สงครามเกาหลีถือเป็นสนามรบแรกๆ ระหว่างฝ่ายโลกเสรีที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและฝ่ายคอมมิวนิสต์นำโดยจีน และสหภาพโซเวียต สงครามนี้กินเวลานานถึง 3 ปี มีทหารและพลเรือนเสียชีวิตเกือบ 5 ล้านราย
สำหรับประเทศไทยมีการส่งทหารกว่าหนึ่งหมื่นนายจากสามเหล่าทัพเข้าร่วมสงครามในฝ่ายสหประชาชาติเป็นชาติแรกของเอเชีย ตลอดสงครามบุคลาการของกองทัพไทยได้แสดงความกล้าหาญและทุ่มเทต่อภารกิจจนเป็นที่ประจักษ์ ถึงขนาดได้รับฉายาว่า “กองพันพยัคฆ์น้อย” จากผู้บัญชาการกองกำลัง!
บทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปพบวีรกรรมของทหารไทยในสงครามดังกล่าวนะครับ
*** จุดเริ่มต้นและการเข้าร่วมสงคราม ***
ในช่วงเช้าของวันที่ 25 มิถุนายน 1950 กองทัพเกาหลีเหนือ (อยู่ฝ่ายคอมมิวนิสต์) จำนวนกว่า 75,000 นาย พร้อมรถถัง, เครื่องบิน, และปืนใหญ่จำนวนมหาศาล ได้บุกทะลวงข้ามเส้นขนานที่ 38 (38th Parallel Line) ก่อนจะโถมกำลังเข้าบดขยี้กองทัพเกาหลีใต้ (อยู่ฝ่ายโลกเสรี) ที่อ่อนแอกว่าแบบไม่เหลือชิ้นดี! จนสามารถยึดกรุงโซลเมืองหลวงของเกาหลีใต้ได้ภายในเวลาเพียง 3 วัน
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์ทหารไทยที่เกาหลีใต้
ชัยชนะที่รวดเร็วนี้ส่งผลให้เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ส่งโทรเลขร้องขอการสนับสนุนความช่วยเหลือจากสมาชิก ซึ่งตอนนั้นโซเวียตประท้วงด้วยการเดินออกจากห้องทำให้ไม่ได้วีโต้ และตอนนั้นตัวแทน “จีน” ในสหประชาชาติยังเป็นไต้หวัน
ภาพแนบ: กองทัพเกาหลีเหนือ
การนี้ทำให้สหประชาชาติสนับสนุนฝั่งโลกเสรีโดยปริยาย และส่งผลให้ไทยซึ่งตอนนั้นอยู่ฝ่ายโลกเสรีตอบสนองด้วยการส่งข้าวสารจำนวน 40,000 ตันในรูปแบบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และยังประณามการรุกรานของเกาหลีเหนือผ่านช่องทางการทูต
อย่างไรก็ตามทางสหประชาชาติได้แนะนำให้รัฐบาลไทยพิจารณาว่าจะสามารถส่งทหารเข้าร่วมภารกิจได้หรือไม่?
ภาพแนบ: การประชุมสหประชาชาติในปี 1950
รัฐบาลไทยในเวลานั้น หรือรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตัดสินใจส่งทหารจากทั้งสามเหล่าประกอบด้วย ทหารบกผลัดแรกจำนวน 1 กรมผสม จำนวน 4,000 นาย (คัดมาจากอาสาสมัครมากกว่าหนึ่งหมื่นนายจัดตามแบบทัพสหรัฐเพื่อความสะดวกในการเข้าช่วย)
ภาพแนบ: จอมพล ป.
