เมียร่ำไห้แทบขาดใจ พ่อค้าขายมะพร้าว เครียดศก.แย่จนเป็นซึมเศร้า ผูกคอดับ
https://www.matichon.co.th/region/news_3415312
เมียร่ำไห้แทบขาดใจ พ่อค้าขายมะพร้าว เครียดศก.แย่จนเป็นซึมเศร้า ผูกคอดับ
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ต.ท.
ศิโรจน์ แนบเนียน สว.สอบสวนสภ.คลองหลวง รับแจ้งมีผู้เสียชีวิตสาเหตุผูกคอตนเองใต้ต้นไม้ ที่เกิดเหตุภายในซอย
เทพกุญจร 34 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หลังรับแจ้ง จึงรุดไปที่เกิดเหตุพร้อมด้วย พ.ต.ต.
สิรภพ บัวหลวง สว.สส.สภ.คลองหลวง เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนแพทย์ร.พ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
ที่เกิดเหตุพบผู้เสียชีวิต 1 ราย ผูกคอตนเองกับต้นกระถิน สวมเสื้อยืดสีเทากางเกงขายาวสีดำ ทราบชื่อต่อมานาย
สมเจตน์ อบแสง อายุ 49 ปี ซึ่งเป็นพ่อค้าขายมะพร้าวขูด หน่อไม้ดอง อยู่ที่ตลาดใกล้เคียงที่เกิดเหตุ ขณะที่ข้างศพมีนาง
เชาวนา เพ็งหมุด อายุ 47 ปี ภรรยาร่ำไห้ราวจะขาดใจ
นาง
เชาวนา เพ็งหมุด ภรรยาเปิดเผยว่า สามีมีความเครียดจากการที่ขายของไม่ได้เศรษฐกิจย่ำแย่จนเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่สามีป่วยโควิด 19 จนน้ำหนักตัวลดลงไปหลายกิโลกรัม โดยช่วงเช้ามืดตนเองก็ยังเห็นสามีอยู่ โดยเขาจะชอบเดินเข้าเดินออกในห้องเช่าใกล้เคียงที่เกิดเหตุจึงไม่ได้เอะใจอะไร กระทั่งมีก่อสร้างใกล้เคียงที่เกิดเหตุมาพบศพจึงเดินไปบอกที่ห้องเช่า
ด้าน พ.ต.ท.
ศิโรจน์ แนบเนียน สว.สอบสวนสภ.คลองหลวง เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบที่เกิดเหตุร่วมแพทย์และบันทึกภาพเป็นหลักฐานพร้อมให้อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งนำร่างผู้เสียบชีวิตส่งรพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเพื่อรอญาติรับศพกลับไปบำเพ็ญกุศลทางศาสนาต่อไป
เครื่องดื่มกัญชาสะดุด ราคาตกเหลือโลละพัน
https://www.prachachat.net/marketing/news-960363
เครื่องดื่ม-สแน็ก กัญชา กัญชง ออกอาการแผ่ว หลังโดนกระแสสังคมกดดันหนัก ร.ร.-รพ.-มหา’ลัย ประกาศเป็นเขตปลอดกัญชา กัญชง ผู้ประกอบการแตะเบรกชะลอแผนการทำตลาด ขอรอ กม.ผ่านสภา ด้านร้านสะดวกซื้อดังปิดป้ายไม่ขายให้เด็ก คนท้อง ตลาดซื้อขายใบราคาร่วงหนัก ภายในไม่ถึง 2 อาทิตย์ จากกิโลละ 5,000-6,000 บาท เหลือแค่ 1,000-2,000 บาท
จากกระแสความตื่นตัวของพืชเศรษฐกิจตัวใหม่
“กัญชง-กัญชา” ที่มีอย่างมากมาย หลังจากถูกถอดออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา สะท้อนจากความต้องการปลูกที่มีการจดแจ้งผ่านแอป “ปลูกกัญ” ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งกัญชาและกัญชงที่มีตัวเลขเฉียด ๆ 1 ล้านราย แต่เพียงชั่วข้ามสัปดาห์หลังจากองค์กรการแพทย์ได้ออกประกาศเตือนถึงพิษภัยและโทษของกัญชากัญชง โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน และนำมาสู่การประกาศห้ามเป็นเขตปลอดกัญชา ห้ามกิน ห้ามขาย ห้ามใส่อาหาร-เครื่องดื่มของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามมาด้วยโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย
ล่าสุด จากกระแสกดดันจากภาคประชาชนและสังคมที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้ากัญชากัญชงออกมาทำตลาดต้องเริ่มทบทวนแผนการดำเนินงานใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว หรือสแน็ก ที่ทยอยส่งสินค้าออกมาวางจำหน่ายตั้งแต่ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
เครื่องดื่มกัญชาชะลอตัว
แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มรายใหญ่ เปิดเผย
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังจากสถานที่หลาย ๆ แห่งมีการประกาศเป็นเขตปลอดกัญชาดังกล่าว ส่งผลให้ภาพรวมของตลาดเครื่องดื่มกัญชาชะลอตัวลงบ้าง และอาจจะต้องมีการปรับแผนในเรื่องของช่องทางจำหน่ายใหม่ เนื่องจากช่องทางจำนวนหนึ่งไม่สามารถวางจำหน่ายได้ หรือผู้ประกอบการที่ได้มีการเตรียมจะเปิดตัวสินค้าใหม่เข้ามาในตลาดก็อาจจะต้องชะลอแผนไว้ก่อน เพื่อรอความชัดเจนของกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง
“กระแสที่เกิดขึ้น รวมทั้งการที่ภาครัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อาจจะมีประกาศหรือมีมาตรการต่าง ๆ ออกมาควบคุมการบริโภคกัญชา เป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องมอนิเตอร์สถานการณ์ตลอดเวลา สำหรับบริษัทเองที่ผ่านมา แม้จะได้เริ่มผลิตเครื่องดื่มกัญชงกัญชาออกมาทำตลาดแล้ว แต่เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้ไม่ใช่สินค้าหลักของบริษัท การประกาศเป็นเขตปลอดกัญชาของโรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษาจึงไม่มีผลกระทบมากนัก”
แหล่งข่าวกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่าการกำกับดูแลและกระแสสังคมที่เกิดขึ้น รวมถึงในอนาคตหากกฎหมาย กัญชากัญชงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาฯออกมา และมีการกำกับดูแลอย่างจริงจัง ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ถึงข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน และจะทำให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจกัญชากัญชงมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะทำให้ง่ายต่อการทำตลาดของผู้ประกอบการอีกด้วย และถือว่าเป็นสิ่งที่ดีในการสร้างความยั่งยืนและสร้างการเติบโตให้กับสินค้ากัญชากัญชงในระยะยาว
แหล่งข่าวจากบริษัทผู้ค้าปลีกค้าส่งรายใหญ่ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า ขณะนี้จากกระแสกดดันจากสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ที่เคยมีแผนหรือเคยประกาศว่าจะส่งสินค้าเข้ามาทำตลาดอาจจะต้องชะลอแผนไว้ก่อน เพื่อรอดูความชัดเจนของร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาฯ
ที่ผ่านมาแม้จะมีเครื่องดื่มกัญชาออกมาจำหน่ายในตลาดบ้างแต่ก็มีเพียงไม่กี่ค่าย ที่สำคัญคือตลาดไม่ตอบรับเท่าที่ควร โดยเฉพาะในแง่ของยอดขาย หากสังเกตจะเห็นว่าบริษัทเจ้าของเครื่องดื่มกัญชาก็ไม่ได้เร่งหรือปลุกกระแสอะไรมากมาย เหมือนกับปล่อยไปตามสภาพ
“จริงอยู่ แม้กระแสกัญชาจะบูมมากในช่วงที่ผ่านมา และทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งที่อยากจะทดลองซื้อดื่ม แต่เมื่อดื่มแล้วอาจจะไม่ประทับใจทั้งในแง่กลิ่นและรสชาติจึงไม่ค่อยมีการซื้อซ้ำ ยอดขายทั้งในแง่ขายส่ง-ขายปลีกจึงค่อนข้างอืด”
