ในงานเฉลิมฉลองการประสูติของเจ้าหญิงองค์หนึ่ง มีนางฟ้าหลายตนเสก ตนแรกเสกให้ข้าขอตั้งชื่อเจ้าว่าสีดา นางสีดา คือ พระลักษมีเป็นมเหสีเอกของพระนารายณ์อวตารลงมา เพื่อเป็นคู่ครองของพระราม
เรื่องของนางเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระนารายณ์ได้อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม พระลักษมีพระชายาแห่งพระนารายณ์จึงทรงอวตารลงไปเกิดเป็นคู่ครองของพระราม ณ กรุงอโยธยาในครานั้น ท้าวทศรถผู้ครองนครมีอายุมากแล้ว ทั้งทีมีมเหสีถึงสามนางคือ พระนางเกาสุริยา พระนางไกยเกษี และพระนางสมุทรเทวี แต่พระองค์ก็หาได้มีพระโอรสธิดาไว้สืบราชวงศ์ไม่ ท้าวทศรถได้นำความนี้ปรึกษากับเหล่าฤๅษี ซึ่งพระฤๅษีกไลโกฎได้ทูลว่า ควรจะทำพิธีบวงสรวงขอพระโอรสธิดาจากเทพเจ้า ด้วยวิธีการกวนข้าวทิพย์ ท้าวทศรถจึงจัดพิธีการกวนข้าวทิพย์อย่างยิ่งใหญ่ภายในกรุงอโยธยาเพื่อวอนขอสิ่งที่พระองค์ปรารถนา
พระอิศวรจึงมีพระบัญชาให้พระนารายณ์ลงอวตารเป็นพระโอรสแห่งท้าวทศรถ ซึ่งพระยาอนันตนาคราชผู้เป็นพระแท่นบรรทมของพระนารายณ์ก็ขอติดตามไปด้วย เมื่อพิธีเสร็จสิ้น ท้าวทศรถจึงแบ่งก้อนข้าวทิพย์ให้แก่มเหสีทั้งสามของพระองค์ แต่เหลือข้าวก้อนสุดท้ายอยู่ ข้าวทิพย์เหล่านี้มีกลิ่นหอมหวลอย่างมากจนฟุ้งไกลไปถึงกรุงลงกา นางมณโฑ มเหสีของทศกัณฐ์ได้กลิ่นเข้าก็ร่ำร้องอยากกินให้ได้ มิฉะนั้นตนต้องขาดใจตายเป็นแน่ ทศกัณฐ์จึงมีบัญชาให้นางกากนาสูรสมุนของตนไปโฉบเอาก้อนข้าวทิพย์มาให้นางมณโฑ
เมื่อมเหสีแห่งท้าวทศรถรวมทั้งนางมณโฑได้กินข้าวทิพย์เข้าไปทำให้ต่างนางต่างตั้งครรภ์ ยังความดีใจให้กับท้าวทศรถและทศกัณฐ์อย่างมาก พระนางเกาสุริยาได้ประสูติพระโอรสองค์โตคือ พระราม (พระนารายณ์อวตาร) พระนางไกยเกษีประสูติพระโอรสองค์รองคือ พระพรต (จักรแห่งพระนารายณ์มาเกิด) พระนางสมุทรเทวีประสูติโอรสแฝดคือ พระลักษมณ์ (พญาอนันตนาคราช) และพระสัตรุด (คฑาพระนารายณ์) นางมณโฑก็ประสูติพระธิดาทรงโฉมงดงามยิ่ง คือพระลักษมีอวตาร นางสีดานั่นเอง
เมื่อประสูติออกมา นางร้องว่า ผลาญราพณ์ถึง 3 ครั้ง พิเภกกราบทูลว่า นางสีดาจะนำภัยพิบัติใหญ่หลวงมาสู่วงศ์ยักษ์ ทศกัณฐ์จึงสั่งให้ใส่นางสีดาในผอบลอยน้ำไปเพราะยังไม่อาจหักใจประหารธิดาในไส้ของตนนางนี้ได้ ผอบทองลอยน้ำไปถึงอาศรมของฤๅษีชนกผู้ครองกรุงมิถิลา เปิดดูพบเด็กทารกหญิงหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูภายใน ทว่าฤๅษีชนกนั้นในขณะนั้นครองเพศฤๅษีอยู่ ไม่สะดวกจะเลี้ยงนางสีดา จึงได้นำผอบทองฝังดิน พร้อมขอให้พระแม่ธรณีช่วยดูแลรักษานางด้วย
16 ปีต่อมา ฤๅษีชนกตั้งใจนิวัตินครเพื่อครองกรุงมิถิลาตามเดิม จึงได้ทำพิธีไถคราดดินหาผอบทองที่พระองค์ฝังดินไว้ คันไถไปติดผอบเข้า เหล่าทหารจึงได้ขุดขึ้นมา เมื่อเปิดออกก็พบหญิงสาวรูปร่างหน้าตาสะสวยสะคราญโฉมอย่างที่หาที่เปรียบเปรยไม่ได้ สวยงามที่สุดและงดงามยิ่งกว่านางใดในโลกนี้ ทั้งจริตกิริยาก็เรียบร้อยน่าชม ฤๅษีชนกจึงได้รับนางเป็นพระธิดาแห่งกรุงมิถิลา พร้อมประทานนามให้นางว่า สีดา ที่แปลว่า "รอยไถ"
เมื่อนางสีดาเจริญถึงวัยอันควรแล้ว ท้าวชนกพระบิดาคิดจะจัดพิธีสยุมพรให้นางสีดาพระธิดา จึงได้ป่าวประกาศหาผู้ที่จะสามารถยกธนูโมลีหนักพันแรงคนยกได้ ถ้าผู้ใดทำได้จะยกนางสีดาให้อภิเษก ในครานั้นมีเจ้าชายหนุ่มสองพระองค์นามว่าพระรามและพระลักษมณ์ อยู่ร่วมด้วย พระรามจึงมีพระดำริจะลองยกธนูโมลีนั้นดู แต่ทันใดนั้นเอง พระรามได้จ้องมองผ่านม่านพบกับนางสีดาที่นั่งอยู่อีกฝั่ง ด้วยบุพเพสันนิวาสทำให้ทั้งสองมีใจรักภักดีต่อกันทันที ธนูโมลีนั้นมีเพียงพระรามและพระลักษมณ์ที่ยกได้ แต่พระลักษมณ์ทราบดีว่าพระรามและนางสีดามีใจต่อกันจึงแสร้งทำเป็นยกธนูไม่ขึ้น ในที่สุด พระรามและนางสีดาก็ได้อภิเษกกันอย่างถูกต้องตามประเพณี
เมื่อนิวัติกลับอโยธยา พระรามก็ต้องพบกับข่าวร้าย ด้วยเล่ห์เหลี่ยมนางกุจจีข้ารับใช้ของพระนางไกยเกษีซึ่งเกลียดชังพระรามมาแต่เด็ก นางกุจจีหลอกล่อให้นางไกยเกษีขอท้าวทศรถให้พระพรตโอรสของนางขึ้นครองบัลลังก์ก่อน ซึ่งท้าวทศรถเสียใจมาก แต่พระองค์เคยได้รับการช่วยเหลือจากนางไกยเกษี พระองค์จึงจำยอมทำตาม พร้อมขับไล่พระรามออกเดินป่าเป็นฤๅษีถึง 14 ปี พระราม นางสีดา และพระลักษมณ์ที่ขอติดตามไปด้วยจึงออกไปผจญความทุกข์ยากในป่า ทำให้สุดท้ายท้าวทศรถก็ตรอมใจตาย
พระรามและนางสีดาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแม้ว่าจะอัตคัดขัดสนบ้าง จนกระทั่งวันหนึ่ง นางสำมนักขายักม่ายน้องสาวทศกัณฐ์มาเห็นรูปโฉมพระรามก็หลงรัก เกี้ยวพาขอพระองค์เป็นสวามี แต่พระรามปฏิเสธเพราะมีนางสีดาอยู่แล้ว นางสำมนักขาโกรธจึงด่าทอทุบตีนางสีดา พระลักษมณ์โมโหจับนางสำมนักขาตัดหูตัดจมูกแล้วปล่อยไป นางสำมนักขาแค้นเคืองไปฟ้องพี่ชายของตน พร้อมกับพรรณาความงดงามของนางสีดาให้ทศกัณฐ์ฟังจนทศกัณฐ์อยากได้ในตัวของนางสีดา ทศกัณฐ์สั่งให้มารีศแปลงเป็นกวางทองไปล่อหลอกพระรามพระลักษมณ์ออกจากอาศรมแล้วตนเองก็ไปลักพาตัวนางสีดามาอยู่ที่สวนขวัญ นางสีดามีรักมั่นคงต่อพระรามจึงไม่ยอมเป็นชายาของทศกัณฐ์ ทำให้เกิดสงครามระหว่างมนุษย์และยักษ์ปะทุขึ้น จนคำทำนายในวัยเด็กที่เป็นภัยมาสู้เหล่ายักษ์เป็นจริงขึ้นมา
เสร็จสิ้นสงคราม ทศกัณฐ์ตายแล้ว พระรามอยากเชิญนางสีดากลับอโยธยาด้วยกันแต่พระองค์ไม่อยากให้ผู้ใดมานินทาว่าร้ายนางสีดาที่ไปอยู่แดนศัตรูเกือบ 14 ปี นางสีดาจึงขอพิสูจน์ตนเองว่า จะขอลุยไฟพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ถ้าตนคิดนอกใจสามีเพียงนิดเดียว ขอให้ไฟไหม้นางจนตาย แต่ถ้านางมีรักมั่นต่อสามี ไฟจะไม่อาจทำอันตรายนางได้
ต่อมานางสีดามีครรภ์ นางอดุลยักษีที่เคียดแค้นนางสีดาแปลงมาเป็นนางกำนัลพร้อมขอให้นางสีดาวาดรูปทศกัณฐ์ พอวาดเสร็จนางอดุลก็เข้าสิงทำให้รูปลบไม่ออก พระรามมาเห็นรูปภาพเข้าก็พิโรธมากว่านางสีดายังรักภักดีทศกัณฐ์ จึงสั่งพระลักษมณ์ให้ประหารนางสีดา พระลักษมณ์ไม่ทำซ้ำยังปล่อยนางหนีไป แล้วฆ่าควักหัวใจกวางนำไปถวายพระราม
นางสีดาไปอาศัยอยู่กับฤๅษีวัชมฤคจนกระทั่งประสูติพระโอรสของพระรามนามว่า พระมงกุฎ จากนั้นต่อมาพระฤๅษีก็ได้ชุบกุมารมาเป็นเพื่อนเล่นพระมงกุฎนามว่า พระลบ ทั้งสองกุมารเก่งกล้ามากจนสะเทือนไปถึงอโยธยา จนเกิดการต่อสู้กันระหว่างพ่อลูกทว่าไม่รู้ผลแพ้ชนะ ในที่สุดจึงได้รู้ว่าผู้ที่ต่อสู้อยู่ด้วยนี้ คือพระโอรสองค์เดียวที่เกิดแต่มเหสีนางสีดานั่นเอง พระรามง้องอนขอคืนดีกับนางสีดา แต่นางสีดาเข็ดขยาดในความฉุนเฉียวของพระราม นางจึงแทรกตัวลงไปเมืองบาดาลหนีพระราม พระรามจึงต้องออกผจญภัยอีกครั้งเป็นเวลา 1 ปี จนท้ายที่สุดพระอิศวรได้รับนางสีดาขึ้นมาและปรับความเข้าใจกับทั้งสอง จนในที่สุดพระราม และนางสีดา จึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา ตนที่สองเสกให้ ท้าวทศรถทรงเป็นกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา เมืองหลวงแห่งอาณาจักรโกศล พระองค์มีพระมเหสี 3 องค์ คือ นางเกาศัลยา นางไกยเกยี และนางสุมิตรา แต่หามีราชโอรสเพื่อจะสืบราชสมบัติไม่ พระองค์จึงได้จัดให้มีพิธีบูชาไฟเพื่อขอบุตรขึ้น[1] พระองค์ได้ราชโอรส 4 องค์เรียงตามลำดับคือ พระราม (เกิดจากนางเกาศัลยา) พระภรต (เกิดจากนางไกยเกยี) พระลักษมณ์และพระศัตรุฆน์ (โอรสแฝดซึ่งเกิดจากนางสุมิตรา) [2][3] โอรสทั้งสี่นี้คือร่างแบ่งภาคของพระวิษณุ ซึ่งถูกเลือกให้เกิดมาเป็นมนุษย์เพื่อปราบพญารากษสราวณะ ผู้ซึ่งเบียดเบียนทวยเทพทั้งหลายและได้รับพรว่าจะถึงแก่ความตายได้ก็ด้วยน้ำมือของมนุษย์เท่านั้น[4] กุมารทั้งสี่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมฐานะของโอรสกษัตริย์ และได้รับการสั่งสอนศิลปวิทยาการในแขนงต่างๆ ตามสมควรแก่วรรณะของตน เมื่อพระรามมีชันษาได้ 16 ปี พระฤๅษีวิศวามิตรได้มายังราชสำนักแห่งท้าวทศรถเพื่อขอให้พระรามผู้เป็นราชโอรสช่วยปราบอสูรที่คอยรบกวนการทำพิธีกรรมของเหล่าฤๅษีอยู่ตลอดเวลา ในการนี้พระลักษมณ์ได้ร่วมติดตามไปกับพระรามด้วย พระรามและพระลักษมณ์ได้รับคำสั่งสอนและอาวุธวิเศษจากพระฤๅษีวิศวามิตร และสามารถปราบอสูรร้ายเหล่านั้นลงได้[5]
ฝ่ายท้าวชนก กษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา วันหนึ่งพระองค์ได้ประกอบพิธีแรกนาขวัญ และทรงไถนาได้กุมารีนางหนึ่งซึ่งถือกำเนิดอยู่ในผืนดินที่พระองค์ประกอบพิธีอยู่ พระองค์ได้รับเลี้ยงกุมารีนั้นด้วยความดีพระทัยอย่างยิ่ง และทรงขนานนามเด็กหญิงนั้นว่า "สีดา" อันมีความหมายว่ารอยไถในภาษาสันสกฤต (สันสกฤต: सीता; สีตา) [6] นางสีดาเติบโตขึ้นเป็นหญิงงามและมีเสน่ห์อย่างไม่มีใครเทียบเทียมได้ และเมื่อนางมีอายุพอสมควรที่จะมีคู่ได้ ท้าวชนกจึงได้จัดพิธีสยุมพร เพื่อหาคู่ครองที่สมควรให้แก่ราชธิดาของพระองค์ ในพิธีครั้งนี้พระองค์ได้จัดให้มีการแข่งขันยกมหาธนูกปิล อันเป็นเทพอาวุธที่พระศิวะประทานให้แก่บรรพบุรุษของท้าวชนก โดยตั้งเงื่อนไขไว่ว่า ใครก็ตามที่สามารถยกธนูนี้ขึ้นได้ก็จะได้นางสีดาไปครอง พระวิศวามิตรได้แนะให้พระรามและพระลักษมณ์เข้าร่วมในงานสยุมพรดังกล่าว พระรามสามารถยกมหาธนูกปิลได้เพียงผู้เดียวและยังโก่งธนูดังกล่าวจนหักลง พิธีอภิเษกของพระรามกับนางสีดาจึงเกิดขึ้นพร้อมด้วยการอภิเษกของราชโอรสอีกสามองค์ของท้าวทศรถกับราชธิดาและและราชนัดดาองค์อื่น ๆ ของท้าวชนกที่นครมิถิลาและมีการเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร เมื่อสิ้นสุดงานแล้วบรรดาคู่บ่าวสาวจึงได้เดินทางกลับสู่กรุงอโยธยา[5]หลังจากการอภิเษกสมรสของพระรามกับนางสีดาผ่านไปได้ 