3NAB29hs3ArAKsE9uGl
สธ. ย้ำ !! โรคฝีดาษวานรอาการไม่รุนแรงแพร่เชื้อต่ำกว่าโควิด แนะ ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก
สงสัยมีอาการป่วย ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อได้ทันที
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลังจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสฝีดาษวานร (Monkeypox) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC) กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมแนวทางและดำเนินการตอบสนองต่อสถานการณ์ทั้งด้านการเฝ้าระวังโรค การป้องกันและการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย มีรายงานผู้สัมผัส 42 ราย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยสงสัย ทั้ง 30 ราย ไม่พบเชื้อฝีดาษวานร ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ติดตามและประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ เร่งค้นหาผู้สัมผัสเพิ่มเติม เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรและความปลอดภัยของประชาชน
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก แนะนำว่ายังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฝีดาษวานรให้กับประชาชนในวงกว้าง แต่อาจฉีดในกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย หรือเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อ (LAB) ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสสัมผัสเชื้อได้มากกว่าคนทั่วไป และขอย้ำว่าโรคฝีดาษวานร ไม่ได้ติดต่อง่ายเหมือนโรคโควิด 19 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยเฉพาะผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ดังนั้น มาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ยังสามารถใช้ได้กับโรคฝีดาษวานร โดยเน้นล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีตุ่มหนองหรือผู้ป่วยต้องสงสัย หลีกเลี่ยงมีเพศสัมพันธ์ที่มี ความเสี่ยงหรือคู่นอนที่ไม่รู้จัก หากประชาชนมีอาการสงสัยว่าตนเองมีอาการป่วยเข้าข่ายกับโรคฝีดาษวานร สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อได้ทันที
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02L2EHJ7bamwZPaeKWPByKnTj9YyH1u2GxqLtkCLfLWoyYSbd65VaXie5xCN1uSGScl
“ฝีดาษวานร” ป้องกันได้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid033NA2yKxAppqAdrxYD5LL8BtCGRXUBbccBtxrPDBc3j6Ce3LBZFfUagHGmUXBCqDVl&id=100068069971811
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0wvYGhc2ZRvcVB67nm4CXejWdCoVDM4E5UMnR1RJx34EKfaipn1Y319zSpMyRDwz7l
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 1 ส.ค. 2565)
รวม 141,636,420 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 1 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 23,462 โดส
เข็มที่ 1 : 1,515 ราย
เข็มที่ 2 : 2,301 ราย
เข็มที่ 3 : 19,646 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,139,383 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,500,358 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 30,996,679 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0MbRQqoLfEcLek2RyuJApCpCwxzXqaTZUDDB7vo56KvDgQCnG5ABFb7PaQatBDMdGl
11 ข้อควรปฏิบัติ เมื่อผู้ป่วยโควิด-19 ต้องกักตัวอยู่บ้าน
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02JbtJfJXWnQCbMWuhVMKS5x3Xi8wtffExudDAVd16jLCZVyMr7evdshVtJqz5wgdpl
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ให้บริการวัคซีน Moderna จนถึง 15 ส.ค. 65
แต่จะยังคงให้บริการวัคซีนอื่นๆ
Pfizer ฝาสีม่วง / AstraZeneca / Sinovac / Pfizer เด็กฝาสีส้ม
จนถึงวันที่ 31 ส.ค. 65
เปิดบริการทุกวัน 09.00 – 16.00 น.
รับบริการที่ประตู 2 ทั้งรูปแบบจองคิวล่วงหน้าผ่านเครือข่ายมือถือ และ Walk in ทั้งคนไทย / ต่างชาติ
ที่มา : CVC กลางบางซื่อ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02x2SHLZXKyFYda2EemR134P9V2c28qQWTx2spafs31LKPrd6xUzDLeHd3yJjtGrCjl
สธ.คาดผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตมีแนวโน้มลดลง
ย้ำ!! ผู้ติดเชื้อไม่ต้องรับยาต้านไวรัสทุกคน หากกินยาไม่เหมาะสม อาจเสี่ยงดื้อยา
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทยเป็นไปตามคาดการณ์ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เริ่มคงตัว ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้ โดยผู้ป่วยอาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ การเสียชีวิตคงตัวและเริ่มมีแนวโน้มค่อยๆ ลดลงใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ซึ่งขณะนี้การระบาดเป็นสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ค่อนข้างดื้อต่อวัคซีน การฉีดเข็มกระตุ้นจะเป็นปัจจัยสำคัญช่วยลดการป่วยอาการหนักและเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากฉีดเข็มล่าสุดมากกว่า 3-4 เดือนขึ้นไป สามารถไปฉีดเข็มกระตุ้นได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ส่วนช่วงเดือนที่ผ่านมามีวันหยุดยาวหลายวัน มีประชาชนเดินทางกลับบ้านจำนวนมาก ต้องติดตามสถานการณ์ในต่างจังหวัดว่าจะมีการระบาดเพิ่มขึ้นหรือไม่ จึงขอให้ดำเนินการมาตรการ 2U คือ Universal prevention คือ มาตรการป้องกันตนเอง ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ Universal Vaccination โดยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิต
สำหรับผู้ติดเชื้อโควิดไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกราย ซึ่งคนทั่วไปที่แข็งแรงฉีดวัคซีนครบถ้วน ส่วนใหญ่จะอาการน้อยก็ไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส ซึ่งการจ่ายยาขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ยาต้านไวรัสเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีทั้งข้อดีข้อเสีย หากรับประทานไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม อาจเกิดผลข้างเคียงหรือการดื้อยาได้
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid024EwVSnoXx2f3A3NWswZy76n9VXKXR3wiEiz3B5aB87L4mKm8G8R6a2BdJP2nxvVUl
"นายกฯ" กำชับเร่งฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม
แม้เคยเป็นผู้ติดเชื้อโควิด ลดความรุนแรง และการเสียชีวิต
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำชับกระทรวงสาธารณสุขเตรียมพร้อมระบบรองรับผู้ป่วยอาการหนักและพร้อมดูแลประชาชน หลังอัตราครองเตียงยังคงทรงตัว พร้อมเน้นย้ำขอทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยลดความรุนแรงของโรค แม้เคยเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 มาก่อนก็ตาม เนื่องจากวัคซีนยังมีความสำคัญช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ ข้อมูลสาธารณสุข ยืนยัน ผู้ที่ติดเชื้อและเคยฉีดวัคซีนมาแล้ว หรือ ติดเชื้อแล้วฉีดวัคซีนจะมีภูมิต้านทานที่ค่อนข้างสูง ที่เรียกว่า “ภูมิต้านทานแบบลูกผสม” อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอาจต้องมีการฉีดทุกปีคล้ายคลึงกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนให้ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาด จะมีการฉีดในกลุ่มเสี่ยง และให้ประจำปี เนื่องจากผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วอาจมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก
ที่มา : โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02x8SdxUPqBteVsiAuLzzQoLSG4v19b2chKobbTF9FAc1miUX9hmbDuNkwbPcnAMRxl
ผู้ป่วยโควิด-19 สีเขียว “ทุกสิทธิรักษา” ลงทะเบียนรับยาออนไลน์ ได้ที่ รพ.กทม. ใกล้บ้าน โดยสแกนคิวอาร์โค้ดในภาพ
ประชาชนที่ตรวจ ATK ได้ผลเป็นบวกทุกสิทธิการรักษา ลงทะเบียนรับยาได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด กทม. ทั้ง 11 แห่ง โดยสแกนคิวอาร์โค้ดในภาพ หรือคลิก >> http://msdmec.go.th/register_covid/ แล้วเลือก รพ.สังกัด กทม.ใกล้บ้าน กรอกชื่อที่อยู่ อาการป่วย ประวัติการฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมแนบภาพถ่ายบัตรประชาชนคู่กับผลตรวจ ATK เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OP) แยกกักตัวที่บ้าน
ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนก่อนเวลา 12.00 น. รับยาได้ภายใน 16.00 น. ของวันนั้น หากลงทะเบียนหลัง 12.00 น. รับยาได้ในวันถัดไป ณ รพ. ที่เลือก โดยนำบัตรประชาชนไปเพื่อแสดงตนด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการรุนแรงให้โทร. 1669 เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้เข้ารักษาที่ รพ. โดยตรง ส่วนผู้ที่มีการลงทะเบียนรับยาที่ รพ. อื่นแล้ว จะไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้
Cr. สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02sHE7EbxAe1ArjNtK7GX9VJyAawRG1L6GM4n6qESrrvt9BXW48qr4Ca2vdWJqsNxnl
ไทยพบรีบาวด์โควิด19 ประมาณ 2-3 ราย ให้ยาโมลนูฯ ครบคอร์ส แต่เชื้อกลับมาโผล่ซ้ำ เตือนย้ำอันตรายซื้อยากินเอง
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการใช้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการน้อย แต่อยากได้รับยาต้านไวรัส ว่า การใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ขณะนี้ เป็นการจัดซื้อโดยกรมการแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ยืนยันว่า ยาไม่ขาด มีการกระจายไปให้ทุกแห่ง แพทย์จะเป็นผู้สั่งจ่ายยาให้
ทั้งนี้ กรมการแพทย์พยายามเตือนมาตลอด ทั้งยาโมลนูพิราเวียร์ และแพกซ์โลวิด เพิ่งใช้มาไม่นานไม่ถึงปี ยังไม่ได้ติดตามผลกระทบ ตามที่เกิดอาการรีบาวด์ (Rebound) แบบในต่างประเทศ ได้พูดคุยกับผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทย ที่พบรีบาวด์เช่นกัน มีประมาณ 2-3 ราย เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับยาโมลนูฯ ปรากฏว่า 2 สัปดาห์ กลับมาตรวจเชื้อมีผลบวกใหม่ ซึ่งบอกได้ยากว่าเกิดจากรีบาวด์หรือติดเชื้อซ้ำ เป็นเหตุผลว่า ไม่อยากให้ซื้อยามาใช้เอง เพราะอาจเจอ ยาปลอม, ยาบางตัวมีผลกับยารักษาโรคอื่นๆ อาจเกิดปัญหาได้
