บ้านที่สร้างจากหนังสือพิมพ์

.

.
©  Danielle Walquist Lynch/Flickr
.
.


ที่ Rockport รัฐ  Massachusetts อุสา USA
Pigeon Hill Street มีป้ายบ้าน Paper House
จะมีบ้านสีแดงชั้นเดียวที่ไม่เหมือนใคร
ซึ่งดูเหมือนกระท่อมไม้ซุงธรรมดา
แต่จริง ๆ ฝาผนังสร้างจากกระดาษหนังสือพิมพ์

บ้านกระดาษหนังสือพิมพ์เริ่มต้นในปี 1922 
โดย Elis Stenman วิศวกรเครื่องกล
เริ่มสร้างบ้านขนาดเล็กในฤดูร้อน
ตอนเริ่มต้นก็เหมือนบ้านอื่น ๆ
ที่มีโครงไม้ หลังคามุงด้วยไม้มุงหลังคา และพื้น
แต่เมื่อสร้างจนมาถึงตอนก่อผนังบ้านแล้ว
ท่านเกิดแนวคิดที่แตกต่าง/แปลกกว่าคนอื่น ๆ
ผนังของ Paper House ประกอบขึ้นเป็นชั้น ๆ
เป็นชั้นของหนังสือพิมพ์เก่าวางซ้อนกัน
ติดกาวเข้าด้วยกันจนหนาประมาณหนึ่งนิ้ว
แล้วทาสารเคลือบเงาที่สวยงาม กันน้ำ กันยุ่ย

ทุกอย่างภายในบ้านกระดาษหนังสือพิมพ์
ทำมาจากกระดาษหนังสือพิมพ์ เช่น
เก้าอี้ โต๊ะ ชั้นวางหนังสือ ผ้าม่านและนาฬิกา
ก็ทำมาจากหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
มีเฉพาะเปียโนที่ทำจากไม้ ลวดเหล็ก ฯลฯ
และหุ้มด้วยกระดาษเพื่อรักษาสภาพไว้
เตาผิงทำด้วยอิฐ ด้วยเหตุผลที่ชัดเจน
(กันไฟไหม้กระดาษหนังสือพิมพ์)
.
.

.
Old postcard of Esther and Elis Stenman
in the Paper House
.
.

หมายเหตุ


ในหนังสือบ้านเล็กในป่าใหญ่
ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์ เล่าว่า
พ่อของตนซื้อกระดาษมันสีดำ
ทากาวปิดที่ฝาผนังไม้ด้านในบ้าน
อุดรูรั่วไม้ฝาผนังที่ปะกบกันไม่สนิท
เพื่อเก็บความร้อนภายในบ้านตอนฤดูหนาว
.
.

ยังไม่มีใครทราบแรงจูงใจของ Elis Stenman 
ที่ใช้หนังสือพิมพ์ในการสร้างบ้านหลังนี้
ลูกหลานท่านต่างคิดว่า
ท่านคงต้องการทดลองใช้วัสดุฉนวนราคาถูก
และหาได้ง่ายในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจตกต่ำ
เพราะท่าน DIY  กวนกาวที่บ้าน ทำจากแป้ง น้ำ และเปลือกแอปเปิ้ล
หรือท่านอาจจะกำลังทดลองในการรีไซเคิล
หรืออาจจะชอบกระดาษมากกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ
ในท้ายที่สุด ท่านออกแบบเครื่องจักร
ที่หนีบกระดาษให้ซัอนกันได้อย่างเป็นระเบียบ

ในขั้นต้น  ท่านวางแผนที่จะปิดฝาผนังด้านนอก
ด้วยไม้กระดานแทนหนังสือพิมพ์ในภายหลัง
แต่หนังสือพิมพ์นั้นรอดมาได้ในฤดูหนาวแรก
ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจว่าการป้องกันความหนาว
ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้กระดานเหมือนแต่เดิม

ท่านสร้างบ้านหลังนี้เสร็จภายในเวลาเพียง 2 ปี
และอาศัยอยู่ในนั้นจนถึงปี 1930
แต่ท่านยังทดลองในการรีไซเคิลกระดาษต่อไป
ในช่วง 20 ปีที่สร้างบ้านและของตกแต่งมากมาย
ท่านใช้หนังสือพิมพ์ประมาณ 100,000 ฉบับ