มีการส่งกำลังบางส่วนไปยังเกาหลีในเดือนสิงหาคม 1950 (พ.ศ. 2493) เพื่อรับมอบยุทโธปกรณ์ตามมาตรฐานของสหรัฐ เนื่องจากอาวุธ, หมวกเหล็ก, และเครื่องสนามของกองทัพไทย ณ เวลานั้นยังใช้ของเหลือจากช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารที่ไปได้เตรียมที่พักสำหรับกำลังหลักที่จะเดินทางมาสมทบช่วงปลายปี
ภาพแนบ: เครื่องแบบทหารไทยที่ผสมระหว่างเสื้อด้านในแบบอเมริกากับหมวกเหล็กเอเดรี่ยน, ซองหนัง, และปืนยุคสงครามโลก
*** ภารกิจแรกของไทยในต่างแดน และวีรกรรมกองทัพอากาศ ***
แม้ว่าปฏิบัติการครั้งนี้จะมีกองทัพบกเป็นตัวหลัก ทว่าเหล่าทัพแรกที่เข้าร่วมปฏิบัติการกับกองกำลังนานาชาติคือ กองทัพอากาศที่ถูกส่งไปประจำการยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อทำภารกิจลำเลียงกำลังพล, ยุทธภัณฑ์, สัมภาระ, และไปรษณียภัณฑ์ ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยเครื่องบินลำเลียงรุ่น C-47 ทั้งนี้ญี่ปุ่นเป็นฐานทัพหลักของฝ่ายโลกเสรีในการทำสงครามเกาหลี
ภาพแนบ: เครื่อง C47 ของ ทอ. ไทย
ความต้องการส่งกำลังบำรุงเพิ่มขึ้นในปี 1952 ทำให้หน่วยบินของไทยจำเป็นต้องเพิ่มปฏิบัติการจาก 2 เที่ยวต่อวัน เป็น 5 เที่ยว เมื่อเห็นว่าภารกิจของกำลังพลเริ่มหนักขึ้น กองทัพอากาศจึงส่งนักบินชุดที่ 2 มาสานต่อภารกิจ
เหล่านักบินไทยต้องเสี่ยงอันตรายทำการบินเลียดผิวน้ำให้รอดพ้นจากการตรวจจับของฝ่ายศัตรู ก่อนจะลัดเลาะไปตามเทือกเขา จากนั้นร่อนลงจอดบนหาดทรายเพื่อส่งยุทธภัณฑ์และลำเลียงทหารบางส่วนออกจากพื้นที่ การนี้พวกเขาสามารถขนส่งของได้เป็นจำนวนมาก ช่วยสนับสนุนกองทัพสหรัฐและเกาหลีใต้ที่สู้รบติดพันบนเกาะในเขตของเกาหลีเหนือ
ภาพแนบ: เจ้าหน้าที่พยาบาล ทอ. ไทย
นอกเหนือจากหน่วยบินลำเลียงแล้ว หน่วยพยาบาลทางอากาศและบุคลากรทางการเเพทย์ของไทยก็มีบทบาทในการรับผู้บาดเจ็บจากเกาหลีกลับมารักษาตัวยังโรงพยาบาลในญี่ปุ่นซึ่งมีความพร้อมกว่า
ขณะที่แพทย์ของไทยมีโอกาสช่วยรักษาผู้ป่วย โดยหลังจากสงครามยุติลงกองทัพอากาศไทยยังอนุมัติการส่งบุคลากรไปทำภารกิจช่วยเหลือชาวเกาหลีร่วมกับหน่วยบินของสหรัฐและอังกฤษจนภารกิจเสร็จสิ้นในปี 1975
ภาพแนบ: สภาพภายในเครื่องที่ทำภารกิจส่งกลับทางการแพทย์
*** การปฏิบัติงานของกำลังทางทะเล ***
ราชนาวีไทยมีบทบาทสำคัญในการลำเลียงทหารผลัดแรกไปยังประเทศเกาหลี ประกอบด้วยเรือหลวงสีชังและเรือสินค้าต่างประเทศที่รัฐบาลเช่ามา โดยมีเรือหลวงบางปะกงกับประแสทำหน้าที่คุ้มกันระหว่างเดินทาง ก่อนที่เรือทั้งสามจะแล่นต่อไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมกับกองเรือเฉพาะกิจที่ 95 ของสหประชาชาติ
ภาพแนบ: รล. สีชังลำแรก
