อันนี้ผมแค่สงสัยเฉยๆครับ
ส่วนตัวผมจบจากราชภัฏ และได้รู้จักเพื่อนๆภายในมหาลัย (ปัจจุบันจบแล้ว ทำงานแล้ว รหัสปี 54)
เหตุผลหลักที่เพื่อนๆรวมถึงตัวผมเข้าเรียน ม.ราชภัฏ เพราะพ่อแม่อยากให้อยู่บ้านครับ ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆภายในครอบครัวของแต่ละคน นี่ยังไม่รวมปัญหาด้านการเงิน หรือความคิดของพ่อแม่
เหตุนี้เราจะเห็นเด็กราชภัฏ มักเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ภายในจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียงเป็นส่วนใหญ่
แต่พอมาอ่านความเห็นในโลกโซเชียล คนภายนอกมักมองว่าคนเรียนราชภัฏคือคนสอบเข้า ม.ดังไม่ติด นั่นก็แสดงว่าคนที่เรียนราชภัฏล้วนแล้วแต่เป็นคนที่ไม่เก่ง ทั้งที่เขาไม่มีโอกาสได้สอบเลยด้วยซ้ำครับ ก็เลยเกิดคำถามนี้ขึ้นมาครับ หรือว่าชุดความคิดนี้เป็นชุดความคิดเด็กที่อาศัยอยู่ภายในกรุงเทพครับ
แต่จากที่ผมสัมผัสมาที่นี่ก็มีทั้งคนเรียนเก่ง(เด็กจุฬาระดับหัวกะทิอาจจะเก่งกว่าครับ)และเรียนไม่เก่ง มีทั้งคนที่สอบเข้า ม.ดังไม่ติด และคนที่อยากเรียนเพราะเรียนใกล้บ้าน แต่กลุ่มคนที่เก่งอาจจะมีแค่สามสี่คนจากเด็กสี่สิบคน
ผมเลยอยากสอบถาม เพื่อนๆที่จบราชภัฏ(ในต่างจังหวัด)ว่าท่านเข้าราชภัฏ ด้วยเหตุผลเพราะอะไรครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ส่วนตัวผมยอมรับว่า หากได้เรียนจุฬา หรือ ม.ดังๆ ผมคงได้ connection ที่ดีหรือได้สังคมระหว่างเรียนไปอีกแบบ มีเพื่อนเก่งๆหลายๆคนเคียงข้าง แต่ต้องแลกด้วยการทิ้งครอบครัว เพื่อไปศึกษาเล่าเรียน อีกทั้งหากจบออกมาแล้ว ผมคงต้องหางานทำในกรุงเทพ เพื่อที่จะได้ connection ที่ดีหรือได้เงินเดือนสูงๆ สิ่งนี้ก็ยิ่งทำให้ผมต้องห่างไกลกับครอบครัวเข้าไปอีก
ทั้งนี้เมื่อเด็กราชภัฏจบไปแล้ว แต่ต้องมาตกงานหรือทำงานไม่ตรงสาย สังคมจะมองไปอีกว่า นี่ไง! เรียนราชภัฏจบมาก็ตกงาน แต่ถ้ามองลึกๆแล้วเด็กต่าง กลุ่มนี้พวกเขาแค่ไม่มีโอกาสไปทำงานบริษัทดีๆ ได้ เพราะในต่างจังหวัดไม่มีงานที่จะรองรับเด็กจบใหม่ในสาขานั้นๆได้เพียงพอ เช่น หากผมจบวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่ผมไม่มีโอกาสได้ไปหางานทำในกรุงเทพ งานที่รองรับในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานซ่อม service ต่างๆเท่านั้น หรืออาจจะทำงานตรงสายหน่อยก็จะเป็น นวก.คอมในหน่วยงานราชการ(ส่วนใหญ่ต้องมีเส้นสาย) หรือรับงาน Freelance ทำให้คนกลุ่มนี้ทำงานไม่ค่อยตรงสาย แต่หากเด็กจบม.ราชภัฏได้ไปหางานทำในกรุงเทพ เด็กกลุ่มนี้อาจจะได้ทำอาชีพโปรแกรมเมอร์เงินเดือนสูงๆพอๆกับเด็ก ม.ดังก็เป็นได้ ซึ่งเด็กราชภัฏหลายๆคนที่ไปหางานทำให้กรุงเทพก็ได้งานดีๆกันหลายคนอยู่ครับ
อ่านมาถึงตรงนี้ผมกำลังจะสื่อว่าประเทศไทยนั้นมีความเหลื่อมล้ำหลายๆด้านด้วยกัน ทั้งด้านการศึกษา การหางาน หากอยากได้ดีก็ต้องทิ้งครอบครัว เพื่อมาอยู่มาเรียน ทำงานในเมืองหลวง
ที่นี้เราจะทำอย่างไรให้เด็กต่างจังหวัดที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียน ม.ดังๆภายในกรุงเทพ ได้เรียนใกล้บ้าน(หรือเรียนราชภัฏ) และมีสังคมที่ดี คนภายนอกไม่ดูถูก เหมือน ม.ดัง ครับ
มหาลัยราชภัฏที่มีอยู่เดิมแล้ว ตามตัวจังหวัดควรเริ่มอย่างไรครับ หรือปัญหานี้ต้องยกเป็นปัญหาระดับชาติครับ
หากมหาลัยคัดแต่คนเก่งๆเท่านั้นเข้าเรียน มหาลัยอาจจะได้จำนวนเด็กเข้าเรียนที่น้อยก็อาจจะไม่คุ้มค่ากับการเปิดหลักสูตรต่อจำนวนผู้เรียน และเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาก็เข้าถึงยากเข้าไปอีก
