คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
1. เน้นไปที่เด็ก 30 คน แต่ก็ไม่ควรปล่อย 10 คนนั้นไว้เฉย ๆ ใช้กิจกรรมเล็ก ๆ เข้าช่วย เช่น แบ่งกลุ่มจาก 30 คน ออกเป็น 5 กลุ่ม ก็ได้ จากนั้นก็กระจายเด็กเก่งที่ 10 ไปเข้าแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน (เราแบ่งให้เลย) เพื่อที่จะให้เด็กเก่งเป็นตัวช่วย แล้วเราก็คอยกำกับอีกทีหนึ่ง
แต่ก่อนจะทำแบบนี้ ให้ลองสอบเพื่อเช็คระดับความเข้าใจก่อน (เหมือนสอบก่อนเรียน) แล้วค่อยใช้การเรียนแบบแบ่งกลุ่ม จากนั้นก็ให้สอบหลังเรียนอีกครั้ง เพื่อดูว่าการใช้วิธีสอนแบบนี้ ได้ผลมากน้อยแค่ไหน <<การทำเรื่องพวกนี้ สามารถต่อยอดไปเป็นการวิจัยในชั้นเรียนได้>>
2. เราซึ่งเป็นผู้สอนต้องสร้างแรงจูงใจให้แก่เด็ก ทำให้เห็นว่าแม้จะมีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้สะดวกสบายขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องเรียนรู้เรื่องพื้นฐานเหล่านี้ ข้อนี้ต้องใช้วิธีเฉพาะตัวผู้สอนเอง เนื่องจากเป็นคนที่ใกล้ชิดกับเด็ก
3. เป็นเรื่องที่ต้องตกลงกันในชั้นเรียน มีกฎระเบียบที่ชัดเจน
4. เปลี่ยนวิธีการสอน ความหมายคือ ปกติเราใช้วิธีการสอนแบบไหนก็ให้ลองสอนแบบอื่น เช่น ปกติให้เด็กนั่งฟัง นั่งจด ก็ลองเสริมกิจกรรมเล็ก ๆ เข้าไปเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ ให้เกิดความสนุกสนานในการเรียน
5. ลองเปลี่ยนเป็นการเรียกแบบเจาะจง และเวียนไปให้ครบทุกคน ตามเลขที่ก็ได้ครับ
6. ขออนุญาติร่วมกรี๊ดด้วยคนครับ
ปล. เห็นด้วยกับ คห.ที่ 5 การวัดผลเป็นสิ่งสำคัญ ควรมีมาตรฐานไว้ และพยายามให้เด็กอยู่ในระดับมาตรฐานนั้น แต่ไม่ควรลดมาตรฐานเพื่อให้เด็กผ่าน
แต่ก่อนจะทำแบบนี้ ให้ลองสอบเพื่อเช็คระดับความเข้าใจก่อน (เหมือนสอบก่อนเรียน) แล้วค่อยใช้การเรียนแบบแบ่งกลุ่ม จากนั้นก็ให้สอบหลังเรียนอีกครั้ง เพื่อดูว่าการใช้วิธีสอนแบบนี้ ได้ผลมากน้อยแค่ไหน <<การทำเรื่องพวกนี้ สามารถต่อยอดไปเป็นการวิจัยในชั้นเรียนได้>>
2. เราซึ่งเป็นผู้สอนต้องสร้างแรงจูงใจให้แก่เด็ก ทำให้เห็นว่าแม้จะมีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้สะดวกสบายขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องเรียนรู้เรื่องพื้นฐานเหล่านี้ ข้อนี้ต้องใช้วิธีเฉพาะตัวผู้สอนเอง เนื่องจากเป็นคนที่ใกล้ชิดกับเด็ก
3. เป็นเรื่องที่ต้องตกลงกันในชั้นเรียน มีกฎระเบียบที่ชัดเจน
4. เปลี่ยนวิธีการสอน ความหมายคือ ปกติเราใช้วิธีการสอนแบบไหนก็ให้ลองสอนแบบอื่น เช่น ปกติให้เด็กนั่งฟัง นั่งจด ก็ลองเสริมกิจกรรมเล็ก ๆ เข้าไปเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ ให้เกิดความสนุกสนานในการเรียน
5. ลองเปลี่ยนเป็นการเรียกแบบเจาะจง และเวียนไปให้ครบทุกคน ตามเลขที่ก็ได้ครับ
