เห็นมีเพื่อนเพื่อนๆเข้าใจผิดหลายคนว่าฟิลิปปินส์เพิ่งเป็นเจ้าภาพ VNL ครั้งแรก ซึ่งจริงๆเค้าเป็นเจ้าภาพครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว (เคยเป็นเจ้าภาพในรายการ WGP มาก่อน) ในประเทศนี้มีความสัมพันธ์กับกีฬาวอลเลย์บอลที่น่าสนใจที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้เลยอยากจะเล่าให้ฟังพอสังเขป
ฟิลิปปินส์เป็นชาติแรกๆของโลก(ไม่ใช่แค่ในอาเซียนหรือในเอเชีย) ที่ถูกแนะนำและเล่น วอลเลย์บอล (1910) ภายหลังจากกีฬานี้ถูกคิดค้นในอเมริการาวหนึ่งทศวรรษ เพราะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอเมริกา (1898-1946) ดังนั้นฟิลิปปินส์จึงเล่นและนิยมกีฬานี้มาเป็นเวลานานแล้วมากกว่า 122 ปี พอๆกับบาสเกตบอล ทำให้ทั้งบาสเกตบอลและวอลเลย์บอลกลายเป็นกีฬายอดนิยมของชาวตากาล็อกมาอย่างยาวนานก่อนหลายชาติในโลกใบนี้
ด้วยความที่เป็นชาติที่ฝึกฝนวอลเลย์บอลมาก่อนชาติอื่นทำให้ ฟิลิปปินส์มีความแข็งแกร่งและเชี่ยวชาญในกีฬานี้ก่อนประเทศอื่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับทวีป โดยเป็นทีมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาติแรกที่ถูก qualified ให้เข้าไปเล่นในรายการ FIVB volleyball World championship ในปี 1974 สำหรับทีมหญิง และมีผลงานที่โดดเด่นในระดับภูมิภาคในยุค 70 ถึงต้นยุค 90 ในขณะที่ไทยเพิ่งเริ่มจริงจังกับกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อเป็นเจ้าภาพกีฬาแหลมทองครั้งแรกในปีพ.ศ. 2502 (1959) แต่ที่น่าสนใจคือเมื่อไทยก้าวเข้าสู่วงการวอลเลย์บอลก็ใช้เวลาไม่นานในการพัฒนาศักยภาพจากระดับภูมิภาคสู่ระดับทวีปและสามารถก้าวเข้าสู่เวทีโลกได้ในระยะเวลาไม่กี่ทศวรรษ ตรงกันข้ามกับฟิลิปปินส์ซึ่งแม้ว่าจะเป็นชาติแรกๆในโลกที่ฝึกฝนกีฬานี้มาร่วมศตวรรษ(ในขณะนั้น)แต่ผลงานกลับถดถอยลงเรื่อยๆ
ก่อนที่กระแสความนิยมในวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์จะถดถอยลงเรื่อยๆ วอลเลย์บอลยังคงเป็น 1 ในกีฬายอดนิยมของชาวตากาล็อก จนได้รับเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน FIVB World Grand Prix finals ในปี 2000 (เป็นแค่เจ้าภาพไม่สามารถส่งทีมเข้าร่วมได้) หลังจากนั้นกระแสความนิยมในวอลเลย์บอลก็ถดถอยลง จากผลงานและปัญหาต่างๆในวงการวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์ จนกระแสกลับมาอีกครั้งหลังจากความนิยมในตัวนักกีฬาคนหนึ่งคือ Alyssa Valdez ถึงกลับได้รับการขนานนามว่าเป็น Phenom ที่ปลุกฟื้นคืนชีวิตให้กับวงการวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์ จนนำมาซึ่งการกลับสู่เวทีซีเกมส์ของทีมวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์หลังจากห่างหายไปเป็นระยะเวลานาน ในปี 2015 และในปีถัดมาคือปี 2016 ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพรายการ FIVB Volleyball women’s club world championship และในฐานะเจ้าภาพก็สามารถส่งทีมเข้าร่วมในรายการนี้ด้วย แม้ว่าผลงานของทีมทั้งในระดับสโมสรและระดับทีมชาติจะไม่ประสบความสำเร็จ (ยกเว้นทีมชายที่สามารถชนะทีมไทยและคว้าเหรียญเงินได้ในบ้านตัวเองในซีเกมส์ครั้งที่ 30) แต่ Valdez และ star payers อื่นๆ ได้ปลุกชีวิตวงการวอลเลย์บอลของฟิลิปปินส์ขึ้นมาใหม่แล้ว และนักกีฬาวอลเลย์บอล(ดังๆ)ในบ้านเขามีสถานะไม่ต่างจาก Celebrity เลย แม้ว่าศักยภาพของนักกีฬาจะไม่โดดเด่นนักแต่ความมั่น (overconfident) ของแฟนวอลเลย์บอลฟิลิปินส์นั้นไม่น้อยหน้ากว่าชาติใดแน่นอน (คนฟิลิปปินส์ขึ้นชื่อในเรื่องของความคลั่งไคล้ในสิ่งใดๆมากๆ) ทำให้วงการนี้มีมูลค่าไม่น้อยเลย ซึ่งแน่นอน FIVB ก็เล็งเห็นในส่วนนี้ ก็ไม่น่าประหลาดใจถ้าเขาจะเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในวงการวอลเลย์บอลทั้งในระดับทวีปและระดับโลกเพิ่มมากขึ้นต่อไป
