ท่านผู้อ่านเคยเห็นโปสเตอร์หรือแพคเกจจิ้งที่มีลายเส้นอ่อนช้อย มีการประดับรูปด้วยสัญลักษณ์ต้นไม้ใบหญ้าและดอกไม้ โดยมีภาพหญิงสาวที่โพสต์ท่าอย่างงามสง่าอยู่ตรงกลางไหมครับ? นั่นคือส่วนหนึ่งของกระแสศิลปะที่เรียกว่า Art Nouveau หรือ “ศิลปะใหม่” ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปี 1890 - 1910
วันนี้ The Wild Chronicles ขอแนะนำศิลปินผู้โด่งดัง “อัลโฟนส์ มูคฮา” ผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนางานศิลปะแนวนี้ให้รุ่งเรือง ถึงหลายคนอาจไม่คุ้นกับชื่อนี้เลย แต่เมื่อเห็นผลงานของเขาต้องร้อง “อ๋อ!” แน่นอน เพราะภาพหลายๆ ภาพของเขาส่งอิทธิพลเป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินมากมายในปัจจุบัน
แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่า ครั้งหนึ่งงานของมูคฮาเกือบหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์? ชายคนนี้มีเรื่องราวชีวิตแบบไหน? อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เขาสร้างสรรค์ผลงาน? ผมจะพาท่านผู้อ่านไปติดตามงานของเขารู้ด้วยกันนะครับ
*** จุดเริ่มต้นของมูคฮา ***
“อัลโฟนส์ มารียา มูคฮา” เป็นคนเชื้อชาติเชค (เชคนับเป็นชาติพันธุ์สลาฟหนึ่ง) เกิดปี 1860 ณ แคว้นโมราเวีย จักรวรรดิออสเตรีย (ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเชค) มูคฮามีความสามารถทางศิลปะทั้งด้านวาดรูปและดนตรี แม้จะไม่มีเงินมากมาย แต่ก็ได้รับการสนับสนุนให้เรียนต่อ…
หนึ่งในที่ที่ให้ทุนมูคฮาคือโบสถ์ โดยแลกกับการเป็นนักร้องประสานเสียง ตรงจุดนี้หล่อหลอมให้เขาเป็นคนเคร่งศาสนา ซึ่งจะส่งผลต่องานในภายหลังด้วย
แม้มูคฮาไปได้ดีทางดนตรี แต่เขาอยากมุ่งทางด้านวาดรูปเป็นหลัก ในปี 1878 เด็กหนุ่มพยายามสมัครเข้าเรียนต่อที่สถาบันศิลปะแห่งปราก มหาวิทยาลัยศิลปะเก่าแก่ของประเทศ แต่กลับได้รับคำแนะนำให้ “ไปหางานอื่นทำ”
กระนั้นเขาไม่ยอมแพ้ อีกสองปีต่อมา มูคฮา (ที่ตอนนั้นอายุ 19 ปี) ก็มุ่งหน้าสู่เวียนนา และได้งานเป็นผู้ช่วยนักวาดฉากละครเวที
ภาพแนบ: สถาบันศิลปะแห่งปราก
คณะละครที่มูคฮาทำงานด้วยมักให้ตั๋วชมการแสดงฟรี เขาจึงได้เห็นความรุ่มรวยของละคร ประกอบกับการที่เวียนนาเป็นเมืองศิลปะ เด็กหนุ่มจึงมีโอกาสไปชมพิพิธภัณฑ์, โบสถ์ วังต่างๆ
อนิจจา เขาทำงานได้ปีเดียว ปรากฏว่าโรงละครริงเธียเตอร์ ซึ่งเป็นนายจ้างรายใหญ่โดนไฟไหม้ คณะละครไม่มีคนจ้างต่อ มูคฮาเลยตัดสินใจเดินทางไปยังตอนเหนือของโมราเวีย ปักหลักสร้างผลงานออกมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ถูกใจของ “เคาท์เอดาร์ด คูห์เอน เบลาซี” มาก
ภาพแนบ: ริงเธียเตอร์เกิดไฟไหม้