12 ปี ท้าวทศรถว่าตระหนักพระองค์ชราลงไปมากจึงดำริที่จะยกราชสมบัติให้พระรามเป็นผู้สืบทอดต่อไป บรรดาข้าราชบริพารต่างล้วนสนับสนุนพระดำริของท้าวทศรถเช่นกัน[7][8] ทว่าก่อนจะมีพีธีราชาภิเษกนั้น นางไกยเกยีซึ่งถูกยุยงจากนางทาสีหลังค่อมชื่อนางมันถรา ได้ทวงคำสัญญาจากท้าวทศรถที่เคยให้ไว้ในกาลก่อนว่าจะดลบันดาลให้ตามที่นางปรารถนา โดยพรที่นางขอคือให้เนรเทศพระรามออกจากเมืองไป 14 ปี และให้พระภรตซึ่งเป็นโอรสที่เกิดจากนางได้ครองราชสมบัติแทนในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น พระราชาจำต้องอนุมัติตามที่นางขอเพื่อรักษาสัจจวาจาที่พระองค์ให้ไว้ด้วยพระทัยที่แหลกสลาย [9] พระรามยอมรับต่อราชโองการนั้นโดยความอ่อนน้อมและความสุขุมเยือกเย็น ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของพระองค์ที่จะปรากฏต่อไปตลอดเรื่อง [10] พระลักษมณ์และนางสีดาได้ของติดตามพระรามไปด้วย เมื่อพระรามได้กล่าวห้ามนางสีดา นางได้เอ่ยว่า "ผืนป่าที่พระองค์สถิตอยู่คือเมืองอโยธยาสำหรับหม่อมฉัน และเมืองอโยธยาที่ไร้พระองค์นั้นคือนรกอันแท้จริงของหม่อมฉัน"[11]
หลังจากพระรามเสด็จออกจากรุงอโยธยา ท้าวทศรถได้สวรรคตด้วยความตรอมพระทัย[12] ขณะเดียวกัน พระภรตผู้เสด็จไปเยี่ยมพระมาตุลาที่ต่างเมืองก็ได้ทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอโยธยา พระองค์จึงปฏิเสธที่จะขึ้นครองเมืองตามที่พระมารดาของตนได้ขอไว้และเสด็จไปติดตามพระรามในป่า โดยร้องขอให้พระรามกลับคืนเมืองและขึ้นครองราชย์ตามพระประสงค์อันแท้จริงของพระราชบิดา แต่พระรามต้องการรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดาไว้จึงตอบปฏิเสธไป พระภรตจึงทูลขอฉลองพระบาทของพระรามและเชิญไปประดิษฐานยังพระราม นางสีดา และพระลักษมณ์เดินทางลงใต้เลียบไปตามริมฝั่งแม่น้ำโคทาวารี และตั้งอาศรมพำนักและใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น ที่ป่าปัญจวดีนั้นทั้งสามได้พบกับนางรากษสีชื่อ "ศูรปนขา" น้องสาวของพญายักษ์ราวณะ นางพยายามยั่วยวนสองพี่น้องให้มาเป็นสวามีและคิดจะฆ่านางสีดาให้ได้ พระลักษมณ์จึงหยุดนางด้วยการจับนางมาเชือดหูตัดจมูกเสีย เมื่อพญาขร พี่ชายของนางศูรปนขา ได้รู้เรื่องดังกล่าว จึงนำกองทหารมาจัดการกลุ่มของพระราม ทว่าพระรามกลับสามารถจัดการพญาขรกับกองทหารทั้งหมดลงได้ [13]
เรื่องความอับอายของนางศูรปนขาและความตายของพญาขรได้รู้เข้าไปถึงหูของพญาราวณะ พญายักษ์จึงหาวิธีทำลายพระรามโดยอาศัยความช่วยเหลือจากมารีศ มารีศได้แปลงร่างเป็นกวางทองมาล่อลวงนางสีดาให้หลงใหล นางสีดาเมื่อได้เห็นกวางทองแล้วจึงร้องขอให้พระรามช่วยจับกวางนั้นมาเลี้ยง แม้จะระแวงอยู่ว่ากวางนั้นเป็นยักษ์แปลงมาก็ตาม แต่พระรามขัดนางสีดาไม่ได้ จำต้องออกไปตามกวางตามความประสงค์นั้น โดยฝากให้พระลักษมณ์ช่วยคุ้มกันนางสีดาแทนตน เวลาผ่านไปนางสีดาได้ยินเสียงเหมือนกับว่าพระรามเรียกพระลักษมณ์ให้ตามไปช่วย นางจึงบอกให้พระลักษมณ์ไปช่วยพระรามด้วย พระลักษมณ์ได้ทูลเตือนพระพี่นางของตนว่าพระรามนั้นแข็งแกร่งไม่มีใครทำร้ายได้ และตนจะต้องเชื่อฟังคำสั่งของพระราม นางสีดาจึงคร่ำครวญด้วยความอึดอัดใจว่า คนที่ต้องการความช่วยเหลือในตอนนี้ไม่ใช่