ส่วนการเข้าถึงยารักษา ยืนยันว่า หากตรวจพบเชื้อมีผลบวก สามารถติดต่อระบบสแกนแจกจบ เพื่อรับยา โดยกรมการแพทย์จะมี 3 แห่ง คือ โรงพยาบาล (รพ.) ราชวิถี รพ.นพรัตนราชธานี และ รพ.เลิดสิน ให้กรอก ชื่อ ผลตรวจ อาการ ที่อยู่ เบอร์โทรและโรคร่วม เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับใน 1 ชั่วโมง เพื่อคอนเฟิร์มจะได้รับยาหรือไม่ต้องรับ ทราบว่าทาง กทม. ก็มีระบบสแกนแจกจบเช่นกัน
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid0EDY6SyvmimkHh63k6ToFrbBeSt7XNnVEQsTmPgQBwdA5Gw3NAB29hs3ArAKsE9uGl
สธ. ย้ำ !! โรคฝีดาษวานรอาการไม่รุนแรงแพร่เชื้อต่ำกว่าโควิด แนะ ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก
สงสัยมีอาการป่วย ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อได้ทันที
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลังจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสฝีดาษวานร (Monkeypox) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC) กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมแนวทางและดำเนินการตอบสนองต่อสถานการณ์ทั้งด้านการเฝ้าระวังโรค การป้องกันและการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย มีรายงานผู้สัมผัส 42 ราย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยสงสัย ทั้ง 30 ราย ไม่พบเชื้อฝีดาษวานร ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ติดตามและประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ เร่งค้นหาผู้สัมผัสเพิ่มเติม เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรและความปลอดภัยของประชาชน
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก แนะนำว่ายังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฝีดาษวานรให้กับประชาชนในวงกว้าง แต่อาจฉีดในกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย หรือเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อ (LAB) ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสสัมผัสเชื้อได้มากกว่าคนทั่วไป และขอย้ำว่าโรคฝีดาษวานร ไม่ได้ติดต่อง่ายเหมือนโรคโควิด 19 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยเฉพาะผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ดังนั้น มาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ยังสามารถใช้ได้กับโรคฝีดาษวานร โดยเน้นล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีตุ่มหนองหรือผู้ป่วยต้องสงสัย หลีกเลี่ยงมีเพศสัมพันธ์ที่มี ความเสี่ยงหรือคู่นอนที่ไม่รู้จัก หากประชาชนมีอาการสงสัยว่าตนเองมีอาการป่วยเข้าข่ายกับโรคฝีดาษวานร สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อได้ทันที
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02L2EHJ7bamwZPaeKWPByKnTj9YyH1u2GxqLtkCLfLWoyYSbd65VaXie5xCN1uSGScl
“ฝีดาษวานร” ป้องกันได้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid033NA2yKxAppqAdrxYD5LL8BtCGRXUBbccBtxrPDBc3j6Ce3LBZFfUagHGmUXBCqDVl&id=100068069971811
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💖มาลาริน💖🇹🇭 2ส.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก อยู่อันดับ28 ไต้หวันแซงไทย/ป่วย1,843คน หาย2,514คน ตาย27คน/แนะกินยาตามหมอสั่ง
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1018521
สธ.ยก “Covid rebound” แนะผู้ป่วยโควิดกินยาต้านไวรัสตามหมอสั่ง
สธ.ยกกรณีเกิด “Covid rebound” คือ กินยาต้านไวรัสครบ แต่กลับมาติดเชื้อซ้ำ เตือนผู้ป่วยโควิดไม่จำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสทุกคน ขอให้ใช้ตามแพทย์สั่ง
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีผู้ป่วยโควิด-19 บางราย อยากได้รับยาต้านไวรัส ว่า ยาต้านไวรัสเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด คนที่แข็งแรง ได้รับวัคซีนครบถ้วน ส่วนใหญ่อาการน้อย ในความเป็นจริงแล้วในกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัส ดังนั้นวิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ย้ำว่ายาต้านไวรัสเป็นสารเคที่มีทั้งผลดีและผลเสีย หากใช้ไม่ถูกก็อาจเกิดผลข้างเคียง เกิดผลเสียระยะยาวได้
โดยขณะนี้เรากำลังเจอปรากฎการณ์ “Covid Rebound” ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โจ ไบเดน ซึ่งได้รับยาแพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) ในการรักษาตัวไปแล้ว แต่พอหยุดยากลับมาตรวจพบเชื้ออีก ทำให้เกิดสมมติฐานว่าในผู้ป่วยบางคน ยาไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ทั้งหมด
ดังนั้น การให้ยาต้านไวรัสที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกวิธี ไม่เหมาะกับคน แทนที่จะเกิดข้อดี อาจทำให้เกิดข้อเสียในเรื่องการดื้อยา ซึ่งปรากฎการณ์นี้ อาจเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ ย้ำอีกว่าการพิจารณาเลือกยาขอให้เป็นดุลยพินิจของแพทย์ และคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องกินยาทุกคน
https://www.pptvhd36.com/health/news/1406
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
ผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลลดลง