เมื่อธันวาคม 2564 เราและแฟนได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ หลังจากไปเที่ยว ซึ่งพี่สาว (ลูกพี่ลูกน้อง) ได้ขอให้พาป้า (แม่ของนาง) ฝากขึ้นรถไปส่งที่สมุทรปราการด้วย เพราะต้องไปเซ็นเอกสารซื้อขายรถของนาง แต่ระหว่างทางได้ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชนท้ายรถสิบหกล้อ โดยแฟนเราเป็นคนขับและทางตำรวจแจ้งว่าเป็นคดีประมาทร่วม เนื่องจากคนขับรถสิบล้อไม่เปิดไฟท้ายและจอดรอเลี้ยวในเวลาประมาณ 19.00 น. โดยมีเรากับป้าเป็นผู้โดยสารอยู่ในรถแฟน ส่งผลให้
แฟน เลือดออกในสมอง ฟันหักสองซี่ มีแผลบริเวณหัวเข่าส่งผลให้เส้นเอ็นเข่าได้รับบาดเจ็บสาหัส อยู่โรงพยาบาล 15 วัน
เรา กระดูกขาซ้ายหักเป็นสองท่อน ฟันหักสองซี่ และกระดูกนิ้วโป้งซ้ายเคลื่อน อยู่โรงพยาบาล 13 วัน
ป้า ถูกเข็มขัดนิรภัยรัดจนลำไส้ฉีกขาดมีแผลที่ลำไส้ขนาด 1.4 ซม. อยู่โรงพยาบาล 8 วัน
ขณะที่เราพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลและอาการเริ่มดีขึ้น ป้าและลูกสาวของป้าได้ถามเราถึงค่าทำขวัญ ทำให้เราฉุกคิดได้ว่ารถยนต์ของแฟนทำประกันภัยชั้นหนึ่งไว้ จึงได้ให้น้องของเราเอากรมธรรม์มาให้และศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด จึงอยากมาแชร์ข้อมูลในส่วนนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับทุกคนค่ะ
ระยะแรก (ตอนที่เพิ่งเกิดอุบัติเหตุ)
ขณะที่เราประสบอุบัติในช่วงแรก จะได้รับการช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน โดยนำตัวส่งไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อน และจะมีประกันภัยที่ช่วยค่ารักษาของเราในระยะแรกคือ พ.ร.บ. รถยนต์ภาคบังคับตามกฎหมายที่ผู้มีรถทุกคนต้องทำ โดยมีค่ารักษาในวงเงิน 30,000 บาท/คน และทางโรงพยาบาลจะทำเรื่องเบิกค่ารักษาโดยตรงไปยัง บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด จากนั้นบริษัทกลางจะทำการเรียกเก็บเงินจากบริษัทผู้รับประกันภัยเอง แต่ญาติของผู้ป่วยต้องเดินเรื่องนำเอกสาร ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ป่วยส่งมอบให้แก่โรงพยาบาล ซึ่งหากอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดหรือไม่มีเอกสารดังกล่าวติดตัว ญาติสามารถนำบัตรประชาชนตนเองไปขอคัดสำเนาได้ที่กรมปกครองตามจุดต่างๆ ในประเทศ
ระยะที่สอง (ระหว่างการรักษาตัว)
เราจะขออธิบายในส่วนของการรักษาป้าและเราอย่างละเอียดนะคะ เนื่องจากเป็นการเบิกค่าใช้จ่ายจากประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 โดยตรง ส่วนของแฟนเบิกค่ารักษาจาก พ.ร.บ. ที่ ร.พ. แรก และประกันสังคมจาก ร.พ. ที่สอง เท่านั้นค่ะ การรักษาหลังจากนั้นแฟนเราไปพบแพทย์ที่ได้รับการแนะนำจากคนรู้จักและชำระเงินเอง จึงจะไม่ลงรายละเอียดมากนัก
• แฟน หลังเกิดอุบัติเหตุและช่วยออกมาจากรถได้ ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลในตัวจังหวัดทันที เนื่องจากอาการสาหัสและไม่รู้สึกตัว ต่อมาอีก 4 วัน จึงถูกส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เพราะไม่มีแพทย์เฉพาะทางสมองและสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หารถพยาบาลได้ลำบาก ญาติของแฟนจึงยอมจ่ายเงินเพื่อหารถพยาบาลเอกชนส่งแฟนเข้ารับการรักษาต่อที่กรุงเทพฯ ค่ะ