นิทานเจ้าหญิงแต่งเอง ตอนที่ 1
เรื่องของนางเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระนารายณ์ได้อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม พระลักษมีพระชายาแห่งพระนารายณ์จึงทรงอวตารลงไปเกิดเป็นคู่ครองของพระราม ณ กรุงอโยธยาในครานั้น ท้าวทศรถผู้ครองนครมีอายุมากแล้ว ทั้งทีมีมเหสีถึงสามนางคือ พระนางเกาสุริยา พระนางไกยเกษี และพระนางสมุทรเทวี แต่พระองค์ก็หาได้มีพระโอรสธิดาไว้สืบราชวงศ์ไม่ ท้าวทศรถได้นำความนี้ปรึกษากับเหล่าฤๅษี ซึ่งพระฤๅษีกไลโกฎได้ทูลว่า ควรจะทำพิธีบวงสรวงขอพระโอรสธิดาจากเทพเจ้า ด้วยวิธีการกวนข้าวทิพย์ ท้าวทศรถจึงจัดพิธีการกวนข้าวทิพย์อย่างยิ่งใหญ่ภายในกรุงอโยธยาเพื่อวอนขอสิ่งที่พระองค์ปรารถนา
พระอิศวรจึงมีพระบัญชาให้พระนารายณ์ลงอวตารเป็นพระโอรสแห่งท้าวทศรถ ซึ่งพระยาอนันตนาคราชผู้เป็นพระแท่นบรรทมของพระนารายณ์ก็ขอติดตามไปด้วย เมื่อพิธีเสร็จสิ้น ท้าวทศรถจึงแบ่งก้อนข้าวทิพย์ให้แก่มเหสีทั้งสามของพระองค์ แต่เหลือข้าวก้อนสุดท้ายอยู่ ข้าวทิพย์เหล่านี้มีกลิ่นหอมหวลอย่างมากจนฟุ้งไกลไปถึงกรุงลงกา นางมณโฑ มเหสีของทศกัณฐ์ได้กลิ่นเข้าก็ร่ำร้องอยากกินให้ได้ มิฉะนั้นตนต้องขาดใจตายเป็นแน่ ทศกัณฐ์จึงมีบัญชาให้นางกากนาสูรสมุนของตนไปโฉบเอาก้อนข้าวทิพย์มาให้นางมณโฑ
เมื่อมเหสีแห่งท้าวทศรถรวมทั้งนางมณโฑได้กินข้าวทิพย์เข้าไปทำให้ต่างนางต่างตั้งครรภ์ ยังความดีใจให้กับท้าวทศรถและทศกัณฐ์อย่างมาก พระนางเกาสุริยาได้ประสูติพระโอรสองค์โตคือ พระราม (พระนารายณ์อวตาร) พระนางไกยเกษีประสูติพระโอรสองค์รองคือ พระพรต (จักรแห่งพระนารายณ์มาเกิด) พระนางสมุทรเทวีประสูติโอรสแฝดคือ พระลักษมณ์ (พญาอนันตนาคราช) และพระสัตรุด (คฑาพระนารายณ์) นางมณโฑก็ประสูติพระธิดาทรงโฉมงดงามยิ่ง คือพระลักษมีอวตาร นางสีดานั่นเอง
เมื่อประสูติออกมา นางร้องว่า ผลาญราพณ์ถึง 3 ครั้ง พิเภกกราบทูลว่า นางสีดาจะนำภัยพิบัติใหญ่หลวงมาสู่วงศ์ยักษ์ ทศกัณฐ์จึงสั่งให้ใส่นางสีดาในผอบลอยน้ำไปเพราะยังไม่อาจหักใจประหารธิดาในไส้ของตนนางนี้ได้ ผอบทองลอยน้ำไปถึงอาศรมของฤๅษีชนกผู้ครองกรุงมิถิลา เปิดดูพบเด็กทารกหญิงหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูภายใน ทว่าฤๅษีชนกนั้นในขณะนั้นครองเพศฤๅษีอยู่ ไม่สะดวกจะเลี้ยงนางสีดา จึงได้นำผอบทองฝังดิน พร้อมขอให้พระแม่ธรณีช่วยดูแลรักษานางด้วย
16 ปีต่อมา ฤๅษีชนกตั้งใจนิวัตินครเพื่อครองกรุงมิถิลาตามเดิม จึงได้ทำพิธีไถคราดดินหาผอบทองที่พระองค์ฝังดินไว้ คันไถไปติดผอบเข้า เหล่าทหารจึงได้ขุดขึ้นมา เมื่อเปิดออกก็พบหญิงสาวรูปร่างหน้าตาสะสวยสะคราญโฉมอย่างที่หาที่เปรียบเปรยไม่ได้ สวยงามที่สุดและงดงามยิ่งกว่านางใดในโลกนี้ ทั้งจริตกิริยาก็เรียบร้อยน่าชม ฤๅษีชนกจึงได้รับนางเป็นพระธิดาแห่งกรุงมิถิลา พร้อมประทานนามให้นางว่า สีดา ที่แปลว่า "รอยไถ"
