สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
***
ปรกติอายุความของหนี้จำพวกบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดนั้นจะมีเพียง 2ปี ครับ กล่าวคือเขาจะนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระครั้งแรกและนับไปเรื่อยๆจนครบสองปี ซึ่งภายใน2ปีนี้ถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้ทำการฟ้องร้องก็จะมีผลทำให้คดีขาดอายุความ ทว่า!ถึงคดีจะขาดอายุความไปแล้วแต่ทางเจ้าหนี้ก็ยังสามารถทำการฟ้องร้องต่อลูกหนี้หรือทายาทตามขั้นตอนของกฏหมายได้ครับ แต่ในกรณีนี้ถ้าลูกหนี้หรือทายาทไปศึกษาข้อกฏหมายหรือปรึกษาผู้รู้จะพบว่าเราสามารถสู้คดีได้ง่ายมากโดยยกเอาเรื่องการขาดอายุความมาอ้าง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีสิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจคือ! จากนี้ไม่ว่าทางบริษัทหรือตัวแทนของเขาจะส่งเอกสารอะไรมาให้เราเซ็นต์ก็ตามห้ามเราไปเซ็นต์ซี้ซั้วเป็นอันขาด รวมถึงห้ามจ่ายหนี้ก้อนนี้แก่เจ้าหนี้รึบริษัทบัตรเครดิตอีกแม้แต่สลึงเดียว เพราะมันเคยมีกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดเกิน2ปีจนคดีน่าจะขาดอายุความไปแล้ว แต่ในระหว่างนั้นลูกหนี้มีการทยอยโอนยอดเงินบางส่วนคืนให้เจ้าหนี้ ทำให้เกิดการต่ออายุความโดยอัตโนมัติทันทีซึ่งนับจากวันที่มีการทยอยโอนจ่ายครับ(ลองไปอ่านที่ลิงค์ด้านล่างซึ่งผมจะลงให้ครับ)
ที่มาแนะนำเช่นนี้ไม่ใช่จะสนับสนุนให้ลูกหนี้หัวหมอไปกู้หนี้ยืมสินมาแล้วชักดาบเจ้าหนี้ เพียงแต่หนี้ก้อนนี้เป็นของบุพการีของเราซึ่งเราไม่ได้เป็นคนก่อ และอันที่จริงตามกฏหมายแล้วทายาทมีสิทธิ์ต้องชำระหนี้หนี้ไม่เกินทรัพย์มรดกที่ได้รับครับ สมมุติง่ายๆว่าบุพการีเรามีหนี้สินอยู่1ล้านบาท แต่พอท่านเสียชีวิตลงนั้นได้ยกมรดกให้เรา5แสนบาท ดังนั้นเจ้าหนี้จะมีสิทธิ์มาเรียกร้องให้เราที่เป็นที่ทายาทผู้เสียชีวิตชำระหนี้ได้ไม่เกิน500,000บาทเท่านั้นครับ
ส่วนกรณีของคุณจขกท.นั้นเหตุทั้งหมดเกิดจากความสะเพร่าและไม่ตามเรื่องของบริษัทบัตรเครดิตเองครับ ดังนั้นจึงจะมาโทษตัวเราและแม่เอาป่านนี้ว่าไม่ยอมใช้หนี้ก็ไม่ได้ เพียงแต่บริษัทพวกนี้เขาหัวหมอครับและรู้ว่ามีลูกหนี้จำนวนมากขาดความรู้ทางกฏมหาย จึงใช้ช่องทางนี้มาเรียกเก็บเงินมูลหนี้ค้างชำระกับทายาท ซึ่งถ้าใครไม่รู้ก็ต้องหลวมตัวยอมจ่ายหนี้ที่เราไม่ได้ก่อทั้งที่คดีมันขาดอายุความไปนานแล้ว กรณีนี้ให้ทำใจแข็งๆไม่ต้องไปกลัวและยกเอาเรื่องการขาดอายุความมาสู้กลับไปเลยครับ