ใบสด-ใบแห้ง ราคาร่วงหนัก
แหล่งข่าวระดับสูงจากร้านคาเฟ่จำหน่ายเครื่องดื่มชา-กาแฟ กัญชารายใหญ่แสดงความเห็นในเรื่องนี้ ที่ผ่านมาภาพรวมของตลาดเครื่องดื่มจากกัญชาไม่ได้มีความหวือหวามากนักในแง่ของยอดขาย ทั้งเครื่องดื่มชนิดที่ผลิตบรรจุขวดจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อ หรือการนำใบกัญชามาผสมกับชาหรือกาแฟจำหน่ายตามร้านกาแฟต่าง ๆ หากสังเกตจะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการเครื่องดื่มรายใหญ่ที่ผลิตเครื่องดื่มกัญชาออกมาทำตลาดก็ไม่ได้มีการทุ่มงบในการทำตลาดมากนัก
ล่าสุด จากกระแสกดดันจากสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ตลาดแผ่วลงเร็วขึ้น โดยส่วนตัวเชื่อว่าจากนี้ไปผู้ประกอบการหลาย ๆ รายที่เคยประกาศว่าจะรุกตลาดเครื่องดื่มกัญชาอาจจะต้องกลับมาทบทวนหรือวางแผนการทำตลาดใหม่
“ตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาอีกอย่างหลังจากการปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ และประชาชนสามารถปลูกได้ทุกบ้านทุกครัวเรือน คือราคาซื้อขาย โดยเฉพาะใบกัญชาที่ตกลงอย่างรวดเร็ว เมื่อต้นเดือนมิถุนายนราคาซื้อขายอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 5,000-6,000 บาท แต่ตอนนี้ร่วงลงมาเหลือประมาณ 2,000 บาท ขณะที่กัญชาจากบางแหล่งร่วงลงมาเหลือเพียง 1,000 บาท เพราะจากนี้ไปใคร ๆ ก็ปลูกได้ ประกอบกับในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พื้นที่การปลูกกัญชามีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก”
ขณะที่นาย
วิศารท์ พจน์ประสาท ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์อภิบาลด้วยพืชสมุนไพรแห่งริเวอร์แคว จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า ตอนนี้ถือว่าได้รับผลกระทบหนักมาก หลังจากรัฐบาลมีการปลดล็อกกัญชาส่งผลให้ราคาทั้งใบสดและใบแห้งปรับลดลงมากกว่า 50% จากเดิมใบสด ราคา 8,000 บาท/กิโลกรัม เหลือ 1,000-2,000 บาท/กิโลกรัม ส่วนใบแห้งจากเดิมราคา 16,000 บาท/กิโลกรัม เหลือเพียง 5,000 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากปัจจุบันมีการปลูกกัญชาเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการร้านอาหารที่เคยสั่งจองกับวิสาหกิจชุมชนฯก็หายไปกว่า 50% และมีความกังวลว่าในอนาคตกลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ ที่เคยทำการซื้อขายกับทางวิสาหกิจชุมชนฯจะหายไป
สินค้ากัญชาเกลื่อนเชลฟ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกระแสความห่วงกังวลและเกรงว่า จะมีการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้น อีกด้านหนึ่งก็สร้างความตื่นตัวกับช่องทางจำหน่ายต่าง ๆ ที่เริ่มทยอยปิดป้ายแจ้งเตือน หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศให้กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม เช่น ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นที่มีการปิดป้ายประกาศ มีข้อความว่า