เคาท์เบลาซีพามูคฮาไปเปิดโลกยังเวนิส, ฟลอเรนซ์ และมิลาน พร้อมให้ทุนการศึกษาไปเรียนศิลปะที่มิวนิค ประเทศเยอรมนีในปี 1885
ที่นั่นมูคฮาได้พบกับศิลปินชาวสลาฟมากมาย และเขาได้ก่อตั้งสมาคมนักเรียนเชค เพื่อวาดรูปสนับสนุนกลุ่มชาตินิยมเชคในเมืองปราก
ภาพแนบ: มูคฮากับเพื่อนๆ ในมิวนิค
*** เรื่องราวของชาวเชค ***
ตามที่ผมเคยเล่าในประวัติศาสตร์รัสเซีย ชาวเชคเป็นชาวสลาฟเผ่าหนึ่งมีต้นกำเนิดร่วมกับรัสเซียและโปแลนด์
ทั้งสามประเทศมีตำนานร่วมว่า ครั้งหนึ่งเคยมีพี่น้องสามคน ชื่อ เลช, เชค, และรัส ซึ่งแยกกันออกเดินทางไปหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ เมื่อเชคไปถึงเทือกเขารีปในแดนที่มีชื่อว่าโบฮีเมีย เขาก็ตั้งบ้านเรือนขึ้น กลายเป็นประเทศเชคในปัจจุบัน
ภาพแนบ: เชคและผู้ติดตามบนเทือกเขารีป
จากหลักฐานต่างๆ รัฐของชาวเชคน่าจะตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 6 - 7 อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมามันกลับถูกลดสถานะเป็นเพียงแคว้นโบฮีเมียและโมราเวีย เพราะตกเป็นเมืองขึ้นกลุ่มอำนาจอื่นมาเกือบๆ พันปี เช่นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และจักรวรรดิฮาบส์บวร์ก (ออสเตรีย)
ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เศรษฐกิจของแคว้นโมราเวียได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากอุตสาหกรรมทอผ้าและน้ำตาล รวมไปถึงโลหะ เมื่อชีวิตมั่นคงชาวเชคก็เริ่มกลับมาสนใจศึกษารากเหง้าของตัวเอง ทั้งด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ทำให้เกิดกระแสชาตินิยมเชค (Czech Nationalism) และชาตินิยมสลาฟขึ้นอย่างกว้างขวาง ร่วมกับกระแสชาตินิยมอื่นๆ ในยุคนั้น
ภาพแนบ: แผนที่ของออสเตรีย-ฮังการี เทียบกับแผนที่ปัจจุบัน
มูคฮาเป็นคนรักชาติ และได้รับอิทธิพลจากกระแสนี้เป็นอย่างยิ่ง เขาผลิตงานต่างๆ มากมายตามแนวคิดชาตินิยม เช่นในปี 1886 มูคฮาวาดรูปของเซนต์ซีริลและเมโธไดอัส ซึ่งเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของคนเชค (โดยการว่าจ้างของกลุ่มผู้อพยพชาวเชค)
ความชาตินิยมนี้จะแสดงออกเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ ในงานของเขาต่อไป
ภาพแนบ: Saints Cyril and Methodius
*** ผลงานสร้างชื่อ ***
มูคฮาอยู่เยอรมนีได้ไม่นาน เพราะภาครัฐเริ่มมีนโยบายจำกัดจำนวนคนต่างชาติ เคาท์เบลาซีเลยแนะให้เด็กหนุ่มไปเรียนที่โรมหรือไม่ก็ปารีส
…มูคฮาเลือกไปฝรั่งเศสในปี 1888 และเริ่มรับงานวาดรูปประกอบจริงจัง เช่นวาดปกนิตยสาร La Vie Populaire ในปี 1890 วาดภาพสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ให้กับ Le Petit Français Illustré ในปี 1892 ทำให้เขาเริ่มมีรายได้มั่นคง
