What's not down, folks!
มาต่อกับ EP.7 เลย สำหรับหัวข้อเหล่านี้ไม่ต้องกลัวนะครับว่าอ่านแล้วจะลืมมันไป เพราะนั่นแหละคือจุดประสงค์ที่ผมเขียนเซคชั่นนี้ขึ้นมา ผมต้องการสร้างนิสัยการเพิ่มเติมความรู้ภาษาอังกฤษให้ตัวเองทุกสัปดาห์ โดยไม่สนว่าเป็นหัวข้อไหน เกี่ยวกับเราไหม หรืออ่านไปแล้วจะได้นำไปใช้หรือลืมไปหมดหรือเปล่า ซึ่งเหล่านั้นมันวัดไม่ได้ และบางทีก็ไม่ได้เรื่องสำคัญที่สุด
จริง ๆ เรื่องพวกนี้ผมเขียนมันออกมาให้เป็นแนว edutainment ซะด้วยซ้ำ อารมณ์แบบอ่านเพลิน ๆ ไปเรื่อย (ถ้าอ่านแล้วเครียดต้องขออภัย 555) ถ้าสงสัยตรงไหนสอบถามได้ตลอดคร้าบ (ผมอาจจะตอบกลับเหมือนผมดุ แต่ไม่เลยยยย ผมชอบการถกกันไปมามากที่สุด ขอแค่ไม่หยาบคายและอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและหลักฐานก็พอ)
1) "
Embeded question" หรือคำถามซ้อนคำถาม เป็นสิ่งที่เจอบ่อยมากในชีวิตประจำวัน อธิบายง่าย ๆ มันก็คือประโยคบอกเล่าที่มาคู่กับประโยคคำถามนั่นเอง ตัวอย่างเช่น
Do you know where he is? (ุคุณรู้ไหมเขาอยู่ที่ไหน) คำถามคือ "
Do you know...?" (คุณรู้ไหม) ส่วนคำถามที่ซ้อนมาด้วยอีกทีคือ "...
where he is..." (เขาอยู่ที่ไหน) ซึ่งถ้าเราจะแยกเอาแค่ส่วนนี้ไปตั้งเป็นคำถามใหม่ก็ต้องสลับโครงสร้างมาเป็น
Where is he? (เขาอยู่ที่ไหน)
2) ภาษาอังกฤษเวลาพูดเร็ว ๆ จะเกิดปรากฎการทางเสียงที่ชื่อ "
Co-articulation" หรือการใช้ตำแหน่งเสียงร่วมกัน มันคือการ blend (กลมกลืน) เข้าหากันของเสียงพยัญชนะสองเสียง ยกตัวอย่างคำว่า "
ancient" คำนี้ไม่มีฝรั่งคนไหนอ่านว่า เอน-เชี่ยน เพราะเวลาตัว n มาอยู่ใกล้ตัว c (ที่เป็นเสียง k) เนี่ย มันจะพยายามกลมกลืนเข้าหากัน จนตัว n (ที่เป็นเสียง น) กลายเป็นเสียง ง ไป คำว่า ancient จึงอ่านว่า "
เอง-เชิ่น" อีกคำเช่น "
input" เวลาอ่านแยกกันช้า ๆ อาจจะอ่านว่า i
n-put ได้ แต่เวลาอ่านเร็ว ๆ มันจะกลายเป็น i
mput เสมอ! (n พยายามกลมกลืนเสียงเข้าหาตัว p = n becomes m!)
3) หนึ่งในตัวอย่างความสำคัญของ part of speech ก็คือข้อแตกต่างระหว่าง
minute (n.) และ
minute (adj.) นี่แหละ เพราะแม้มันจะสะกดเหมือน แต่อ่านคนละแบบ และความหมายคนละโลกเลยนะ minute (n.) แปลว่า
นาที (อันนี้คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว) แต่ minute (adj.) แปลว่า
ขนาดเล็ก อ่านมา "มาย-
นยู้ท" (my-NYOOT) เช่นประโยค
's got
minute hands. (มือเขาเล็กมาก ๆ)
4) หลายคนอาจเคยสัมผัสได้ว่าหลักจากอ่านหนังสือเป็นเวลานานแล้วรู้สึกคอแห้งหรือเมื่อยที่กล้ามเนื้อคอ ไม่แปลกครับ เรากำลังประสบกับสิ่งที่เรียกว่า "
Silent speech" ซึ่งก็คือปรากฎการณ์ที่กล้ามเนื้อบริเวณเส้นเสียงของเรามีการขยับเล็กน้อยแม้ในตอนที่เราอ่านหนังสือ "ในใจ" ดังนั้นการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษในใจก็ช่วยเรื่องการออกเสียงได้นะ!
