💙มาลาริน/คุยอวดได้ค่าาาา....เศรษฐกิจศรีลังกาพังทลายโดยสิ้นเชิง...แต่เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่งในปฐพี

เพี้ยนขำหนักมากเศรษฐกิจศรีลังกาพังทลายโดยสิ้นเชิงแล้ว นายกรัฐมนตรียอมรับ


นายกรัฐมนตรีศรีลังกายอมรับ เศรษฐกิจศรีลังกาพังทลายโดยสิ้นเชิง พร้อมขอความช่วยเหลือพันธมิตร-ไอเอ็มเอฟ

วันที่ 23 มิถุนายน 2565 ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า “รานิล วิกรมสิงเห” นายกรัฐมนตรีศรีลังกายอมรับว่า เศรษฐกิจศรีลังกาพังทลายลงอย่างสิ้นเชิงแล้ว ในขณะที่ประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่นับวันสถานการณ์จะเลวร้ายลง ผู้คนนับล้านต้องดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิง ไฟฟ้า และอาหาร
เผยจุดเรือยักษ์จมทะเล จัมโบ้ ภัตตาคารลอยน้ำ สิ้นชื่อถาวร หลังลาจากฮ่องกง
 
“เศรษฐกิจของเราเผชิญการล่มสลายโดยสิ้นเชิง” วิกรมสิงเห กล่าวกับรัฐสภาศรีลังกา พร้อมเสริมว่า รัฐบาลกำลังขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรทั่วโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ

แต่วิกรมสิงเหเตือนว่า ศรีลังกาซึ่งมีประชากร 22 ล้านคน กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ร้ายแรงกว่านี้มาก นอกเหนือจากความขาดแคลน

ศรีลังกาอยู่ในท่ามกลางวิกฤตการเงินครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 7 ปี หลังจากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเงินดอลลาร์ที่ใช้จ่ายสำหรับสินค้านำเข้าที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงอาหาร ยารักษาโรค และเชื้อเพลิง กำลังจะหมดลง

ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการขั้นรุนแรงเพื่อรับมือกับวิกฤตดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน เพื่อให้พวกเขามีเวลาปลูกพืชผัก

อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวไม่ค่อยช่วยบรรเทาสถานการณ์ที่คนจำนวนมากกำลังเผชิญ

ตามเมืองใหญ่หลายเมือง ซึ่งรวมถึงเมืองหลวงการค้าอย่าง “โคลัมโบ” ผู้คนหลายร้อยคนต่อคิวนานหลายชั่วโมงเพื่อซื้อน้ำมัน และบางครั้งก็มีการปะทะกับตำรวจและทหารระหว่างรอ

รถไฟมีความถี่ลดลง ทำให้ผู้โดยสารต้องเบียดเสียดเข้าไปในทุกพื้นที่ที่มีช่องว่าง หรือแม้แต่นั่งบนหลังคารถไฟเพื่อเดินทางไปทำงาน

คนป่วยไม่สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลเนื่องจากขาดน้ำมันและราคาอาหารก็พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นสินค้าหลักในศรีลังกา ได้หายไปจากชั้นวางในร้านค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตจำนวนมาก

การประท้วงปะทุขึ้นใกล้กับบ้านพักส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน เฉพาะสัปดาห์นี้สัปดาห์เดียว มีผู้เสียชีวิต 11 รายระหว่างรอคิวเติมน้ำมัน อ้างข้อมูลจากตำรวจ

วิกรมสิงเห ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งไม่กี่วันหลังการประท้วงรุนแรงที่บีบให้ “มหินทรา ราชปักษา” อดีตนายกรัฐมนตรี ลาออก ดูเหมือนจะตำหนิรัฐบาลชุดก่อนสำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศ
“ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฟื้นฟูประเทศที่มีเศรษฐกิจทรุดโทรมโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีทุนสำรองต่างประเทศต่ำอย่างเป็นอันตราย” เขากล่าวและว่า “หากอย่างน้อยมีการดำเนินการเพื่อชะลอการล่มสลายของเศรษฐกิจในตอนแรก เราจะไม่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากในวันนี้”

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีพลังงานของศรีลังกา ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า ศรีลังกามีสต็อกเชื้อเพลิงเพียงพอสำหรับ 5 วันเท่านั้น

