เมื่อเอ่ยถึงป่าช้าวัดดอน ขึ้นชื่อว่า “ผีดุ” จริงเท็จอย่างไรไม่รู้ แต่สมัยเด็กๆ ผมมักจะคิดว่าเป็นป่าช้าแถวๆวัดดอนเมือง ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ แต่เป็นป่าช้าแถวสาธร และเป็นสุสานชาวจีนแต้จิ๋ว
ป่าช้าวัดดอนกลับมาถูกเรียกขานกันบ่อยๆอีกครั้ง ก็เนื่องจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันได้จัดให้มีการเล่นดนตรีในสวน จึงทำให้ผมอยากจะไปที่นี่สักครั้ง แม้จะอยู่ใจกลางเมือง แต่ก็ไม่เคยไปเลยสักที
ว่าแล้วก็นั่งรถไฟฟ้าบีทีเอส จากสถานีแถวบ้านไปลงที่สถานีสยาม แล้วต่อรถไฟฟ้าสายบางหว้า ไปลงที่สถานีสุรศักดิ์ ลงจากสถานีสุรศักดิ์ ดู google map ก็เห็นว่าระยะทางเดินไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตรเท่านั้น ผมก็เลยถือโอกาสออกกำลังกายไปในตัวครับ ไม่เรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ขอโทษพี่วินด้วยนะครับ วันหลังจะไปใช้บริการครับ
ระหว่างทางที่เดินไปเข้าซอยเจริญราษฎร์ ๑ เดินตรงไปจนสุด (ทางตัน) แล้วเลี้ยวซ้ายเจอเซเว่น-อีเลฟเว่นอยู่ซ้ายมือ ให้เลี้ยงขวาเดินตรงไปเรื่อยๆ จะเจอสามแยก ซ้ายมือจะเป็นทางเข้าสุสานแต้จิ๋ว ถ้าไปไม่ถูก ถามชาวบ้านแถวนั้นก็ได้ครับ (ผมเองก็ถามเขามาตลอดทาง...แฮ่)
พอเดินผ่านเข้ามา ก็จะพบกับที่ทำการสุสานและฌาปนกิจจีนแต้จิ๋ว สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย เป็นอาคารเก่าแก่อยู่ขวามือ
ประวัติของสุสานแต้จิ๋วหรือป่าช้าวัดดอนแห่งนี้ มีคนเขียนถึงมากมายหลายคนมาก แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีคนโพสต์ลงในแอปพลิเคชั่นไลน์อยู่ท่านหนึ่ง เขียนไว้ดีมาก ส่งต่อๆกันในไลน์กรุ๊ป น่าเสียดาย ไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียนไว้ ผมจะขออนุญาตคัดลอกมาให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกันครับ และขอขอบคุณท่านนิรนามท่านนี้ด้วยครับที่เขียนเล่าเรื่องราวประวัติของสุสานแต้จิ๋วออกมาได้อย่างน่าประทับใจมากครับ ลองไปอ่านกันครับ...
สุสานแต้จิ๋ว ป่าช้าวัดดอน หรือ หงี่ซัวเต็ง ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะสุขภาพ จากเรี่ยวแรงของภาคเอกชนน่าอัศจรรย์แล้ว ยังเป็นที่ควรหวนระลึกถึงบรรพบุรุษชาวจีนที่อพยพมาหากินโพ้นทะเล (ก๊วยฮวง 过番) ที่พ่ายแพ้ต่อชีวิต ตายถมเป็นศพไร้ญาติที่ป่าช้าวัดดอนทวาย เกิดเป็นตำนานผีสางสยองขวัญก่อนล้างป่าช้าปรับปรุงเป็นสวน
ที่ศาลาหลังเก่าของสุสาน ที่ตั้งบูชาพระอาจารย์ไต้ฮงกงและเก็บโลงศพไร้ญาติในอดีต เคยมีกลอนจีน (ซี้กู่) ที่อาจารย์ต้วนลีเซิง ปราชญ์จีนผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีนโพ้นทะเลไทยค้นพบเขียนไว้ว่า
渡过黑水 ,吃过苦水
满怀心事付流水.
想做座山, 无回唐山
终老骨头归义山.