“งดจำหน่ายสินค้ากลุ่มกัญชา แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีตั้งครรภ์ และสตรีให้นมบุตร” ทั้งที่บริเวณหน้าตู้เครื่องดื่มและบริเวณเคาน์เตอร์ชำระเงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีสินค้าต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาวางจำหน่าย โดยระบุว่า หรือมีส่วนผสมจากใบกัญชา ใบกัญชง รวมถึงสารสกัดจากกัญชาและกัญชง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ ยันฮี น้ำกัญชากลิ่นมิกซ์เบอร์รี่ (ยันฮี วิตามิน วอเตอร์), เครื่องดื่ม คามูซี พลัส ใบกัญชง และคามูซี พลัส ใบกัญชง (ไลฟ์สตาร์ ในเครืออาร์เอสกรุ๊ป), น้ำผลไม้ เมจิกฟาร์ม กลิ่นมะนาว ผสมน้ำใบกัญชา, กลิ่นลิ้นจี่ ผสมน้ำใบกัญชา, กลิ่นสับปะรด ผสมน้ำใบกัญชา, กลิ่นมิกซ์เบอรี่ ผสมน้ำใบกัญชา (ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง), บิวตี้ดริ้งค์ เทอร์ปีน (เซ็ปเป้), อิชิตัน กรีนแลป กลิ่นเลมอนเทอร์ปีน และ อิชิตัน กรีนแลป คาโมมายล์กลิ่นเทอร์ปีน (อิชิตัน)
ส่วนขนมขบเคี้ยว อาทิ เทสโต ซิกเนเจอร์ รสเฮิร์บและกลิ่นเทอร์ปีน (เบอร์ลี่ยุคเกอร์), โลตัสน่องไก่ ผสมเมล็ดกัญชงรสสาหร่าย และ โลตัสน่องไก่ผสมใบกัญชารสบาร์บีคิว (ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง), ปลาหมึกอบเบนโตะใบกัญชาคั่ว (ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง), มารูโจ้ รสสไปซี่ แซลมอน กลิ่นเทอร์ปีน (เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น), เขาช่อง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ผสมใบกัญชา (เขาช่อง นัท)
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มซอสปรุงรส อาทิ ซีอิ๊วกลิ่นเทอพีน ตราเด็กสมบูรณ์ และ เด็กสมบูรณ์ ซอสพริกศรีราชาเทอพีน (หยั่นหว่อหยุ่น) เป็นต้น
JJNY : เครียดศก.จนซึมเศร้าผูกคอดับ│เครื่องดื่มกัญชาสะดุด│กรี๊ดสนั่น"ผู้ว่าฯ แกร่งที่สุดในปฐพี"│ชัชชาติไม่ห้าม!ดูแลชุมนุม
https://www.matichon.co.th/region/news_3415312
เมียร่ำไห้แทบขาดใจ พ่อค้าขายมะพร้าว เครียดศก.แย่จนเป็นซึมเศร้า ผูกคอดับ
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ต.ท.ศิโรจน์ แนบเนียน สว.สอบสวนสภ.คลองหลวง รับแจ้งมีผู้เสียชีวิตสาเหตุผูกคอตนเองใต้ต้นไม้ ที่เกิดเหตุภายในซอย
เทพกุญจร 34 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หลังรับแจ้ง จึงรุดไปที่เกิดเหตุพร้อมด้วย พ.ต.ต.สิรภพ บัวหลวง สว.สส.สภ.คลองหลวง เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนแพทย์ร.พ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
ที่เกิดเหตุพบผู้เสียชีวิต 1 ราย ผูกคอตนเองกับต้นกระถิน สวมเสื้อยืดสีเทากางเกงขายาวสีดำ ทราบชื่อต่อมานายสมเจตน์ อบแสง อายุ 49 ปี ซึ่งเป็นพ่อค้าขายมะพร้าวขูด หน่อไม้ดอง อยู่ที่ตลาดใกล้เคียงที่เกิดเหตุ ขณะที่ข้างศพมีนางเชาวนา เพ็งหมุด อายุ 47 ปี ภรรยาร่ำไห้ราวจะขาดใจ
นางเชาวนา เพ็งหมุด ภรรยาเปิดเผยว่า สามีมีความเครียดจากการที่ขายของไม่ได้เศรษฐกิจย่ำแย่จนเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่สามีป่วยโควิด 19 จนน้ำหนักตัวลดลงไปหลายกิโลกรัม โดยช่วงเช้ามืดตนเองก็ยังเห็นสามีอยู่ โดยเขาจะชอบเดินเข้าเดินออกในห้องเช่าใกล้เคียงที่เกิดเหตุจึงไม่ได้เอะใจอะไร กระทั่งมีก่อสร้างใกล้เคียงที่เกิดเหตุมาพบศพจึงเดินไปบอกที่ห้องเช่า