• ป้า ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลในตัวจังหวัดเช้าวันต่อมาหลังเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากโรงพยาบาลแรกที่เข้ารับการรักษาไม่มีแพทย์เฉพาะทาง จากนั้นป้าก็ได้รับการผ่าตัดทันที เพื่อนำลำไส้ที่เป็นแผลออกมาไว้ด้านนอก เพื่อให้บาดเแผลสมานตัวเป็นระยะเวลา 3 เดือน และพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนี้ 7 วัน รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 8 วัน โดยค่ารักษาที่ ร.พ. แรกนั้นเป็นเงิน 4,954.50 บาท และ ร.พ. ที่ 2 เป็นเงิน 25,045 บาท รวม 29,999.50 บาท ซึ่ง ร.พ. ทำการเบิกจาก พ.ร.บ. โดยตรง
• เรา ต้องรอที่ ร.พ. แรกถึง 3 วัน จึงถูกส่งตัวไปรักษาต่อในกรุงเทพฯ เนื่องจาก ร.พ. ไม่มีแพทย์เฉพาะทางและสถานการณ์โควิด-19 เมื่อไปถึง กทม. ก็ต้องรออีก 2 วันจึงได้รับการผ่าตัดตามคิวแพทย์ จากนั้นพักรักษาตัวที่ ร.พ. นี้อีก 10 วัน รวม 2 ร.พ. เป็น 13 วัน ซึ่งค่ารักษา ร.พ. แรกของเราที่ต่างจังหวัดเป็นเงิน 11,608.50 บาท โดยทางโรงพยาบาลทำการเบิกจาก พ.ร.บ. โดยตรง และ ร.พ. ในกรุงเทพฯ เป็นเงิน 157,751 บาท ซึ่งถือว่าเป็นค่ารักษาที่สูงมากและเกินวงเงิน พ.ร.บ. แต่โชคดีที่ออฟฟิศเรามีสวัสดิการเป็นประกันกลุ่มให้พนักงานทุกคนในวงเงิน 200,000 บาท/การรักษา/ครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในรายปี
และเนื่องจากเราต้องมาพบแพทย์หลังจากออก ร.พ. อย่างสม่ำเสมอ จึงมีค่ารักษาเพิ่มเติมอีกจำนวน 8,608 บาท ซึ่งทาง ร.พ. เบิกจากประกันภาคสมัครใจรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ คือประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 โดยตรง ดังนั้น ค่ารักษาของเราในระยะที่สองนี้จึงรวมเป็นวงเงิน 166,359 บาท
พอออกจากโรงพยาบาลเพื่อมาพักรักษาตัวที่บ้าน เมื่อเราเริ่มมีอาการดีขึ้น (ประมาณกุมภาพันธ์ 2565) จึงได้เริ่มหาข้อมูลการเบิกค่าสินไหมจากประกันภัย และได้ทำการว่าจ้างทนายเพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวแทน เนื่องจากเรายังเดินไม่ได้ ต้องรอให้กระดูกประสานกัน 3-6 เดือน ส่วนป้าก็เดินทางไปทำธุระต่างๆ ไม่สะดวก จึงได้ส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อให้ทนายดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. ใบรับรองแพทย์ สามารถใช้เบิกค่านอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้คืนละ 200 บาท และเป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าทนทุกข์ทรมานได้
2. ประวัติการรักษา (สามารถขอได้โดยตรงจากโรงพยาบาล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) ใช้เป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าทนทุกข์ทรมานได้
3.ใบเสร็จรับเงิน/รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการรักษาจากทางสถานพยาบาล ซึ่งค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ที่ทางบริษัทประกันภัยไม่ได้เป็นผู้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาที่เราชำระเอง ค่ารักษาที่บริษัทประกันภัยอื่นชำระให้ ค่ารักษาจากประกันสังคม ฯลฯ สามารถนำมายื่นประกอบได้ทั้งหมด แต่ถ้าบริษัทประกันจ่ายให้แล้ว เราจะเรียกร้องส่วนนี้ไม่ได้
4. ใบรับรองเงินเดือน/รายได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าระหว่างการพักรักษาตัวนั้น เราสูญเสียรายได้ไปจำนวนเท่าใด