เรือหลักที่ไทยใช้ในการต่อสู้ครั้งนี้ คือเรือหลวงบางปะกงกับประแสที่ยังใช้ระบบอาวุธของอังกฤษที่ล้าสมัย จึงถูกส่งเข้าไปปรับปรุงก่อนจะรับภารกิจรักษาทางเข้าของฐานทัพเรือซาเซโบในญี่ปุ่นเป็นเวลาเกือบเดือน
จากนั้นจึงถูกส่งไปยิงสนับสนุนเป้าหมายบนแผ่นดินเกาหลีอาทิ สถานีรถไฟ, เส้นทางคมนาคม, และที่มั่นทางทหารนอกชายฝั่งเกาหลีเหนือ
ภาพแนบ: รล. ประแสลำแรก
แต่เหตุไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อเรือรบหลวงประแสแล่นขึ้นไปเกยตื้นบริเวณแหลมคิซามุนในเขตศัตรูแล้วไม่สามารถลากจูงออกมาได้
ทำให้ลูกเรือจำใจต้องสละเรือ ก่อนร้องขอให้เรือสหรัฐระดมยิงทำลายเรือเสียมิให้ตกอยู่ในมือของฝ่ายตรงข้าม
ภาพแนบ: รล. ประแสลำแรกขณะเกยตื้น
แม้ว่าราชนาวีไทยจะเหลือเรือหลวงบางปะกงมาปฏิบัติการรบเพียงลำเดียวเพียงลำเดียว ทว่ากำลังพลของไทยก็ยังคงทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ทั้งการยิงต่อสู้กับปืนใหญ่ป้องกันชายฝั่ง, การยิงถล่มที่มั่นข้าศึก, และการลาดตระเวนเส้นทางเดินเรือ (สมัยนั้นเกาหลีเหนือมีเพียงเรือตอร์ปิโดและเรือตรวจการณ์ขนาดเล็ก ไม่มีศักยภาพในการรบทางทะเล จึงทำได้เพียงรบก่อกวน) ไปจนถึงเดือนปลายปี 1951
ภาพแนบ: รล. บางปะกงลำแรก
ต่อมากองทัพไทยส่งมอบหน้าที่ต่อให้กับเรือหลวงท่าจีนและเรือหลวงประแสลำที่สอง โดยภารกิจหลักคือการคุ้มกันขบวนเรือลำเลียงและเรือบรรทุกเชื้อเพลิง จนยุติบทบาทในปี 1954 หลังสงครามสงบ
ภาพแนบ: รล. ประแสลำที่สอง
*** ทหารกล้าสู่สมรภูมิ ***
ทหารไทยผลัดแรกเดินทางถึงท่าเรือเมืองปูซานช่วงปลายปี 1950 เพื่อเข้ารับการฝึกอาวุธตามแบบสหรัฐ (ซึ่งฝ่ายไทยยังไม่คุ้นเคย) แบบเร่งด่วน!
ภาพแนบ: ธงของกรมผสมที่ 21
ทว่าภายหลังการฝึกเบื้องต้นเพียง 11 วัน ทหารไทยก็ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนพลไปยังกรุงเปียงยางเมืองหลวงของเกาหลีเหนือ (ตอนนั้นอยู่ในการปกครองของฝ่ายโลกเสรี) เพื่อทำภารกิจป้องกันสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ สนามบิน, สะพาน, โรงพยาบาล, คลังกระสุน, และสถานีเรดาร์ ฯลฯ รวม 19 แห่งต่อจากกองทัพฟิลิปปินส์
ในช่วงนั้นกองทัพไทยมีการโอกาสปะทะกับฝ่ายศัตรูราวหนึ่งกองร้อยเพียง 3 วันให้หลัง ทหารไทยได้รับความเสียหายเล็กน้อย
ภาพแนบ: ทหารไทยระหว่างฝึก
ตอนนั้นฝ่ายโลกเสรีกำลังได้เปรียบ แต่แล้วสงครามก็ดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อจีนแดงตัดสินใจเข้าช่วยเกาหลี โดยตอนแรกทำกลเหมือนส่งมาแค่ก่อกวนแล้วล่าถอยให้อเมริกาตายใจ
แต่พอถึงปลายปี 1950 จีนได้ยกพลคลื่นมนุษย์จำนวนมหาศาลมาตีเกาหลี! (บางแห่งบอกว่า 200,000 นาย บางแห่งบอกว่า 400,000 นาย) พวกเขาบุกตะลุยแนวตั้งรับของฝ่ายโลกเสรี และสามารถตีจนแตกพ่าย!