เคยล่องน้ำดำ เคยกินน้ำขม
หอบความทุกข์เต็มอุระล่องไปกับสายน้ำ
หวังได้เป็นเจ้าสัว กลับบ้านซัวเถาไม่ได้
สุดท้ายก็ฝังร่างลงที่หงี่ซัว
เป็นกลอนที่เขียนสะท้อนถึงชีวิตของชาวจีนอพยพที่กลายมาเป็นคนจนเมือง แล้วต่อสู้กับชีวิตไม่ประสบผลสำเร็จ ต้องตายก่อนที่จะรวย และถูกฝังที่สุสานแต้จิ๋วนี้
หลวงสิทธิสุโรปกรณ์ (ไหล่คือไต้) นายอากรสุราสมัยรัชกาลที่ ๖ เห็นคนจีนอพยพล้มตายไม่มีที่ฝัง จึงขอซื้อที่ดินจาก ร.๖ มาทำเป็นสุสานจีนอพยพไร้ญาติ ร่วมกันทั้งจีนแต้จิ๋ว ไหหลำ จีนแคะที่มาจากซัวเถา ไว้เป็นเรือนนอนยามตาย ไม่ปล่อยทิ้งไว้ให้อุจาดตา มีศาลเจ้าไต้ฮงกงดูแลดวงวิญญาณ ประดับภาพเขียนภูเขาให้ระลึกถึงบ้านเกิดจึงเรียกว่า หงี่ซัวเต็ง
คนจีนแต้จิ๋ว ที่ลงเรือจากท่าเรือเจียงลิ้ม ในเท่งไฮ้ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่ท่าเรือซัวเถาในสมัยต่อๆมา
สาเหตุใหญ่ๆ ที่มา คือหนีความอดอยากมาแสวงโชค หวังร่ำรวยกลับบ้านเกิด แต่สุดท้ายจะจบลงเช่นไร ก็หนีไม่พ้นภูเขาทั้งสามหรือ "ซาซัว" ได้แก่
1 จ่อซัว 座山 หรือที่คนไทยเรียกเจ้าสัว
2 ตึ่งซัว 唐山 กลับซัวเถาแผ่นดินจีนถิ่นกำเนิด
3 หงี่ซัว 义山 คือหงี่ซัวเต็ง ป่าช้าวัดดอน (วัดบรมสถล) ที่ฝังศพไร้ญาตินี่เอง
คนรุ่นอาเหล่ากง อาเหล่าม่า จีนอพยพ ใช่ว่าจะหอบเสื่อผืนหมอนใบมาร่ำรวยทุกคน
เศรษฐกิจการพัฒนาของเมืองมีคนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังและตายอย่างยากจน ไม่ใช่มีแต่คนที่หอบเสื่อผืนหมอนใบมาประสบความสำเร็จ การอุทิศตนช่วยเหลือกันในสังคม การรวมตัวตั้งสมาคมชาวจีน จนมีสุสานแต้จิ๋ว เป็นเครือข่ายสังคมคนจีนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งในยามเป็นและยามตาย
ภาษิตจีนสอนลูกหลานว่า ในยามแก่เฒ่าเป็นคนแก่ (เหล่านั้ง) ต้องมีสามเก่า (ซาเหล่า) อยู่ด้วย ชีวิตถึงจะมีความสุขในวัยชรา
หนึ่งคือมีเหล่าโบ้ว (ภรรยาเก่า หมายถึงคู่ชีวิตเก่า) ที่อยู่ด้วยกันจนแก่ชรารู้ใจกัน เข้าใจเกื้อกูลกันทุกอย่าง แก่เฒ่าไปด้วยกัน
สองคือมี เหล่าจี้ (เงินเก่า) คือเงินออมทุนสะสมมาใช้ในวัยชรา ไม่ต้องเดือดร้อนลูกหลานขอเงินมาเลี้ยงให้เขาเดือดร้อนรำคาญใจ และช่วยเหลือเกื้อกูลลูกหลานในยามลำบากได้
สามคือมี เหล่าอิ้ว (เพื่อนเก่า) ที่พูดคุยหล่อเลี้ยงหัวใจกันไม่ให้เบื่อหน่าย ทำกิจกรรมให้รื่นเริง ไม่แก่ สมองได้คิดเท่าทันไม่เสื่อมไปตามวัย
พื้นที่สาธารณะอย่างสวนแต้จิ๋ว และสวนสาธารณะอื่นๆ ในกรุงเทพ จะทำให้เหล่านั้งมีเหล่าอิ้ว พบเจอเพื่อนๆ ทำกิจกรรมร่วมกัน ออกกำลังให้แข็งแรงทั้งกายและใจ มีชีวิตวัยชราอย่างยืนยาวและมีความสุข....