5. บทความอธิบายการทนทุกข์ทรมานระหว่างการรักษา ซึ่งเราต้องพิมพ์เพื่อบรรยายอาการดังกล่าวด้วยตนเอง และแนบหลักฐานเป็นภาพถ่ายและใบนัดแพทย์ได้ โดยอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาร่วมกับใบรับรองแพทย์ และประวัติการรักษา เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอีกที
6. อื่นๆ เช่น
- ค่าเดินทางไปพบแพทย์ตามนัด สามารถใช้ใบรับรองแพทย์ หรือ/และประวัติการรักษา และภาพแคปหน้าจอแผนที่ Google Map จากที่พักอาศัยไปยังสถานพยาบาลได้
- ค่าสูญเสียบุคลิกภาพ สำหรับอาชีพที่ต้องใช้บุคลิกภาพในการทำงานเพื่อยังชีพ เช่น การติดต่อประสานงาน ฯลฯ หรือต้องใช้เงินเพื่อการรักษา เช่น รอยแผลเป็น รวมถึงการรักษาฟันที่เกิดจากอุบัติเหตุ ฯลฯ
การดำเนินงานข้างต้น เรามอบอำนาจให้ทนายทำการเจรจากับบริษัทประกัน หากตกลงกันไม่ได้ เช่น ประกันไม่ชำระค่าสินไหมตามที่เราเรียกร้อง / เราไม่พอใจและไม่ยินดีรับค่าสินไหมที่ประกันเสนอมา (ต้องพิจารณากรมธรรม์ประกอบ เพื่อดูผลประโยชน์ตามที่ได้ทำประกันภัย โดยของเราเป็นรถยนต์รุ่น Ertiga ค่ะ) จากนั้นเราก็เลือกยื่นฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการแทน ค.ป.ภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) เพราะหากอนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปรากฎว่าอีกฝ่ายต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เราตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ฝ่ายนั้นต้องชำระเงินตามมูลค่าที่อนุญาโตตุลาการตัดสินพร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี (นับดอกเบี้ยเป็นรายวัน ยิ่งจ่ายช้า ดอกเบี้ยยิ่งเพิ่ม) นับตั้งแต่วันที่ผู้เสนอข้อพิพาทได้ทำการยื่นฟ้อง แต่การยื่นฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการนั้นต้องวางเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง รวมถึงค่าจ้างทนายด้วย ทำให้หลายๆ คนไม่ค่อยเลือกวิธีนี้ เพราะคิดว่าหักลบแล้วอาจได้ไม่คุ้มเสียเท่าใดนัก
ระยะที่สาม
• แฟน หลังออกจาก ร.พ. และพักรักษาตัวจนอาการดีขึ้นในช่วงกลางเดือนมกราคม 65 ได้นัดกับทางตำรวจเจ้าของคดีแล้วเดินทางไปไกล่เกลี่ยที่โรงพัก จากนั้นทำการรักษาฝังรากเทียมฟัน และรักษาอาการบาดเจ็บที่เข่า รวมถึงสมองโดยชำระเงินเอง (สามารถเก็บเอกสารหลักฐานเพื่อยื่นเบิกกับทางประกันได้ในภายหลัง)
• เรา เมื่อออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่มกราคม-พฤษภาคม ต้องกลับไปพักรักษาตัวอยู่บ้านกับแม่และน้องที่ต่างจังหวัด เพราะที่กรุงเทพฯ ไม่มีคนดูแล เดิมทีได้ขอคุณหมอที่กรุงเทพฯ ย้ายโรงพยาบาลไปต่างจังหวัดเพื่อจะได้สะดวกในการเดินทางเพื่อเข้ารับการรักษา แต่คุณหมอไม่อนุญาต ทุกเดือนเราจึงต้องเดินทางไปกลับกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดเดือนละครั้ง เพื่อพบหมอกระดูก และระหว่างนั้นช่วงมกราคม-มีนาคมก็ได้ทำการรักษารากฟันจำนวน 2 ซี่ ฝังรากเทียม 2 ซี่ และดามฟันอีก 3 ซี่ เป็นค่าใช้จ่ายรวม 85,768 บาท ซึ่งเราชำระเอง โดยยังไม่รวมค่าเดินทางไปกลับ