ภาพแนบ: ผลงานของมูคฮาบนปก La Vie Populaire
งานแรกที่สร้างชื่อเสียงแก่เขาอย่างเป็นทางการคือ การวาดภาพ “ความตายของเฟเดอริก บาบารอสซา” จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ช่วงศตวรรษที่ 12
ภาพนี้นอกจากได้รับเลือกให้จัดแสดงในนิทรรศการศิลปะแห่งปารีสในปี 1894 แล้ว ยังทำให้มูคฮาได้รับเหรียญเกียรติยศด้วย
ภาพแนบ: The Death of Frederick Barbarossa
ปลายปีนั้นเอง มูคฮาได้รับการว่าจ้างจากนักแสดงละครเวทีชื่อดังของปารีสยุคนั้นนาม “ซาราห์ เบิร์นฮาร์ดต์” ให้วาดรูปโปสเตอร์ใหม่แก่ละครเวทีเรื่อง Gismonda
มูคฮาออกแบบงานอย่างรวดเร็ว เป็นหญิงสาวสวยสง่า มีดอกไม้ประดับหัว มือถือใบปาล์ม ฉากหลังเป็นกระเบื้องไบแซนไทน์ทรงโค้ง ดูราวกับรัศมี ความโดดเด่นอีกอย่างของภาพนี้คือมูคฮาเลือกใช้สีอ่อนหวานแบบพาสเทล แทนที่จะเป็นสีจัดๆ แบบศิลปินอื่น ในยุคเดียวกัน
ภาพแนบ: โปสเตอร์เรื่อง Gismonda
เมื่อโปสเตอร์ปรากฏสู่สายตาสาธารณชนในวันปีใหม่ 1895 ผู้คนก็ชอบงานนี้กันล้นหลาม เบิร์นฮาร์ดต์ถึงกับขอให้มีการทำโปสเตอร์ฉบับก๊อปปี้อีก 4,000 แผ่น และทำสัญญาว่าจ้างมูคฮาเพื่อให้วาดรูปงานแสดงเธอต่อ หลังจากนั้นกระแสนิยมในตัวมูคฮาก็เพิ่มขึ้นจนเขาเองยังตกใจ
มูคฮาทำโปสเตอร์ละครสไตล์นี้ให้เบิร์นฮาร์ตอีกหลายเรื่อง เช่น…
ภาพแนบ: ซาราห์ เบิร์นฮาร์ดต์ ตัวจริง
La Dame aux Camélias (1896)
Medee หรือ Medea (1898)
La Tosca (1898)
Hamlet ปี 1899
บางครั้งมูคฮาก็ได้งานออกแบบสูจิบัตรและเครื่องแต่งกายในละครด้วย
ภาพแนบ: ชุดที่มูคฮาออกแบบ
*** ภาพประดับและงานโฆษณา ***
ช่วงเวลาเดียวกัน มูคฮาก็มีผลงานแนวใหม่ คือ “ภาพประดับ” เป็นเหมือนโปสเตอร์ที่ไม่มีตัวอักษร ไว้ใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม โดยผลงานแนวนี้ชุดแรกของเขาวางจำหน่ายในปี 1896 มีชื่อว่า The Seasons ประกอบด้วยรูปของหญิงสาวสี่คนในสี่ฤดู
ภาพแนบ: มูคฮาในปี 1896
เริ่มจากฤดูใบไม้ผลิแสนอ่อนหวาน
ฤดูร้อนที่เย้ายวน
ฤดูใบไม้ร่วงอันอุดมสมบูรณ์
และฤดูหนาวแสนเยือกเย็น
...แน่นอนว่างานชิ้นนี้ขายดิบขายดีเทน้ำเทท่า
เขาออกแบบภาพประดับตกแต่งอีกมากมาย เช่นหญิงสาวกับพื้นหลังเป็นกระจกสีลายสิบสองราศี ซึ่งบรรณาธิการนิตยสารศิลปะ La Plume ได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปทำเป็นปฏิทินในปี 1897
ภาพแนบ: Zodiac calendar
นอกจากนี้มูคฮายังรับงานคอมมิชชัน มีหน่วยงานหรือบริษัทต่างๆ มาว่าจ้างให้เขาวาดรูปโฆษณาสินค้า ผลงานดังๆ ก็มี บุหรี่ JOB ปี 1898