ด้าน พ.ต.ท.ศิโรจน์ แนบเนียน สว.สอบสวนสภ.คลองหลวง เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบที่เกิดเหตุร่วมแพทย์และบันทึกภาพเป็นหลักฐานพร้อมให้อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งนำร่างผู้เสียบชีวิตส่งรพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเพื่อรอญาติรับศพกลับไปบำเพ็ญกุศลทางศาสนาต่อไป
เครื่องดื่มกัญชาสะดุด ราคาตกเหลือโลละพัน
https://www.prachachat.net/marketing/news-960363
เครื่องดื่ม-สแน็ก กัญชา กัญชง ออกอาการแผ่ว หลังโดนกระแสสังคมกดดันหนัก ร.ร.-รพ.-มหา’ลัย ประกาศเป็นเขตปลอดกัญชา กัญชง ผู้ประกอบการแตะเบรกชะลอแผนการทำตลาด ขอรอ กม.ผ่านสภา ด้านร้านสะดวกซื้อดังปิดป้ายไม่ขายให้เด็ก คนท้อง ตลาดซื้อขายใบราคาร่วงหนัก ภายในไม่ถึง 2 อาทิตย์ จากกิโลละ 5,000-6,000 บาท เหลือแค่ 1,000-2,000 บาท
จากกระแสความตื่นตัวของพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ “กัญชง-กัญชา” ที่มีอย่างมากมาย หลังจากถูกถอดออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา สะท้อนจากความต้องการปลูกที่มีการจดแจ้งผ่านแอป “ปลูกกัญ” ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งกัญชาและกัญชงที่มีตัวเลขเฉียด ๆ 1 ล้านราย แต่เพียงชั่วข้ามสัปดาห์หลังจากองค์กรการแพทย์ได้ออกประกาศเตือนถึงพิษภัยและโทษของกัญชากัญชง โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน และนำมาสู่การประกาศห้ามเป็นเขตปลอดกัญชา ห้ามกิน ห้ามขาย ห้ามใส่อาหาร-เครื่องดื่มของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามมาด้วยโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย
ล่าสุด จากกระแสกดดันจากภาคประชาชนและสังคมที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้ากัญชากัญชงออกมาทำตลาดต้องเริ่มทบทวนแผนการดำเนินงานใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว หรือสแน็ก ที่ทยอยส่งสินค้าออกมาวางจำหน่ายตั้งแต่ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
เครื่องดื่มกัญชาชะลอตัว
แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มรายใหญ่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังจากสถานที่หลาย ๆ แห่งมีการประกาศเป็นเขตปลอดกัญชาดังกล่าว ส่งผลให้ภาพรวมของตลาดเครื่องดื่มกัญชาชะลอตัวลงบ้าง และอาจจะต้องมีการปรับแผนในเรื่องของช่องทางจำหน่ายใหม่ เนื่องจากช่องทางจำนวนหนึ่งไม่สามารถวางจำหน่ายได้ หรือผู้ประกอบการที่ได้มีการเตรียมจะเปิดตัวสินค้าใหม่เข้ามาในตลาดก็อาจจะต้องชะลอแผนไว้ก่อน เพื่อรอความชัดเจนของกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง
“กระแสที่เกิดขึ้น รวมทั้งการที่ภาครัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อาจจะมีประกาศหรือมีมาตรการต่าง ๆ ออกมาควบคุมการบริโภคกัญชา เป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องมอนิเตอร์สถานการณ์ตลอดเวลา สำหรับบริษัทเองที่ผ่านมา แม้จะได้เริ่มผลิตเครื่องดื่มกัญชงกัญชาออกมาทำตลาดแล้ว แต่เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้ไม่ใช่สินค้าหลักของบริษัท การประกาศเป็นเขตปลอดกัญชาของโรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษาจึงไม่มีผลกระทบมากนัก”