• ป้า เมื่อออกจาก ร.พ. ต้องไปพบแพทย์ที่ ร.พ. เดือนละครั้งเช่นกัน คือ ม.ค.-มี.ค. มีค่าใช้จ่ายที่ชำระเอง 2,880 บาท โดยยังไม่รวมค่าเดินทางไปกลับ เดิมทีป้าต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเก็บลำไส้ในเดือนมีนาคม แต่เพราะติดธุระ จึงขอคุณหมอเลื่อนการผ่าตัดเป็นเดือนพฤษภาคม ซึ่งทีแรกเราและทางลูกสาวของป้าไม่ทราบว่าการรักษาทั้งหมดนั้นบริษัทประกันภัยรถยนต์เป็นผู้ชำระให้กับทางโรงพยาบาลโดยตรง จึงให้ลูกสาวป้ายืมเงินไปก่อน 50,000 บาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการรักษา
ระหว่างนั้นทนายของบริษัทประกันได้ติดต่อมาเพื่อขอเจรจาระงับข้อพิพาทโดยไม่ต้องขึ้นศาล เราเสนอให้จบที่คนละ 350,000 บาท บริษัทประกันใช้เวลาในการพิจารณา 15 วัน จึงเสนอให้เรา 350,000 บาท และให้ป้า 300,000 บาท เดิมทีเราอยากขึ้นศาล เพราะอ่านคำคัดค้านของบริษัทประกันรวมทั้งพิจารณาหลักฐานที่มีอยู่คิดว่าตัวเองต้องได้ไม่ตำ่กว่า 400,000 - 500,000 บาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) โดยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. วงเงินค่ารักษาพยาบาล 500,000 บาท/คน ของกรมธรรม์ เราใช้ของบริษัทประกันภัยรถไปเพียง 20,216.50 บาท ซึ่งถ้าใช้วงเงินรักษาของบริษัทประกันภัยอื่น หรือประกันสังคม ก็สามารถนำหลักฐานจาก ร.พ. มาเบิกกับบริษัทประกันภันรถยนต์ในส่วนนี้ได้ โดยส่วนใหญ่เราใช้ประกันอุบัติเหตุของออฟฟิศและเงินส่วนตัว และใในส่วนนี้ก็รวมค่ารักษาในอนาคต ค่ารักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากอุบัติเหตุ
2. ค่าชดใช้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกของกรมธรรม์มีวงเงินถึง 5 ล้าน/ครั้ง ซึ่งในส่วนนี้รวมถึงค่าขาดรายได้ ค่าทนทุกข์ทรมาน ค่าเสียบุคลิกภาพ และค่าเดินทางด้วย
แต่เพราะการรักษาของป้าส่วนใหญ่แล้วบริษัทประกันฯ เป็นคนชำระให้ อีกทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆ ของป้าค่อนข้างมีน้ำหนักน้อย ไม่มีเอกสารรับรองรายได้ นอกจากนี้ลูกสาวป้าและตัวป้าเองก็พอค่อนข้างพอใจกับตัวเลขที่ประกันเสนอ เพราะไม่คิดว่าจะได้ตัวเลขสูงขนาดนี้ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่หากไม่ได้นัดสืบพยาน บริษัทประกันทั่วไปมักเสนอจบที่ 2-3 หมื่นบาท และเหตุผลสุดท้ายคือเราอยากให้คดีจบไวๆ เพราะไม่อยากให้แฟนเครียด ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา เราจึงตกลงจบตามตัวเลขที่ประกันเสนอมาค่ะ
แต่หากต้องการนัดสืบพยานก็ไม่ยาก เพราะจากที่ศึกษามาคือปัจจุบันเป็นการสืบพยานแบบออนไลน์ผ่าน Microsoft Team โดยเราจะต้องเขียนคำให้การและแนบหลักฐานเพิ่มเติม (ถ้ามีเพิ่มจากที่ส่งไปครั้งแรก) เพื่อส่งให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน เมื่อถึงวันนัดสืบพยาน ก็แค่ตอบคำถามอนุญาโตตุลาการและทนายฝั่งบริษัทประกันไปตามข้อเท็จจริงและหลักฐานค่ะ
แต่เคสของเราคือจบที่การเจรจา โดยไม่ได้นัดสืบพยาน หลังตกลงกันได้จากนั้นประมาณอาทิตย์นึงทางบริษัทประกันฯ ก็ให้ทนายไปเซ็นเอกสารและรับเช็คเพื่อโอนเข้าบัญชีเรากับป้า และได้แจ้งเราเกี่ยวกับการชำระเบี้ยค่ารักษาของป้าครั้งล่าสุดเป็นเงินรวม 22,000 บาท แต่ลูกสาวของป้าได้ขอเปลี่ยนห้องพักรักษาตัวให้ป้าในการรักษาครั้งที่สองนี้เป็นห้องพิเศษ ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 1,200 บาท/วัน จำนวน 15 วัน รวมเป็นเงิน 18,000 บาท ซึ่งในส่วนนี้ป้าต้องทำการชำระเอง ไม่สามารถเบิกกับประกันได้ค่ะ โดยรวมค่ารักษาตั้งแต่ผ่าตัดครั้งที่ 1 และ 2 ของป้าเป็นจำนวนเงิน 54,879.50 บาท (ไม่รวมค่าห้องพิเศษ) ส่วนค่ารักษาของเราก็ประมาณ 252,127 บาทค่ะ