6. ขออนุญาติร่วมกรี๊ดด้วยคนครับ
ปล. เห็นด้วยกับ คห.ที่ 5 การวัดผลเป็นสิ่งสำคัญ ควรมีมาตรฐานไว้ และพยายามให้เด็กอยู่ในระดับมาตรฐานนั้น แต่ไม่ควรลดมาตรฐานเพื่อให้เด็กผ่าน
แสดงความคิดเห็น
ทำอย่างไงให้นักเรียนตั้งใจเรียนในคาบวิชาคณิตศาสตร์
ปัญหาของเราคือ
1. นักเรียนในกลุ่มที่ได้ก็คือได้เลย ประมาณเกือบ 10 คนค่ะ แล้วมีกลุ่มหัวช้าเกิน 30 ของห้องค่ะ ตอนเราสอน เด็กที่ได้ก็จะรำคาญว่าสอนช้า คิดได้ตั้งนานแล้ว เลยหันไปชวนเพื่อนคุยค่ะ แล้วคือไปชวนเพื่อนที่ไม่ได้คุย ส่วนเด็กที่หัวช้าก็จะบอกว่าไม่ทันรู้เรื่อง ตั้งนานให้จดไม่จด พอจะลบกระดานพึ่งจะมาจด พอแล้วเราลบ บอกให้เด็กถ่ายรูปไปจดที่บ้าน เด็กบอกเรารีบไม่อยากเรียนกับเรา
2. นักเรียนมีทัศนคติว่าเรียนไปก็ไม่ได้ใช้ ส่วนบวก ลบ คูณ หาร ก็ใช้เครื่องคิดเลขเอาก็ได้ เราเคยพยายามอธิบายค่ะ ว่า เครื่องคิดเลขไม่ได้เป็นอวัยวะที่ 33 ของมนุษย์ ที่จะพกติดตัวตลอดเวลา หรือ เอามาใช้ได้เลย บางที่การใช้หัวคิดเองมันก็ง่ายกว่าสะดวกกว่าการเสียเวลาหยิบเครื่องคิดเลข แต่เด็กก็ยืนยันบอกเครื่องคิดเลขสบายกว่า ทำไมต่างประเทศยังใช้เครื่องคิดเลขได้เลย เราที่ไม่รู้ว่าระบบการศึกษาต่างประเทศจริงๆเป็นอย่างไง ก็ไม่กล้าพูด(พยายามsearch การศึกษาคณิตศาสตร์ต่างประเทศแล้วค่ะ แต่ก็ไม่ค่อยเจอสักเท่าไหร่) ในการพัฒนาความสามารถในการคูณ หาร ลบ เลข บวก เลยทำไม่ได้
3. นักเรียนรักสวยรักงามมากค่ะ แม้แต่ในเวลาเรียนก็เอาแต่ไลฟ์ตลอดเวลา แต่งหน้า คุยกันตลอดเวลา เราใช้วิธีให้นักเรียนตบมือเพื่อดึงความสนใจเด็ก แต่พอผ่านไป วิธีเดิมๆก็เริ่มใช้ไม่ได้ผล
4. เด็กนักเรียนมีอคติกับเราว่าสอนไม่รู้เรื่อง ทั้งที่เด็กยังไม่ทันจะฟังเราเลย คงเป็นเพราะเราสอนได้ไม่ดีในตอนแรกไม่สามารถทำให้เด็กทั้งห้องเข้าใจได้
ต่อมาเราก็คิดว่าเด็กคงไม่ชอบฟัง คงชอบแบบเน้นลงมือทำ ก็เลยให้ทำ แต่พอไปก็ไม่ทำอะไรเลย รอลอกเพื่อนยังเดียว
5. เราไม่รู้นี้เรียกอิจฉากันหรือเปล่า ในห้องเรียนเด็กที่พยายามตอบ พยายามทำ แล้วเหมือนเด็กที่ไม่อยากเรียนก็ไปแซะว่า แบบแย่งตอบหมดทำให้เขาไม่ได้ตอบ แสร้งเป็นตั้งใจเรียนอะไรแบบนี้ เราฟังก็ขึ้นสิค่ะ เราก็เลยบอกเลยว่าข้อนี้เดียวให้เธอตอบคนเดียวเลย ซึ่งเด็กก็ตอบกลับมาอีกว่า เล่นถามแบบนี้จะตอบได้อย่างไรล่ะ เด็กที่ตั้งใจก็กลัวเพื่อนเกลียด (เด็กมาพูดหลังไมค์) ก็เลยเริ่มไม่กล้าตอบไม่กล้าถามในห้อง
6. เนื่องจากทางโรงเรียนกำหนดว่าต้องสอนตามที่เนื้อหาทางโรงเรียนกำหนด ซึ่งมันยากกกกกกมากกกกกกกสำหรับเด็กที่บวกเลขยังต้องใช้นิ้ว (อยากจะกรี๊ด)
เราแจ้งอ.พี่เลี้ยง อ.พี่เลี้ยงขึ้นไปดู นักเรียนก็ดูเหมือนตั้งใจเรียนค่ะ อ.พี่เลี้ยงก็เลยรู้สึกไม่มีปัญหาอะไร แต่พอเป็นเราขึ้นไปคนเดียวเด็กก็ไม่ฟังเหมือนเดิม
ควรทำอย่างไงดีคะ