เมื่อเดินผ่านที่ทำการสุสานมา ก็จะพบว่ามีการตีเส้นสีขาวให้ออกกำลังกาย แบ่งออกเป็นเส้นสำหรับเดินและวิ่งทั้งไปและกลับ ผมลองเดินตามเส้นไป ก็จะพบกับศาลบรรพชนแต้จิ๋ว ผมจึงขอเจ้าหน้าที่ที่ดูแล ขอเข้าไปดูและถ่ายรูป เดินออกมาเจอน้องที่มาออกกำลังกาย บอกว่า พี่โชคดีมาก เพราะปกติผมไม่เห็นว่าจะเปิดนะ ผมมาออกกำลังกายหลายครั้ง ไม่เห็นเปิดสักที...โอ๊ะจริงเหรอ มีภาพมาให้ชมภายในกันด้วยครับ
ศาลบรรพชนแต้จิ๋ว เดิมเรียกว่า ฮกซื่อ สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.๑๙๐๑ (ศักราชราชวงศ์เช็งกวงสูปีที่ ๒๗) ตรงกับพ.ศ.๒๔๔๔ เนื่องจากตัวศาลเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีอายุกว่าร้อยปี ผ่านกาลเวลาที่ยาวนาน อีกทั้งถูกลมฝนกัดกร่อน จนเกิดการแตกหักผุพังเสียหายอย่างหนัก คณะกรรมการสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทยจึงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓
ด้านหน้าศาลบรรพชน จะเป็นศาลาไต้ฮงกง สร้างขึ้นอย่างสวยเด่นสง่างาม
จากนั้น ผมเดินต่อมาเรื่อยๆ ก็จะพบกับ “ป่าช้า” อยู่สองข้างทาง (นึกถึงว่าถ้ามาตอนกลางคืน ก็ออกจะดูน่ากลัวอยู่นะครับ) ระหว่างทางที่เดินมีต้นไม้สูงใหญ่ปกคลุมตลอดทาง ทำให้ร่มรื่น ไม่รู้สึกร้อน เดินไปจนสุดทาง ก็จะเป็นทางหักมุม ด้านขวามีศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่ง ศาลเจ้าแปะกงชิงเฮง ผมจึงเดินเข้าไปกราบไหว้ (ผมอ่านภาษาจีนไม่ออกหรอกครับ แต่เห็นมีป้ายผู้บริจาคเพื่อปรับปรุงศาลเจ้าแปะกงติดไว้ผนังด้านข้างศาล)
เดินต่อไปจนสุดทาง ก็จะมีลูกศรให้เลี้ยวกลับ ย้อนกลับไปทางที่เดินเข้ามา ไปจนสุดทางมีตัวเลขเขียนระยะทางไว้ว่า ๑,๔๐๐ เมตรครับ
หลังจากนั่งพัก ดื่มน้ำ และเก็บภาพบรรยากาศแล้ว จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ท้องก็เริ่มหิวเพราะใกล้เที่ยงเต็มทน จึงไลน์ไปถามเพื่อนว่า แถวนี้มีอาหารอะไรอร่อยๆมั่ง เพื่อนตอบว่า ไม่เคยไปแถวนั้นเลยแนะนำไม่ถูก...สงสัยจะอดกินของอร่อยล่ะวันนี้
ผมจึงเดินออกจากสุสานแล้วมุ่งหน้ากลับไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีสุรศักดิ์เพื่อกลับบ้าน ระหว่างทางเห็นแม่ค้าขายอาหารตามสั่งอยู่ร้านหนึ่ง ไม่มีชื่อร้าน เดินผ่านไปจะออกซอยเจริญราษฎร์ ๑ แล้ว แต่เดินกลับมาใหม่ สั่งข้าวผัดกะเพราเนื้อ ไข่ดาว ของโปรด รอสักพักแม่ค้าก็นำอาหารมาวาง โดยผมเองไม่ได้คาดหวังถึงความอร่อยแต่อย่างใด แต่พอกินเนื้อกะเพราเท่านั้นแหละ โอ้โหแฮะ...เนื้อนุ่มมาก รสชาติก็อร่อยอย่างไม่น่าเชื่อ เลยฟาดซะหมดจานเลยครับ ถ้าใครมาแถวนี้ ผมแนะนำร้านนี้เลยครับ ไม่มีชื่อร้าน แต่จะอยู่ปากซอยเจริญราษฎร์ ๑ ครับ
วันนี้รีวิวเท่านี้ละครับ สวัสดีครับ....
