สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ผมขอวิเคราะห์ดังนี้ .....
ตั้งแต่โครงการ Apollo เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว เราแค่ลงไป "เดิน"
และทำภารกิจอื่น ๆ นานสุด 75 ชั่วโมงเท่านั้น (Apollo 17)
และใน 75 ชม. นั้นก็มียาน Lunar module เป็นฐานอยู่
แต่หากเราจะสร้างฐานบนดวงจันทร์ไว้ทำภารกิจนาน ๆ
นานขนาดสับเปลี่ยนกันทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี เราจะต้องพัฒนายานอวกาศ
ที่สามารถเดินทางไปดวงจันทร์ได้บ่อย และบ่อยแบบพร้อมจะไปกรณีฉุกเฉินด้วย
ซึ่งปัจจุบันนี้ยังถือว่า ยากมาก ครับ เพราะดวงจันทร์ไกลเกือบ 400,000 กิโลเมตร
เทียบกับสถานีอวกาศ ISS ที่ห่างจากพื้นโลกแค่ 400 กิโลเมตรเท่านั้น
การไปดวงจันทร์จะใช้เชื้อเพลิงมาก ใช้เวลาถึง 2 วันเต็ม ๆ เลยครับ
ซึ่ง เทคโนโลยี ณ วันนี้ยังไม่พร้อม ไหนจะเรื่องงบประมาณอีก
อันนี้เป็นโครงการอันใกล้ของ NASA ที่จะไปดวงจันทร์
https://www.nasa.gov/specials/artemis/
ตั้งแต่โครงการ Apollo เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว เราแค่ลงไป "เดิน"
และทำภารกิจอื่น ๆ นานสุด 75 ชั่วโมงเท่านั้น (Apollo 17)
และใน 75 ชม. นั้นก็มียาน Lunar module เป็นฐานอยู่
แต่หากเราจะสร้างฐานบนดวงจันทร์ไว้ทำภารกิจนาน ๆ
นานขนาดสับเปลี่ยนกันทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี เราจะต้องพัฒนายานอวกาศ
ที่สามารถเดินทางไปดวงจันทร์ได้บ่อย และบ่อยแบบพร้อมจะไปกรณีฉุกเฉินด้วย
ซึ่งปัจจุบันนี้ยังถือว่า ยากมาก ครับ เพราะดวงจันทร์ไกลเกือบ 400,000 กิโลเมตร
เทียบกับสถานีอวกาศ ISS ที่ห่างจากพื้นโลกแค่ 400 กิโลเมตรเท่านั้น
การไปดวงจันทร์จะใช้เชื้อเพลิงมาก ใช้เวลาถึง 2 วันเต็ม ๆ เลยครับ
ซึ่ง เทคโนโลยี ณ วันนี้ยังไม่พร้อม ไหนจะเรื่องงบประมาณอีก
อันนี้เป็นโครงการอันใกล้ของ NASA ที่จะไปดวงจันทร์
https://www.nasa.gov/specials/artemis/
ความคิดเห็นที่ 7
สร้างฐานเฉยๆ ไม่ยากครับ
แต่สร้างฐาน ให้คนสามารถอยู่ได้เป็นระยะเวลานาน นี่แหละปัญหา
อย่างที่ทราบกันว่าปัจจัยที่วุ่นวายที่สุดในการสำรวจอวกาศก็คือมนุษย์
เพราะมนุษย์จำเป็นต้องอยู่อาศัย กิน และทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ
ทำให้ต้องมีพื้นที่สำหรับเสบียง และพื้นที่ที่ให้นักบินอยู่ ซึ่งจะต้องปกป้องนักบินจากรังสีต่างๆในอวกาศได้ด้วย
เป็นการใช้งานพื้นที่ และน้ำหนักส่วนใหญ่ของกระสวยปฏิบัติการไปทั้งหมด
เป็นเหตุผลที่ทำให้ภารกิจสำรวจอวกาศส่วนใหญ่ ในยุคที่ผ่านมาจึงไม่ใช่มนุษย์ ใช้หุ่นยนต์สำรวจเป็นหลัก
เพราะหุ่นยนต์ไม่ได้ใช้อะไรมากนัก ในการเดินทางระยะไกลในอวกาศ
อย่างที่คุณ Partita ได้บอกไว้ ระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ห่างไกลมาก
ไม่สามารถส่งจรวด ไปให้เสบียงได้บ่อยๆ เหมือนสถานีอวกาศ
และถ้าเกิดมีปัญหาฉุกเฉินอะไรขึ้นมา หวังความช่วยเหลือจากทางโลกได้ยาก
ทำให้ฐานบนดวงจันทร์ จำเป็นที่จะต้องอยู่ได้ด้วยตัวเองครับ