ภาพแนบ: ภาพโฆษณาชวนเชื่อจีนในสงครามเกาหลี
ความพ่ายแพ้นี้ทำให้ทหารไทยทั้งหมดจำเป็นต้องล่าถอยออกจากกรุงเปียงยางด้วยรถบรรทุกและรถไฟเพื่อจัดกำลังใหม่ยังเมืองแคซ็องซึ่ง ณ เวลานั้นยังอยู่กับฝ่ายโลกเสรี
จากนั้นกองทัพไทยได้ถูกจัดกำลังไปเสริมปฏิบัติการของกองกำลังอังกฤษและสหรัฐ ทำให้มีโอกาสเข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารเคียงบ่าเคียงไหล่กองทัพสหประชาชาติอีกหลายสมรภูมิอาทิ การรักษาแนวรบเมืองเบียงแต็กร่วมกับทหารอังกฤษ, การรักษาเส้นทางส่งกำลังบำรุงเมืองซังจู, และเข้าตีเมืองวาซอนในฐานะกองรบปีกซ้าย อย่างไรก็ตามผลงานโดดเด่นจนกลายเป็นวีรกรรมที่ถูกเล่าขานคือ “การรบแห่งเนินพอรค์ชอป” ในช่วงปลายปี 1952
ภาพแนบ: การถอนกำลัง
*** ไทยในสงครามเกาหลี ***
สำหรับประเทศไทยมีการส่งทหารกว่าหนึ่งหมื่นนายจากสามเหล่าทัพเข้าร่วมสงครามในฝ่ายสหประชาชาติเป็นชาติแรกของเอเชีย ตลอดสงครามบุคลาการของกองทัพไทยได้แสดงความกล้าหาญและทุ่มเทต่อภารกิจจนเป็นที่ประจักษ์ ถึงขนาดได้รับฉายาว่า “กองพันพยัคฆ์น้อย” จากผู้บัญชาการกองกำลัง!
บทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปพบวีรกรรมของทหารไทยในสงครามดังกล่าวนะครับ
*** จุดเริ่มต้นและการเข้าร่วมสงคราม ***
ในช่วงเช้าของวันที่ 25 มิถุนายน 1950 กองทัพเกาหลีเหนือ (อยู่ฝ่ายคอมมิวนิสต์) จำนวนกว่า 75,000 นาย พร้อมรถถัง, เครื่องบิน, และปืนใหญ่จำนวนมหาศาล ได้บุกทะลวงข้ามเส้นขนานที่ 38 (38th Parallel Line) ก่อนจะโถมกำลังเข้าบดขยี้กองทัพเกาหลีใต้ (อยู่ฝ่ายโลกเสรี) ที่อ่อนแอกว่าแบบไม่เหลือชิ้นดี! จนสามารถยึดกรุงโซลเมืองหลวงของเกาหลีใต้ได้ภายในเวลาเพียง 3 วัน
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์ทหารไทยที่เกาหลีใต้
ชัยชนะที่รวดเร็วนี้ส่งผลให้เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ส่งโทรเลขร้องขอการสนับสนุนความช่วยเหลือจากสมาชิก ซึ่งตอนนั้นโซเวียตประท้วงด้วยการเดินออกจากห้องทำให้ไม่ได้วีโต้ และตอนนั้นตัวแทน “จีน” ในสหประชาชาติยังเป็นไต้หวัน
ภาพแนบ: กองทัพเกาหลีเหนือ
การนี้ทำให้สหประชาชาติสนับสนุนฝั่งโลกเสรีโดยปริยาย และส่งผลให้ไทยซึ่งตอนนั้นอยู่ฝ่ายโลกเสรีตอบสนองด้วยการส่งข้าวสารจำนวน 40,000 ตันในรูปแบบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และยังประณามการรุกรานของเกาหลีเหนือผ่านช่องทางการทูต
อย่างไรก็ตามทางสหประชาชาติได้แนะนำให้รัฐบาลไทยพิจารณาว่าจะสามารถส่งทหารเข้าร่วมภารกิจได้หรือไม่?