ภาพและเรื่องโดยนายสามเหลี่ยม
#เพจศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ ลพบุรี
ศาลเจ้าในป่าช้าวัดดอน (ไหว้ศาลเจ้า ep5)
ป่าช้าวัดดอนกลับมาถูกเรียกขานกันบ่อยๆอีกครั้ง ก็เนื่องจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันได้จัดให้มีการเล่นดนตรีในสวน จึงทำให้ผมอยากจะไปที่นี่สักครั้ง แม้จะอยู่ใจกลางเมือง แต่ก็ไม่เคยไปเลยสักที
ว่าแล้วก็นั่งรถไฟฟ้าบีทีเอส จากสถานีแถวบ้านไปลงที่สถานีสยาม แล้วต่อรถไฟฟ้าสายบางหว้า ไปลงที่สถานีสุรศักดิ์ ลงจากสถานีสุรศักดิ์ ดู google map ก็เห็นว่าระยะทางเดินไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตรเท่านั้น ผมก็เลยถือโอกาสออกกำลังกายไปในตัวครับ ไม่เรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ขอโทษพี่วินด้วยนะครับ วันหลังจะไปใช้บริการครับ
ระหว่างทางที่เดินไปเข้าซอยเจริญราษฎร์ ๑ เดินตรงไปจนสุด (ทางตัน) แล้วเลี้ยวซ้ายเจอเซเว่น-อีเลฟเว่นอยู่ซ้ายมือ ให้เลี้ยงขวาเดินตรงไปเรื่อยๆ จะเจอสามแยก ซ้ายมือจะเป็นทางเข้าสุสานแต้จิ๋ว ถ้าไปไม่ถูก ถามชาวบ้านแถวนั้นก็ได้ครับ (ผมเองก็ถามเขามาตลอดทาง...แฮ่)
พอเดินผ่านเข้ามา ก็จะพบกับที่ทำการสุสานและฌาปนกิจจีนแต้จิ๋ว สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย เป็นอาคารเก่าแก่อยู่ขวามือ
ประวัติของสุสานแต้จิ๋วหรือป่าช้าวัดดอนแห่งนี้ มีคนเขียนถึงมากมายหลายคนมาก แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีคนโพสต์ลงในแอปพลิเคชั่นไลน์อยู่ท่านหนึ่ง เขียนไว้ดีมาก ส่งต่อๆกันในไลน์กรุ๊ป น่าเสียดาย ไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียนไว้ ผมจะขออนุญาตคัดลอกมาให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกันครับ และขอขอบคุณท่านนิรนามท่านนี้ด้วยครับที่เขียนเล่าเรื่องราวประวัติของสุสานแต้จิ๋วออกมาได้อย่างน่าประทับใจมากครับ ลองไปอ่านกันครับ...
สุสานแต้จิ๋ว ป่าช้าวัดดอน หรือ หงี่ซัวเต็ง ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะสุขภาพ จากเรี่ยวแรงของภาคเอกชนน่าอัศจรรย์แล้ว ยังเป็นที่ควรหวนระลึกถึงบรรพบุรุษชาวจีนที่อพยพมาหากินโพ้นทะเล (ก๊วยฮวง 过番) ที่พ่ายแพ้ต่อชีวิต ตายถมเป็นศพไร้ญาติที่ป่าช้าวัดดอนทวาย เกิดเป็นตำนานผีสางสยองขวัญก่อนล้างป่าช้าปรับปรุงเป็นสวน
ที่ศาลาหลังเก่าของสุสาน ที่ตั้งบูชาพระอาจารย์ไต้ฮงกงและเก็บโลงศพไร้ญาติในอดีต เคยมีกลอนจีน (ซี้กู่) ที่อาจารย์ต้วนลีเซิง ปราชญ์จีนผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีนโพ้นทะเลไทยค้นพบเขียนไว้ว่า
渡过黑水 ,吃过苦水
满怀心事付流水.
想做座山, 无回唐山
终老骨头归义山.