 
หลังจากผ่านไปเกือบเ 90 ปี
เคลือบชั้นบนผนังบ้านก็เริ่มลอกออกอย่างช้า ๆ
เผยให้เห็นชิ้นส่วนของบทความ/โฆษณาในอดีต
ที่ผู้เยี่ยมชมรู้สึกว่าน่าอ่าน บนโต๊ะเขียนหนังสือ
จะมีเรื่องราวเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
ของ  Charles Lindbergh
ขณะที่ตู้วิทยุเต็มไปด้วยข่าวจากการรณรงค์
หาเสียงของประธานาธิบดี Herbert Hoover
ที่เปียโนรวมรายงานหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ
การเดินทางไปขั้วโลกเหนือ/ใต้ของ  Richard Byrd
เมื่อเวลาผ่านไป ผนังบ้านจำนวนมาก
เคลือบทึ่ทาทับไว้จะค่อย ๆ ลอกออกมา
เผยให้เห็นโฆษณาขายของร้านค้าในอดีต

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3IlylV1
https://bit.ly/3unTKXX
https://bit.ly/3am53ZI
.

.

.
© Danielle Walquist Lynch / Flickr
.
.
.
© Danielle Walquist Lynch / Flickr
.
.

.
© Casey Bisson/Flickr
.
.

.
©  Laura/Flickr
.
.

.
© Curious Expeditions/Flickr
.
.

.
© Curious Expeditions/Flickr
.
.
.
© Curious Expeditions/Flickr
.
.

.
.

.
.
.
.
.


เรื่องเล่าไร้สาระ


กระดาษหนังสือพิมพ์นำมาเช็ดกระจกดีมาก
เช็ดได้สะอาดและไม่เป็นขุยติดกระจก
ตอนชัชชาติ หาเสียง ก็ใช้กระดาษแบบนี้
เพื่อให้คนที่รับเอกสารหาเสียงแผ่นเบ่อเร่อ
ขนาดเกือบเท่าหนังสือพิมพ์ในยุคก่อน
แบบคนอ่านหนังสือพิมพ์ในยุคก่อน
ได้มีเวลาอ่านและอยากอ่านเล่น
เพราะเป็นช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ลูกค้าน้อย
จึงมีเวลาว่างอ่านนโนบายชัชชาติได้
พออ่านเสร็จก็ใช้ห่อของ เช็ดของ ทำว่าวกระดาษ
หรือเช็ดก้นกันในอดีตตามบ้านนอกแทนทิซชู่


กระดาษหนังสือพิมพ์ตอนนี้ขาดแคลนมาก
ยี่ปั้วหาดใหญ่รายใหญ่หนังสือพิมพ์ หนังสือ
แต่เดิมทำงานกันตั้งแต่ตี 5 จนถึงตี 3
(05.00-15.00 น.)
มีลูกน้องทำงานไม่ต่ำกว่า 10 คน
ตัองจัดส่งในหาดใหญ่ ร้านย่อย ๆ เยอะมาก
พัทลุง 4 จังหวัดชายแดน อำเภอเมืองสงขลา
อำเภอรอบนอกหาดใหญ่ ตรัง
ด้วยการฝากส่งรถแท็กซี่ รถตู้ระหว่างเมือง
ส่งไปให้ซาปั้วที่รับหนังสือไปขายให้ชุมชน

หลังยุคการใช้งาน Line Facebook Youtube
ความนิยมอ่านหนังสือก็ค่อย ๆ ลดลงหายไป
จนยึ่ปั้วเจ้านี้ตัองทำกันแค่สองคนสามีภริยา
เพราะงานส่งหนังสือค่อย ๆ ลดลง ๆ
ทำตั้งแต่ตี 6 ถึงตี 9 (6.00-9.00 น.)
ทั้งคู่จึงเลิกกิจการนี้ไปเมื่อ 2 ปีก่อน

ภาษาปากชาวบ้านแถวบ้าน/คนใต้สมัยก่อน
มาจากเสียงตีบอกเวลาดัง ติ้ง ๆ นานสุด 12 ที
ของนาฬิกาแบบไขลาน เป็นของจากเมืองนอก
นิยมของสวิส เยอรมัน อังกฤษ ญี่ปุ่น ว่าดีจริง
ใครมีจัดว่ารวยมาก หรือวัดที่มีคนถวายให้