ภาพแนบ: การประชุมสหประชาชาติในปี 1950
รัฐบาลไทยในเวลานั้น หรือรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตัดสินใจส่งทหารจากทั้งสามเหล่าประกอบด้วย ทหารบกผลัดแรกจำนวน 1 กรมผสม จำนวน 4,000 นาย (คัดมาจากอาสาสมัครมากกว่าหนึ่งหมื่นนายจัดตามแบบทัพสหรัฐเพื่อความสะดวกในการเข้าช่วย)
ภาพแนบ: จอมพล ป.
มีการส่งกำลังบางส่วนไปยังเกาหลีในเดือนสิงหาคม 1950 (พ.ศ. 2493) เพื่อรับมอบยุทโธปกรณ์ตามมาตรฐานของสหรัฐ เนื่องจากอาวุธ, หมวกเหล็ก, และเครื่องสนามของกองทัพไทย ณ เวลานั้นยังใช้ของเหลือจากช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารที่ไปได้เตรียมที่พักสำหรับกำลังหลักที่จะเดินทางมาสมทบช่วงปลายปี
ภาพแนบ: เครื่องแบบทหารไทยที่ผสมระหว่างเสื้อด้านในแบบอเมริกากับหมวกเหล็กเอเดรี่ยน, ซองหนัง, และปืนยุคสงครามโลก
*** ภารกิจแรกของไทยในต่างแดน และวีรกรรมกองทัพอากาศ ***
แม้ว่าปฏิบัติการครั้งนี้จะมีกองทัพบกเป็นตัวหลัก ทว่าเหล่าทัพแรกที่เข้าร่วมปฏิบัติการกับกองกำลังนานาชาติคือ กองทัพอากาศที่ถูกส่งไปประจำการยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อทำภารกิจลำเลียงกำลังพล, ยุทธภัณฑ์, สัมภาระ, และไปรษณียภัณฑ์ ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยเครื่องบินลำเลียงรุ่น C-47 ทั้งนี้ญี่ปุ่นเป็นฐานทัพหลักของฝ่ายโลกเสรีในการทำสงครามเกาหลี
ภาพแนบ: เครื่อง C47 ของ ทอ. ไทย
ความต้องการส่งกำลังบำรุงเพิ่มขึ้นในปี 1952 ทำให้หน่วยบินของไทยจำเป็นต้องเพิ่มปฏิบัติการจาก 2 เที่ยวต่อวัน เป็น 5 เที่ยว เมื่อเห็นว่าภารกิจของกำลังพลเริ่มหนักขึ้น กองทัพอากาศจึงส่งนักบินชุดที่ 2 มาสานต่อภารกิจ
เหล่านักบินไทยต้องเสี่ยงอันตรายทำการบินเลียดผิวน้ำให้รอดพ้นจากการตรวจจับของฝ่ายศัตรู ก่อนจะลัดเลาะไปตามเทือกเขา จากนั้นร่อนลงจอดบนหาดทรายเพื่อส่งยุทธภัณฑ์และลำเลียงทหารบางส่วนออกจากพื้นที่ การนี้พวกเขาสามารถขนส่งของได้เป็นจำนวนมาก ช่วยสนับสนุนกองทัพสหรัฐและเกาหลีใต้ที่สู้รบติดพันบนเกาะในเขตของเกาหลีเหนือ
ภาพแนบ: เจ้าหน้าที่พยาบาล ทอ. ไทย
นอกเหนือจากหน่วยบินลำเลียงแล้ว หน่วยพยาบาลทางอากาศและบุคลากรทางการเเพทย์ของไทยก็มีบทบาทในการรับผู้บาดเจ็บจากเกาหลีกลับมารักษาตัวยังโรงพยาบาลในญี่ปุ่นซึ่งมีความพร้อมกว่า