[CR] ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ เมื่อเกิดอุบัติเหตุเคลมอย่างไรให้ได้ผลประโยชน์ครบตามกรมธรรม์
แฟน เลือดออกในสมอง ฟันหักสองซี่ มีแผลบริเวณหัวเข่าส่งผลให้เส้นเอ็นเข่าได้รับบาดเจ็บสาหัส อยู่โรงพยาบาล 15 วัน
เรา กระดูกขาซ้ายหักเป็นสองท่อน ฟันหักสองซี่ และกระดูกนิ้วโป้งซ้ายเคลื่อน อยู่โรงพยาบาล 13 วัน
ป้า ถูกเข็มขัดนิรภัยรัดจนลำไส้ฉีกขาดมีแผลที่ลำไส้ขนาด 1.4 ซม. อยู่โรงพยาบาล 8 วัน
ขณะที่เราพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลและอาการเริ่มดีขึ้น ป้าและลูกสาวของป้าได้ถามเราถึงค่าทำขวัญ ทำให้เราฉุกคิดได้ว่ารถยนต์ของแฟนทำประกันภัยชั้นหนึ่งไว้ จึงได้ให้น้องของเราเอากรมธรรม์มาให้และศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด จึงอยากมาแชร์ข้อมูลในส่วนนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับทุกคนค่ะ
ระยะแรก (ตอนที่เพิ่งเกิดอุบัติเหตุ)
ขณะที่เราประสบอุบัติในช่วงแรก จะได้รับการช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน โดยนำตัวส่งไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อน และจะมีประกันภัยที่ช่วยค่ารักษาของเราในระยะแรกคือ พ.ร.บ. รถยนต์ภาคบังคับตามกฎหมายที่ผู้มีรถทุกคนต้องทำ โดยมีค่ารักษาในวงเงิน 30,000 บาท/คน และทางโรงพยาบาลจะทำเรื่องเบิกค่ารักษาโดยตรงไปยัง บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด จากนั้นบริษัทกลางจะทำการเรียกเก็บเงินจากบริษัทผู้รับประกันภัยเอง แต่ญาติของผู้ป่วยต้องเดินเรื่องนำเอกสาร ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ป่วยส่งมอบให้แก่โรงพยาบาล ซึ่งหากอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดหรือไม่มีเอกสารดังกล่าวติดตัว ญาติสามารถนำบัตรประชาชนตนเองไปขอคัดสำเนาได้ที่กรมปกครองตามจุดต่างๆ ในประเทศ
ระยะที่สอง (ระหว่างการรักษาตัว)
เราจะขออธิบายในส่วนของการรักษาป้าและเราอย่างละเอียดนะคะ เนื่องจากเป็นการเบิกค่าใช้จ่ายจากประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 โดยตรง ส่วนของแฟนเบิกค่ารักษาจาก พ.ร.บ. ที่ ร.พ. แรก และประกันสังคมจาก ร.พ. ที่สอง เท่านั้นค่ะ การรักษาหลังจากนั้นแฟนเราไปพบแพทย์ที่ได้รับการแนะนำจากคนรู้จักและชำระเงินเอง จึงจะไม่ลงรายละเอียดมากนัก
• แฟน หลังเกิดอุบัติเหตุและช่วยออกมาจากรถได้ ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลในตัวจังหวัดทันที เนื่องจากอาการสาหัสและไม่รู้สึกตัว ต่อมาอีก 4 วัน จึงถูกส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เพราะไม่มีแพทย์เฉพาะทางสมองและสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หารถพยาบาลได้ลำบาก ญาติของแฟนจึงยอมจ่ายเงินเพื่อหารถพยาบาลเอกชนส่งแฟนเข้ารับการรักษาต่อที่กรุงเทพฯ ค่ะ