เมื่อนางสีดาเจริญถึงวัยอันควรแล้ว ท้าวชนกพระบิดาคิดจะจัดพิธีสยุมพรให้นางสีดาพระธิดา จึงได้ป่าวประกาศหาผู้ที่จะสามารถยกธนูโมลีหนักพันแรงคนยกได้ ถ้าผู้ใดทำได้จะยกนางสีดาให้อภิเษก ในครานั้นมีเจ้าชายหนุ่มสองพระองค์นามว่าพระรามและพระลักษมณ์ อยู่ร่วมด้วย พระรามจึงมีพระดำริจะลองยกธนูโมลีนั้นดู แต่ทันใดนั้นเอง พระรามได้จ้องมองผ่านม่านพบกับนางสีดาที่นั่งอยู่อีกฝั่ง ด้วยบุพเพสันนิวาสทำให้ทั้งสองมีใจรักภักดีต่อกันทันที ธนูโมลีนั้นมีเพียงพระรามและพระลักษมณ์ที่ยกได้ แต่พระลักษมณ์ทราบดีว่าพระรามและนางสีดามีใจต่อกันจึงแสร้งทำเป็นยกธนูไม่ขึ้น ในที่สุด พระรามและนางสีดาก็ได้อภิเษกกันอย่างถูกต้องตามประเพณี
เมื่อนิวัติกลับอโยธยา พระรามก็ต้องพบกับข่าวร้าย ด้วยเล่ห์เหลี่ยมนางกุจจีข้ารับใช้ของพระนางไกยเกษีซึ่งเกลียดชังพระรามมาแต่เด็ก นางกุจจีหลอกล่อให้นางไกยเกษีขอท้าวทศรถให้พระพรตโอรสของนางขึ้นครองบัลลังก์ก่อน ซึ่งท้าวทศรถเสียใจมาก แต่พระองค์เคยได้รับการช่วยเหลือจากนางไกยเกษี พระองค์จึงจำยอมทำตาม พร้อมขับไล่พระรามออกเดินป่าเป็นฤๅษีถึง 14 ปี พระราม นางสีดา และพระลักษมณ์ที่ขอติดตามไปด้วยจึงออกไปผจญความทุกข์ยากในป่า ทำให้สุดท้ายท้าวทศรถก็ตรอมใจตาย
พระรามและนางสีดาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแม้ว่าจะอัตคัดขัดสนบ้าง จนกระทั่งวันหนึ่ง นางสำมนักขายักม่ายน้องสาวทศกัณฐ์มาเห็นรูปโฉมพระรามก็หลงรัก เกี้ยวพาขอพระองค์เป็นสวามี แต่พระรามปฏิเสธเพราะมีนางสีดาอยู่แล้ว นางสำมนักขาโกรธจึงด่าทอทุบตีนางสีดา พระลักษมณ์โมโหจับนางสำมนักขาตัดหูตัดจมูกแล้วปล่อยไป นางสำมนักขาแค้นเคืองไปฟ้องพี่ชายของตน พร้อมกับพรรณาความงดงามของนางสีดาให้ทศกัณฐ์ฟังจนทศกัณฐ์อยากได้ในตัวของนางสีดา ทศกัณฐ์สั่งให้มารีศแปลงเป็นกวางทองไปล่อหลอกพระรามพระลักษมณ์ออกจากอาศรมแล้วตนเองก็ไปลักพาตัวนางสีดามาอยู่ที่สวนขวัญ นางสีดามีรักมั่นคงต่อพระรามจึงไม่ยอมเป็นชายาของทศกัณฐ์ ทำให้เกิดสงครามระหว่างมนุษย์และยักษ์ปะทุขึ้น จนคำทำนายในวัยเด็กที่เป็นภัยมาสู้เหล่ายักษ์เป็นจริงขึ้นมา
เสร็จสิ้นสงคราม ทศกัณฐ์ตายแล้ว พระรามอยากเชิญนางสีดากลับอโยธยาด้วยกันแต่พระองค์ไม่อยากให้ผู้ใดมานินทาว่าร้ายนางสีดาที่ไปอยู่แดนศัตรูเกือบ 14 ปี นางสีดาจึงขอพิสูจน์ตนเองว่า จะขอลุยไฟพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ถ้าตนคิดนอกใจสามีเพียงนิดเดียว ขอให้ไฟไหม้นางจนตาย แต่ถ้านางมีรักมั่นต่อสามี ไฟจะไม่อาจทำอันตรายนางได้
ต่อมานางสีดามีครรภ์ นางอดุลยักษีที่เคียดแค้นนางสีดาแปลงมาเป็นนางกำนัลพร้อมขอให้นางสีดาวาดรูปทศกัณฐ์ พอวาดเสร็จนางอดุลก็เข้าสิงทำให้รูปลบไม่ออก พระรามมาเห็นรูปภาพเข้าก็พิโรธมากว่านางสีดายังรักภักดีทศกัณฐ์ จึงสั่งพระลักษมณ์ให้ประหารนางสีดา พระลักษมณ์ไม่ทำซ้ำยังปล่อยนางหนีไป แล้วฆ่าควักหัวใจกวางนำไปถวายพระราม