แหล่งข่าวกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่าการกำกับดูแลและกระแสสังคมที่เกิดขึ้น รวมถึงในอนาคตหากกฎหมาย กัญชากัญชงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาฯออกมา และมีการกำกับดูแลอย่างจริงจัง ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ถึงข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน และจะทำให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจกัญชากัญชงมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะทำให้ง่ายต่อการทำตลาดของผู้ประกอบการอีกด้วย และถือว่าเป็นสิ่งที่ดีในการสร้างความยั่งยืนและสร้างการเติบโตให้กับสินค้ากัญชากัญชงในระยะยาว
แหล่งข่าวจากบริษัทผู้ค้าปลีกค้าส่งรายใหญ่ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า ขณะนี้จากกระแสกดดันจากสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ที่เคยมีแผนหรือเคยประกาศว่าจะส่งสินค้าเข้ามาทำตลาดอาจจะต้องชะลอแผนไว้ก่อน เพื่อรอดูความชัดเจนของร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาฯ
ที่ผ่านมาแม้จะมีเครื่องดื่มกัญชาออกมาจำหน่ายในตลาดบ้างแต่ก็มีเพียงไม่กี่ค่าย ที่สำคัญคือตลาดไม่ตอบรับเท่าที่ควร โดยเฉพาะในแง่ของยอดขาย หากสังเกตจะเห็นว่าบริษัทเจ้าของเครื่องดื่มกัญชาก็ไม่ได้เร่งหรือปลุกกระแสอะไรมากมาย เหมือนกับปล่อยไปตามสภาพ
“จริงอยู่ แม้กระแสกัญชาจะบูมมากในช่วงที่ผ่านมา และทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งที่อยากจะทดลองซื้อดื่ม แต่เมื่อดื่มแล้วอาจจะไม่ประทับใจทั้งในแง่กลิ่นและรสชาติจึงไม่ค่อยมีการซื้อซ้ำ ยอดขายทั้งในแง่ขายส่ง-ขายปลีกจึงค่อนข้างอืด”
ใบสด-ใบแห้ง ราคาร่วงหนัก
แหล่งข่าวระดับสูงจากร้านคาเฟ่จำหน่ายเครื่องดื่มชา-กาแฟ กัญชารายใหญ่แสดงความเห็นในเรื่องนี้ ที่ผ่านมาภาพรวมของตลาดเครื่องดื่มจากกัญชาไม่ได้มีความหวือหวามากนักในแง่ของยอดขาย ทั้งเครื่องดื่มชนิดที่ผลิตบรรจุขวดจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อ หรือการนำใบกัญชามาผสมกับชาหรือกาแฟจำหน่ายตามร้านกาแฟต่าง ๆ หากสังเกตจะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการเครื่องดื่มรายใหญ่ที่ผลิตเครื่องดื่มกัญชาออกมาทำตลาดก็ไม่ได้มีการทุ่มงบในการทำตลาดมากนัก
ล่าสุด จากกระแสกดดันจากสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ตลาดแผ่วลงเร็วขึ้น โดยส่วนตัวเชื่อว่าจากนี้ไปผู้ประกอบการหลาย ๆ รายที่เคยประกาศว่าจะรุกตลาดเครื่องดื่มกัญชาอาจจะต้องกลับมาทบทวนหรือวางแผนการทำตลาดใหม่
“ตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาอีกอย่างหลังจากการปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ และประชาชนสามารถปลูกได้ทุกบ้านทุกครัวเรือน คือราคาซื้อขาย โดยเฉพาะใบกัญชาที่ตกลงอย่างรวดเร็ว เมื่อต้นเดือนมิถุนายนราคาซื้อขายอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 5,000-6,000 บาท แต่ตอนนี้ร่วงลงมาเหลือประมาณ 2,000 บาท ขณะที่กัญชาจากบางแหล่งร่วงลงมาเหลือเพียง 1,000 บาท เพราะจากนี้ไปใคร ๆ ก็ปลูกได้ ประกอบกับในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พื้นที่การปลูกกัญชามีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก”