5) "
You try..." คือการท้าให้ใครสักคนลองทำอะไรสักอย่างด้วยตัวเองก่อนจะมีคำพูดเยอะ ยกตัวอย่างเช่น
You try learning English without complaining! (แน่จริงก็ลองเรียนภาษาอังกฤษแบบไม่บ่นให้ดูหน่อยสิ!) หรือ(เอาประโยคจริงจังกว่านี้หน่อย 5555)ประโยค
You try turning 30! It ain't easy, man. (ลองอายุ 30 ดูไหมละ ไม่ใช่เรื่องง่ายนะ)
6) "
Onomatopoeia" (อ่าน ออน-เหนอะ-มา-โทว-เพีย) คือคำที่เอาไว้แทนเสียงร้องของสัตว์หรือสิ่งของต่าง ๆ เช่น Bang! (เสียงปืน) Woof woof! (เสียงสุนัข) Buzz (เสียงผึ้ง) และคำอื่น ๆ เช่น Bam, boing, boom, clank! ไรงี้
7) "
Glottal T" คือเสียงตัว T ที่หายไปในตำแหน่งเหล่านี้ (มักเกิดในสำเนียงอังกฤษ โดยเฉพาะ Cockney และ London English)
เวลาตัว T อยู่ระหว่างสระ เช่น water (อ่าน wa'er = เวาะ-เออะ)
เวลาตัว T อยู่หลังตัว R เช่น party (อ่าน par'y = พา-อิ) และ
เวลาที่มันมาเป็น double t เช่น better (อ่าน เบะ-เออะ) แต่สำหรับคนอเมริกันมันจะกลายเป็น Flap T ไป (เราเคยเรียนเรื่องนี้ใน Pt.1 ข้อ 2)
8) บางครั้งคนอังกฤษก็มีตัว R มาแทรกในประโยคแบบไม่บอกไม่กล่าว เช่นประโยค "I saw a cat." ที่คนอังกฤษบางคน(รวมถึงผมในตอนที่พยายามพูดแบบ Poshy สุด ๆ) จะอ่านว่า "I saw(
r)a cat." (อาย-ซอ-เ
รอะ-แคท) โดยมีตัว R มาเชื่อมคำว่า saw กับ a ให้ประโยคมัน smooth ไปด้วยกันมากขึ้น โดยส่วนตัวผมก็ว่าเพราะดี ฟังดูมี class สุด ๆ มักเกิดเวลาที่คำว่า and ไปต่อท้ายคำศัพท์ที่ลงท้ายตัวสระเอียหรือสระอะ (เช่น China(r)and Japan หรือ India(r)and England ไรงี้)
9) ภาษาอังกฤษมีตัวอักษรที่เป็นสระแค่ 5 ตัว (A, E, I, O, U) (*รวมถึง Y ด้วยก็ได้เพราะมันเป็นพยัญชนะกึ่งสระ semi-vowel) แต่ว่าเสียงสระในภาษาอังกฤษมีประมาณ 19 - 22 เสียง (แล้วแต่สำเนียง) เป็นสาเหตุที่การเรียนเรื่อง
Phonics (ศาสตร์แห่งการอ่านและสะกดคำในภาษาอังกฤษ) ตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก (ถึงขึ้นจำเป็น) แต่หลักสูตรภาษาอังกฤษบ้านเราเก็บเรื่องนี้ให้ลูกท่านหลานเธอและเหล่า connection ทั้งหลายเอาไปใช้เป็นหลักสูตรในสถาบันสอนพิเศษค่าเรียนแพง ๆ และสอนลูกคนรวยเท่านั้น อืม... เรื่องนี้มันควรสอนกันฟรี ๆ ตั้งแต่อนุบาล! (เดี๋ยวรอผมอีกแปปนะ จะชำแหละศาสตร์นี้และเผยแพร่ลงอินเตอร์เน็ตให้ครบ)
10) สุดท้าย รู้จักกับวลี "
well-meaning lie" หรือ
คำโกหกที่มาจากเจตนาดี สำหรับผมเป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่ซับซ้อนที่สุดในโลกเลย!
"
รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay tuned
JGC.