นางสีดาไปอาศัยอยู่กับฤๅษีวัชมฤคจนกระทั่งประสูติพระโอรสของพระรามนามว่า พระมงกุฎ จากนั้นต่อมาพระฤๅษีก็ได้ชุบกุมารมาเป็นเพื่อนเล่นพระมงกุฎนามว่า พระลบ ทั้งสองกุมารเก่งกล้ามากจนสะเทือนไปถึงอโยธยา จนเกิดการต่อสู้กันระหว่างพ่อลูกทว่าไม่รู้ผลแพ้ชนะ ในที่สุดจึงได้รู้ว่าผู้ที่ต่อสู้อยู่ด้วยนี้ คือพระโอรสองค์เดียวที่เกิดแต่มเหสีนางสีดานั่นเอง พระรามง้องอนขอคืนดีกับนางสีดา แต่นางสีดาเข็ดขยาดในความฉุนเฉียวของพระราม นางจึงแทรกตัวลงไปเมืองบาดาลหนีพระราม พระรามจึงต้องออกผจญภัยอีกครั้งเป็นเวลา 1 ปี จนท้ายที่สุดพระอิศวรได้รับนางสีดาขึ้นมาและปรับความเข้าใจกับทั้งสอง จนในที่สุดพระราม และนางสีดา จึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา ตนที่สองเสกให้ ท้าวทศรถทรงเป็นกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา เมืองหลวงแห่งอาณาจักรโกศล พระองค์มีพระมเหสี 3 องค์ คือ นางเกาศัลยา นางไกยเกยี และนางสุมิตรา แต่หามีราชโอรสเพื่อจะสืบราชสมบัติไม่ พระองค์จึงได้จัดให้มีพิธีบูชาไฟเพื่อขอบุตรขึ้น[1] พระองค์ได้ราชโอรส 4 องค์เรียงตามลำดับคือ พระราม (เกิดจากนางเกาศัลยา) พระภรต (เกิดจากนางไกยเกยี) พระลักษมณ์และพระศัตรุฆน์ (โอรสแฝดซึ่งเกิดจากนางสุมิตรา) [2][3] โอรสทั้งสี่นี้คือร่างแบ่งภาคของพระวิษณุ ซึ่งถูกเลือกให้เกิดมาเป็นมนุษย์เพื่อปราบพญารากษสราวณะ ผู้ซึ่งเบียดเบียนทวยเทพทั้งหลายและได้รับพรว่าจะถึงแก่ความตายได้ก็ด้วยน้ำมือของมนุษย์เท่านั้น[4] กุมารทั้งสี่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมฐานะของโอรสกษัตริย์ และได้รับการสั่งสอนศิลปวิทยาการในแขนงต่างๆ ตามสมควรแก่วรรณะของตน เมื่อพระรามมีชันษาได้ 16 ปี พระฤๅษีวิศวามิตรได้มายังราชสำนักแห่งท้าวทศรถเพื่อขอให้พระรามผู้เป็นราชโอรสช่วยปราบอสูรที่คอยรบกวนการทำพิธีกรรมของเหล่าฤๅษีอยู่ตลอดเวลา ในการนี้พระลักษมณ์ได้ร่วมติดตามไปกับพระรามด้วย พระรามและพระลักษมณ์ได้รับคำสั่งสอนและอาวุธวิเศษจากพระฤๅษีวิศวามิตร และสามารถปราบอสูรร้ายเหล่านั้นลงได้[5]
ฝ่ายท้าวชนก กษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา วันหนึ่งพระองค์ได้ประกอบพิธีแรกนาขวัญ และทรงไถนาได้กุมารีนางหนึ่งซึ่งถือกำเนิดอยู่ในผืนดินที่พระองค์ประกอบพิธีอยู่ พระองค์ได้รับเลี้ยงกุมารีนั้นด้วยความดีพระทัยอย่างยิ่ง และทรงขนานนามเด็กหญิงนั้นว่า "สีดา" อันมีความหมายว่ารอยไถในภาษาสันสกฤต (สันสกฤต: सीता; สีตา) [6] นางสีดาเติบโตขึ้นเป็นหญิงงามและมีเสน่ห์อย่างไม่มีใครเทียบเทียมได้ และเมื่อนางมีอายุพอสมควรที่จะมีคู่ได้ ท้าวชนกจึงได้จัดพิธีสยุมพร เพื่อหาคู่ครองที่สมควรให้แก่ราชธิดาของพระองค์ ในพิธีครั้งนี้พระองค์ได้จัดให้มีการแข่งขันยกมหาธนูกปิล อันเป็นเทพอาวุธที่พระศิวะประทานให้แก่บรรพบุรุษของท้าวชนก โดยตั้งเงื่อนไขไว่ว่า ใครก็ตามที่สามารถยกธนูนี้ขึ้นได้ก็จะได้นางสีดาไปครอง พระวิศวามิตรได้แนะให้พระรามและพระลักษมณ์เข้าร่วมในงานสยุมพรดังกล่าว พระรามสามารถยกมหาธนูกปิลได้เพียงผู้เดียวและยังโก่งธนูดังกล่าวจนหักลง พิธีอภิเษกของพระรามกับนางสีดาจึงเกิดขึ้นพร้อมด้วยการอภิเษกของราชโอรสอีกสามองค์ของท้าวทศรถกับราชธิดาและและราชนัดดาองค์อื่น ๆ ของท้าวชนกที่นครมิถิลาและมีการเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร เมื่อสิ้นสุดงานแล้วบรรดาคู่บ่าวสาวจึงได้เดินทางกลับสู่กรุงอโยธยา[5]หลังจากการอภิเษกสมรสของพระรามกับนางสีดาผ่านไปได้ 12 ปี ท้าวทศรถว่าตระหนักพระองค์ชราลงไปมากจึงดำริที่จะยกราชสมบัติให้พระรามเป็นผู้สืบทอดต่อไป