โดยถ้าเรายกประเด็นนี้มาคุบกับบริษัทบัตรเครดิตแล้วผลมันน่าจะออกมาสองทางคือ 1.บริษัทรู้ว่าลูกหนี้มีความรู้ทางกฏหมายจึงไม่ฟ้องรึเอาเรื่องต่อเพราะไม่คุ้มค่าเสียเวลาเนื่องจากพอไปถึงศาลก็แพ้แน่นอนยิ่งกว่าแช่แป้ง หรือ 2.ฝั่งนั้นทำใจดีสู้เสือไม่ยอมและยืนยันจะฟ้องก็ให้ไปเคลียร์กันในศาลครับ เพราะกรณีนี้คุณถือไพ่เหนือกว่าและสมควรจะชนะแน่นอน100%ของเพียงถ้าเรื่องไปถึงขั้นนั้นให้ยอมเสียเวลาไปศาลตามกำหนดนัดหมาย และอย่าไปเซ็นต์เอกวารหรือจ่ายเงินซี้ซั้วให้เจ้าหนี้บัตรเครดิตอีกเลยซักสลึงค์เดียวครับ
(ลิงค์เกี่ยวกับการขาดอายุความของบัตรเครดิตจากเว็บมันนี่กูรูครับ แนะนำให้คุณจขกท.ไปลองอ่านดู เนื้อหามีเพียงสั้นๆอ่านง่ายเข้าใจไม่ยากครับ)
https://www.moneyguru.co.th/credit-card/articles/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B5/
ปรกติอายุความของหนี้จำพวกบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดนั้นจะมีเพียง 2ปี ครับ กล่าวคือเขาจะนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระครั้งแรกและนับไปเรื่อยๆจนครบสองปี ซึ่งภายใน2ปีนี้ถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้ทำการฟ้องร้องก็จะมีผลทำให้คดีขาดอายุความ ทว่า!ถึงคดีจะขาดอายุความไปแล้วแต่ทางเจ้าหนี้ก็ยังสามารถทำการฟ้องร้องต่อลูกหนี้หรือทายาทตามขั้นตอนของกฏหมายได้ครับ แต่ในกรณีนี้ถ้าลูกหนี้หรือทายาทไปศึกษาข้อกฏหมายหรือปรึกษาผู้รู้จะพบว่าเราสามารถสู้คดีได้ง่ายมากโดยยกเอาเรื่องการขาดอายุความมาอ้าง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีสิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจคือ! จากนี้ไม่ว่าทางบริษัทหรือตัวแทนของเขาจะส่งเอกสารอะไรมาให้เราเซ็นต์ก็ตามห้ามเราไปเซ็นต์ซี้ซั้วเป็นอันขาด รวมถึงห้ามจ่ายหนี้ก้อนนี้แก่เจ้าหนี้รึบริษัทบัตรเครดิตอีกแม้แต่สลึงเดียว เพราะมันเคยมีกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดเกิน2ปีจนคดีน่าจะขาดอายุความไปแล้ว แต่ในระหว่างนั้นลูกหนี้มีการทยอยโอนยอดเงินบางส่วนคืนให้เจ้าหนี้ ทำให้เกิดการต่ออายุความโดยอัตโนมัติทันทีซึ่งนับจากวันที่มีการทยอยโอนจ่ายครับ(ลองไปอ่านที่ลิงค์ด้านล่างซึ่งผมจะลงให้ครับ)