งานทั้งหมดที่กล่าวไป ล้วนมีสไตล์คล้ายๆ กับผลงานโปสเตอร์ที่เคยทำให้เบิร์นฮาร์ดต์ ก็คือเป็นลายเส้นชดช้อย มีผู้หญิงงามเด่นสง่า มีฉากหลังอลังการ และใช้สีสันที่ดูแล้วสบายตา
ภาพแนบ: โฆษณาบุหรี่
*** The Spirit of Alphonse Mucha ***
วันนี้ The Wild Chronicles ขอแนะนำศิลปินผู้โด่งดัง “อัลโฟนส์ มูคฮา” ผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนางานศิลปะแนวนี้ให้รุ่งเรือง ถึงหลายคนอาจไม่คุ้นกับชื่อนี้เลย แต่เมื่อเห็นผลงานของเขาต้องร้อง “อ๋อ!” แน่นอน เพราะภาพหลายๆ ภาพของเขาส่งอิทธิพลเป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินมากมายในปัจจุบัน
แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่า ครั้งหนึ่งงานของมูคฮาเกือบหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์? ชายคนนี้มีเรื่องราวชีวิตแบบไหน? อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เขาสร้างสรรค์ผลงาน? ผมจะพาท่านผู้อ่านไปติดตามงานของเขารู้ด้วยกันนะครับ
*** จุดเริ่มต้นของมูคฮา ***
“อัลโฟนส์ มารียา มูคฮา” เป็นคนเชื้อชาติเชค (เชคนับเป็นชาติพันธุ์สลาฟหนึ่ง) เกิดปี 1860 ณ แคว้นโมราเวีย จักรวรรดิออสเตรีย (ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเชค) มูคฮามีความสามารถทางศิลปะทั้งด้านวาดรูปและดนตรี แม้จะไม่มีเงินมากมาย แต่ก็ได้รับการสนับสนุนให้เรียนต่อ…
หนึ่งในที่ที่ให้ทุนมูคฮาคือโบสถ์ โดยแลกกับการเป็นนักร้องประสานเสียง ตรงจุดนี้หล่อหลอมให้เขาเป็นคนเคร่งศาสนา ซึ่งจะส่งผลต่องานในภายหลังด้วย
แม้มูคฮาไปได้ดีทางดนตรี แต่เขาอยากมุ่งทางด้านวาดรูปเป็นหลัก ในปี 1878 เด็กหนุ่มพยายามสมัครเข้าเรียนต่อที่สถาบันศิลปะแห่งปราก มหาวิทยาลัยศิลปะเก่าแก่ของประเทศ แต่กลับได้รับคำแนะนำให้ “ไปหางานอื่นทำ”
กระนั้นเขาไม่ยอมแพ้ อีกสองปีต่อมา มูคฮา (ที่ตอนนั้นอายุ 19 ปี) ก็มุ่งหน้าสู่เวียนนา และได้งานเป็นผู้ช่วยนักวาดฉากละครเวที
ภาพแนบ: สถาบันศิลปะแห่งปราก
คณะละครที่มูคฮาทำงานด้วยมักให้ตั๋วชมการแสดงฟรี เขาจึงได้เห็นความรุ่มรวยของละคร ประกอบกับการที่เวียนนาเป็นเมืองศิลปะ เด็กหนุ่มจึงมีโอกาสไปชมพิพิธภัณฑ์, โบสถ์ วังต่างๆ
อนิจจา เขาทำงานได้ปีเดียว ปรากฏว่าโรงละครริงเธียเตอร์ ซึ่งเป็นนายจ้างรายใหญ่โดนไฟไหม้ คณะละครไม่มีคนจ้างต่อ มูคฮาเลยตัดสินใจเดินทางไปยังตอนเหนือของโมราเวีย ปักหลักสร้างผลงานออกมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ถูกใจของ “เคาท์เอดาร์ด คูห์เอน เบลาซี” มาก
ภาพแนบ: ริงเธียเตอร์เกิดไฟไหม้
เคาท์เบลาซีพามูคฮาไปเปิดโลกยังเวนิส, ฟลอเรนซ์ และมิลาน พร้อมให้ทุนการศึกษาไปเรียนศิลปะที่มิวนิค ประเทศเยอรมนีในปี 1885