คติชนชาวใต้ในอดีต
มีแต่พวกขี้ขโมย พวกโจร พวกนาย
จึงออกเตร็ดเตร่ในยามค่ำคืน คนดีดีจะอยู่บ้าน
(นาย = ตำรวจ ปลัดอำเภอ ผู้ช่วยเจ้าพนักงาน)
เพราะในอดีตฟืนไฟไม่สว่างแบบปัตยุตบัน
งูเงี้ยวเขี้ยวขอสัตว์ดุร้ายมักออกหากินตอนค่ำ
ไม่มีกิจธุระจำเป็นไม่มีใครไปไหนมาไหน
ในยามค่ำคืน เว้นแต่งานวัด งานบุญ จีบสาว
แต่มักจะไปกันหลาย ๆ คนแบบอุ่นใจ
ทำให้คำว่าตีเท่าไร ของชาวบ้านในสมัยก่อนนั้น
เป็นอันเข้าใจกันว่าเป็นยามกลางวัน ไม่มืดค่ำ


แต่เดิมยี่ปั้วรายใหญ่ของหาดใหญ่
เคยรับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐวันละ 5 แสนฉบับ
ไทยรัฐเคยมียอดขายสูงสุดวันละ 2 ล้านฉบับ
ช่วงไหนข่าวดัง ๆ วันสำคัญ ๆ วันอาทิตย์
เคยมียอดขายถึง 3 ล้านฉบับ (ซูม เขียนไว้)
มีกรอบเช้ากับกรอบค่ำ (ตีวันที่ล่วงหน้า 1 วัน)
ปัจจุบันน่าจะราว ๆ 3-5 แสนฉบับ
ยี่ปั้วอีกรายในหาดใหญ่เคยรับคมชัดลึก
วันละ 1 แสนฉบับในอดีตไปส่งขายต่อในเขต
แต่ตอนนี้คมชัดลึกเลิกพิมพ์ฉบับกระดาษแล้ว

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ ในอดีตมักขายขาด
ถ้าขายไม่หมดยี่ปั้วต้องจ่ายคืนในราคาขายส่ง
ส่วนซาป้วยมักจะต้องวัดดวงในการสั่งไปขาย

ในยุคหลัง ๆ ที่นสพ.เริ่มแผ่วลงไปแล้ว
ยี่ปั้วเริ่มยอมรับคืนในราคาหักส่วนลด Discount
โดยให้ซาปั้วตัดส่งคืนหัวนสพ. วันเดือนปี
ส่วนไส้ไน/กระดาษหนังสือพิมพ์ให้ซาปั้ว
นำไปแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเองไม่ตัองส่งคืน
ส่วนยี่ปั้วก็รวบรวมหัวนสพ.ไป Discount เอง

ส่วนยี่ห้อคนอ่านนัอยจะรับซื้อคืนในราคาขายส่ง
แค่ตัดหัวหนังสือพิมพ์ที่มีวันเดือนปีรวบรวมส่งคืน
ส่งให้กับยี่ปั้วเพื่อส่งไป Discount กับเจ้าของ
ส่วนไส้ใน/กระดาษที่เหลืออย่างหนาเตอะ
มักจะชั่งกิโลขายราคาถูก ๆ /แถมฟรีให้แม่ค้า

หนังสือพิมพ์ทุกฉบับยอดขายลดลงมาก
หลายฉบับก็ล้มหายตายจากเลิกกิจการไป
หนังสือพิมพ์มีข้อด้อยอย่างพอข้ามวัน 1 วัน
คนอ่านมักจะรู้สึกไปเองว่าเป็นข่าวเก่าซะแล้ว

รถขนส่งไทยรัฐทุกวันนี้ต้องย้ายไปลงที่พัทลุงแทน
เพราะคนอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลงมากกว่าเดิม
มีแต่มนุษย์ชนรุ่นสุดท้าย ยุค Analog 0.40
ที่ยังอ่านหนังสือพิมพ์กันอยู่ในทุกวันนี้
จขกท. แซวรุ่นพี่รุ่นดิ (The Old) เวลาไปเยี่ยมแก
แกมักบอกฝากร้านหน่อยจะไปหาซื้อหนังสือพิมพ์
แต่หาซื้อหนังสือพิมพ์ยากมากในหาดใหญ่ตอนนี้
ไปสายเผลอ ๆ ร้านขายหมดไปแล้วก็มี

เรื่องเดิม

การล่มสลายของร้านให้เช่าหนังสือ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่