ขณะที่นายวิศารท์ พจน์ประสาท ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์อภิบาลด้วยพืชสมุนไพรแห่งริเวอร์แคว จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า ตอนนี้ถือว่าได้รับผลกระทบหนักมาก หลังจากรัฐบาลมีการปลดล็อกกัญชาส่งผลให้ราคาทั้งใบสดและใบแห้งปรับลดลงมากกว่า 50% จากเดิมใบสด ราคา 8,000 บาท/กิโลกรัม เหลือ 1,000-2,000 บาท/กิโลกรัม ส่วนใบแห้งจากเดิมราคา 16,000 บาท/กิโลกรัม เหลือเพียง 5,000 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากปัจจุบันมีการปลูกกัญชาเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการร้านอาหารที่เคยสั่งจองกับวิสาหกิจชุมชนฯก็หายไปกว่า 50% และมีความกังวลว่าในอนาคตกลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ ที่เคยทำการซื้อขายกับทางวิสาหกิจชุมชนฯจะหายไป
สินค้ากัญชาเกลื่อนเชลฟ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกระแสความห่วงกังวลและเกรงว่า จะมีการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้น อีกด้านหนึ่งก็สร้างความตื่นตัวกับช่องทางจำหน่ายต่าง ๆ ที่เริ่มทยอยปิดป้ายแจ้งเตือน หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศให้กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม เช่น ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นที่มีการปิดป้ายประกาศ มีข้อความว่า “งดจำหน่ายสินค้ากลุ่มกัญชา แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีตั้งครรภ์ และสตรีให้นมบุตร” ทั้งที่บริเวณหน้าตู้เครื่องดื่มและบริเวณเคาน์เตอร์ชำระเงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีสินค้าต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาวางจำหน่าย โดยระบุว่า หรือมีส่วนผสมจากใบกัญชา ใบกัญชง รวมถึงสารสกัดจากกัญชาและกัญชง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ ยันฮี น้ำกัญชากลิ่นมิกซ์เบอร์รี่ (ยันฮี วิตามิน วอเตอร์), เครื่องดื่ม คามูซี พลัส ใบกัญชง และคามูซี พลัส ใบกัญชง (ไลฟ์สตาร์ ในเครืออาร์เอสกรุ๊ป), น้ำผลไม้ เมจิกฟาร์ม กลิ่นมะนาว ผสมน้ำใบกัญชา, กลิ่นลิ้นจี่ ผสมน้ำใบกัญชา, กลิ่นสับปะรด ผสมน้ำใบกัญชา, กลิ่นมิกซ์เบอรี่ ผสมน้ำใบกัญชา (ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง), บิวตี้ดริ้งค์ เทอร์ปีน (เซ็ปเป้), อิชิตัน กรีนแลป กลิ่นเลมอนเทอร์ปีน และ อิชิตัน กรีนแลป คาโมมายล์กลิ่นเทอร์ปีน (อิชิตัน)
ส่วนขนมขบเคี้ยว อาทิ เทสโต ซิกเนเจอร์ รสเฮิร์บและกลิ่นเทอร์ปีน (เบอร์ลี่ยุคเกอร์), โลตัสน่องไก่ ผสมเมล็ดกัญชงรสสาหร่าย และ โลตัสน่องไก่ผสมใบกัญชารสบาร์บีคิว (ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง), ปลาหมึกอบเบนโตะใบกัญชาคั่ว (ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง), มารูโจ้ รสสไปซี่ แซลมอน กลิ่นเทอร์ปีน (เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น), เขาช่อง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ผสมใบกัญชา (เขาช่อง นัท)
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มซอสปรุงรส อาทิ ซีอิ๊วกลิ่นเทอพีน ตราเด็กสมบูรณ์ และ เด็กสมบูรณ์ ซอสพริกศรีราชาเทอพีน (หยั่นหว่อหยุ่น) เป็นต้น