เคยล่องน้ำดำ เคยกินน้ำขม
หอบความทุกข์เต็มอุระล่องไปกับสายน้ำ
หวังได้เป็นเจ้าสัว กลับบ้านซัวเถาไม่ได้
สุดท้ายก็ฝังร่างลงที่หงี่ซัว
เป็นกลอนที่เขียนสะท้อนถึงชีวิตของชาวจีนอพยพที่กลายมาเป็นคนจนเมือง แล้วต่อสู้กับชีวิตไม่ประสบผลสำเร็จ ต้องตายก่อนที่จะรวย และถูกฝังที่สุสานแต้จิ๋วนี้
หลวงสิทธิสุโรปกรณ์ (ไหล่คือไต้) นายอากรสุราสมัยรัชกาลที่ ๖ เห็นคนจีนอพยพล้มตายไม่มีที่ฝัง จึงขอซื้อที่ดินจาก ร.๖ มาทำเป็นสุสานจีนอพยพไร้ญาติ ร่วมกันทั้งจีนแต้จิ๋ว ไหหลำ จีนแคะที่มาจากซัวเถา ไว้เป็นเรือนนอนยามตาย ไม่ปล่อยทิ้งไว้ให้อุจาดตา มีศาลเจ้าไต้ฮงกงดูแลดวงวิญญาณ ประดับภาพเขียนภูเขาให้ระลึกถึงบ้านเกิดจึงเรียกว่า หงี่ซัวเต็ง
คนจีนแต้จิ๋ว ที่ลงเรือจากท่าเรือเจียงลิ้ม ในเท่งไฮ้ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่ท่าเรือซัวเถาในสมัยต่อๆมา
สาเหตุใหญ่ๆ ที่มา คือหนีความอดอยากมาแสวงโชค หวังร่ำรวยกลับบ้านเกิด แต่สุดท้ายจะจบลงเช่นไร ก็หนีไม่พ้นภูเขาทั้งสามหรือ "ซาซัว" ได้แก่
1 จ่อซัว 座山 หรือที่คนไทยเรียกเจ้าสัว
2 ตึ่งซัว 唐山 กลับซัวเถาแผ่นดินจีนถิ่นกำเนิด
3 หงี่ซัว 义山 คือหงี่ซัวเต็ง ป่าช้าวัดดอน (วัดบรมสถล) ที่ฝังศพไร้ญาตินี่เอง
คนรุ่นอาเหล่ากง อาเหล่าม่า จีนอพยพ ใช่ว่าจะหอบเสื่อผืนหมอนใบมาร่ำรวยทุกคน
เศรษฐกิจการพัฒนาของเมืองมีคนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังและตายอย่างยากจน ไม่ใช่มีแต่คนที่หอบเสื่อผืนหมอนใบมาประสบความสำเร็จ การอุทิศตนช่วยเหลือกันในสังคม การรวมตัวตั้งสมาคมชาวจีน จนมีสุสานแต้จิ๋ว เป็นเครือข่ายสังคมคนจีนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งในยามเป็นและยามตาย
ภาษิตจีนสอนลูกหลานว่า ในยามแก่เฒ่าเป็นคนแก่ (เหล่านั้ง) ต้องมีสามเก่า (ซาเหล่า) อยู่ด้วย ชีวิตถึงจะมีความสุขในวัยชรา
หนึ่งคือมีเหล่าโบ้ว (ภรรยาเก่า หมายถึงคู่ชีวิตเก่า) ที่อยู่ด้วยกันจนแก่ชรารู้ใจกัน เข้าใจเกื้อกูลกันทุกอย่าง แก่เฒ่าไปด้วยกัน
สองคือมี เหล่าจี้ (เงินเก่า) คือเงินออมทุนสะสมมาใช้ในวัยชรา ไม่ต้องเดือดร้อนลูกหลานขอเงินมาเลี้ยงให้เขาเดือดร้อนรำคาญใจ และช่วยเหลือเกื้อกูลลูกหลานในยามลำบากได้
สามคือมี เหล่าอิ้ว (เพื่อนเก่า) ที่พูดคุยหล่อเลี้ยงหัวใจกันไม่ให้เบื่อหน่าย ทำกิจกรรมให้รื่นเริง ไม่แก่ สมองได้คิดเท่าทันไม่เสื่อมไปตามวัย
พื้นที่สาธารณะอย่างสวนแต้จิ๋ว และสวนสาธารณะอื่นๆ ในกรุงเทพ จะทำให้เหล่านั้งมีเหล่าอิ้ว พบเจอเพื่อนๆ ทำกิจกรรมร่วมกัน ออกกำลังให้แข็งแรงทั้งกายและใจ มีชีวิตวัยชราอย่างยืนยาวและมีความสุข....