ซึ่งทำให้มีการทดลอง เพื่อให้เหล่านักบินอวกาศสามารถอยู่ในฐาน
ที่ไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกได้ หรือก็คือ เป็นสภาพแวดล้อมแบบปิดนั่นเอง
หนึ่งในความพยายามนั้นก็คือ Biosphere 2 (Biosphere 1 คือโลก)
โครงการขนาดใหญ่ มูลค่ามากกว่า 200 ล้าน US เพื่อศึกษา และทดสอบ การอยู่ระยะยาวของมนุษย์ในอวกาศ
โดยการสร้างสภาพแวดล้อมจำลองของโลก ภายในพื้นที่ปิด สร้างเสร็จสิ้นในปี 1991
ตัวโครงการมีการทดลองเพียงแค่ 2 ครั้ง และล้มเหลวทั้ง 2 ครั้ง
จากการที่ระบบนิเวศน์ที่จำลองขึ้นไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ระดับออกซิเจนลดลง
พีชและสัตว์เริ่มตาย และผู้ทดลองขาดทั้งอาหารและอากาศจนแทบจะเป็นบ้า
และอีกครั้งเป็นปัญหาจากผู้ทดลองเอง ทำให้โครงการล้มเหลว จนต้องล้มพับไป
ปัจจุบันกลายเป็นสถานีวิจัยด้านสภาพแวดล้อมของ ม.อริโซน่า
จะเห็นได้ว่า การสร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปิดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ดีที่ว่าฝั่ง ISS นั้น ได้ผลการทดลองที่ดีกว่ามาก จนแผนการกลับไปตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์นั้นเป็นไปได้ขึ้นมา
อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาก็คือ การขนของขึ้นไปอวกาศเพื่อสร้างฐาน
จรวดลำๆหนึ่งนั้นขนของได้จำกัด ทั้งน้ำหนัก และขนาด
ISS นั้นใช้วิธีแยกชิ้นส่วนเป็น โมดูล ส่งจรวดขึ้นไปทีละโมดูล แล้วค่อยๆไปประกอบในอวกาศ
การสร้างฐานบนดวงจันทร์เองก็เช่นกัน จำเป็นต้องส่งจรวดขึ้นไปหลายครั้ง เพื่อตั้งฐาน
ทำให้ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก และทางสถาบันด้านอวกาศต่างๆ ยังไม่เห็นความจำเป็นที่สร้างฐานบนดวงจันทร์นัก
ทำให้โครงการฐานบนดวงจันทร์ ถูกล้มพับในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
ที่หลังๆโครงการสร้างฐานบนดวงจันทร์เริ่มถูกนำมาพูดถึงกันอีกครั้ง
เพราะความรู้ความเข้าใจจาก ISS และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้การสร้างฐานบนดวงจันทร์
เป็นไปได้มากขึ้น ในราคาที่ถูกลง จนทำให้โครงการดูน่าลงทุนอีกครั้ง เพื่อใช้เป็นฐานในการสำรวจอวกาศต่อไป
เช่นการใช้ผ้าชนิดพิเศษ ที่ทำให้ฐานที่เอาไปตั้งสามารถมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้จรวดเดิมที่มีอยู่
หรือด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ที่ทำให้สามารถใช้ฝุ่นดินบนดวงจันทร์ หรือดาวอังคาร
สร้างฐานถาวรบนดาวเหล่านั้นได้
แต่สร้างฐาน ให้คนสามารถอยู่ได้เป็นระยะเวลานาน นี่แหละปัญหา
อย่างที่ทราบกันว่าปัจจัยที่วุ่นวายที่สุดในการสำรวจอวกาศก็คือมนุษย์
เพราะมนุษย์จำเป็นต้องอยู่อาศัย กิน และทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ
ทำให้ต้องมีพื้นที่สำหรับเสบียง และพื้นที่ที่ให้นักบินอยู่ ซึ่งจะต้องปกป้องนักบินจากรังสีต่างๆในอวกาศได้ด้วย
เป็นการใช้งานพื้นที่ และน้ำหนักส่วนใหญ่ของกระสวยปฏิบัติการไปทั้งหมด
เป็นเหตุผลที่ทำให้ภารกิจสำรวจอวกาศส่วนใหญ่ ในยุคที่ผ่านมาจึงไม่ใช่มนุษย์ ใช้หุ่นยนต์สำรวจเป็นหลัก