ที่มาแนะนำเช่นนี้ไม่ใช่จะสนับสนุนให้ลูกหนี้หัวหมอไปกู้หนี้ยืมสินมาแล้วชักดาบเจ้าหนี้ เพียงแต่หนี้ก้อนนี้เป็นของบุพการีของเราซึ่งเราไม่ได้เป็นคนก่อ และอันที่จริงตามกฏหมายแล้วทายาทมีสิทธิ์ต้องชำระหนี้หนี้ไม่เกินทรัพย์มรดกที่ได้รับครับ สมมุติง่ายๆว่าบุพการีเรามีหนี้สินอยู่1ล้านบาท แต่พอท่านเสียชีวิตลงนั้นได้ยกมรดกให้เรา5แสนบาท ดังนั้นเจ้าหนี้จะมีสิทธิ์มาเรียกร้องให้เราที่เป็นที่ทายาทผู้เสียชีวิตชำระหนี้ได้ไม่เกิน500,000บาทเท่านั้นครับ
ส่วนกรณีของคุณจขกท.นั้นเหตุทั้งหมดเกิดจากความสะเพร่าและไม่ตามเรื่องของบริษัทบัตรเครดิตเองครับ ดังนั้นจึงจะมาโทษตัวเราและแม่เอาป่านนี้ว่าไม่ยอมใช้หนี้ก็ไม่ได้ เพียงแต่บริษัทพวกนี้เขาหัวหมอครับและรู้ว่ามีลูกหนี้จำนวนมากขาดความรู้ทางกฏมหาย จึงใช้ช่องทางนี้มาเรียกเก็บเงินมูลหนี้ค้างชำระกับทายาท ซึ่งถ้าใครไม่รู้ก็ต้องหลวมตัวยอมจ่ายหนี้ที่เราไม่ได้ก่อทั้งที่คดีมันขาดอายุความไปนานแล้ว กรณีนี้ให้ทำใจแข็งๆไม่ต้องไปกลัวและยกเอาเรื่องการขาดอายุความมาสู้กลับไปเลยครับ
โดยถ้าเรายกประเด็นนี้มาคุบกับบริษัทบัตรเครดิตแล้วผลมันน่าจะออกมาสองทางคือ 1.บริษัทรู้ว่าลูกหนี้มีความรู้ทางกฏหมายจึงไม่ฟ้องรึเอาเรื่องต่อเพราะไม่คุ้มค่าเสียเวลาเนื่องจากพอไปถึงศาลก็แพ้แน่นอนยิ่งกว่าแช่แป้ง หรือ 2.ฝั่งนั้นทำใจดีสู้เสือไม่ยอมและยืนยันจะฟ้องก็ให้ไปเคลียร์กันในศาลครับ เพราะกรณีนี้คุณถือไพ่เหนือกว่าและสมควรจะชนะแน่นอน100%ของเพียงถ้าเรื่องไปถึงขั้นนั้นให้ยอมเสียเวลาไปศาลตามกำหนดนัดหมาย และอย่าไปเซ็นต์เอกวารหรือจ่ายเงินซี้ซั้วให้เจ้าหนี้บัตรเครดิตอีกเลยซักสลึงค์เดียวครับ
(ลิงค์เกี่ยวกับการขาดอายุความของบัตรเครดิตจากเว็บมันนี่กูรูครับ แนะนำให้คุณจขกท.ไปลองอ่านดู เนื้อหามีเพียงสั้นๆอ่านง่ายเข้าใจไม่ยากครับ)
https://www.moneyguru.co.th/credit-card/articles/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B5/
แสดงความคิดเห็น
ขอปรึกษาหนึ้บัตรเครดิตของพ่อที่เสียชีวิตแล้ว
แต่เราแจ้งกับทาง Aeon ไปแล้วตั้งแต่ที่พ่อเสียชีวิต ซึ่งทางบริษัท ณ ขณะนั้นให้เราส่งหลักฐานยืนยันการเสียชีวิตไปให้
เราได้สอบถามในตอนนั้นแล้วว่าต้องชำระไหม เจ้าหน้าที่แจ้งเราว่าไม่ต้องชำระ ให้ส่งหลักฐานยืนยันการเสียชีวิตให้เท่านั้น
แต่เมื่อปีที่แล้วเริ่มมีจดหมายทวงถามมา แล้ววันก่อนก็มีหมายศาลนัดไปไกล่เกลี่ย วันที่ 2 ส.ค.
เราต้องหาทนายไปด้วยไหมค่ะ ต้องทำยังไงบ้าง แม่เราเครียดมาก
ปล. ในขณะที่พ่อมีชีวิตอยู่ไม่ได้อยู่กินกับแม่เราแล้ว แต่ไม่ได้หย่ากัน🥹
รบกวนตอบหน่อยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