เมื่อเดินผ่านที่ทำการสุสานมา ก็จะพบว่ามีการตีเส้นสีขาวให้ออกกำลังกาย แบ่งออกเป็นเส้นสำหรับเดินและวิ่งทั้งไปและกลับ ผมลองเดินตามเส้นไป ก็จะพบกับศาลบรรพชนแต้จิ๋ว ผมจึงขอเจ้าหน้าที่ที่ดูแล ขอเข้าไปดูและถ่ายรูป เดินออกมาเจอน้องที่มาออกกำลังกาย บอกว่า พี่โชคดีมาก เพราะปกติผมไม่เห็นว่าจะเปิดนะ ผมมาออกกำลังกายหลายครั้ง ไม่เห็นเปิดสักที...โอ๊ะจริงเหรอ มีภาพมาให้ชมภายในกันด้วยครับ
ศาลบรรพชนแต้จิ๋ว เดิมเรียกว่า ฮกซื่อ สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.๑๙๐๑ (ศักราชราชวงศ์เช็งกวงสูปีที่ ๒๗) ตรงกับพ.ศ.๒๔๔๔ เนื่องจากตัวศาลเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีอายุกว่าร้อยปี ผ่านกาลเวลาที่ยาวนาน อีกทั้งถูกลมฝนกัดกร่อน จนเกิดการแตกหักผุพังเสียหายอย่างหนัก คณะกรรมการสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทยจึงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓
ด้านหน้าศาลบรรพชน จะเป็นศาลาไต้ฮงกง สร้างขึ้นอย่างสวยเด่นสง่างาม
จากนั้น ผมเดินต่อมาเรื่อยๆ ก็จะพบกับ “ป่าช้า” อยู่สองข้างทาง (นึกถึงว่าถ้ามาตอนกลางคืน ก็ออกจะดูน่ากลัวอยู่นะครับ) ระหว่างทางที่เดินมีต้นไม้สูงใหญ่ปกคลุมตลอดทาง ทำให้ร่มรื่น ไม่รู้สึกร้อน เดินไปจนสุดทาง ก็จะเป็นทางหักมุม ด้านขวามีศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่ง ศาลเจ้าแปะกงชิงเฮง ผมจึงเดินเข้าไปกราบไหว้ (ผมอ่านภาษาจีนไม่ออกหรอกครับ แต่เห็นมีป้ายผู้บริจาคเพื่อปรับปรุงศาลเจ้าแปะกงติดไว้ผนังด้านข้างศาล)
เดินต่อไปจนสุดทาง ก็จะมีลูกศรให้เลี้ยวกลับ ย้อนกลับไปทางที่เดินเข้ามา ไปจนสุดทางมีตัวเลขเขียนระยะทางไว้ว่า ๑,๔๐๐ เมตรครับ
หลังจากนั่งพัก ดื่มน้ำ และเก็บภาพบรรยากาศแล้ว จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ท้องก็เริ่มหิวเพราะใกล้เที่ยงเต็มทน จึงไลน์ไปถามเพื่อนว่า แถวนี้มีอาหารอะไรอร่อยๆมั่ง เพื่อนตอบว่า ไม่เคยไปแถวนั้นเลยแนะนำไม่ถูก...สงสัยจะอดกินของอร่อยล่ะวันนี้
ผมจึงเดินออกจากสุสานแล้วมุ่งหน้ากลับไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีสุรศักดิ์เพื่อกลับบ้าน ระหว่างทางเห็นแม่ค้าขายอาหารตามสั่งอยู่ร้านหนึ่ง ไม่มีชื่อร้าน เดินผ่านไปจะออกซอยเจริญราษฎร์ ๑ แล้ว แต่เดินกลับมาใหม่ สั่งข้าวผัดกะเพราเนื้อ ไข่ดาว ของโปรด รอสักพักแม่ค้าก็นำอาหารมาวาง โดยผมเองไม่ได้คาดหวังถึงความอร่อยแต่อย่างใด แต่พอกินเนื้อกะเพราเท่านั้นแหละ โอ้โหแฮะ...เนื้อนุ่มมาก รสชาติก็อร่อยอย่างไม่น่าเชื่อ เลยฟาดซะหมดจานเลยครับ ถ้าใครมาแถวนี้ ผมแนะนำร้านนี้เลยครับ ไม่มีชื่อร้าน แต่จะอยู่ปากซอยเจริญราษฎร์ ๑ ครับ
วันนี้รีวิวเท่านี้ละครับ สวัสดีครับ....
ภาพและเรื่องโดยนายสามเหลี่ยม
#เพจศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ ลพบุรี