เหตุที่น้ำมันแพง เพราะค่าการตลาดสูงจริงไหม ?

แน่นอนครับ ว่าตอนนี้อะไรก็แพงไปหมดถ้าให้เพื่อน ๆ นึกมา 1 อย่างทุกคนก็คงนึกถึง น้ำมันใช่มั้ยครับและที่เป็นกระแสทำให้คนสนใจมากในตอนนี้ ก็เรื่องค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง ที่นักการเมืองท่านหนึ่งได้ออกมาพูดในเรื่องนี้

     วันนี้ผมเลยรวบรวมข้อมูลที่พอจะเป็นประโยนชน์มาแชร์สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากรู้เรื่องค่าการตลาดครับ
แน่นอนครับ น้ำมันของไทยผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบ ไทยจึงมีการนำเข้าเพื่อมากลั่นให้เพียงพอต่อการใช้และเหลือจึงส่งออก โดยราคาที่ซื้อขายและอ้างอิงนั้น ใช้ราคาจากตลาดสิงคโปร์ (ผมคิดว่าในพันทิปน่าจะทราบกันแล้ว)

     เมื่อไหร่ที่ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์มีการปรับตัวขึ้น หรือแม้แต่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า แน่นอนว่าจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าปรับขึ้นตามไปด้วยครับ ยิ่งในช่วงตั้งแต่ ต้นปีที่ผ่านมามีปัญหาความไม่สงบระหว่าง รัสเซีย – ยูเครน ทำให้ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์โดนผลกระทบไปด้วยนั้นเองครับ 

     แล้วทำไมบางประเทศถึงมีราคาหน้าปั๊มถูกกว่าไทยล่ะ ? ทั้งที่อ้างอิงราคาจากตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์เหมือนกัน
 
      เป็นเพราะว่าโครงสร้างน้ำมันของแต่ละประเทศแตกต่างกัน เพราะกว่าจะเป็นน้ำมันลิตร 1 เราต้องจ่าย 4 ส่วนด้วยกัน
     1.  ต้นทุน ราคา ณ โรงกลั่น = ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ + ค่าพรีเมียมต่างๆ ตามกฎหมายกำหนด
     2.  ภาษี = ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 2 รอบ
     3.  กองทุน = กองอนุรักษ์พลังงาน กองทุนน้ำมัน
     4.  ค่าการตลาด


     ผมอ้างอิงตามโครงสร้างน้ำมันในวันที่ 1 ส.ค 2565 นะครับ 
     เพื่อน ๆ ที่ใช้เบนซิน 95 ราคาขายปลีกอยู่ที่ลิตรละ 45.26 บาท แต่ราคาหน้าโรงกลั่นอยู่ที่ 28.19 บาท แน่นอนครับว่ามีส่วนต่าง 17.06 บาท โดยคนใช้เบนซินอย่างผมจะต้องจ่าย ภาษีสรรพสามิต​ลิตรละ 6.50 บาท จ่ายเข้ากองทุนน้ำมันลิตรละ 7.18 บาท และค่าการตลาดอีกลิตรละ 0.23 บาท ครับ

     และในช่วงที่น้ำมันปรับขึ้น อย่างที่เราทราบกันว่าคนที่ใช้ดีเซลได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเพราะว่ารัฐใช้เงินกองทุนและภาษีสรรพสามิตเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งจากผลสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 18 เดือน มิ.ย. 65 จาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัดส่วนใหญ่ อยากให้รัฐเพิ่มเวลาในการลดภาษี สรรพสามิตน้ำมันดีเซล 5 บาทต่อลิตร ที่กำลังจะหมดเขตในวันที่ 20 มิ.ย นี้ต่ออีก 2 – 3 เดือน เพื่อลดภาระของประชาชนและลดต้นทุนช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจปั๊มครับ


     โดยประเด็นที่ นักการเมือง ท่านหนึ่งออกมาบอกว่าค่าการตลาด เพิ่มขึ้นมา 1 บาท แก๊สโซฮอล์ 95 E10 ค่าการตลาด 3.42 บาทต่อลิตร ส่วน แก๊สโซฮอล์91 อยู่ที่ 3.62 บาทต่อลิตร ที่จริงค่าการตลาดไม่ควรที่จะเกิน 2 บาทต่อลิตร 
จากประเด็นค่าการตลาดนี้ ดร.สมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน ออกมาแจ้งว่า หากเราจะดูนั้น เราควรจะดูภาพรวมทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ดีเซลหรือเบนซิน ไม่สามารถดูชนิดใดชนิดนึงได้ และไม่ควรจะเอามาเปรียบทียบกับค่าการตลาดรายวัน ผมว่านักการเมืองท่านนี้ก็น่าจะรู้ดีอยู่แล้วแต่ทำไมถึงออกมาพูดนะ 

     นอกจากนี้รัฐยังขอความร่วมมือกับผู้ค้าน้ำมันในการช่วยตรึง ราคาดีเซลห้ามขายเกิน 35 บาท อีกด้วย (แต่ก็มีบางยี่ห้อขายเกินได้นะ ไม่ผิดอะไร) นอกจากนี้ดีเซลมียอดใช้เพิ่มตั้งแต่ ม.ค-พ.ค 65 แน่นอนครับว่าผู้ค้าอาจต้องมีการถัวค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าการตลาดกลุ่มแก๊สโซฮอล์เอาไปเพิ่มในส่วนดีเซลที่ขาดหายไปนั้น เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด (เอาจริง ๆ ไม่ควรทำแบบนี้ไม่สะท้อนกลไกราคา และ ผู้ใช้แก๊สโซฮอล์และเบนซินรับภาระอีก) 
เพราะที่ผ่านมาเมื่อ ค่าการตลาดบางชนิดติดลบ ปั๊มรวมถึงผู้ประกอบการต้องรับภาระในส่วนนี้ไป (เคยได้ยินมาว่าปั๊มได้เท่าเดิมตามสัญญาแต่ที่เข้าเนื้อคือแบรนด์ยี่ห้อที่รับภาระส่วนต่างตรงนั้น) เพื่อน ๆ เคยได้ยินมั้ยครับ ปั๊มช่วยเติมน้ำมัน หรือ คนเติมเยอะ แต่ยังติดลบ

     ซึ่งแน่นอนครับว่าผมมองว่าการเก็บภาษีที่มากเกินไปและไม่มีการปรับลดเลย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเบนซิน และ แก๊สโซฮอล์) ไม่ว่าตลาดน้ำมันมันสำเร็จรูปสิงคโปร์จะขึ้นหรือลง ผมคิดว่าถ้าลดการเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนเกินไปหรือลดการเก็บบ้างบางส่วน จะสามารถช่วยเหลือราคาหน้าปั๊มให้สมเหตุสมผลได้ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่