วอลเลย์บอลฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นชาติแรกๆของโลก(ไม่ใช่แค่ในอาเซียนหรือในเอเชีย) ที่ถูกแนะนำและเล่น วอลเลย์บอล (1910) ภายหลังจากกีฬานี้ถูกคิดค้นในอเมริการาวหนึ่งทศวรรษ เพราะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอเมริกา (1898-1946) ดังนั้นฟิลิปปินส์จึงเล่นและนิยมกีฬานี้มาเป็นเวลานานแล้วมากกว่า 122 ปี พอๆกับบาสเกตบอล ทำให้ทั้งบาสเกตบอลและวอลเลย์บอลกลายเป็นกีฬายอดนิยมของชาวตากาล็อกมาอย่างยาวนานก่อนหลายชาติในโลกใบนี้
ด้วยความที่เป็นชาติที่ฝึกฝนวอลเลย์บอลมาก่อนชาติอื่นทำให้ ฟิลิปปินส์มีความแข็งแกร่งและเชี่ยวชาญในกีฬานี้ก่อนประเทศอื่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับทวีป โดยเป็นทีมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาติแรกที่ถูก qualified ให้เข้าไปเล่นในรายการ FIVB volleyball World championship ในปี 1974 สำหรับทีมหญิง และมีผลงานที่โดดเด่นในระดับภูมิภาคในยุค 70 ถึงต้นยุค 90 ในขณะที่ไทยเพิ่งเริ่มจริงจังกับกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อเป็นเจ้าภาพกีฬาแหลมทองครั้งแรกในปีพ.ศ. 2502 (1959) แต่ที่น่าสนใจคือเมื่อไทยก้าวเข้าสู่วงการวอลเลย์บอลก็ใช้เวลาไม่นานในการพัฒนาศักยภาพจากระดับภูมิภาคสู่ระดับทวีปและสามารถก้าวเข้าสู่เวทีโลกได้ในระยะเวลาไม่กี่ทศวรรษ ตรงกันข้ามกับฟิลิปปินส์ซึ่งแม้ว่าจะเป็นชาติแรกๆในโลกที่ฝึกฝนกีฬานี้มาร่วมศตวรรษ(ในขณะนั้น)แต่ผลงานกลับถดถอยลงเรื่อยๆ
ก่อนที่กระแสความนิยมในวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์จะถดถอยลงเรื่อยๆ วอลเลย์บอลยังคงเป็น 1 ในกีฬายอดนิยมของชาวตากาล็อก จนได้รับเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน FIVB World Grand Prix finals ในปี 2000 (เป็นแค่เจ้าภาพไม่สามารถส่งทีมเข้าร่วมได้) หลังจากนั้นกระแสความนิยมในวอลเลย์บอลก็ถดถอยลง จากผลงานและปัญหาต่างๆในวงการวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์ จนกระแสกลับมาอีกครั้งหลังจากความนิยมในตัวนักกีฬาคนหนึ่งคือ Alyssa Valdez ถึงกลับได้รับการขนานนามว่าเป็น Phenom ที่ปลุกฟื้นคืนชีวิตให้กับวงการวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์ จนนำมาซึ่งการกลับสู่เวทีซีเกมส์ของทีมวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์หลังจากห่างหายไปเป็นระยะเวลานาน ในปี 2015 และในปีถัดมาคือปี 2016 ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพรายการ FIVB Volleyball women’s club world championship และในฐานะเจ้าภาพก็สามารถส่งทีมเข้าร่วมในรายการนี้ด้วย แม้ว่าผลงานของทีมทั้งในระดับสโมสรและระดับทีมชาติจะไม่ประสบความสำเร็จ (ยกเว้นทีมชายที่สามารถชนะทีมไทยและคว้าเหรียญเงินได้ในบ้านตัวเองในซีเกมส์ครั้งที่ 30) แต่ Valdez และ star payers อื่นๆ ได้ปลุกชีวิตวงการวอลเลย์บอลของฟิลิปปินส์ขึ้นมาใหม่แล้ว และนักกีฬาวอลเลย์บอล(ดังๆ)ในบ้านเขามีสถานะไม่ต่างจาก Celebrity เลย แม้ว่าศักยภาพของนักกีฬาจะไม่โดดเด่นนักแต่ความมั่น (overconfident) ของแฟนวอลเลย์บอลฟิลิปินส์นั้นไม่น้อยหน้ากว่าชาติใดแน่นอน (คนฟิลิปปินส์ขึ้นชื่อในเรื่องของความคลั่งไคล้ในสิ่งใดๆมากๆ) ทำให้วงการนี้มีมูลค่าไม่น้อยเลย ซึ่งแน่นอน FIVB ก็เล็งเห็นในส่วนนี้ ก็ไม่น่าประหลาดใจถ้าเขาจะเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในวงการวอลเลย์บอลทั้งในระดับทวีปและระดับโลกเพิ่มมากขึ้นต่อไป