ที่นั่นมูคฮาได้พบกับศิลปินชาวสลาฟมากมาย และเขาได้ก่อตั้งสมาคมนักเรียนเชค เพื่อวาดรูปสนับสนุนกลุ่มชาตินิยมเชคในเมืองปราก
ภาพแนบ: มูคฮากับเพื่อนๆ ในมิวนิค
*** เรื่องราวของชาวเชค ***
ตามที่ผมเคยเล่าในประวัติศาสตร์รัสเซีย ชาวเชคเป็นชาวสลาฟเผ่าหนึ่งมีต้นกำเนิดร่วมกับรัสเซียและโปแลนด์
ทั้งสามประเทศมีตำนานร่วมว่า ครั้งหนึ่งเคยมีพี่น้องสามคน ชื่อ เลช, เชค, และรัส ซึ่งแยกกันออกเดินทางไปหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ เมื่อเชคไปถึงเทือกเขารีปในแดนที่มีชื่อว่าโบฮีเมีย เขาก็ตั้งบ้านเรือนขึ้น กลายเป็นประเทศเชคในปัจจุบัน
ภาพแนบ: เชคและผู้ติดตามบนเทือกเขารีป
จากหลักฐานต่างๆ รัฐของชาวเชคน่าจะตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 6 - 7 อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมามันกลับถูกลดสถานะเป็นเพียงแคว้นโบฮีเมียและโมราเวีย เพราะตกเป็นเมืองขึ้นกลุ่มอำนาจอื่นมาเกือบๆ พันปี เช่นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และจักรวรรดิฮาบส์บวร์ก (ออสเตรีย)
ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เศรษฐกิจของแคว้นโมราเวียได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากอุตสาหกรรมทอผ้าและน้ำตาล รวมไปถึงโลหะ เมื่อชีวิตมั่นคงชาวเชคก็เริ่มกลับมาสนใจศึกษารากเหง้าของตัวเอง ทั้งด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ทำให้เกิดกระแสชาตินิยมเชค (Czech Nationalism) และชาตินิยมสลาฟขึ้นอย่างกว้างขวาง ร่วมกับกระแสชาตินิยมอื่นๆ ในยุคนั้น
ภาพแนบ: แผนที่ของออสเตรีย-ฮังการี เทียบกับแผนที่ปัจจุบัน
มูคฮาเป็นคนรักชาติ และได้รับอิทธิพลจากกระแสนี้เป็นอย่างยิ่ง เขาผลิตงานต่างๆ มากมายตามแนวคิดชาตินิยม เช่นในปี 1886 มูคฮาวาดรูปของเซนต์ซีริลและเมโธไดอัส ซึ่งเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของคนเชค (โดยการว่าจ้างของกลุ่มผู้อพยพชาวเชค)
ความชาตินิยมนี้จะแสดงออกเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ ในงานของเขาต่อไป
ภาพแนบ: Saints Cyril and Methodius
*** ผลงานสร้างชื่อ ***
มูคฮาอยู่เยอรมนีได้ไม่นาน เพราะภาครัฐเริ่มมีนโยบายจำกัดจำนวนคนต่างชาติ เคาท์เบลาซีเลยแนะให้เด็กหนุ่มไปเรียนที่โรมหรือไม่ก็ปารีส
…มูคฮาเลือกไปฝรั่งเศสในปี 1888 และเริ่มรับงานวาดรูปประกอบจริงจัง เช่นวาดปกนิตยสาร La Vie Populaire ในปี 1890 วาดภาพสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ให้กับ Le Petit Français Illustré ในปี 1892 ทำให้เขาเริ่มมีรายได้มั่นคง
ภาพแนบ: ผลงานของมูคฮาบนปก La Vie Populaire