ความรู้ภาษาอังกฤษ "สำหรับคนไทย" (Pt. 7)
มาต่อกับ EP.7 เลย สำหรับหัวข้อเหล่านี้ไม่ต้องกลัวนะครับว่าอ่านแล้วจะลืมมันไป เพราะนั่นแหละคือจุดประสงค์ที่ผมเขียนเซคชั่นนี้ขึ้นมา ผมต้องการสร้างนิสัยการเพิ่มเติมความรู้ภาษาอังกฤษให้ตัวเองทุกสัปดาห์ โดยไม่สนว่าเป็นหัวข้อไหน เกี่ยวกับเราไหม หรืออ่านไปแล้วจะได้นำไปใช้หรือลืมไปหมดหรือเปล่า ซึ่งเหล่านั้นมันวัดไม่ได้ และบางทีก็ไม่ได้เรื่องสำคัญที่สุด
จริง ๆ เรื่องพวกนี้ผมเขียนมันออกมาให้เป็นแนว edutainment ซะด้วยซ้ำ อารมณ์แบบอ่านเพลิน ๆ ไปเรื่อย (ถ้าอ่านแล้วเครียดต้องขออภัย 555) ถ้าสงสัยตรงไหนสอบถามได้ตลอดคร้าบ (ผมอาจจะตอบกลับเหมือนผมดุ แต่ไม่เลยยยย ผมชอบการถกกันไปมามากที่สุด ขอแค่ไม่หยาบคายและอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและหลักฐานก็พอ)
1) "Embeded question" หรือคำถามซ้อนคำถาม เป็นสิ่งที่เจอบ่อยมากในชีวิตประจำวัน อธิบายง่าย ๆ มันก็คือประโยคบอกเล่าที่มาคู่กับประโยคคำถามนั่นเอง ตัวอย่างเช่น Do you know where he is? (ุคุณรู้ไหมเขาอยู่ที่ไหน) คำถามคือ "Do you know...?" (คุณรู้ไหม) ส่วนคำถามที่ซ้อนมาด้วยอีกทีคือ "...where he is..." (เขาอยู่ที่ไหน) ซึ่งถ้าเราจะแยกเอาแค่ส่วนนี้ไปตั้งเป็นคำถามใหม่ก็ต้องสลับโครงสร้างมาเป็น Where is he? (เขาอยู่ที่ไหน)
2) ภาษาอังกฤษเวลาพูดเร็ว ๆ จะเกิดปรากฎการทางเสียงที่ชื่อ "Co-articulation" หรือการใช้ตำแหน่งเสียงร่วมกัน มันคือการ blend (กลมกลืน) เข้าหากันของเสียงพยัญชนะสองเสียง ยกตัวอย่างคำว่า "ancient" คำนี้ไม่มีฝรั่งคนไหนอ่านว่า เอน-เชี่ยน เพราะเวลาตัว n มาอยู่ใกล้ตัว c (ที่เป็นเสียง k) เนี่ย มันจะพยายามกลมกลืนเข้าหากัน จนตัว n (ที่เป็นเสียง น) กลายเป็นเสียง ง ไป คำว่า ancient จึงอ่านว่า "เอง-เชิ่น" อีกคำเช่น "input" เวลาอ่านแยกกันช้า ๆ อาจจะอ่านว่า in-put ได้ แต่เวลาอ่านเร็ว ๆ มันจะกลายเป็น imput เสมอ! (n พยายามกลมกลืนเสียงเข้าหาตัว p = n becomes m!)
3) หนึ่งในตัวอย่างความสำคัญของ part of speech ก็คือข้อแตกต่างระหว่าง minute (n.) และ minute (adj.) นี่แหละ เพราะแม้มันจะสะกดเหมือน แต่อ่านคนละแบบ และความหมายคนละโลกเลยนะ minute (n.) แปลว่า นาที (อันนี้คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว) แต่ minute (adj.) แปลว่า ขนาดเล็ก อ่านมา "มาย-นยู้ท" (my-NYOOT) เช่นประโยค 's got minute hands. (มือเขาเล็กมาก ๆ)
4) หลายคนอาจเคยสัมผัสได้ว่าหลักจากอ่านหนังสือเป็นเวลานานแล้วรู้สึกคอแห้งหรือเมื่อยที่กล้ามเนื้อคอ ไม่แปลกครับ เรากำลังประสบกับสิ่งที่เรียกว่า "Silent speech" ซึ่งก็คือปรากฎการณ์ที่กล้ามเนื้อบริเวณเส้นเสียงของเรามีการขยับเล็กน้อยแม้ในตอนที่เราอ่านหนังสือ "ในใจ" ดังนั้นการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษในใจก็ช่วยเรื่องการออกเสียงได้นะ!