[งดดราม่า]ทำไมคนส่วนใหญ่มองว่าคนเรียนราชภัฏเป็นคนที่สอบเข้า ม.ดังไม่ติดครับ
ส่วนตัวผมจบจากราชภัฏ และได้รู้จักเพื่อนๆภายในมหาลัย (ปัจจุบันจบแล้ว ทำงานแล้ว รหัสปี 54)
เหตุผลหลักที่เพื่อนๆรวมถึงตัวผมเข้าเรียน ม.ราชภัฏ เพราะพ่อแม่อยากให้อยู่บ้านครับ ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆภายในครอบครัวของแต่ละคน นี่ยังไม่รวมปัญหาด้านการเงิน หรือความคิดของพ่อแม่
เหตุนี้เราจะเห็นเด็กราชภัฏ มักเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ภายในจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียงเป็นส่วนใหญ่
แต่พอมาอ่านความเห็นในโลกโซเชียล คนภายนอกมักมองว่าคนเรียนราชภัฏคือคนสอบเข้า ม.ดังไม่ติด นั่นก็แสดงว่าคนที่เรียนราชภัฏล้วนแล้วแต่เป็นคนที่ไม่เก่ง ทั้งที่เขาไม่มีโอกาสได้สอบเลยด้วยซ้ำครับ ก็เลยเกิดคำถามนี้ขึ้นมาครับ หรือว่าชุดความคิดนี้เป็นชุดความคิดเด็กที่อาศัยอยู่ภายในกรุงเทพครับ
แต่จากที่ผมสัมผัสมาที่นี่ก็มีทั้งคนเรียนเก่ง(เด็กจุฬาระดับหัวกะทิอาจจะเก่งกว่าครับ)และเรียนไม่เก่ง มีทั้งคนที่สอบเข้า ม.ดังไม่ติด และคนที่อยากเรียนเพราะเรียนใกล้บ้าน แต่กลุ่มคนที่เก่งอาจจะมีแค่สามสี่คนจากเด็กสี่สิบคน
ผมเลยอยากสอบถาม เพื่อนๆที่จบราชภัฏ(ในต่างจังหวัด)ว่าท่านเข้าราชภัฏ ด้วยเหตุผลเพราะอะไรครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ส่วนตัวผมยอมรับว่า หากได้เรียนจุฬา หรือ ม.ดังๆ ผมคงได้ connection ที่ดีหรือได้สังคมระหว่างเรียนไปอีกแบบ มีเพื่อนเก่งๆหลายๆคนเคียงข้าง แต่ต้องแลกด้วยการทิ้งครอบครัว เพื่อไปศึกษาเล่าเรียน อีกทั้งหากจบออกมาแล้ว ผมคงต้องหางานทำในกรุงเทพ เพื่อที่จะได้ connection ที่ดีหรือได้เงินเดือนสูงๆ สิ่งนี้ก็ยิ่งทำให้ผมต้องห่างไกลกับครอบครัวเข้าไปอีก
ทั้งนี้เมื่อเด็กราชภัฏจบไปแล้ว แต่ต้องมาตกงานหรือทำงานไม่ตรงสาย สังคมจะมองไปอีกว่า นี่ไง! เรียนราชภัฏจบมาก็ตกงาน แต่ถ้ามองลึกๆแล้วเด็กต่าง กลุ่มนี้พวกเขาแค่ไม่มีโอกาสไปทำงานบริษัทดีๆ ได้ เพราะในต่างจังหวัดไม่มีงานที่จะรองรับเด็กจบใหม่ในสาขานั้นๆได้เพียงพอ เช่น หากผมจบวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่ผมไม่มีโอกาสได้ไปหางานทำในกรุงเทพ งานที่รองรับในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานซ่อม service ต่างๆเท่านั้น หรืออาจจะทำงานตรงสายหน่อยก็จะเป็น นวก.คอมในหน่วยงานราชการ(ส่วนใหญ่ต้องมีเส้นสาย) หรือรับงาน Freelance ทำให้คนกลุ่มนี้ทำงานไม่ค่อยตรงสาย แต่หากเด็กจบม.ราชภัฏได้ไปหางานทำในกรุงเทพ เด็กกลุ่มนี้อาจจะได้ทำอาชีพโปรแกรมเมอร์เงินเดือนสูงๆพอๆกับเด็ก ม.ดังก็เป็นได้ ซึ่งเด็กราชภัฏหลายๆคนที่ไปหางานทำให้กรุงเทพก็ได้งานดีๆกันหลายคนอยู่ครับ
อ่านมาถึงตรงนี้ผมกำลังจะสื่อว่าประเทศไทยนั้นมีความเหลื่อมล้ำหลายๆด้านด้วยกัน ทั้งด้านการศึกษา การหางาน หากอยากได้ดีก็ต้องทิ้งครอบครัว เพื่อมาอยู่มาเรียน ทำงานในเมืองหลวง
ที่นี้เราจะทำอย่างไรให้เด็กต่างจังหวัดที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียน ม.ดังๆภายในกรุงเทพ ได้เรียนใกล้บ้าน(หรือเรียนราชภัฏ) และมีสังคมที่ดี คนภายนอกไม่ดูถูก เหมือน ม.ดัง ครับ
มหาลัยราชภัฏที่มีอยู่เดิมแล้ว ตามตัวจังหวัดควรเริ่มอย่างไรครับ หรือปัญหานี้ต้องยกเป็นปัญหาระดับชาติครับ
หากมหาลัยคัดแต่คนเก่งๆเท่านั้นเข้าเรียน มหาลัยอาจจะได้จำนวนเด็กเข้าเรียนที่น้อยก็อาจจะไม่คุ้มค่ากับการเปิดหลักสูตรต่อจำนวนผู้เรียน และเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาก็เข้าถึงยากเข้าไปอีก