ขณะที่แพทย์ของไทยมีโอกาสช่วยรักษาผู้ป่วย โดยหลังจากสงครามยุติลงกองทัพอากาศไทยยังอนุมัติการส่งบุคลากรไปทำภารกิจช่วยเหลือชาวเกาหลีร่วมกับหน่วยบินของสหรัฐและอังกฤษจนภารกิจเสร็จสิ้นในปี 1975
ภาพแนบ: สภาพภายในเครื่องที่ทำภารกิจส่งกลับทางการแพทย์
*** การปฏิบัติงานของกำลังทางทะเล ***
ราชนาวีไทยมีบทบาทสำคัญในการลำเลียงทหารผลัดแรกไปยังประเทศเกาหลี ประกอบด้วยเรือหลวงสีชังและเรือสินค้าต่างประเทศที่รัฐบาลเช่ามา โดยมีเรือหลวงบางปะกงกับประแสทำหน้าที่คุ้มกันระหว่างเดินทาง ก่อนที่เรือทั้งสามจะแล่นต่อไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมกับกองเรือเฉพาะกิจที่ 95 ของสหประชาชาติ
ภาพแนบ: รล. สีชังลำแรก
เรือหลักที่ไทยใช้ในการต่อสู้ครั้งนี้ คือเรือหลวงบางปะกงกับประแสที่ยังใช้ระบบอาวุธของอังกฤษที่ล้าสมัย จึงถูกส่งเข้าไปปรับปรุงก่อนจะรับภารกิจรักษาทางเข้าของฐานทัพเรือซาเซโบในญี่ปุ่นเป็นเวลาเกือบเดือน
จากนั้นจึงถูกส่งไปยิงสนับสนุนเป้าหมายบนแผ่นดินเกาหลีอาทิ สถานีรถไฟ, เส้นทางคมนาคม, และที่มั่นทางทหารนอกชายฝั่งเกาหลีเหนือ
ภาพแนบ: รล. ประแสลำแรก
แต่เหตุไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อเรือรบหลวงประแสแล่นขึ้นไปเกยตื้นบริเวณแหลมคิซามุนในเขตศัตรูแล้วไม่สามารถลากจูงออกมาได้
ทำให้ลูกเรือจำใจต้องสละเรือ ก่อนร้องขอให้เรือสหรัฐระดมยิงทำลายเรือเสียมิให้ตกอยู่ในมือของฝ่ายตรงข้าม
ภาพแนบ: รล. ประแสลำแรกขณะเกยตื้น
แม้ว่าราชนาวีไทยจะเหลือเรือหลวงบางปะกงมาปฏิบัติการรบเพียงลำเดียวเพียงลำเดียว ทว่ากำลังพลของไทยก็ยังคงทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ทั้งการยิงต่อสู้กับปืนใหญ่ป้องกันชายฝั่ง, การยิงถล่มที่มั่นข้าศึก, และการลาดตระเวนเส้นทางเดินเรือ (สมัยนั้นเกาหลีเหนือมีเพียงเรือตอร์ปิโดและเรือตรวจการณ์ขนาดเล็ก ไม่มีศักยภาพในการรบทางทะเล จึงทำได้เพียงรบก่อกวน) ไปจนถึงเดือนปลายปี 1951
ภาพแนบ: รล. บางปะกงลำแรก
ต่อมากองทัพไทยส่งมอบหน้าที่ต่อให้กับเรือหลวงท่าจีนและเรือหลวงประแสลำที่สอง โดยภารกิจหลักคือการคุ้มกันขบวนเรือลำเลียงและเรือบรรทุกเชื้อเพลิง จนยุติบทบาทในปี 1954 หลังสงครามสงบ
ภาพแนบ: รล. ประแสลำที่สอง
*** ทหารกล้าสู่สมรภูมิ ***
ทหารไทยผลัดแรกเดินทางถึงท่าเรือเมืองปูซานช่วงปลายปี 1950 เพื่อเข้ารับการฝึกอาวุธตามแบบสหรัฐ (ซึ่งฝ่ายไทยยังไม่คุ้นเคย) แบบเร่งด่วน!