งานแรกที่สร้างชื่อเสียงแก่เขาอย่างเป็นทางการคือ การวาดภาพ “ความตายของเฟเดอริก บาบารอสซา” จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ช่วงศตวรรษที่ 12
ภาพนี้นอกจากได้รับเลือกให้จัดแสดงในนิทรรศการศิลปะแห่งปารีสในปี 1894 แล้ว ยังทำให้มูคฮาได้รับเหรียญเกียรติยศด้วย
ภาพแนบ: The Death of Frederick Barbarossa
ปลายปีนั้นเอง มูคฮาได้รับการว่าจ้างจากนักแสดงละครเวทีชื่อดังของปารีสยุคนั้นนาม “ซาราห์ เบิร์นฮาร์ดต์” ให้วาดรูปโปสเตอร์ใหม่แก่ละครเวทีเรื่อง Gismonda
มูคฮาออกแบบงานอย่างรวดเร็ว เป็นหญิงสาวสวยสง่า มีดอกไม้ประดับหัว มือถือใบปาล์ม ฉากหลังเป็นกระเบื้องไบแซนไทน์ทรงโค้ง ดูราวกับรัศมี ความโดดเด่นอีกอย่างของภาพนี้คือมูคฮาเลือกใช้สีอ่อนหวานแบบพาสเทล แทนที่จะเป็นสีจัดๆ แบบศิลปินอื่น ในยุคเดียวกัน
ภาพแนบ: โปสเตอร์เรื่อง Gismonda
เมื่อโปสเตอร์ปรากฏสู่สายตาสาธารณชนในวันปีใหม่ 1895 ผู้คนก็ชอบงานนี้กันล้นหลาม เบิร์นฮาร์ดต์ถึงกับขอให้มีการทำโปสเตอร์ฉบับก๊อปปี้อีก 4,000 แผ่น และทำสัญญาว่าจ้างมูคฮาเพื่อให้วาดรูปงานแสดงเธอต่อ หลังจากนั้นกระแสนิยมในตัวมูคฮาก็เพิ่มขึ้นจนเขาเองยังตกใจ
มูคฮาทำโปสเตอร์ละครสไตล์นี้ให้เบิร์นฮาร์ตอีกหลายเรื่อง เช่น…
ภาพแนบ: ซาราห์ เบิร์นฮาร์ดต์ ตัวจริง
La Dame aux Camélias (1896)
Medee หรือ Medea (1898)
La Tosca (1898)
Hamlet ปี 1899
บางครั้งมูคฮาก็ได้งานออกแบบสูจิบัตรและเครื่องแต่งกายในละครด้วย
ภาพแนบ: ชุดที่มูคฮาออกแบบ
*** ภาพประดับและงานโฆษณา ***
ช่วงเวลาเดียวกัน มูคฮาก็มีผลงานแนวใหม่ คือ “ภาพประดับ” เป็นเหมือนโปสเตอร์ที่ไม่มีตัวอักษร ไว้ใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม โดยผลงานแนวนี้ชุดแรกของเขาวางจำหน่ายในปี 1896 มีชื่อว่า The Seasons ประกอบด้วยรูปของหญิงสาวสี่คนในสี่ฤดู
ภาพแนบ: มูคฮาในปี 1896
เริ่มจากฤดูใบไม้ผลิแสนอ่อนหวาน
ฤดูร้อนที่เย้ายวน
ฤดูใบไม้ร่วงอันอุดมสมบูรณ์
และฤดูหนาวแสนเยือกเย็น
...แน่นอนว่างานชิ้นนี้ขายดิบขายดีเทน้ำเทท่า
เขาออกแบบภาพประดับตกแต่งอีกมากมาย เช่นหญิงสาวกับพื้นหลังเป็นกระจกสีลายสิบสองราศี ซึ่งบรรณาธิการนิตยสารศิลปะ La Plume ได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปทำเป็นปฏิทินในปี 1897
ภาพแนบ: Zodiac calendar
นอกจากนี้มูคฮายังรับงานคอมมิชชัน มีหน่วยงานหรือบริษัทต่างๆ มาว่าจ้างให้เขาวาดรูปโฆษณาสินค้า ผลงานดังๆ ก็มี บุหรี่ JOB ปี 1898
งานทั้งหมดที่กล่าวไป ล้วนมีสไตล์คล้ายๆ กับผลงานโปสเตอร์ที่เคยทำให้เบิร์นฮาร์ดต์ ก็คือเป็นลายเส้นชดช้อย มีผู้หญิงงามเด่นสง่า มีฉากหลังอลังการ และใช้สีสันที่ดูแล้วสบายตา
ภาพแนบ: โฆษณาบุหรี่