บรรดาข้าราชบริพารต่างล้วนสนับสนุนพระดำริของท้าวทศรถเช่นกัน[7][8] ทว่าก่อนจะมีพีธีราชาภิเษกนั้น นางไกยเกยีซึ่งถูกยุยงจากนางทาสีหลังค่อมชื่อนางมันถรา ได้ทวงคำสัญญาจากท้าวทศรถที่เคยให้ไว้ในกาลก่อนว่าจะดลบันดาลให้ตามที่นางปรารถนา โดยพรที่นางขอคือให้เนรเทศพระรามออกจากเมืองไป 14 ปี และให้พระภรตซึ่งเป็นโอรสที่เกิดจากนางได้ครองราชสมบัติแทนในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น พระราชาจำต้องอนุมัติตามที่นางขอเพื่อรักษาสัจจวาจาที่พระองค์ให้ไว้ด้วยพระทัยที่แหลกสลาย [9] พระรามยอมรับต่อราชโองการนั้นโดยความอ่อนน้อมและความสุขุมเยือกเย็น ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของพระองค์ที่จะปรากฏต่อไปตลอดเรื่อง [10] พระลักษมณ์และนางสีดาได้ของติดตามพระรามไปด้วย เมื่อพระรามได้กล่าวห้ามนางสีดา นางได้เอ่ยว่า "ผืนป่าที่พระองค์สถิตอยู่คือเมืองอโยธยาสำหรับหม่อมฉัน และเมืองอโยธยาที่ไร้พระองค์นั้นคือนรกอันแท้จริงของหม่อมฉัน"[11]
หลังจากพระรามเสด็จออกจากรุงอโยธยา ท้าวทศรถได้สวรรคตด้วยความตรอมพระทัย[12] ขณะเดียวกัน พระภรตผู้เสด็จไปเยี่ยมพระมาตุลาที่ต่างเมืองก็ได้ทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอโยธยา พระองค์จึงปฏิเสธที่จะขึ้นครองเมืองตามที่พระมารดาของตนได้ขอไว้และเสด็จไปติดตามพระรามในป่า โดยร้องขอให้พระรามกลับคืนเมืองและขึ้นครองราชย์ตามพระประสงค์อันแท้จริงของพระราชบิดา แต่พระรามต้องการรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดาไว้จึงตอบปฏิเสธไป พระภรตจึงทูลขอฉลองพระบาทของพระรามและเชิญไปประดิษฐานยังพระราม นางสีดา และพระลักษมณ์เดินทางลงใต้เลียบไปตามริมฝั่งแม่น้ำโคทาวารี และตั้งอาศรมพำนักและใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น ที่ป่าปัญจวดีนั้นทั้งสามได้พบกับนางรากษสีชื่อ "ศูรปนขา" น้องสาวของพญายักษ์ราวณะ นางพยายามยั่วยวนสองพี่น้องให้มาเป็นสวามีและคิดจะฆ่านางสีดาให้ได้ พระลักษมณ์จึงหยุดนางด้วยการจับนางมาเชือดหูตัดจมูกเสีย เมื่อพญาขร พี่ชายของนางศูรปนขา ได้รู้เรื่องดังกล่าว จึงนำกองทหารมาจัดการกลุ่มของพระราม ทว่าพระรามกลับสามารถจัดการพญาขรกับกองทหารทั้งหมดลงได้ [13]
เรื่องความอับอายของนางศูรปนขาและความตายของพญาขรได้รู้เข้าไปถึงหูของพญาราวณะ พญายักษ์จึงหาวิธีทำลายพระรามโดยอาศัยความช่วยเหลือจากมารีศ มารีศได้แปลงร่างเป็นกวางทองมาล่อลวงนางสีดาให้หลงใหล นางสีดาเมื่อได้เห็นกวางทองแล้วจึงร้องขอให้พระรามช่วยจับกวางนั้นมาเลี้ยง แม้จะระแวงอยู่ว่ากวางนั้นเป็นยักษ์แปลงมาก็ตาม แต่พระรามขัดนางสีดาไม่ได้ จำต้องออกไปตามกวางตามความประสงค์นั้น โดยฝากให้พระลักษมณ์ช่วยคุ้มกันนางสีดาแทนตน เวลาผ่านไปนางสีดาได้ยินเสียงเหมือนกับว่าพระรามเรียกพระลักษมณ์ให้ตามไปช่วย นางจึงบอกให้พระลักษมณ์ไปช่วยพระรามด้วย พระลักษมณ์ได้ทูลเตือนพระพี่นางของตนว่าพระรามนั้นแข็งแกร่งไม่มีใครทำร้ายได้ และตนจะต้องเชื่อฟังคำสั่งของพระราม นางสีดาจึงคร่ำครวญด้วยความอึดอัดใจว่า คนที่ต้องการความช่วยเหลือในตอนนี้ไม่ใช่