ภาพแนบ: ธงของกรมผสมที่ 21
ทว่าภายหลังการฝึกเบื้องต้นเพียง 11 วัน ทหารไทยก็ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนพลไปยังกรุงเปียงยางเมืองหลวงของเกาหลีเหนือ (ตอนนั้นอยู่ในการปกครองของฝ่ายโลกเสรี) เพื่อทำภารกิจป้องกันสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ สนามบิน, สะพาน, โรงพยาบาล, คลังกระสุน, และสถานีเรดาร์ ฯลฯ รวม 19 แห่งต่อจากกองทัพฟิลิปปินส์
ในช่วงนั้นกองทัพไทยมีการโอกาสปะทะกับฝ่ายศัตรูราวหนึ่งกองร้อยเพียง 3 วันให้หลัง ทหารไทยได้รับความเสียหายเล็กน้อย
ภาพแนบ: ทหารไทยระหว่างฝึก
ตอนนั้นฝ่ายโลกเสรีกำลังได้เปรียบ แต่แล้วสงครามก็ดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อจีนแดงตัดสินใจเข้าช่วยเกาหลี โดยตอนแรกทำกลเหมือนส่งมาแค่ก่อกวนแล้วล่าถอยให้อเมริกาตายใจ
แต่พอถึงปลายปี 1950 จีนได้ยกพลคลื่นมนุษย์จำนวนมหาศาลมาตีเกาหลี! (บางแห่งบอกว่า 200,000 นาย บางแห่งบอกว่า 400,000 นาย) พวกเขาบุกตะลุยแนวตั้งรับของฝ่ายโลกเสรี และสามารถตีจนแตกพ่าย!
ภาพแนบ: ภาพโฆษณาชวนเชื่อจีนในสงครามเกาหลี
ความพ่ายแพ้นี้ทำให้ทหารไทยทั้งหมดจำเป็นต้องล่าถอยออกจากกรุงเปียงยางด้วยรถบรรทุกและรถไฟเพื่อจัดกำลังใหม่ยังเมืองแคซ็องซึ่ง ณ เวลานั้นยังอยู่กับฝ่ายโลกเสรี
จากนั้นกองทัพไทยได้ถูกจัดกำลังไปเสริมปฏิบัติการของกองกำลังอังกฤษและสหรัฐ ทำให้มีโอกาสเข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารเคียงบ่าเคียงไหล่กองทัพสหประชาชาติอีกหลายสมรภูมิอาทิ การรักษาแนวรบเมืองเบียงแต็กร่วมกับทหารอังกฤษ, การรักษาเส้นทางส่งกำลังบำรุงเมืองซังจู, และเข้าตีเมืองวาซอนในฐานะกองรบปีกซ้าย อย่างไรก็ตามผลงานโดดเด่นจนกลายเป็นวีรกรรมที่ถูกเล่าขานคือ “การรบแห่งเนินพอรค์ชอป” ในช่วงปลายปี 1952
ภาพแนบ: การถอนกำลัง