5) "You try..." คือการท้าให้ใครสักคนลองทำอะไรสักอย่างด้วยตัวเองก่อนจะมีคำพูดเยอะ ยกตัวอย่างเช่น You try learning English without complaining! (แน่จริงก็ลองเรียนภาษาอังกฤษแบบไม่บ่นให้ดูหน่อยสิ!) หรือ(เอาประโยคจริงจังกว่านี้หน่อย 5555)ประโยค You try turning 30! It ain't easy, man. (ลองอายุ 30 ดูไหมละ ไม่ใช่เรื่องง่ายนะ)
6) "Onomatopoeia" (อ่าน ออน-เหนอะ-มา-โทว-เพีย) คือคำที่เอาไว้แทนเสียงร้องของสัตว์หรือสิ่งของต่าง ๆ เช่น Bang! (เสียงปืน) Woof woof! (เสียงสุนัข) Buzz (เสียงผึ้ง) และคำอื่น ๆ เช่น Bam, boing, boom, clank! ไรงี้
7) "Glottal T" คือเสียงตัว T ที่หายไปในตำแหน่งเหล่านี้ (มักเกิดในสำเนียงอังกฤษ โดยเฉพาะ Cockney และ London English) เวลาตัว T อยู่ระหว่างสระ เช่น water (อ่าน wa'er = เวาะ-เออะ) เวลาตัว T อยู่หลังตัว R เช่น party (อ่าน par'y = พา-อิ) และเวลาที่มันมาเป็น double t เช่น better (อ่าน เบะ-เออะ) แต่สำหรับคนอเมริกันมันจะกลายเป็น Flap T ไป (เราเคยเรียนเรื่องนี้ใน Pt.1 ข้อ 2)
8) บางครั้งคนอังกฤษก็มีตัว R มาแทรกในประโยคแบบไม่บอกไม่กล่าว เช่นประโยค "I saw a cat." ที่คนอังกฤษบางคน(รวมถึงผมในตอนที่พยายามพูดแบบ Poshy สุด ๆ) จะอ่านว่า "I saw(r)a cat." (อาย-ซอ-เรอะ-แคท) โดยมีตัว R มาเชื่อมคำว่า saw กับ a ให้ประโยคมัน smooth ไปด้วยกันมากขึ้น โดยส่วนตัวผมก็ว่าเพราะดี ฟังดูมี class สุด ๆ มักเกิดเวลาที่คำว่า and ไปต่อท้ายคำศัพท์ที่ลงท้ายตัวสระเอียหรือสระอะ (เช่น China(r)and Japan หรือ India(r)and England ไรงี้)
9) ภาษาอังกฤษมีตัวอักษรที่เป็นสระแค่ 5 ตัว (A, E, I, O, U) (*รวมถึง Y ด้วยก็ได้เพราะมันเป็นพยัญชนะกึ่งสระ semi-vowel) แต่ว่าเสียงสระในภาษาอังกฤษมีประมาณ 19 - 22 เสียง (แล้วแต่สำเนียง) เป็นสาเหตุที่การเรียนเรื่อง Phonics (ศาสตร์แห่งการอ่านและสะกดคำในภาษาอังกฤษ) ตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก (ถึงขึ้นจำเป็น) แต่หลักสูตรภาษาอังกฤษบ้านเราเก็บเรื่องนี้ให้ลูกท่านหลานเธอและเหล่า connection ทั้งหลายเอาไปใช้เป็นหลักสูตรในสถาบันสอนพิเศษค่าเรียนแพง ๆ และสอนลูกคนรวยเท่านั้น อืม... เรื่องนี้มันควรสอนกันฟรี ๆ ตั้งแต่อนุบาล! (เดี๋ยวรอผมอีกแปปนะ จะชำแหละศาสตร์นี้และเผยแพร่ลงอินเตอร์เน็ตให้ครบ)
10) สุดท้าย รู้จักกับวลี "well-meaning lie" หรือคำโกหกที่มาจากเจตนาดี สำหรับผมเป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่ซับซ้อนที่สุดในโลกเลย!
"รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay tuned
JGC.