เพราะหุ่นยนต์ไม่ได้ใช้อะไรมากนัก ในการเดินทางระยะไกลในอวกาศ
อย่างที่คุณ Partita ได้บอกไว้ ระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ห่างไกลมาก
ไม่สามารถส่งจรวด ไปให้เสบียงได้บ่อยๆ เหมือนสถานีอวกาศ
และถ้าเกิดมีปัญหาฉุกเฉินอะไรขึ้นมา หวังความช่วยเหลือจากทางโลกได้ยาก
ทำให้ฐานบนดวงจันทร์ จำเป็นที่จะต้องอยู่ได้ด้วยตัวเองครับ
ซึ่งทำให้มีการทดลอง เพื่อให้เหล่านักบินอวกาศสามารถอยู่ในฐาน
ที่ไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกได้ หรือก็คือ เป็นสภาพแวดล้อมแบบปิดนั่นเอง
หนึ่งในความพยายามนั้นก็คือ Biosphere 2 (Biosphere 1 คือโลก)
โครงการขนาดใหญ่ มูลค่ามากกว่า 200 ล้าน US เพื่อศึกษา และทดสอบ การอยู่ระยะยาวของมนุษย์ในอวกาศ
โดยการสร้างสภาพแวดล้อมจำลองของโลก ภายในพื้นที่ปิด สร้างเสร็จสิ้นในปี 1991
ตัวโครงการมีการทดลองเพียงแค่ 2 ครั้ง และล้มเหลวทั้ง 2 ครั้ง
จากการที่ระบบนิเวศน์ที่จำลองขึ้นไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ระดับออกซิเจนลดลง
พีชและสัตว์เริ่มตาย และผู้ทดลองขาดทั้งอาหารและอากาศจนแทบจะเป็นบ้า
และอีกครั้งเป็นปัญหาจากผู้ทดลองเอง ทำให้โครงการล้มเหลว จนต้องล้มพับไป
ปัจจุบันกลายเป็นสถานีวิจัยด้านสภาพแวดล้อมของ ม.อริโซน่า
จะเห็นได้ว่า การสร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปิดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ดีที่ว่าฝั่ง ISS นั้น ได้ผลการทดลองที่ดีกว่ามาก จนแผนการกลับไปตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์นั้นเป็นไปได้ขึ้นมา
อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาก็คือ การขนของขึ้นไปอวกาศเพื่อสร้างฐาน
จรวดลำๆหนึ่งนั้นขนของได้จำกัด ทั้งน้ำหนัก และขนาด
ISS นั้นใช้วิธีแยกชิ้นส่วนเป็น โมดูล ส่งจรวดขึ้นไปทีละโมดูล แล้วค่อยๆไปประกอบในอวกาศ
การสร้างฐานบนดวงจันทร์เองก็เช่นกัน จำเป็นต้องส่งจรวดขึ้นไปหลายครั้ง เพื่อตั้งฐาน
ทำให้ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก และทางสถาบันด้านอวกาศต่างๆ ยังไม่เห็นความจำเป็นที่สร้างฐานบนดวงจันทร์นัก
ทำให้โครงการฐานบนดวงจันทร์ ถูกล้มพับในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
ที่หลังๆโครงการสร้างฐานบนดวงจันทร์เริ่มถูกนำมาพูดถึงกันอีกครั้ง
เพราะความรู้ความเข้าใจจาก ISS และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้การสร้างฐานบนดวงจันทร์
เป็นไปได้มากขึ้น ในราคาที่ถูกลง จนทำให้โครงการดูน่าลงทุนอีกครั้ง เพื่อใช้เป็นฐานในการสำรวจอวกาศต่อไป
เช่นการใช้ผ้าชนิดพิเศษ ที่ทำให้ฐานที่เอาไปตั้งสามารถมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้จรวดเดิมที่มีอยู่
หรือด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ที่ทำให้สามารถใช้ฝุ่นดินบนดวงจันทร์ หรือดาวอังคาร
สร้างฐานถาวรบนดาวเหล่านั้นได้
แสดงความคิดเห็น
ทำไม nasa ไม่สร้างฐาน ปฏิบัติการบนดวงจันทร์ สักที