เขาเผยด้วยว่า ศรีลังกากำลังหารือกับธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และสหรัฐฯ เพื่อจัดหาเงินกู้ระยะสั้น จนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

เขากล่าวด้วยว่า คณะผู้แทนจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯจะเดินทางถึงศรีลังกาในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ ศรีลังกาจะขอความช่วยเหลือจากจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศผู้ให้กู้หลัก

เขากล่าวปิดท้ายว่า หากเราได้รับการอนุมัติจากไอเอ็มเอฟ โลกจะไว้วางใจเราอีกครั้ง มันจะช่วยให้เราได้รับความช่วยเหลือด้านเงินกู้และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากประเทศอื่น ๆ ในโลก

https://www.prachachat.net/world-news/news-961994

เพี้ยนแคปเจอร์จากตระกูลเจ้าของที่ดินสู่อำนาจ

ด้าน บีบีซี ไทย รายงานเบื้องหลังการเข้าสู่การเมืองของตระกูลราชปักษาว่า ก่อนหน้าที่นายมหินทา ราชปักษา จะเริ่มมีชื่อเสียงในแวดวงการเมืองศรีลังกา ตระกูลราชปักษาไม่เคยเกี่ยวข้องกับการเมืองระดับชาติมาก่อน

ราชปักษาเป็นตระกูลเจ้าของที่ดินในเมืองฮัมบันโททา ซึ่งรับมรดกตกทอดสืบต่อกันมาหลายชั่วรุ่น จนกระทั่งนายมหินทาได้รับเลือกเป็น ส.ส.ครั้งแรกเมื่อปี 1970 (พ.ศ.2513) โดยเป็นผู้แทนราษฎรที่มีอายุน้อยที่สุดในรัฐสภา

ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1980 นายชามาล พี่ชายของนายมหินทาก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ด้วยเช่นกัน


ผู้ประท้วงใส่หน้ากากสมาชิกครอบครัวราชปักษาที่ก้าวมาเป็นรัฐบาล April 29, 2022.  (AP Photo/Eranga Jayawardena)

นายมหินทาได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังกล่าวประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มกบฏฝ่ายซ้าย ในช่วงปี 1987-1989 (พ.ศ.2530-2532) ทั้งเรียกร้องให้สหประชาชาติเข้าแทรกแซงเพื่อแก้ไขสถานการณ์

ปี 1994 (พ.ศ.2537) นายมหินทาได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีแรงงาน ในรัฐบาลของประธานาธิบดีจันทริกา กุมาระตุงคะ

สิบปีต่อมาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2005 (พ.ศ.2548) และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสองสมัย ระหว่างปี 2005-2015 (พ.ศ.2548-2558)
ช่วงเวลาดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการยุติสงครามกลางเมือง ซึ่งรัฐบาลของชาวพุทธเชื้อสายสิงหลได้สู้รบกับกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬมานานเกือบ 30 ปี


เพี้ยนแคปเจอร์พี่น้องเข้าสู่การเมืองพร้อมหน้า

แม้ในขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสองสมัยแรกนั้น นายมหินทาจะถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน ต่อชนกลุ่มน้อยเชื้อสายทมิฬและชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวพุทธ รวมทั้งถูกกล่าวหาว่าฉ้อราษฎร์บังหลวงอีกด้วย แต่เรื่องอื้อฉาวเหล่านี้ไม่อาจหยุดยั้งการนำญาติพี่น้องเข้ากุมอำนาจในภาคส่วนต่าง ๆ ของรัฐบาลได้

นายโกตาบายา น้องชายของนายมหินทาซึ่งเป็นประธานาธิบดีศรีลังกาคนปัจจุบัน เคยมีตำแหน่งระดับสูงในกระทรวงกลาโหมมาก่อน และมีบทบาทสำคัญในการช่วยพี่ชายปราบปรามกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬ ในช่วงสงครามกลางเมือง

ส่วนนายชามาล พี่ชายของนายมหินทาได้รั้งตำแหน่งสูงในหลายกระทรวง รวมถึงกระทรวงเกษตร การประมง และการชลประทาน

ด้านนายบาซิลซึ่งเป็นน้องชายอีกคนนั้น นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีคลังและกำกับดูแลงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ


ครอบครัวราชปักษา / twitter : Gotabaya Rajapaksa

เครือญาติของพี่น้องทั้งสี่ยังได้ตำแหน่งสูงในรัฐบาลกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายนามาล ลูกชายของนายมหินทา ซึ่งได้เป็นถึงรัฐมนตรีกระทรวงกีฬา ขณะที่นายโยศิธา ลูกชายอีกคนได้เข้ามาช่วยพ่อบริหารงาน ในตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

แม้ตระกูลราชปักษาต้องสูญเสียอำนาจทางการเมืองไปชั่วคราว หลังจากนายมหินทาแพ้การเลือกตั้งในปี 2015 แต่ 4 ปีหลังจากนั้นพวกเขาหวนคืนสู่สังเวียนการเมืองอีก โดยคราวนี้มีนายโกตาบายาเป็นตัวแทนลงทำศึกชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เนื่องจากกฎหมายห้ามนายมหินทาซึ่งเคยเป็นประธานาธิบดีแล้วถึงสองสมัยลงสมัครรับเลือกตั้งอีก

นายโกตาบายาหาเสียงด้วยการชูประเด็นชาตินิยม รวมทั้งเน้นย้ำถึงภาพลักษณ์ของผู้นำตระกูลราชปักษา ซึ่งมีผลงานโดดเด่นด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศเป็นสำคัญ

สิ่งนี้ทำให้นายโกตาบายาได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเกิดเหตุก่อการร้ายโดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม หรือ ไอเอส ในเดือน เม.ย.2019 (พ.ศ.2562) คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 250 ราย


นายมหินทา และนายโกตาบายา สองพี่น้องราชปักษา 
เพี้ยนแคปเจอร์ข้อกล่าวหาคอร์รัปชัน

เสียงเล่าลือว่าพี่น้องตระกูลราชปักษาทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่เคยลบเลือนหายไป แต่กลับมาโหมอีกครั้ง ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจหลังเกิดการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

ประชาชนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า นายมหินทาคือผู้เปิดทางให้เครือญาติในตระกูลเข้ามาปล้นชิงความมั่งคั่งของประเทศ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงินส่วนตน ป้ายข้อความที่กลุ่มผู้ประท้วงชูและคำขวัญที่พวกเขาร้องตะโกนไปตามท้องถนน ล้วนแต่เรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาล “คืนเงินที่ขโมยไป”

...........

ตลอดสองทศวรรษมานี้ ตระกูลราชปักษาครองอำนาจสูงสุดในศรีลังกา จนมีมุกขำขันว่า ผู้แทนจีนที่มาเยือนศรีลังกาถามขึ้นด้วยความประหลาดใจ ว่า “ประเทศนี้ทุกคนนามสกุลราชปักษาหมดเลยหรือ” แต่ปัจจุบันนี้ มุกดังกล่าวไม่ขำอีกแล้ว

ความรุนแรงและเหตุจลาจลอาจดำเนินต่อไป แต่เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ตระกูลราชปักษาได้สูญเสียการยึดกุมอำนาจอย่างเหนียวแน่นตลอดสองทศวรรษไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งยากที่จะช่วงชิงกลับคืนมาได้อีกครั้ง

https://www.prachachat.net/world-news/news-929272

นอกจากนี้ ภาพที่ปรากฏออกมาว่า บ้านพักของผู้นำศรีลังกาแลบรรดาสมาชิกในตระกูลราชปักษายังคงมีไฟฟ้าใช้ตลอด 24 ชั่วโมง และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ยิ่งเพิ่มความไม่พอใจให้แก่ประชาชน ซึ่งรู้สึกมากขึ้นถึงความเหลื่อมล้ำ การประท้วงตอนนี้จึงไม่ใช่การเรียกร้องเพียงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ยังรวมถึงการที่ตระกูลราชปักษา “ต้องไปให้พ้นจากเส้นทางการเมือง” ของศรีลังกาด้วย.... 

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/945495/

ปลื้มปริ่มFitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย BBB+
วันที่ 21 มิ.ย. 2565 เวลา 19:32 น.


Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ

https://www.posttoday.com/finance-stock/news/686110

  ศรีลังกา สู้ๆน้าาาาาา

ประเทศไทยมีลุงตู่  ประชาชนอุ่นใจ

เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่งในปฐพี

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 22
ประเทศไทยมีนายกลุงตู่

มีรัฐบาลที่รักษาระเบียบวินัยการเงินการคลังได้ดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่