• ป้า ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลในตัวจังหวัดเช้าวันต่อมาหลังเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากโรงพยาบาลแรกที่เข้ารับการรักษาไม่มีแพทย์เฉพาะทาง จากนั้นป้าก็ได้รับการผ่าตัดทันที เพื่อนำลำไส้ที่เป็นแผลออกมาไว้ด้านนอก เพื่อให้บาดเแผลสมานตัวเป็นระยะเวลา 3 เดือน และพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนี้ 7 วัน รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 8 วัน โดยค่ารักษาที่ ร.พ. แรกนั้นเป็นเงิน 4,954.50 บาท และ ร.พ. ที่ 2 เป็นเงิน 25,045 บาท รวม 29,999.50 บาท ซึ่ง ร.พ. ทำการเบิกจาก พ.ร.บ. โดยตรง
• เรา ต้องรอที่ ร.พ. แรกถึง 3 วัน จึงถูกส่งตัวไปรักษาต่อในกรุงเทพฯ เนื่องจาก ร.พ. ไม่มีแพทย์เฉพาะทางและสถานการณ์โควิด-19 เมื่อไปถึง กทม. ก็ต้องรออีก 2 วันจึงได้รับการผ่าตัดตามคิวแพทย์ จากนั้นพักรักษาตัวที่ ร.พ. นี้อีก 10 วัน รวม 2 ร.พ. เป็น 13 วัน ซึ่งค่ารักษา ร.พ. แรกของเราที่ต่างจังหวัดเป็นเงิน 11,608.50 บาท โดยทางโรงพยาบาลทำการเบิกจาก พ.ร.บ. โดยตรง และ ร.พ. ในกรุงเทพฯ เป็นเงิน 157,751 บาท ซึ่งถือว่าเป็นค่ารักษาที่สูงมากและเกินวงเงิน พ.ร.บ. แต่โชคดีที่ออฟฟิศเรามีสวัสดิการเป็นประกันกลุ่มให้พนักงานทุกคนในวงเงิน 200,000 บาท/การรักษา/ครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในรายปี
และเนื่องจากเราต้องมาพบแพทย์หลังจากออก ร.พ. อย่างสม่ำเสมอ จึงมีค่ารักษาเพิ่มเติมอีกจำนวน 8,608 บาท ซึ่งทาง ร.พ. เบิกจากประกันภาคสมัครใจรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ คือประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 โดยตรง ดังนั้น ค่ารักษาของเราในระยะที่สองนี้จึงรวมเป็นวงเงิน 166,359 บาท
พอออกจากโรงพยาบาลเพื่อมาพักรักษาตัวที่บ้าน เมื่อเราเริ่มมีอาการดีขึ้น (ประมาณกุมภาพันธ์ 2565) จึงได้เริ่มหาข้อมูลการเบิกค่าสินไหมจากประกันภัย และได้ทำการว่าจ้างทนายเพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวแทน เนื่องจากเรายังเดินไม่ได้ ต้องรอให้กระดูกประสานกัน 3-6 เดือน ส่วนป้าก็เดินทางไปทำธุระต่างๆ ไม่สะดวก จึงได้ส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อให้ทนายดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. ใบรับรองแพทย์ สามารถใช้เบิกค่านอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้คืนละ 200 บาท และเป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าทนทุกข์ทรมานได้
2. ประวัติการรักษา (สามารถขอได้โดยตรงจากโรงพยาบาล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) ใช้เป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าทนทุกข์ทรมานได้
3.ใบเสร็จรับเงิน/รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการรักษาจากทางสถานพยาบาล ซึ่งค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ที่ทางบริษัทประกันภัยไม่ได้เป็นผู้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาที่เราชำระเอง ค่ารักษาที่บริษัทประกันภัยอื่นชำระให้ ค่ารักษาจากประกันสังคม ฯลฯ สามารถนำมายื่นประกอบได้ทั้งหมด แต่ถ้าบริษัทประกันจ่ายให้แล้ว เราจะเรียกร้องส่วนนี้ไม่ได้
4. ใบรับรองเงินเดือน/รายได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าระหว่างการพักรักษาตัวนั้น เราสูญเสียรายได้ไปจำนวนเท่าใด
5. บทความอธิบายการทนทุกข์ทรมานระหว่างการรักษา ซึ่งเราต้องพิมพ์เพื่อบรรยายอาการดังกล่าวด้วยตนเอง และแนบหลักฐานเป็นภาพถ่ายและใบนัดแพทย์ได้ โดยอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาร่วมกับใบรับรองแพทย์ และประวัติการรักษา เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอีกที
6. อื่นๆ เช่น
- ค่าเดินทางไปพบแพทย์ตามนัด สามารถใช้ใบรับรองแพทย์ หรือ/และประวัติการรักษา และภาพแคปหน้าจอแผนที่ Google Map จากที่พักอาศัยไปยังสถานพยาบาลได้
- ค่าสูญเสียบุคลิกภาพ สำหรับอาชีพที่ต้องใช้บุคลิกภาพในการทำงานเพื่อยังชีพ เช่น การติดต่อประสานงาน ฯลฯ หรือต้องใช้เงินเพื่อการรักษา เช่น รอยแผลเป็น รวมถึงการรักษาฟันที่เกิดจากอุบัติเหตุ ฯลฯ
การดำเนินงานข้างต้น เรามอบอำนาจให้ทนายทำการเจรจากับบริษัทประกัน หากตกลงกันไม่ได้ เช่น ประกันไม่ชำระค่าสินไหมตามที่เราเรียกร้อง / เราไม่พอใจและไม่ยินดีรับค่าสินไหมที่ประกันเสนอมา (ต้องพิจารณากรมธรรม์ประกอบ เพื่อดูผลประโยชน์ตามที่ได้ทำประกันภัย โดยของเราเป็นรถยนต์รุ่น Ertiga ค่ะ) จากนั้นเราก็เลือกยื่นฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการแทน ค.ป.ภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) เพราะหากอนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปรากฎว่าอีกฝ่ายต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เราตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ฝ่ายนั้นต้องชำระเงินตามมูลค่าที่อนุญาโตตุลาการตัดสินพร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี (นับดอกเบี้ยเป็นรายวัน ยิ่งจ่ายช้า ดอกเบี้ยยิ่งเพิ่ม) นับตั้งแต่วันที่ผู้เสนอข้อพิพาทได้ทำการยื่นฟ้อง แต่การยื่นฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการนั้นต้องวางเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง รวมถึงค่าจ้างทนายด้วย ทำให้หลายๆ คนไม่ค่อยเลือกวิธีนี้ เพราะคิดว่าหักลบแล้วอาจได้ไม่คุ้มเสียเท่าใดนัก
ระยะที่สาม
• แฟน หลังออกจาก ร.พ. และพักรักษาตัวจนอาการดีขึ้นในช่วงกลางเดือนมกราคม 65 ได้นัดกับทางตำรวจเจ้าของคดีแล้วเดินทางไปไกล่เกลี่ยที่โรงพัก จากนั้นทำการรักษาฝังรากเทียมฟัน และรักษาอาการบาดเจ็บที่เข่า รวมถึงสมองโดยชำระเงินเอง (สามารถเก็บเอกสารหลักฐานเพื่อยื่นเบิกกับทางประกันได้ในภายหลัง)
• เรา เมื่อออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่มกราคม-พฤษภาคม ต้องกลับไปพักรักษาตัวอยู่บ้านกับแม่และน้องที่ต่างจังหวัด เพราะที่กรุงเทพฯ ไม่มีคนดูแล เดิมทีได้ขอคุณหมอที่กรุงเทพฯ ย้ายโรงพยาบาลไปต่างจังหวัดเพื่อจะได้สะดวกในการเดินทางเพื่อเข้ารับการรักษา แต่คุณหมอไม่อนุญาต ทุกเดือนเราจึงต้องเดินทางไปกลับกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดเดือนละครั้ง เพื่อพบหมอกระดูก และระหว่างนั้นช่วงมกราคม-มีนาคมก็ได้ทำการรักษารากฟันจำนวน 2 ซี่ ฝังรากเทียม 2 ซี่ และดามฟันอีก 3 ซี่ เป็นค่าใช้จ่ายรวม 85,768 บาท ซึ่งเราชำระเอง โดยยังไม่รวมค่าเดินทางไปกลับ
• ป้า เมื่อออกจาก ร.พ. ต้องไปพบแพทย์ที่ ร.พ. เดือนละครั้งเช่นกัน คือ ม.ค.-มี.ค. มีค่าใช้จ่ายที่ชำระเอง 2,880 บาท โดยยังไม่รวมค่าเดินทางไปกลับ เดิมทีป้าต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเก็บลำไส้ในเดือนมีนาคม แต่เพราะติดธุระ จึงขอคุณหมอเลื่อนการผ่าตัดเป็นเดือนพฤษภาคม ซึ่งทีแรกเราและทางลูกสาวของป้าไม่ทราบว่าการรักษาทั้งหมดนั้นบริษัทประกันภัยรถยนต์เป็นผู้ชำระให้กับทางโรงพยาบาลโดยตรง จึงให้ลูกสาวป้ายืมเงินไปก่อน 50,000 บาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการรักษา
ระหว่างนั้นทนายของบริษัทประกันได้ติดต่อมาเพื่อขอเจรจาระงับข้อพิพาทโดยไม่ต้องขึ้นศาล เราเสนอให้จบที่คนละ 350,000 บาท บริษัทประกันใช้เวลาในการพิจารณา 15 วัน จึงเสนอให้เรา 350,000 บาท และให้ป้า 300,000 บาท เดิมทีเราอยากขึ้นศาล เพราะอ่านคำคัดค้านของบริษัทประกันรวมทั้งพิจารณาหลักฐานที่มีอยู่คิดว่าตัวเองต้องได้ไม่ตำ่กว่า 400,000 - 500,000 บาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) โดยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. วงเงินค่ารักษาพยาบาล 500,000 บาท/คน ของกรมธรรม์ เราใช้ของบริษัทประกันภัยรถไปเพียง 20,216.50 บาท ซึ่งถ้าใช้วงเงินรักษาของบริษัทประกันภัยอื่น หรือประกันสังคม ก็สามารถนำหลักฐานจาก ร.พ. มาเบิกกับบริษัทประกันภันรถยนต์ในส่วนนี้ได้ โดยส่วนใหญ่เราใช้ประกันอุบัติเหตุของออฟฟิศและเงินส่วนตัว และใในส่วนนี้ก็รวมค่ารักษาในอนาคต ค่ารักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากอุบัติเหตุ
2. ค่าชดใช้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกของกรมธรรม์มีวงเงินถึง 5 ล้าน/ครั้ง ซึ่งในส่วนนี้รวมถึงค่าขาดรายได้ ค่าทนทุกข์ทรมาน ค่าเสียบุคลิกภาพ และค่าเดินทางด้วย
แต่เพราะการรักษาของป้าส่วนใหญ่แล้วบริษัทประกันฯ เป็นคนชำระให้ อีกทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆ ของป้าค่อนข้างมีน้ำหนักน้อย ไม่มีเอกสารรับรองรายได้ นอกจากนี้ลูกสาวป้าและตัวป้าเองก็พอค่อนข้างพอใจกับตัวเลขที่ประกันเสนอ เพราะไม่คิดว่าจะได้ตัวเลขสูงขนาดนี้ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่หากไม่ได้นัดสืบพยาน บริษัทประกันทั่วไปมักเสนอจบที่ 2-3 หมื่นบาท และเหตุผลสุดท้ายคือเราอยากให้คดีจบไวๆ เพราะไม่อยากให้แฟนเครียด ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา เราจึงตกลงจบตามตัวเลขที่ประกันเสนอมาค่ะ
แต่หากต้องการนัดสืบพยานก็ไม่ยาก เพราะจากที่ศึกษามาคือปัจจุบันเป็นการสืบพยานแบบออนไลน์ผ่าน Microsoft Team โดยเราจะต้องเขียนคำให้การและแนบหลักฐานเพิ่มเติม (ถ้ามีเพิ่มจากที่ส่งไปครั้งแรก) เพื่อส่งให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน เมื่อถึงวันนัดสืบพยาน ก็แค่ตอบคำถามอนุญาโตตุลาการและทนายฝั่งบริษัทประกันไปตามข้อเท็จจริงและหลักฐานค่ะ
แต่เคสของเราคือจบที่การเจรจา โดยไม่ได้นัดสืบพยาน หลังตกลงกันได้จากนั้นประมาณอาทิตย์นึงทางบริษัทประกันฯ ก็ให้ทนายไปเซ็นเอกสารและรับเช็คเพื่อโอนเข้าบัญชีเรากับป้า และได้แจ้งเราเกี่ยวกับการชำระเบี้ยค่ารักษาของป้าครั้งล่าสุดเป็นเงินรวม 22,000 บาท แต่ลูกสาวของป้าได้ขอเปลี่ยนห้องพักรักษาตัวให้ป้าในการรักษาครั้งที่สองนี้เป็นห้องพิเศษ ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 1,200 บาท/วัน จำนวน 15 วัน รวมเป็นเงิน 18,000 บาท ซึ่งในส่วนนี้ป้าต้องทำการชำระเอง ไม่สามารถเบิกกับประกันได้ค่ะ โดยรวมค่ารักษาตั้งแต่ผ่าตัดครั้งที่ 1 และ 2 ของป้าเป็นจำนวนเงิน 54,879.50 บาท (ไม่รวมค่าห้องพิเศษ) ส่วนค่ารักษาของเราก็ประมาณ 252,127 บาทค่ะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้